"ซึมเศร้าเหงาเซ็ง" เปิดไฟจ้าๆ ช่วยได้


...

ภาพ "เสียใจ (sad)" จาก [ BBC ] , [ BBC ]

...

ภาพของท่านแวน โกะห์จากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ] , [ Wikipedia ]

...

คนไข้ท่านหนึ่งแต่งงานกับชาวนอร์เวย์... ท่านบอกว่า หน้าหนาวที่นั่นหนาวสุดๆ บ่ายก็มืดแล้ว แถมคนที่นั่นยังชอบเปิดไฟดวงเล็กๆ มืดๆ ทึมๆ ทำให้ท่านทนไม่ไหว ต้องขออนุญาตสามี กลับมา "รับแสงแดด" เมืองไทย 2 เดือน

ฝรั่ง (ชาวตะวันตก) เป็นโรคพิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย คือ โรคซึมเศร้าหน้าหนาว (seasonal affective disorder / SAD; ชื่อย่อเท่มากๆ เพราะ 'sad' แปลว่า "เศร้า เสียใจ" พอดีเลย)

...

แสงแดดในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลกจะมีเวลาสั้นลงมากในฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว (สิงหาคม-พฤศจิกายนของฝรั่ง) กล่าวกันว่า ปริมาณแสงแดดที่ลดลงน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าหน้าหนาว

คนในเขตอบอุ่นและหนาว 5% หรือ 20 คนจะเป็นโรคนี้ 1 คน ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า และพบบ่อยในช่วงอายุ 18-40 ปี (บางทีพออายุมากขึ้นไม่ใช่จะหายจากโรค... แต่จะเป็นโรคอื่นแทน)

...

ท่านอาจารย์นายแพทย์ร็อบ ฮิคส์ตีพิมพ์เรื่องนี้ในเว็บไซต์ BBC ว่า ปัจจัยซ้ำเติมสำหรับโรคนี้คือ เครียดเรื่องงาน เงิน และความสัมพันธ์ (กับใครบางคน)

การรักษาโรคนี้แปลกคือ ให้ "รับแสง" ให้มากขึ้น เช้าขึ้นมาให้ออกไปมองท้องฟ้า (แต่อย่ามองพระอาทิตย์ เดี๋ยวตาจะบอดแทน) รับแสงไว้ สายๆ บ่ายๆ ให้เปิดหน้าต่างรับแสง ติดไฟฟลูออเรสเซนต์ (นีออน) ในห้องให้สว่างมากหน่อย

...

อย่าลืมออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และนอนให้พอ... การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การเดินเร็วคราวละ 10 นาทีช่วยสลายอาการ "ซึมเศร้าเหงาเซ็ง" ได้

ถึงตรงนี้... ขอสวัสดีปีใหม่ 2552 และขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้มาจากเนื้อเรื่องตอนหนึ่งที่ว่า '...  Experts believe SAD is related to a lack of daylight exposure, ...' แปลว่า "... ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า SAD (โรคซึมเศร้าหน้าหนาว) มีความสัมพันธ์กับการขาดแสงแดด..."

  • 'relate' > [ หรี่ - เลท - ถึ(t) ] / verb - กริยา = มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้อง
  • ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิก "ลำโพง" หรือ "ธงชาติ" > [ Click ] , [ Click ]

...

แนะนำให้อ่าน "ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา (ตอน 2)"

หมายเหตุ                                                

ตำแหน่งย้ำเสียง (accent) ในภาษาอังกฤษแสดงโดยการใช้อักษรตัวหนา + ขีดเส้นใต้ / Bold) นั้น... ส่วนใหญ่คำนามอยู่พยางค์แรก คำกริยาอยู่พยางค์สองหรือข้างหลัง ถ้าเป็นคำที่ทำให้เป็นคำนามโดยเติม '-tion' ให้ย้ำเสียงหน้า '-tion' เสียงที่เหลือให้พูดเบาลง

เสียงที่ใช้อักษรตัวบาง + เอียง (Italic)... ให้พูดสั้นและเบาคล้ายเสียงกระซิบ อย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

ที่มา                                                       

  • Thank BBC > Dr. Rob Hicks > Seasonal Affective Disorders > [ Click ] > July 2006.
  • บล็อกของเรามุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค... ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 31 ธันวาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 232791เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

flower

                                  ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

                 ขอให้ชาว g2k สุข สดชื่น สำเร็จทุก ๆ ท่านนะคะ

                                       (^________^)

สวัสดีปีใหม่ 2552 อาจารย์ึครูปู + ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ...

ขอขอบคุณอาจารย์ครูคิม + ท่านผู้อ่านทุกท่าน + สวัสดีปีใหม่ 2552 ครับ 

  • ผมเพิ่งใช้ชุดเติมภาพ gotoknow เป็นครั้งแรก ระบบนี้เท่จนทึ่งเลย สะดวกมาก และน่าใช้มากๆ ด้วย
  • gotoknow เป็นเว็บไซต์ที่คล้าย iPhone แบบสุดๆ เลย (ดูดีมากๆ)

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท