WHO หวัด2009กระจายไปทั่วโลกแล้ว


 

...

WHO (องค์การอนามัยโลก) เพิ่งยอมรับว่า ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ไข้หวัดหมู หรือหวัด 2009 กระจายไปไกลเกินกว่าที่จะมาจุกจิก จู้จี้ด้วยการนับคนไข้เป็นรายๆ แล้ว

แต่ควรติดตามคนไข้รายที่มีอาการหนัก หรือเสียชีวิตว่า เชื้อกลายพันธุ์ไปหรือไม่อย่างไร

...

WHO ประโคมข่าวตรวจเลือดเฉพาะคนไข้ที่ป่วยหนัก และตาย ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ไม่ใช้วิธีทางสถิติตรวจหาอุบัติการณ์ที่แท้จริง

การตรวจเลือดเฉพาะคนไข้หนัก ไม่สุ่มตรวจประชากรทั่วไป และรายงานเฉพาะคนที่ตาย ทำให้สถิติการตายสูงผิดปกติ สูงเกินจริง และทำให้คนทั่วโลกไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง

...

ผู้เชี่ยวชาญ UK ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และเตือนในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ควรทำการสุ่มสำรวจแบบทำ poll โดยการสุ่มเลือกพื้นที่บางส่วนทั่วโลก

แล้วเจาะเลือดตรวจทางสถิติว่า ตอนนี้คนติดเชื้อไปเท่าไร ป่วยเท่าไร ซึ่งจะทำให้รู้ประมาณการณ์ที่แท้จริง

...

การนำประสบการณ์จากไข้หวัดนกมาใช้มีแนวโน้มจะส่งผลเสียเช่นกัน เนื่องจากไข้หวัด 2009 ระบาดได้เร็วผ่านจมูกคน ซึ่งเย็นกว่าจมูกนก และมีความรุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดนกอย่างมากมาย จะใช้มาตรการเดียวกัน เช่น ปิดประเทศ ฯลฯ ไม่ได้

เรื่องนี้ตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ความสำเร็จแบบเดิมๆ (อดีต) ไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จในอนาคต"

...

ไข้หวัดใหญ่ทั่วไปใช้เวลาแพร่กระจายไปทั่วโลกนานกว่า 6 เดือน ไม่เหมือนหวัด 2009 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์ เร็วกว่ากันอย่างน้อย 4 เท่า

ตอนนี้กระจายไป 193 จาก 195 ประเทศทั่วโลก หรือ 98.97% ของประเทศทั่วโลกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากกล่าวว่า เฉพาะสหรัฐฯ ประเทศเดียวก็มีคนติดเชื้ออย่างต่ำ 1 ล้านคนขึ้นไป

... 

การปิดประเทศจึงไม่ช่วยอะไร แถมยังทำให้เศรษฐกิจตกต่ำมากขึ้น และที่สำคัญ คือ การทำอะไรแบบเดาลูกเดียวสะท้อนให้เห็นถึงการทำอะไรที่ใช้แต่ความสะใจ ไม่ใช้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

WHO ประกาศเลิกประโคมข่าวจำนวนคนที่ตรวจเลือดพบว่า ป่วยหนัก ซึ่งมีอยู่ 94,512 ราย และตาย 429 รายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2552

...

สถิตินี้มีแนวโน้มจะรุนแรงเกินจริง เนื่องจากคนไข้ที่มีอาการเบาๆ สบายๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจ ตรวจแต่คนไข้หนักเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนทั่วโลกหลงผิด คิดว่า โรคนี้ร้ายแรงเกินจริง

WHO ไม่ได้เทียบกับสถิติการตายจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ซึ่งทำให้คนตาย 250,000-500,000 รายต่อปี ทำให้คนทั่วโลกหลงทาง คิดว่า ไข้หวัดใหญ่ทั่วไปแบบเดิมๆ ไม่มีคนตาย และทำให้หวัด 2009 ดูร้ายแรงเกินจริง

...

ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญ UK แนะนำให้ทำโพลล์ (poll) หรือสุ่มสำรวจทางสถิติ ทั้งคนที่มีอาการและไม่มีอาการ

เพื่อหาให้ได้ว่า แต่ละประเทศมีคนติดเชื้อไปจริงๆ แล้วกี่ราย คนที่ติดเชื้อมีโอกาสป่วยเบา-ป่วยหนัก-เสียชีวิตตามหลักความน่าจะเป็นเท่าไร

...

ตรงนี้เป็นโอกาสทองของไทย เพราะถ้ามีงานวิจัยนี้จากเมืองไทยออกมาก่อนชาติอื่นๆ ได้, เมืองไทยจะดังไปทั่วโลกว่า เป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่มีข้อมูลจากสถิติที่แท้จริง

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

... 

 > Thank Reuters

ที่มา                                                                      

  • Thank Reuters > Stephanie Nebehay & Peter Griffiths. H1N1 pandemic spreading too fast to count: WHO. July 16, 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 17 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 277706เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การสื่อสาร การเผยแพร่ข่าวก็ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุได้เหมือนกันนะค่ะ

แต่อย่างไรก็ควรนำเสนออยู่ดี

สุดท้ายการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองน่าจะดีที่สุดนะค่ะ จะได้ไม่ต้องโดนนับเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อและกลายเป็นหนึ่งในสถิติที่เกินจริงด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากๆ ครับ // ขอบคุณทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นเช่นกัน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท