ก.สาธารณสุข-หวัด2009ร้ายไหม+ทำอย่างไรดี


"บางกอกทูเดย์" 23 กรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "กรมควบคุมโรคพร้อมลุย" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง > [ บางกอกทูเดย์ ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ เรียนเสนอให้แวะไปที่เว็บไซต์ "บางกอกทูเดย์" อ่านข่าว สาระบันเทิง หรือคลิกโฆษณา เพื่อเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนไทยนำเสนอเรื่องดีๆ สู่สังคมไทยต่อไปครับ [ บางกอกทูเดย์ ]

...

[ ข้อความคัดลอก ] > [ บางกอกทูเดย์ ]

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาดหนัก รองเจ้ากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่าง น.พ.สมชัย นิจพานิช พร้อมคณะ จึงออกเดินสายพบสื่อเพื่อทำความเข้าใจและป้องกันเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ [ บางกอกทูเดย์ ]

พร้อมขอให้สื่อเป็นกระบอกเสียงให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง โดยเริ่มที่ หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ เพื่อมาเข้าพบคณะผู้บริหาร และแจกหน้ากากอนามัยพร้อมเจลล้างมือให้แก่กองบรรณาธิการข่าว

...
น.พ.สมชัย ให้ข้อมูลว่า ในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการระบาดภายในประเทศแล้ว ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่ได้อย่างรวดเร็ว

การแพร่ระบาดของโรคจะแพร่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เกิดจากการถูกผู้ป่วยไอ จามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละอองฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ในระยะ 1 เมตร

... 

หรือได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ จึงทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก

หลังจากได้รับเชื้อ 1-3 วันจึงเริ่มมีอาการ มีน้อยรายที่นานสุด 7 วัน อาการโดยทั่วไปจะคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย

... 

ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้เองโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่บางรายที่มีอาการเรื้อรัง อาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรง จะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก

ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยรุนแรง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ และ เบาหวาน, ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ, โรคอ้วน, ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, หญิงมีครรภ์ หากมีอาการป่วยควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์พิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสม

... 

รวมทั้งให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ซึ่งเป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วยจะให้ผลการรักษาดี

คำแนะนำง่ายๆ สำหรับผู้ป่วย น.พ.สมชัย แนะนำว่า หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล

...

ควรให้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ งดดื่มน้ำเย็น หากเป็นไปได้ควรหยุดงาน หยุดเรียน จนกว่าจะหายเป็นปกติ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

ใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม ล้างมือบ่อยๆ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น

... 

แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที“ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

โดยให้ยาต้านไวรัสผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงทันทีทุกราย ตามขนาดของน้ำหนักตัว โดยไม่รอผลแล็ปและรับตัวไว้ดูแลอย่างใกล้ชิด

... 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในรายที่อายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป จะให้ตามขนาดน้ำหนักตัว ขนาดตั้งแต่ 25-75 มิลลิกรัม กินวันละ 2 ครั้ง หากอายุต่ำกว่า 1 ปี จะให้ตามช่วงอายุคือ ต่ำกว่า 3 เดือน, 3-5 เดือน และ 6-11 เดือน ให้กิน 12-25 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะเน้นเฉพาะในรายที่มีอาการป่วยรุนแรง มีปัญหาปอดบวม หรือรายที่รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น” น.พ.สมชัย กล่าวปิดท้าย.

[ ข้อความคัดลอก ]

หมายเลขบันทึก: 279717เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท