ผู้เชี่ยวชาญUKแนะเรื่องหวัด2009[+English]


 

...

 [ BBC ]

ภาพที่ 1: แผนที่โลกแสดงประเทศที่มีคนติดเชื้อและเสีชีวิตสูงจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 ถ้ามองในแง่ร้าย... องค์การอนามัยโลก (WHO) ทำให้คนทั่วโลกหลงทาง

รายงานตรวจเลือดแต่คนที่ป่วยหนัก ไม่ได้สุ่มตรวจหรือทำโพลล์ในประชากรทั่วไป ทำให้คนตกอกตกใจไปทั่วโลก โอกาสตายจากรายงานนี้คือ = 433/94492 = 0.458% = 4.6 ในพัน, โอกาสเสีชีวิตจริงๆ น่าจะน้อยกว่านี้ คือ น่าจะอยู่ที่ 1-2 ในพัน ใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่ทั่วไป > [ BBC ]

...

ถ้ามองในแง่ดี... ถ้าคนทั่วโลกช่วยกันป้องกันโรค ซึ่งสำคัญที่สุดตรงการล้างมือด้วยสบู่ และไม่เข้าไปในห้องแอร์ หรือที่คนชุมนุมกันแออัดโดยไม่จำเป็นจะช่วยป้องกันโรคได้มากมาย เช่น หวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ทั่วไป หวัด 2009 ไวรัสลำไส้อักเสบ(ทำให้ท้องเสีย ปวดท้อง) ฯลฯ

ผลคือ หวัด 2009 อาจจะทำให้ยอดคนตายรวมจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ลดลงจนอาจพลิกวิกฤตกลายเป็นโอกาส คือ ทำให้ยอดคนตายจากโรคติดเชื้อทุกอย่างรวมกันลดลงได้เช่นกัน

...

 [ BBC ] 

ภาพที่ 2: สรุปอาการสำคัญโดยนายแบบของเรากำลังเปิดใจ(ให้เห็นเครื่องใน) ยิ้มสู้ภัยหวัด 2009 > Thank [ BBC ]

  • (1). whole body = ทั่วร่างกาย > ไข้สูง เหนื่อย เพลีย ภูมิต้านทานโรคลดลง
  • (2). head = หัว > ปวดหัว น้ำมูกไหล ไอ จาม
  • (3). throat = ลำคอ > เจ็บคอ
  • (4). chest = หน้าอก > หายใจลำบาก (ถ้ามีอาการนี้ถือว่า รุนแรง ต้องไปโรงพยาบาล)
  • (5). stomach = กระเพาะอาหาร (หมายถึงท้อง) > เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (พบบ่อยในหวัด 2009 เมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป)
  • (6). arms & legs = แขนและขา > ปวดเมื่อย ปวดข้อ

...

 [ BBC ]

ภาพที่ 3: กลุ่มเสี่ยงสูง และต้องป้องกันโรคมากเป็นพิเศษได้แก่ คนที่มีโรคเรื้อรัง โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิต้านทานต่ำ (เช่น มะเร็ง ปลูกถ่ายอวัยวะ เอดส์ ฯลฯ) ได้รับยารักษาโรคหอบหืดบางอย่าง คนท้อง เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ > Thank [ BBC ]

คนที่แข็งแรงดี แต่ทำลายภูมิคุ้มกันด้วยการดื่มหนัก สูบบุหรี่ หรืออดนอนจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลงได้เช่นกัน

..............................................................

สำนักข่าว BBC ได้ไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ UK แล้วนำมาสรุปให้เข้าใจง่าย ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ไข้หวัดหมู หรือหวัด 2009 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อ H1N1 กลุ่มเดียวกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ทว่า... มีความไม่ธรรมดาอยู่หลายอย่าง

...

(1). ชิ้นส่วนพันธุกรรม

  • ชิ้นส่วนพันธุกรรมไวรัสหวัด 2009 มีส่วนผสมทั้งจากไวรัสที่ทำให้คน นกหรือสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ และหมูติดโรคได้
  • กระบวนการพันธุ์ครั้งแรกน่าจะเกิดในหมู แต่ไม่ทำให้หมูเป็นโรค และทำให้คนเป็นโรคแทน

(2). อาการ

  • อาการส่วนใหญ่คล้ายไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือ ไข้ 38 องศาเซลเซียส และมีอาการอื่นๆ เช่น ไอ-จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น ปวดเมื่อย คนไข้บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โรคติดต่อกันได้เร็ว ระยะฟักตัวน่าจะสั้นคือ 2 วัน
  • ศ.นพ.ปีเตอร์ โอเพนชอว์ มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า คน 1 ใน 3 ที่ติดเชื้อไม่มีอาการเลย หรือมีอาการน้อยมากประเภท "หวัดเรียกพี่" คือ เกือบจะเหมือนหวัดทั่วไป
  • คนไข้ 98% ที่ติดเชื้อและมีอาการชัดเจนหายได้เอง ขอเพียงให้พักที่บ้าน ดื่มน้ำให้พอ และใช้ยาบรรเทาอาการ

(3). ทำไมคนแข็งแรงตายได้

  • ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ทำให้คนแข็งแรงตายได้เสมอ ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ฯลฯ และคนทั่วโลกก็ตายจากไข้หวัดใหญ่ทุกปีๆ ละ 250,000-500,000 คน

(4). ทำไมต้องระวังมากเป็นพิเศษ

  • ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้คนทั่วโลกตายกันมากมาแบบ 2 ยก ยกแรกเบาๆ สบายๆ, ยกสองร้ายกาจขึ้นแยะ
  • ปัจจัยกำหนดว่า ไวรัสจะกลายพันธุ์ได้หรือไม่มี 2 ปัจจัยได้แก่ การกลายพันธุ์จากภายใน และการผสมข้ามพันธุ์
  • การกลายพันธุ์จากภายในมีจะแปรตามจำนวนไวรัส ยิ่งมีคนติดเชื้อมากยิ่งมีจำนวนเชื้อมาก โอกาสกลายพันธุ์มาก เนื่องจากการกลายพันธุ์แบบนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งของการสร้างสารพันธุกรรมใหม่ เช่น สร้าง 10,000 ครั้งมีโอกาสกลายพันธุ์ 1 ครั้ง ฯลฯ
  • การผสมข้ามพันธุ์ คือ การแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนพันธุกรรมใหม่กับแหล่งโรค ข้ามไปข้ามมาระหว่างหมู คน และสัตว์ปีก ซึ่งที่น่ากลัวคือ การผสมข้ามกับไข้หวัดนกที่มีเชื้อตกค้างอยู่ในเอเชีย และซีกโลกใต้ เช่น อเมริกาใต้ ฯลฯ
  • ถ้าคนทั่วโลกช่วยกันป้องกันโรค จำนวนเชื้อจะลดลง โอกาสกลายพันธุ์จะลดลงทันที, ตรงกันข้ามถ้าคนทั่วโลกประมาท โอกาสติดโรคจะเพิ่ม จำนวนเชื้อจะเพิ่ม โอกาสกลายพันธุ์จะเพิ่มขึ้นทั้ง 2 รูปแบบทันทีเช่นกัน

(5). สหราชอาณาจักร (UK = หมู่เกาะอังกฤษ) มีคำแนะนำคนไข้อย่างไร

  • UK แนะนำให้อยู่กับบ้าน เปิดเว็บไซต์ NHS Direct = สายตรงสำนักสุขภาพแห่งชาติ หรือโทรศัพท์สายตรง หลังจากนั้นหน่วยบริการสุขภาพจะตัดสินใจว่า จะให้ยาหรือไม่ที่บ้านต่อไป
  • ถ้าอาการหนัก จึงจะพิจารณาให้ยากต้านไวรัส ซึ่งจะได้ผลเฉพาะในรายที่ให้ตั้งแต่แรกเริ่ม (early stage)

(6). ป้องกันโรคได้อย่างไร

  • การล้างมือด้วยสบู่และต้องล้างก๊อกน้ำด้วยช่วยได้มาก วิธีที่ดีคือ การพกสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ติดตัว ทำความสะอาดมือให้ทั่วถึงก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ หลังออกจากห้องน้ำ หลังใช้บริการขนส่งมวลชน
  • ถ้าไอ-จามควรใส่หน้ากากอนามัย, ถ้าดูแลคนไข้ใกล้ชิดในระยะ 2 เมตร ควรใส่หน้ากากอนามัยและสวมแว่นตา เพื่อลดโอกาสถูกคนไข้ไอใส่หน้า
  • อย่าใช้มือปิดปาก-จมูกเวลาไอ ให้ใช้กระดาษทิชชูแล้วทิ้ง หลังไอ-จามหรือสัมผัสหน้ากากอนามัยต้องล้างมือใหม่ทุกครั้ง
  • ห้องแอร์และที่ที่คนอยู่กันแออัด เช่น โรงหนัง ร้านอินเตอร์เน็ต รถทัวร์ ห้องแอร์ ฯลฯ เป็นแหล่งที่ทำให้คนเราติดโรคได้ง่าย
  • ใช้ช้อนกลาง ทำความสะอาดของที่มือสัมผัสบ่อย เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ ฯลฯ ด้วยน้ำสบู่ น้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน ไวรัสส่วนใหญ่จะตายหลังสัมผัสสบู่ เนื่องจากผิวนอกทำด้วยไขมัน
  • ไม่ควรใช้เมาส์-คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ถ้าจำเป็น, ควรปิดเครื่องก่อนทำความสะอาดด้วยผ้าชุบแอลกอฮอล์ และต้องระวังไฟดูด-ไฟไหม้เสมอ

(7). วัคซีนพอสำหรับทุกคนไหม

  • ไม่พอแน่นอน จะมีการจัดลำดับกลุ่มเสี่ยงสูงก่อน ซึ่งในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน กรณี UK คือ คนสูงอายุ คนที่อายุต่ำกว่า 16 ปี และคนที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง

... 

 

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Q&A: Advice about swine flu' = "คำถาม (questions / Q) และคำตอบ (answers / A): คำแนะนำเกี่ยวกับไข้หวัดหมู"

คลิกที่ลิ้งค์ > คลิกลำโพงหรือธงชาติ > ฟัง + ออกเสียงตาม 3 รอบ ย้ำเสียง (accent) หนักพยางค์ที่ทำตัวหนา-ขีดเส้นใต้

  • 'advice' > [ แอด - ไว้ - s ] > noun = คำแนะนำ > [ Click ]
  • 'advise' > [ แอด - ว่าย - z ] > verb = แนะนำ > [ Click ]
  • 'advisor' / ' adviser' > noun = ผู้ให้คำปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา

...

ตัวอย่าง > Our advisor advised us to learn English. = อาจารย์ที่ปรึกษาของเราแนะนำให้พวกเราเรียนภาษาอังกฤษ. His advice is very, very useful. = คำแนะนำของท่านมีคุณค่าสูงมาก

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 19 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 277997เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รักษาสุขภาพนะคะ

วันครอบครัวขอให้ท่านมีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ

บทความนี้น่าใช้สอนเด็กๆ มากเลยค่ะ โโยเฉพาะเรื่องอาการตามระบบเด็กจะจดจำง่าย เข้าใจอย่างรวดเร็ว

ขณะนี้สี่ยังปลอดภัยดีค่ะ ได้แต่ภาวนาอย่าให้กลายพันธุ์มิเช่นนั้นอาจยุ่งยากกว่านี้

อาจารย์หมอสบายดีนะค่ะ

ขอบคุณมากๆ ครับ // ขอบคุณทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นเช่นกัน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท