ฆ่ากันทำไมในเมื่อเราเป็นพี่น้องกัน(DNA)


ผู้เชี่ยวชา่ญหลายๆ ท่านกล่าวว่า ภาษาพม่าเป็นภาษาตระกูลธิเบต-พม่า (Tibetan-Burma) และที่ไม่ควรลืมคืือ กะเหรี่ยงกับพม่าน่าจะอพยพมาจากแหล่งเดียวกัน

ผลการศึกษาทางด้านรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ใหม่ๆ พบว่า คนเราไม่ว่าจะไม่ใส่เสื้อ ใส่เสื้อหลากสี สีเหลือง หรือสีแดง... ต่างก็น่าจะอพยพมาจากอาฟริกาคล้าย กัน โดยเฉพาะคนอาเซียนส่วนใหญ่น่าจะมีพันธุกรรมร่วมกัน คือ สาย 'O2'

...

ผลจากการศึกษา DNA ทำให้โลกรู้ว่า สงครามส่วนใหญ่มักจะเกิดในคนเผ่าพันธุ์เดียวกัน หรือเผ่าพันธุ์คล้ายๆ กัน เช่น เกาหลี-ญี่ปุ่นน่าจะมีต้นกำเนิดร่วมกัน แต่ฆ่ากันมาแทบจะตลอดประวัติศาสตร์ ฯลฯ

ไม่มีใครรู้ว่า ทำไมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงพบบ่อยในคนเผ่าเดียวกัน หรือมีเชื้อสายใกล้เคียงกัน ทว่า... ปรากฏการณ์นี้อาจจะคล้ายสัตว์ป่าตัวผู้ที่มัีกจะฆ่ากันเอง เพื่อเพิ่มโอกาสในการสืบทอดเผ่าพันธุ์

...

สำนักข่าวผู้ จัดการออนไลน์ตีพิมพ์ข่าวผลงานวิจัยดังจากจุฬาฯ ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร 'Science' และทำให้โลกรู้ว่า นอกจากโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจะทนต่อการติดเชื้อไข้จับสั่น (มาลาเรีย) แล้ว,... [ manager.co.th ]

โรคเม็ดเืลือดแดงแตกง่าย (G6PD-deficiency) ที่พบมากในไทย-เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อพยพมาจากธิเบต (น่าจะเป็นพี่ๆ น้องๆ กับพม่า เนื่องจากมีการจัดกลุ่มภาษาให้พม่าอยู่กลุ่มเดียวกับธิเบต และผลการศึกษา DNA พบว่า ใกล้เคียงกัน)

...

[ ขออนุญาตคัดลอกบทความจาก manager.co.th มาเพื่อให้คนไทยภูมิใจกับผลงานวิจัยของคนไทยครับ - ผู้ จัดการออนไลน์ ]

----//----

นักวิจัยจุฬาฯ ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรชาวกะเหรี่ยง พบผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD มีโอกาสรอดตายจากเชื้อมาลาเรียไวแวกซ์มากกว่าคนปกติ

หวังใช้เป็นข้อมูลพัฒนายาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้ผลข้างเคียงต่ำต่อผู้มียีนกลายพันธุ์

...

นางชาลิสา หลุยเจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาโครงการปริญญาเอกการญจานา ภิเษก (คปก.) เปิดเผยว่า

ภาวะพร่องเอนไซม์ กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส หรือ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) พบบ่อยในคนไทยประมาณ 10% ของประชากรทั้งหมด

...

โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการ ระบาดของเชื้อมาลาเรีย จึงสันนิษฐานว่าภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD น่าจะมีความสัมพันธ์หรือมีกลไกป้องกันโรคมาลาเรียได้
       
ทั้งนี้ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างเอนไซม์ G6PD ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ X และสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

...

ส่งผลให้เอนไซม์ทำงานผิด ปกติ โดยไปมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายและเกิดภาวะโลหิตจางเมื่อได้รับสิ่ง กระตุ้น เช่น การกินถั่วปากอ้า การติดเชื้อ หรือการได้รับยาบางชนิด

นักวิจัยได้ศึกษาระบาดวิทยา ของเชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (P. falciparum) และชนิดพลา สโมเดียม ไวแวกซ์ (P. vivax)

...

และศึกษาพันธุศาสตร์ประชากร ของการกลายพันธุ์ของยีนชนิด G6PD-มหิดล (G6PD-Mahidol487A) ในกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยและพม่าในจังหวัดราชบุรี

ซึ่งมีความชุกของภาวะพร่อง เอนไซม์ G6PD สูงกว่าบริเวณอื่นๆ โดยศึกษาในประชากรชาวกะเหรี่ยงประมาณ 384 ราย และติดตามเป็นระยะเวลาร่วม 7 ปี

...      
พบว่าการกลายพันธุ์ของยีนชนิด G6PD-Mahidol487A ส่งผลให้สภาวะของเม็ดเลือดแดงไม่ เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ 

แต่ไม่มีผลต่อเชื้อฟาล ซิพารัม โดยจากการตรวจหา ปริมาณเชื้อไวแวกซ์ในเม็ดเลือดแดง พบว่าในเม็ดเลือดแดงของ ผู้ที่มียีนกลายพันธุ์ชนิด G6PD-Mahidol487A มีเชื้อไวแวกซ์สูงกว่าใน เม็ดเลือดแดงของคนปกติ

...

ฉะนั้นผู้ที่มีภาวะพร่อง เอนไซม์ G6PD จึงมีโอกาสรอดชีวิตจากเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์สูง กว่าคนปกติ และยังเป็นครั้งแรกที่มีการพิสูจน์ได้ว่าเชื้อมาลาเรียชนิดไว แวกซ์เป็นตัวคัดเลือกการกลายพันธุ์ของยีนแบบ G6PD-Mahidol487A ใด้ดำรงอยู่ในเผ่าพันธุ์ ประชากรกลุ่มดังกล่าว

ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการตี พิมพ์ในวารสารไซน์ (Science) เมื่อเดือน ธ.ค. 2552

...      

นอกจากนั้น จากข้อมูลระบาดวิทยาของมาลาเรียในอดีตแสดงให้เห็นว่าโรคมาลาเรียมักพบบ่อยใน บริเวณที่ทำเกษตรกรรม ซึ่งทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมากขึ้น และมีประชากรมนุษย์อาศัยอยู่มาก จึงเป็นสื่อกลางที่เพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคมาลาเรียแพร่จากยุงสู่คนได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันชาวกะเหรี่ยง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทิเบตได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าเมื่อ ประมาณ 1,500 ปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณอายุของการกลายพันธุ์ของยีนชนิด G6PD-Mahidol487A ที่เริ่มเกิดขึ้นเมื่อราว 1,500 ปีที่แล้ว

...

"ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ความ รู้พื้นฐานในเชิงพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการของประชากร ทั้งยังเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงและส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยโรคมาลาเรียที่มีภาวะพร่อง เอนไซม์ G6PD น้อยที่สุด"

นางชาลิสา กล่าว ซึ่งในอนาคตนักวิจัยจะศึกษาต่อไปถึงความสัมพันธ์ของโรคมาลาเรียต่อผู้ที่มี ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD จากการกลายพันธุ์ของยีนชนิด G6PD-เวียงจันทร์ ซึ่งพบมากในคนไทย ลาว และกัมพูชา

----//----

[ ขออนุญาตคัดลอกบทความจาก manager.co.th มาเพื่อให้คนไทยภูมิใจกับผลงานวิจัยของคนไทยครับ - ผู้ จัดการออนไลน์

----//----

วิดีโอของผู้ เชี่่ยวชาญจากญี่ปุ่นให้ข้อคิดดีคือ

(1). โลกเรามี การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หลายรอบเหลือเกิน

(2). การฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์พบบ่อยในคนเผ่าเดียวกัน หรือเผ่าพันธุ์ที่ใกล้กัน

(3). คนในประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ (แผ่ไปทางเหนือถึงสิบสองปันนา - แผ่ไปทางใต้ถึงแนวนิวกินี แต่ไม่ถึงอะบอริจินส์ในออสเตรเลีย - แผ่ไปทางตะวันตกถึงตอนใต้ของพม่า - แผ่ไปทางตะวันตกถึงกัมพูชา) มีรหัสพันธุกรรม DNA เป็นแบบ 'O2a' หรือ "เผ่าที่เรียกว่า ไต (ไทย)"

ยกเว้นเวียดนามตอนเหนือ-กลางที่อพยพลงมาจากด้านตะวันออกของจีน และพม่าซึ่งอพยพลงมาจากธิเบตแล้ว... คนในอาเซียนส่วนใหญ่มีรหัสพันธุกรรม DNA แบบ 'O2' จึงไม่ควรรบราฆ่าฟันกัน เพราะเราต่างก็เป็นพี่น้องกัน หรืออย่างน้อยก็น่าจะมี "ปู่ของปู่ของปู่ของปู่ของปู่ของปู่ของปู่...." คนเดียวกัน

...

[ จำเป็นต้องชม วิดีโอเรื่อง 'DNA'+'Asia' หลายเรื่อง จึงจะได้บทสรุปนี้มา ]

----//--- 


----//----

----//----

หมายเลขบันทึก: 363144เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท