หวัด 2009 รุนแรงหรือร้ายเท่าไร


 

...

อ.ดร.ทินิ การ์สค์ และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนรายงานว่า การประมาณการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ไข้หวัดหมู หรือหวัด 2009 น่าจะช่วยให้คนทั่วโลกตื่นตระหนกตกใจกันน้อยลง > Reuters

การคิดเฉพาะคนไข้ที่ได้รับการเจาะเลือดตรวจยืนยันจะทำให้ดูน่ากลัวเกินจริง เนื่องจากคนไข้ที่มีอาการเบาๆ สบายๆ คล้ายหวัด ซึ่งเป็นคนไข้กลุ่มใหญ่ที่สุดไม่ได้รับการตรวจ ตรวจเฉพาะคนไข้ที่มีอาการหนัก ทำให้ดูโรครุนแรงเกินจริง

...

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนที่ตรวจยืนยันแล้วมี 94,512 ราย ตาย 429 ราย

ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า มีคนติดเชื้อแล้วอย่างน้อย 1 ล้านราย และแพร่กระจายไปทั่วโลกเกินกว่าที่จะปิดประเทศอะไรได้อีกต่อไป

...

ถ้าคิดจากประมาณการณ์ของ CDC, โรคนี้จะแสนเบาสบาย เนื่องจากตาย 429 ในล้าน = 42.9 ในแสน = 4.29 ในหมื่น = 0.429 ในพัน

อ.การ์สค์รายงานว่า โอกาสเสียชีวิตจากโรคมีประมาณ 0.5% = 5 ในพัน = คนเป็นโรค 1,000 คน มีโอกาสเสียชีวิต 5 คน (ประมาณการณ์ตรงกลางระหว่างแบบที่ดีกับแบบที่ร้าย)

...

ความรุนแรงในช่วงนี้ใกล้เคียงกับไข้หวัดทั่วไป (seasonal influenza) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกประมาณ 250,000-500,000 ราย/ปี

ถ้าคนทั่วโลกเห็นตัวเลขนับแสนราย เทียบกับคนตายประเทศโน้นประเทศนี้ 100-200 รายจะได้ไม่ตกอกตกใจ

...

ความต่างกันอยู่ที่ว่า คนไข้ที่มีอาการรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่มักจะเป็นคนอ่อนแอ เช่น คนสูงอายุ คนไข้โรคเรื้อรัง เอดส์ ภูมิต้านทานต่ำ เช่น มะเร็ง ดื่มหนัก สูบหนัก ฯลฯ

หวัด 2009 ทำให้คนที่แข็งแรงดีป่วยหนักได้ (ประมาณครึ่งหนึ่งของคนไข้หนักทั้งหมด)

...

ต้นฉบับกล่าวว่า 'Garske's team outlined ways to improve estimates, including using individual towns as examples.' = "ทีมของการ์สค์ชี้แนะ (outline) วิธีการประมาณการณ์ที่ดีขึ้น เช่น การเลือกเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นตัวอย่าง ฯลฯ" > Reuters

วิธีการศึกษาเช่น อาจกำหนดเมืองต่างๆ ทั่วโลกเป็นบางเมือง แล้วสุ่มเลือกตัวอย่างประชากร แบบนี้จะทำให้รู้แน่ว่า คนที่ติดเชื้อแล้วทั่วโลกน่าจะมีกี่คน ป่วยหนักที่ราย ตายกี่ราย ฯลฯ

...

วิธีต่อไปคือ เมื่อสุ่มสำรวจเมืองแล้ว น่าจะลองสุ่มสำรวจเป็นครอบครัวด้วยว่า ติดโรคกี่ราย แพร่กระจายไปยังสมาชิกในครอบครัวกี่ราย วิธีนี้จะช่วยให้รู้ว่า โรคแพร่กระจายไปยังคนที่ดูแลคนไข้ใกล้ชิดได้มากน้อยเท่าไร 

ต้นฉบับกล่าวว่า "You don't need to know about everybody, but you need some subpopulations," = "คุณไม่ต้องไปรู้เรื่องของคนทุกคน (ไม่ต้องไปเจาะเลือดคนทุกคนทั่วโลก), แต่คุณต้องการรู้กลุ่มตัวอย่างเป็นบางกลุ่มของประชากร" > Reuters

...

คนทั่วโลกมีส่วนช่วยกันป้องกันการกลายพันธุ์ หรือปรากฏการณ์ยกสองที่แรงกว่ายกหนึ่งของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ ด้วยการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ

คนที่ไอ-จามควรกินยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูกตามที่หมอแนะนำ ใส่ผ้าปิดปาก-จมูก และอยู่บ้านเป็นหลัก ไม่ออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น

...

ไม่ควรสวมผ้าปิดปาก-จมูกไว้ทั้งวัน เพื่อป้องกันเชื้อโรคสะสม-เติบโตหลังผ้าปิดปาก-จมูกชื้นมากพอ ควรใช้แล้วทิ้งไป-เปลี่ยนใหม่หรือซักใหม่ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank Reuters

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 15 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 276701เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท