11 วิธีล้างผัก


ชีวิตจริงเรามักจะไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุด และมักจะต้องเลือกสิ่งที่ดีรองลงไป เรื่องพืชผักก็เช่นกัน...

ฝรั่งมีสำนวนหนึ่งที่มักจะใช้ไม่ได้ในชีวิตจริงคือ “มาตรฐานทองคำ (gold standard)”

มาตรฐานทองคำเป็นมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่มักจะสิ้นเปลืองมาก และไม่เหมาะกับคนหมู่มาก

คนส่วนใหญ่มักจะต้องใช้มาตรฐานที่ดีรองลงไป และใช้การได้จริง (practical) หรือใช้ของดีอันดับสอง (second best) เช่น รถเบนซ์คงจะเป็นรถมาตรฐานทองคำยี่ห้อหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับเรา... หรือเราอาจจะไม่เหมาะกับเบนซ์ ฯลฯ

การกินพืชผักให้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงเป็นเรื่องดีกับสุขภาพ ถ้ามีผักอนามัยปลอดสารพิษ หรือปลูกผักเองสดๆ ได้คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ชีวิตจริงเรามักจะไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุด และมักจะต้องเลือกสิ่งที่ดีรองลงไป เรื่องพืชผักก็เช่นกัน...

ดีที่สุดคงจะเป็นพืชผักออร์แกนิค (organic) ที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี และไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ดีรองลงไปคือ ซื้อผักทั่วไปมาล้าง 

วันนี้มี “วิธีล้างพืชผักเพื่อลดพิษภัย” จากวารสารหมอชาวบ้านมาฝาก 11 วิธีครับ

  • 1)           โซดาทำขนมปัง
    ใช้โซดาทำขนมปัง(โซเดียมไบคาร์บอเนต) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 20 ลิตร(1 กาละมัง) แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษได้ 90-95 %
    2)        น้ำส้มสายชู
     เตรียมน้ำส้มสายชู 0.5 % โดยใช้น้ำส้มสายชู อสร. 1 ขวดผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 60-84 %
    3)        น้ำไหล
    เด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะกร้าโปร่ง เปิดน้ำไหลแรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก ล้างนาน 2 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 54-63 %
    4)        แช่น้ำ
    ล้างผักรอบแรกให้สะอาด เด็ดผักออกเป็นใบๆ แช่ในอ่างน้ำนาน 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 7-33 %
    5)        ลวกผัก
    ลวกผักด้วยน้ำร้อนลดสารพิษได้ 50 % ส่วนการต้มนั้นลดสารพิษได้ 50 % เช่นเดียวกัน แต่จะมีสารพิษตกค้างในน้ำแกง จึงควรล้างผักลดสารพิษก่อนทำแกง
    6)        ปอกเปลือก
    การปอกเปลือก หรือลอกใบชั้นนอกออก เช่น กะหล่ำปลี ฯลฯ ช่วยลดสารพิษลงได้
    7)        คลอรีน
    ผสมผงปูนคลอรีน
    ½ ช้อนชากับน้ำ 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15-30 นาทีจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก
    8)        ด่างทับทิม
    ผสมด่างทับทิม 5 เกล็ดต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้
    9)        น้ำปูนใส
    เตรียมน้ำปูนใสอิ่มตัวผสมน้ำเท่าตัว แช่ผักทิ้งไว้
    10)  น้ำเกลือ
    ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้
    11)    น้ำซาวข้าว
    ใช้น้ำซาวข้าวล้างผัก
คำแนะนำ:                                                                      
  • น้ำไหล
    วิธีใช้น้ำไหลล้างผักค่อนข้างเปลืองน้ำ ถ้าเป็นไปได้, ควรเก็บน้ำล้างผักไว้รดต้นไม้ หรือใช้ทำประโยชน์อย่างอื่น
  • การล้างผลไม้
    การล้างผลไม้โดยใช้น้ำยาล้างจานกับฟองน้ำ(หรือสก๊อตไบรต์)เบาๆ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อที่อยู่บริเวณผิวของผลไม้ได้ การล้างไข่ก่อนทำอาหารก็ใช้วิธีนี้ได้
  • น้ำล้างจาน
    น้ำยาล้างจานมีสารคล้ายสบู่ เป็นสารประกอบกำมะถัน ซึ่งพืชผักใช้เป็นปุ๋ยได้ดีมาก สารคล้ายสบู่มีฤทธิ์ทำให้ดินร่วน ไม่จับตัวกันแน่น รากของพืชผักจะชอนไชไปหาอาหารได้ดีขึ้น
  • ล้างจานให้ได้บุญ
    ถ้าเราล้างจานแล้วตั้งความปรารถนาให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยบนดิน หรือใต้ดิน เช่น ไส้เดือนที่ช่วยพรวนดิน ทำให้ดินดี ฯลฯ ได้กินเศษอาหาร เศษพืชผักที่ติดไปกับน้ำล้างจาน ราดลงบนแผ่นดินด้วยความอนุเคราะห์ เราจะได้บุญทุกครั้งที่ล้างจาน ค่อยๆ วางเศษพืชผัก เศษอาหารลงบนแผ่นดินทีละน้อยๆ นับว่ามีส่วนช่วยเติมความอุดมสมบูรณ์ลงไป ต้นไม้จะได้เติบใหญ่...สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้อาศัย ใจเราก็จะได้บุญ
  • น้ำซักผ้า
    ผงซักฟอกมีสารคล้ายสบู่ เป็นสารประกอบฟอสฟอรัส(P) ใช้เป็นปุ๋ยรดพืชผักได้ เวลาใช้ควรใช้แต่น้อย หรือทำให้เจือจางก่อนรด ปุ๋ยจากน้ำซักผ้ามีฤทธิ์เร่งดอกไม้ได้คล้ายกับปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง น้ำยาซักผ้าหลายชนิดไม่ได้ใช้เกลือฟอสฟอรัส หันไปใช้เกลือกำมะถันแทน ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักได้ แต่จะไม่มีคุณสมบัติเร่งดอกได้เท่าปุ๋ยจากผงซักฟอก

 ขอแนะนำ...                                                                 

    แหล่งข้อมูล:                                              

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ผู้จัดทำ ล้อมกรอบ “ล้างผัก เพื่อลดพิษภัย”. วารสารหมอชาวบ้าน. ปี 16 ฉบับ 181. หน้า 22.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ  ๑๒ ต.ค. ๔๘
  • แก้ไขปรับปรุง ๑๖ กุมภาพันธ์ ๕๐.
หมายเลขบันทึก: 6540เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท