หลอดเลือดคนเรา เริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุกี่ปี


เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเรื้อรังโดยเฉพาะหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดหัวใจตีบตันมักจะมีอาการในวัยกลางคน หรือวัยสูงอายุ

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเรื้อรังโดยเฉพาะหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดหัวใจตีบตันมักจะมีอาการในวัยกลางคน หรือวัยสูงอายุ

ผลการผ่าศพทหารอเมริกันที่ไปรบในสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 40 กว่าปีก่อนพบว่า หลอดเลือดหัวใจเริ่มมีคราบไขมันเกาะตั้งแต่อายุ 20 ปี การป้องกันจึงต้องทำตั้งแต่อายุน้อยๆ

...

ทุกวันนี้เราพบว่า คราบไขมันเริ่มเกาะผนังหลอดเลือดตั้งแต่อายุ 2 ปี และพบว่า ทารกในครรภ์ที่ขาดอาหารจะมีระบบการเผาผลาญอาหารเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิต เช่น สะสมไขมันเพิ่มขึ้นคล้ายๆ กับการปรับตัวในยุคอาหารขาดแคลน ฯลฯ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น เบาหวาน ฯลฯ เพิ่มขึ้น

เด็กไทยกินไขมันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ออกแรง-ออกกำลังน้อยลง อ้วนขึ้น 15-36% ในรอบ 5 ปี

...

การป้องกันโรคที่ดีคงต้องป้องกันตั้งแต่ตั้งครรภ์ หลังคลอดมาแล้ว... อาหารอะไรที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น นม ผลิตภัณฑ์นม ฯลฯ ควรเลือกชนิดไขมันต่ำหน่อยตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป

ท่านอาจารย์ รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร และ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์แนะนำ '9 วิธี ปกป้องเด็กไทยจากโรคหัวใจและหลอดเลือด' ไว้ดังต่อไปนี้

...

(1). สอนให้เด็กมีวินัยในการกิน > กินเป็นเวลา ตักอาหารแต่พอดี (คงต้องเลิกแนวคิดที่ว่า กินมากจึงจะได้กำไรมากแบบผู้ใหญ่กินอาหารบุฟเฟต์)

(2). ไม่ให้เด็กกินจุบจิบ

...

(3). ไม่ซื้ออาหาร ขนม นมสะสมไว้ที่บ้าน (แม้แต่อาหารสุขภาพ เช่น นม ฯลฯ ถ้ากินมากเกินก็อ้วนได้)

(4). ให้กินผลไม้แทนขนมและของว่างที่ทำให้อ้วน (ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้มโอ แอปเปิล แก้วมังกร ฯลฯ ทั้งผล ไม่ใช่น้ำผลไม้)

...

(5). ให้กินผักและผลไม้ทุกมื้อ

(6). ดื่มนมแต่พอดี 2-3 แก้วต่อวัน (ควรเป็นนมไขมันต่ำ ถ้ามีอายุ 2 ปีขึ้นไป)

...

(7). จำกัดกิจกรรมที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ ใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง

(8). สร้างนิสัยออกแรง-ออกกำลังกาย

...

(9). ลดขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม น้ำหวาน ไขมัน และน้ำตาล เช่น อาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ" ขนมสำเร็จรูป ฯลฯ

อาจารย์ท่านยกคำกล่าวของวิลเลียม คาวเปอร์มาเป็นข้อคิดว่า "ปีที่สำคัญที่สุดของเรา คือปีแรกๆ ของชีวิต" ซึ่งเข้ากับผลการศึกษาที่พบว่า หลอดเลือดคนเราเริ่มอุดตันตั้งแต่อายุ 2 ปีทีเดียว

...

เรียนเสนอให้พวกเราหาหนังสือ "คู่มือเช็คหัวใจ ไม่ให้ตายเฉียบพลัน" ของท่านอาจารย์มาอ่าน (หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย มีภาพประกอบ มีกราฟ มีข้อมูลทันสมัย และให้ข้อมูลดีมากๆ) เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอย่างครบครัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                             

 

...

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร และ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ > บทที่ 12 ปัจจัยเสี่ยงเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก > คู่มือเช็คหัวใจไม่ให้ตายเฉียบพลัน > พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์กรีน-ปัญญาญาณ (www.gppbook.com). กรุงเทพฯ 2551. หน้า 74-78.

 

...

 

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร
  • ขอขอบคุณ > อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.

...

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 5 สิงหาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 199931เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท