ผู้เชี่ยวชาญแนะ วัคซ๊นเก่ากันหวัด2009ไม่ได้


หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ตีพิมพ์คำแนะนำของ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย บทความนี้มีคุณค่าต่อสังคมไทยมาก ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ขอความกรุณาแวะไปที่เว็บไซต์ "บางกอกทูเดย์" อ่านข่าว หรือช่วยคลิกโฆษณา เพื่อให้กำลังใจสื่อมวลชนที่ทำดี > ขอขอบพระคุณ [ บางกอกทูเดย์ ]

... 

[ เริ่มต้นข้อความคัดลอก ] > ขอขอบพระคุณ [ บางกอกทูเดย์ ]

เชื่อว่าหลายๆ คนคงสับสนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูและโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่าเป็นเชื้อโรคตัวเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแม้อาการของโรคนั้นจะคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างในสายพันธุ์ของโรคอยู่

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ชนิดเอ H1N1 ที่มีการผสมกันของรหัสพันธุกรรมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดถึง 3 ชนิด

...

หรือเรียกว่า Triple re-assortment กลายเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในประวัติศาสตร์ คาดว่าเชื้อมีการผสมข้ามสายพันธุ์มาแล้วหลายครั้งจนกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่

และเมื่อตรวจสอบรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัส พบว่า มีรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ของนก หมู และคน กลายเป็นเชื้อที่มีสายพันธุ์ใหม่ที่มีหน้าตาใหม่

... 

ดังนั้น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จึงไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนที่ใช้สำหรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีหน้าตาเดิมเหมือนเชื้อประจำฤดูกาล ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นเชื้อสายพันธุ์ชนิดเอ H1N1 เหมือนกัน

ศ.น.พ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลนั้น เป็นเชื้อโรคชนิดเดียวกันและสามารถฉีดวัคซีนป้องกันแทนกันได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด

... 

แต่ยอมรับว่าโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ยากแก่การที่ประชาชนจะเข้าถึงความแตกต่างของเชื้อ ทั้งอาการของโรคทั้งสองยังมีความเหมือนกันด้วย คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอแห้งๆ เบื่ออาหาร มีอาการง่วงซึม

แม้แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก็ไม่แตกต่างกัน เช่น เจ็บหน้าอก ไอแห้ง รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจลำบากอย่างรุนแรง และมีอาการท้องเสีย อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแสดงของปอดบวมและต้องการการรักษาอย่างรวดเร็ว

...

“ดังนั้น จึงอยากจะให้คนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลเป็นประจำทุกปี

เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้รับวัคซีนป้องกันตัวเองจากไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล แต่ยังสามารถลดความเสี่ยงของตนในการถูกกักกันบริเวณ และตกอยู่ในข่ายผู้สงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

...

หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ

โดยสามารถไปได้ที่โรงพยาบาลต่างๆ หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีห้องแล็บ เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวง หรือรถปฏิบัติการวินิจฉัยระดับโมเลกุลซึ่งเป็นรถเคลื่อนที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

...

นอกจากนี้ ขอความร่วมมือประชาชนทุกคนที่ป่วยช่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย เพื่อเป็นการป้องกันโอกาสการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่จะเข้าไปผสมกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลในตัวผู้ป่วยหรือในหมู

ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเชื้อใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดื้อยาเพิ่มขึ้น และแพร่ระบาดจากคนสู่คนมากขึ้นต่อไป

...

ประชาชนทั่วไปสามารถรับบริการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลได้ที่โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักควบคุมโรค และสำนักโรคติดต่อ

อีกทั้งรัฐบาลได้มีการจัดเตรียมวัคซีนดังกล่าวไว้อย่างน้อย 500,000 โดส สำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

... 

และผู้ที่มีโรคประจำตัวและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังได้รับเคมีบำบัดและผู้ป่วยไตวาย เป็นต้น

[ สิ้นสุดข้อความคัดลอก ] > ขอขอบพระคุณ [ บางกอกทูเดย์ ]

...

หมายเลขบันทึก: 277235เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท