แรงงานต่างด้าว(เม็กซิโก)พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ


 

...

 

ภาพที่ 1: > แรงงานเม็กซิโก 1 ใน 7 อพยพไปทำงานในสหรัฐฯ (ปี 2548) ส่งเงินกลับบ้านเดือนละ $100-$200 = 3,500-7,000 บาท (คิดที่ 35฿/$) > Thank [ SFgate ]

แรงงานเม็กซิโกส่งเงินกลับประเทศปีละ $20billion = 20,000 ล้านดอลลาร์ฯ = 700,000 ล้านบาท > Thank [ SFgate ]

...

ประเทศที่อาศัยเงินจากแรงงานต่างด้าวในสหรัฐฯ มากได้แก่ (ร้อยละ = ผู้ใหญ่ในประเทศที่อาศัยเงินส่งกลับ; ตัวเลขในวงเล็บ = M = ประชากร หน่วยล้านคน) เอล ซัลวาดอร์ (6.8M) > 28%; กัวเตมาลา (12.3M) > 24%; เม็กซิโก (107M) > 18%; ฮอนดูรัส (7.3M) > 16%; เอกวาดอร์ (13.5M) > 14%

ปี 2548 คนหลบหนีเข้าเมืองสหรัฐฯ มาจากเม็กซิโก 56%(6.2M); ละตินอเมริกา (= ประเทศทวีปอเมริกากลาง-ใต้) 22%(2.5M); เอเชีย 13%(1.5M); ยุโรป-แคนาดา 6%(0.75M); อาฟริกาและประเทศอื่นๆ 4%(0.5M)

....................................................................................................

ภาพที่ 2: > คุณอิสมาเอล คาสเตโด อายุ 23 ปี มุดรั้วเข้าซาน ดิเอโก สหรัฐฯ (เข้าใจว่า อาจมีการจ่ายเงินนิดหน่อยจึงจะถ่ายภาพได้) > Thank [ SFgate ]

....................................................................................................

ภาพที่ 3: > ภาพแถวบนประมาณการณ์ผู้อพยพเข้าสหรัฐฯ (หน่วยแสนคนต่อ 10 ปี) จำนวนผู้อพยพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 30 ปีหลัง > Thank [ SFgate ]

ภาพแถวล่างแสดงจำนวนผู้อพยพจากเม็กซิโกเข้าสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละ 4 แสนคนขึ้นไป (หน่วยพันคน)

.................................................................................................... 

การอพยพของชาวเม็กซิกันและอเมริกากลางไปสหรัฐฯ เป็น 1 ในปรากฏการณ์อพยพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่

คนเม็กซิโก 10% จากทั้งหมด 107 ล้านคนอยู่ในสหรัฐฯ และแรงงานเม็กซิโก 15% หรือ 1 ใน 7 ทำงานในสหรัฐฯ

...

การอพยพดังกล่าวเริ่มต้นมานานกว่า 100 ปี(ศตวรรษ)... เพิ่มขึ้นหลังวิกฤตเศรษฐกิจในเม็กซิโกปี 1982 (พ.ศ. 2525) และเพิ่มขึ้นเร็วหลังปี 1990s (พ.ศ. 2533-2542) เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ โตขึ้นเร็วมาก

3/4 ของคนหลบหนีเข้าเมืองสหรัฐฯ (12 ล้านคน) ในปี 2548 มาจากเม็กซิโก (56%); อเมริกากลาง (22%); อเมริกาใต้ (22%)

...

ทุกๆ ปีจะมีคนหลบหนีเข้าสหรัฐฯ จากเม็กซิโก อเมริกากลาง-ใต้รวมกันประมาณ 5 แสนคน ทำให้ชุมชนบ้านนอกในประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยมีผู้ชายวัยแรงงานเหลืออยู่เลย สาเหตุหนึ่งเป็นผลจากรายได้ที่ต่างกันประมาณ 10 เท่า

เมืองบ้านนอกบางเมืองในเม็กซิโกมีประชากรลดลงจากพ.ศ. 2528 เหลือ 1/10

...

รัฐ 5 รัฐในเม็กซิโกมีรายได้หลักมาจากเงินที่ผู้อพยพส่งกลับบ้าน

ปี 2549 เม็กซิโกมีรายได้จากแรงงานอพยพ(ในสหรัฐฯ) $20billion = 700,000 ล้านบาท = รายได้จากการส่งออกน้ำมัน และการท่องเที่ยว

...

คนสหรัฐฯ เองก็ "ปากว่า-ตาขยิบ" หรือ "ทั้งรัก-ทั้งชัง" แรงงานต่างด้าว เนื่องจากคนสหรัฐฯ ชอบสบาย ชอบมีพี่เลี้ยงเด็ก คนดูแลบ้าน คนดูแลคนไข้-คนสูงอายุ และคนงานสารพัดในราคาที่แสนถูก

ช่วงปี 1994-2000 = พ.ศ. 2537-2543 ค่าแรงในสหรัฐฯ เพิ่ม 30% ขณะที่ค่าจ้างในเม็กซิโกเพิ่ม 8-9% ปัจจัยนี้เพิ่มแรงดึง (pull) แรงงานต่างด้าวอย่างแรง

...

ยิ่งประชากรกลุ่มใหญ่รุ่น "คุณป้า (baby boomers = เบบี้บูม)" จะทยอยกันเกษียณ หรือครบ 60 ในปี 2549 จะยิ่งทำให้ความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นอีก

อ.จอร์จ โบร์ยาส นักเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำการศึกษาในปี 2543 พบว่า ผู้อพยพชาวเม็กซิกัน 63% ไม่ได้จบมัธยมฯ

...

แรงงานต่างด้าวรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะทำงานในเมืองมากขึ้น เช่น โรงแรม รานอาหาร ก่อสราง ฯลฯ ไม่เหมือนเดิมที่ทำงานตามบ้านนอก หรือทำงานตามบ้าน

ปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ได้มีแต่ในสหรัฐฯ ประเทศเดียว... ทุกๆ ประเทศที่มีเพื่อนบ้านยากจน เช่น เยอรมนี-โปแลนด์, ฝรั่งเศส-สเปน ฯลฯ ก็มีปัญหาทำนองนี้เหมือนกัน

...

ถึงแม้คนสหรัฐฯ จะมองเม็กซิโกว่า "ยากจน-ขี้เมา-ไม่น่าไว้ใจวางใจ" ซึ่งเป็นธรรมดาของประเทศที่รวยกว่าที่จะมองแบบนี้ต่อเพื่อนบ้าน

ทว่า... เม็กซิโกก็เป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น เป็นแหล่งแรงงานราคาถูก ทำให้สินค้า-บริการสหรัฐฯ แข่งขันกับนานาชาติได้ ฯลฯ

...

 

เม็กซิโกเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของสหรัฐฯ (รองจากจีน) และเงินที่เม็กซิโกใช้ซื้อสินค้า-บริการจากสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มาจากไหน ทว่า... มาจากเงินส่งออกแรงงานคนยาก น้ำมัน และรายได้จากการท่องเที่ยว

และแล้ว... เงินที่สหรัฐฯ จ่ายก็ไหลกลับเข้าสู่สหรัฐฯ อีกครั้ง (ไม่เหมือนการลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้น้อยมากๆ เช่น ก่อสงคราม ฯลฯ)

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 29 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 258491เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท