Holistic Corner : มุมมองใหม่ต่องาน ผู้พิการ ( ของผม )


มีปัญหาคาใจเรื่องผู้พิการมาก เพราะ นึกไม่ออกสักที ว่าจะทำอย่างไรดี มัมมีอะไรมากกว่า การขึ้นทะเบียน การให้เงิน การให้ขาเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาอีกไหม รู้สึกไม่จบ ที่นึกไม่ออกเพราะไม่ได้มีโอกาสได้ กระทำ นั่นเอง เป็นแต่ผู้วางแผนการบริการ ผู้บริหารการบริการให้คนอื่นทำ ไม่สนุกเลย ถ้าถามว่าชอบหมวกใบไหนที่สุด ผมชอบหมวก การเป็นหมอที่ pcu เพราะทำให้ผมตาสว่างหลายเรื่อง

ที่ต้องเรียกว่า มุมมองใหม่ ของผม  เพราะว่า คนที่ทำงานกับผู้พิการ จริง ๆ  น่าจะเข้าใจ ผู้พิการเป็นอย่างดีมากกว่าผมมาก ๆ    ( เมื่อวันก่อนผมเข้า web sit มหาวิทยาลัย มหาสารคาม  ที่คุณหนิง ทำงาน เกี่ยวกับ นิสิตพิการ ผมรู้สึกว่าเขาทำงานแบบเข้าใจ & มีความสุขมาก )  ขณะที่ผม มีประสพการณ์เรื่องนี้ถือว่าน้อย พอสมควรทีเดียว   แต่ก็คาดว่ายังมีคนที่ต้องทำงานกับผู้พิการ แต่ยังขาดมุมมองที่ผมได้มีโอกาส เจอะเจอ มากพอสมควร   

ผมมีหมวก 3 ใบ  ใบแรกเป็น  หมอ ที่โรงพยาบาลวารินชำราบ  ใบที่สองเป็น ประธานทีมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เครือข่าย CUP วารินชำราบ     ใบสุดท้าย เป็นหมอทำงานที่ PCU  ต้องเรียกว่าเป็นหมอทำงานที่ PCU  เพราะ  ทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของ pcu ไม่ใช่ ผู้อำนวนการ pcu มีหัวหน้า pcu  ชื่อพี่ สมสวย  ทำงานเวชปฏิบัติครอบครัว  ตามที่ควรเกิดใน งาน primary care  หมวกใบที่ 3 นี่ เพิ่งได้โอกาสทำงาน มา 3 เดือนนี่เอง

ในฐานะประธานทีมพัฒนาระบบบริการ ( ขอเป็นเอง ) จะต้องวางแผน ระบบบริการ ใน pcu ก็ทำมานาน ตั้งแต่ปี 2545  ค่อย ๆ ต่วมเตี่ยม แต่ไม่หยุดเดิน 

มีปัญหาคาใจเรื่องผู้พิการมาก เพราะ นึกไม่ออกสักที ว่าจะทำอย่างไรดี  มัมมีอะไรมากกว่า การขึ้นทะเบียน การให้เงิน การให้ขาเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาอีกไหม   รู้สึกไม่จบ  ที่นึกไม่ออกเพราะไม่ได้มีโอกาสได้ กระทำ  นั่นเอง  เป็นแต่ผู้วางแผนการบริการ ผู้บริหารการบริการให้คนอื่นทำ  ไม่สนุกเลย

ถ้าถามว่าชอบหมวกใบไหนที่สุด ผมชอบหมวก การเป็นหมอที่ pcu เพราะทำให้ผมตาสว่างหลายเรื่อง 

เมื่อวาน ผมตรวจผู้ป่วย ที่ PCU ราษฎรสำราญ    มีป้าคนหนึ่ง เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รักษากันมา ตั้งแต่ ปี 2546   เคยรักษา ที่ รพ.วารินฯ  รพศ.  และที่ pcu    ตลอด     เคยผ่านการรักษากับผม ก็หลายครั้ง  แต่ครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้ง   แกตาบอด สองข้าง ผม ถามว่ากินยายังไง  แกบอกแกจัดยากินเอง   ผมถามญาติที่พามาว่าจริง ๆ หรือที่แกจัดยากินเอง   ทำไมญาติ ตาดี ไม่เป็นคนจัดยาให้ล่ะ  

ผมรับรู้ว่า   ที่ รพ.เป็นเวลา 4 ปีมาแล้ว หมอ เภสัชกร ทุกคนเข้าใจว่า ญาติเป็นคนจัดยาให้กินมาตลอด    

ด้วยสามัญสำนึกว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น   และถ้ารู้ว่า ป้าแกจัดยากินเอง  เราก็แนะนำญาติให้เป็นคนจัดยาให้  เพราะแกตาบอด 

แต่  ความเป็นจริง  ตลอด 4 ปีที่ ผ่านมา แกจัดยากินเองตลอด   น้องสะใภ้ที่พามา  บอกผมอีกว่า แกเลี้ยงน้อง 5 คน ด้วยตัวเอง    ทำกับข้าวกินเอง ทำขนมจีนอร่อย มาก    นอกจากทำกับข้าวกินเอง นึ่งข้าวเหนียวเองแล้ว  แกคือแม่ครัว คนที่ทำกับข้าวให้คนในบ้าน ( ที่ตาดี ) อีก 5 คน  ที่บ้าน  คนตาดีแขวนท้องไว้กับแกทุกวัน   ล้างจาน ซักผ้าเอง    ผ่าฟืนเอง    เรียงฟืนเอง  ถ้าใครล้างจานไม่สอาดแกจะเอามาล้างใหม่  หลาน ๆ  แกก็เป็นคนเลี้ยงหลาน ป้อนข้าว อาบน้ำ  น้องทุกคนหาเงินมาได้ก็เอามาฝากแกเก็บ  แกรู้หมดว่าแบงค์อะไร  เวลาขอเงิน พัน สองพัน  แกนับเอามาส่งให้ได้    ผมฟังน้องสะใภ้แกเล่า จนเกือบลืมไปว่าแกตาบอด   พอนึกขึ้นมาได้  ผมถามแล้วถามอีกว่า  " อีหลี บ่อ ๆ  ๆ "   แปลว่า  "จริง ๆ หรือ "   ( ขอประทานโทษ คนชื่อหลีด้วยนะครับ  มันเป็นคำอุทาน ภาษาอีสานน่ะครับ )  

ถามได้ความว่าแกตาบอดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ  เพราะโรคตาแดง โรงพยาบาลสมัยนั้นไม่มี ก็ประมาณ 50 ปีก่อนนั่นแหละครับ   แกเลี้ยงน้องหมดทุกคน  อาบน้ำ ป้อนข้าวแต่งตัว  ทำกับข้าวให้กิน   จนน้อง ๆ  คุ้นเคยกับการที่แกทำให้  ตั้งแต่เด็กน้อย ตั้งจนตอนนี้ มีครอบครัว มีลูกกันหมด น้อง ๆ ก็ยังรู้สึกว่า แกคือพี่ที่พึ่งของทุกคนเหมือนเดิม  เหมือนเมื่อ 40 ปีก่อน  ไม่รู้สึกว่าแกไร้ความสามารถ     ก็ให้แกทำกับข้าวให้กิน   นึ่งข้าวเหนียวให้คนทั้งบ้าน  ดูแลบ้านเลี้ยงหลาน  ได้เงินมาก็เอามาฝากไว้   

วันนี้ผมไปเยี่ยมบ้าน  ตามที่บอกแกเอาไว้ 

กำลังนั่งเล่นกับหลานชาย ลูกของน้องสาวคนเล็ก

ป้าบอกว่า   แกจะตื่นตี 3 ทุกวัน มานึ่งข้าวเหนียวให้ทุกคน แล้วก็ นอนต่อ  ตื่นอีกที 6 โมงเช้า  ทุกวันก็จะนอนบนบ้าน  ตอนเช้าก็ลงบันไดมาเอง  (  ผมเผลอนึกว่า ตอนตี 3 มันมืดน่าดู  แกจะไม่สะดุดบันไดหรือ  แต่ก็นึกขึ้นมาได้ว่า แกก็มืดทั้งวันทั้งคืนอยู่แล้วนี่นา )  ถามว่ารู้ได้ยังไงว่า 6 โมงเช้า  แกบอกว่าฟังวิทยุทุกเช้า     ลองให้แกขึ้นบันไดให้ดู  แกเดินไปบันได เหมือนมองเห็น เดินขึ้นบันไดก็ว่องไว ไม่เหมือนคนตาบอดเลย     ขึ้นไปนั่งข้างบนบ้าน เฉย

 

   ก่อไฟนึ่งข้าวเอง

 

สับฟืนเอง  เอาฟืนไป วางกองกันเป็นระเบียบ  ( ทำได้ไงกันเนี่ย ????  ) 

ผมถามว่ากินยายังไงครับ แกบอกว่าแกให้น้องบอกครั้งเดียวว่ากินยัง ไง  ต่อมาแกก็จัดยากินเอง

แกแค่เพียงหยิบซองยาแกก็บอกได้ว่ากินอย่างไร   ผมเป็นงงมาก ๆ ก็ซองที่ใส่แผงยามันเรียบ ๆ เหมือนกันหมด  ที่สำคัญแกบอกถูกต้องทุกอย่าง  น้องสาวแกก็หัวเราะ เมื่อเห็นผม งงๆ   

เอาสมุดเบาหวานมาดูอีกที  ช่วงนี้ FBS BP ดีมาก ( จริง ๆดีมาเป็นปีแล้ว ) 

fbs 2546  258 mg %     เมื่อวาน  111 mg %

BP 2546  140/90 mmHg  เมื่อวาน  140/80 mmHg

ตอนกลับ น้องสาวเอา ข้าวโพดที่แกนึ่งเอง  บอกว่าอร่อย  สะอาดมาก( ตามนิสัยแก )  ให้ถุงหนึ่ง  ผมเอาให้ ภรรยา ลองกินดู บอกว่าอร่อยมาก  ( ผมนึกในใจ  แกรู้ได้ไงว่ามันสุก อร่อย พอดี )

เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

1. เวลามองคน แบบองค์รวม ทำให้เราเข้าใจความจริง  และควรนำมาใช้กับ  คนพิการทุกคน   เรามักจะคาดเดาผิด ๆ เสมอ   เข้าใจว่าคนพิการ ก็ คือคนไร้ความสามารถ     ต้องช่วยเหลือ   ผมลองสำรวจผู้พิการ ที่เราขึ้นทะเบียนไว้  พบว่า  มีบางส่วน  สามารถพึ่งพาตนเองได้ และบางครั้ง   เป็นที่พึ่งของคนอื่น ๆ เสียด้วยซ้ำ   เมื่อวันก่อน ผมคุยเรื่องนี้กับ พี่แมว หัวหน้า pcu ทุ่งบอน  แกบอกว่ามีคนพิการบางคน เป็นคนทำงาน หาปลาเลี้ยงดู พ่อแม่ ด้วยซ้ำ   ขณะที่ บางคน เกิดผลกระทบกับครอบครัวอย่างมาก  แค่การฟื้นฟูสภาพ ก็ยังไม่พอ   การแก้ไขปัญหา ควรเป็นไปตามบริบทของ  คนคนนั้น   มากกว่าการเหมารวม ด้วยความเข้าใจผิด เพราะไม่เคยได้รู้จัก  คนคนนั้นเลย

2. Home visit เป็นเครื่องมือ ที่มีพลังมาก ที่จะทำให้เรารู้จักคน สักคน มากขึ้น  เข้าใจบริบท ของคนไข้มากขึ้น  ทำได้ตลอดเวลา ทำได้ง่าย โดยเฉพาะ เมื่อเราทำงานที่ pcu   ซึ่งแสดงถึง  จุดเด่น ของ pcu ในเรื่อง การเข้าถึงได้ง่าย ( Easy accessibility ) และ การดูแลต่อเนื่อง  ( Continuety Care )   case นี้ ผมเจอแกมาตั้งแต่ปี 2546   ที่คลินิก สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รพ.วารินชำราบ  ไม่เคยได้รู้จักแก จริง ๆ เหมือนวันนี้เลย  หมอคนเดียวกัน ทำงาน ต่างที่กัน  บริบทต่างกัน  ก็มีข้อจำกัดที่ต่างกัน   ทำให้เห็นได้ว่า  primary secondary   และ tertiary Care เป็นระบบเดียวกัน เกื่อกูลกันด้วยบริบทที่ต่างกัน

3. การทำโครงการช่วยเหลือ ผู้พิการ  ดูเฉพาะ ชื่อ  ลักษณะความพิการ ระดับความพิการ  คงไม่พอแล้วละ  แต่คงต้อง มีระบบบริการต่อเนื่อง ตาม ความจริงเฉพาะราย    และเครือข่าย PCU ที่เข้มแข็งคือ กำลังสำคัญ ในการทำกิจกรรมนี้    เพราะสามารถรู้ ความเป็นจริงได้ง่าย กว่าการดูแลในระดับอื่น  ๆ     ก่อนกลับ  ผมถาม ป้าแกว่า อยากให้ช่วยอะไร  แกบอกอยากได้  "เงิน ค่าเลี้ยงชีพ ก็พอแล้ว "  เห็นว่าที่อื่นเขามีให้   ผมหัวเราะ ฮึฮึ  ( = ไม่มีคำตอบ )  นึกถึงเมื่อเดือนก่อน   พี่เขียด สสอ วาริน บอกว่า สปสช. มีโครงการช่วยเหลือผู้พิการ  ให้เขียนโครงการส่ง ภายในสิ้นเดือน  เราลองให้ pcu  สำรวจ ใช้วิธี ออกแบบสอบถาม  สิ่งที่ผู้พิการต้องการความช่วยเหลือ  ประมาณ 80 % ขึ้นไป  ขอเงินค่าเลี้ยงชีพ    ผมนึกในใจว่า ทำไมมีแค่นี้เองหรือ   ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผมต้อง ลงไปหาความจริงเอง ว่า จริง ๆแล้ว คนพิการต้องการอะไรกันแน่  วันนี้ก็พอ นึกมองเห็นทางบ้างแล้วละครับ 

แทนที่จะต้อง ทำงานแบบดำน้ำ  เสียงบประมาณไปเปล่า ๆ แบบที่เราทำมานานทั้ง ๆ ที่รู้ว่าน่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้   เราอาจทำงานได้เบาขึ้น ตรงกับความจริง มากขึ้น เพราะ ผู้พิการบางคน  เราอาจเพียงเฝ้ามอง รู้จักเขา และเขาก็รู้จักเรา ไว้ก็เพียงพอแล้ว   คงต้องเรียนรู้หาทางกันต่อไป  แต่ ภายในสิ้นเดือน  คงไม่ได้แล้วละครับ ( ผมมักจะอึดอัดกับ คำว่าภายในสิ้นเดือนมาก มันไม่น่าจะมีข้อจำกัดของห้วงเวลานะ งานแบบนี้น่ะ )

หมายเลขบันทึก: 82974เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เล่าได้ดีจังเลย

 อ่านเรื่องก่อน( เพราะภาพมาช้า)

แถมมีภาพประกอบตามมา ชัดเจนแบบ ตาสว่าง

ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณ คุณหมอจิ้น มากมากครับ

  • การที่เราเอาเครื่องมือของเราไปวัด ตัดสินเขา ด้วยมุมมองของเราอย่างเดียว มักจะผิดได้ง่ายครับ
  • ผมเคยเห็นกลุ่มวิจัยภาคสนามจากในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าไปแนะนำอะไรหลายๆอย่างกับชุมชน แล้วก็มีเรื่องแบบ อนุสาวรีย์ส้วม อยู่บ่อยๆ
  • เห็นบันทึกของคุณหมอ แล้วตาสว่างขึ้นอีกเยอะครับ ถึงจะอายุมากขึ้นแล้ว งานนี้ไม่รู้ ใครกันแน่ ที่ตาบอดนะครับ
  • ขออนุญาตแนะนำคุณหมออีกคนที่สนใจ humanized medicine ที่นี่นะครับ
ขอบคุณพี่ รวิวรรณ  กับพี่เต็ม ครับ  เมื่อเดือนก่อน เจอพี่ช้าง ( คุณหมอ สุพัตรา สพช. )  คุยกันหลายเรื่อง  ผมเล่าว่า  ผมมีความสุขกับการลงไปบ้านคนไข้ มีความสุขกับการเยี่ยมบ้าน กับการทำงานที่ pcu   กับคน pcu เป็นสมาชิก pcu   มากกว่าเป็น หมอที่บริหารโครงงาน หัวหน้าทีม พัฒนา  รอให้เขาสรุปแล้วเราก็คิดว่า ให้เขาทำอย่างไรต่อ    พี่ ช้างบอกว่ามันเป็น จริต ของเรา   แล้วในที่สุด คนจริตเดียวกันก็จะได้มาเจอกัน  ครับ
ทีมไม้เลื้อย รพร.กุฉินารายณ์

ขอขอบคุณหมอจิ้นที่ทำให้ทีมงานได้รู้จักผู้พิการดีขึ้น

บางครั้งการทำงานกับผู้พิการก็มีปัญหามากซึ่งบางอย่างก็ยากแก่การแก้ไข

แต่ถึงอย่างไรทีมงานก็ไม่ท้อจะทำงานนี้ต่อไป เพราะเป็นงานที่เรารัก

ทีมไม้เลื้อย

โครงการการช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาส

(ขอให้ให้เพื่อนๆช่วยส่งข้อความนี้ต่อไปให้คนอื่นๆ )

ผมทำงานให้หน่วยงาน NGO และได้รับอีเมล์เรื่อง “ความคืบหน้าโครงการการช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาสทั้ง 4 กลุ่ม” เมื่อผมอ่านอีเมล์นี้แล้ว ผมรู้สึกว่าอยากให้ทุกคน ช่วงส่งเสริมโครงการเหล่านี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาส ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

อีกทั้งคนที่จัดทำเว็บนี้ขึ้นมา มุ่งจัดทำขึ้นโดยน้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงมาทำให้บังเกิดผล(โปรดดูในเว็บไซด์โครงการ) ผมจึงอยากให้เพื่อนๆช่วยส่งข้อความนี้ต่อไปให้คนอื่นๆ เพื่อร่วมสร้างความดีถวายในหลวงและช่วยช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

อีเมล์ที่ผมได้รับ

3/8/2552

เรียน ผู้บริหารองค์กร และ ผู้บริหารเว็บไซด์

สำเนา ผู้ดูแลเว็บไซด์ และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จาก นายสัมฤทธิ์ ศรีสุวรรณรัตน์ (หัวหน้าส่วนโครงการพัฒนาสังคม wresearch)

เรื่อง ความคืบหน้าโครงการการช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาสทั้ง 4 กลุ่ม

(ขอความกรุณาให้ท่านช่วยส่งเอกสารเหล่านี้ไปยังหน่วยงานหรืององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อไป)

ผมในนามหัวหน้าส่วนโครงการพัฒนาสังคม wresearch ขอความร่วมมือมายังเว็บไซด์/องค์กร ของท่าน เพื่อขอเชื่อมโยงเว็บไซด์ของwresearch (3เว็บไซด์) กับเว็บไซด์ของท่าน และขอให้องค์กรท่านช่วยเผยแพร่ ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือในเรื่อง “การช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาส” ซึ่งทาง wresearch ได้จัดทำโครงการ เพื่อช่วยเหลือประชาชน 4 กลุ่ม ได้แก่ คนพิการ / เกษตรกร / กลุ่มคนยากจน/คนตกงาน / เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้น้อย ดังนี้

1. จัดทำเว็บไซด์ “Web ประกาศงาน – ที่รับผู้พิการเข้าทำงาน” ซึ่งเป็นเว็บไซด์สำหรับประกาศงาน ที่รับผู้พิการเข้าทำงาน(www.wresearch.org/helpdisable_webboard.php) โดยการประกาศรับสมัครงานในเว็บนี้ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งพยายามส่งเสริมให้เกิดองค์กร/บริษัท จัดหางานให้ผู้พิการ และดำเนินการติดต่อ องค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร บริษัทจัดหางาน สมาคม มูลนิธิต่างๆ เพื่อช่วยกันส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนพิการ สามารถมีงานทำ มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง

2.จัดทำเว็บไซด์ “ตลาดกลาง ซื้อ /ขาย /จอง สินค้าเกษตร-ประมง”

(เพื่อเพิ่มทางเลือกในการซื้อ/ขายสินค้า ให้กับ เกษตรกร-ชาวประมง-ผู้บริโภค-พ่อค้าคนกลาง) ซึ่งเป็นเว็บไซด์สำหรับประกาศซื้อ /ขาย /จอง สินค้าเกษตกร -ประมง (www.wresearch.org/helpfarmer.php) โดยการประกาศในเว็บนี้ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งพยายามส่งเสริมให้เกิดเว็บไซด์ลักษณะแบบนี้ขึ้นมาให้มาก เพื่อให้เกษตรกร-ชาวประมง มีชีวิตที่ดีขึ้นมีทางเลือกในการซื้อ/ขายสินค้าของตนเองมากขึ้น การถูกเอาเปรียบจากนายทุนบางราย ที่พยายามกดราคารับซื้อสินค้าเกษตรน้อยลง และดำเนินการติดต่อ องค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร สมาคม มูลนิธิต่างๆ เพื่อช่วยกันส่งเสริมเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าของเกษตรกร-ชาวประมง ให้มีมากขึ้น เกษตรกร-ชาวประมง ขายสินค้าได้ราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

3.จัดทำเว็บไซด์ “รวมหน่วยงานรับปรึกษาคดีความต่างๆ” (เพื่อช่วย

คนยากจน/คนตกงาน/ลูกจ้าง/บุคคลต่างๆ ให้ได้รับความเป็นธรรม ความยุติธรรม www.wresearch.org/helplaw.htm ) รวมทั้งดำเนินการติดต่อ องค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร สมาคม มูลนิธิต่างๆ เพื่อให้ช่วยกันส่งเสริมให้เกิดหน่วยงานและองค์กรที่ให้คำปรึกษาหรือให้ข้อมูลความรู้ทางกฎหมาย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือคิดในอัตราที่ต่ำมาก ลักษณะแบบนี้ขึ้นมาให้มาก เพื่อให้คนยากจน/คนตกงาน/ลูกจ้าง/บุคคลต่างๆ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมความยุติธรรม สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมความยุติธรรมผ่านหน่วยงานเหล่านี้ได้

4. ริเริ่ม โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อรายย่อย (เพื่อเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้น้อย) โดย จะพยายามผลักดันให้ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ เปิดบริการให้สินเชื่อ(เงินกู้)เพื่อผู้มีรายได้น้อย โดยผมหวังให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ(รวมทั้งธนาคาร/สถาบันการเงิน) ทั่วประเทศเป็นกำลังหลักในการผลักดันสินเชื่อผู้รายได้น้อย เพื่อทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถมีแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำ(ดอกเบี้ยถูก) เพื่อไม่ต้องกู้เงินนอกระบบ(ดอกเบี้ยแพง) อีกทั้งยังคาดหวังให้องค์กรต่างๆเข้ามาช่วยเหลือสหกรณ์(รวมทั้งธนาคาร/สถาบันการเงิน) ในด้านการให้ความรู้วิธีการวิเคราะห์และปล่อยสินเชื่อรายย่อย รวมทั้งการอบรมให้ความรู้ด้านธุรกิจแก่ผู้กู้ เพื่อให้ผู้กู้สามารถนำไปใช้ในการประกอบกิจการให้สำเร็จ (สหกรณ์/ธนาคาร/สถาบันการเงิน ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ และให้ความรู้การทำธุรกิจแก่ผู้กู้) เพราะในความคิดของข้าพระพุทธเจ้าเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้น้อยมิได้ต้องการเพียงเงินทุน หากแต่ยังต้องการคนที่ให้ความรู้ในการทำธุรกิจด้านต่างๆ อาทิ การตลาด การจัดการ ระบบบัญชี เป็นต้น ซึ่งโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อรายย่อย จะทำการส่งเสริมสินเชื่อใน 2 รูปแบบ คือ 1.สินเชื่อแบบผู้ประกอบการรายบุคคล กับ 2.การส่งเสริมสินเชื่อแบบผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่ม ผมคาดว่าปัญหาความยากจนเนื่องจากการไม่มีเงินทุนในการทำธุรกิจในอนาคตน่าจะลดลง ถ้าธนาคาร/สถาบันการเงิน/สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ เปิดโอกาสในการให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อย

ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ผมพยายามติดต่อองค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร สมาคม มูลนิธิต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาส ซึ่งได้รับความร่วมมือมากในระดับหนึ่ง นับจากนี้ไปผมจะพยายามขอความร่วมมือองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน 4 กลุ่ม (คนพิการ เกษตรกร และกลุ่มคนยากจน/คนตกงาน เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้น้อย) ตามจังหวัดใหญ่ๆทั่วประเทศ ซึ่งผมคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จึงสำเร็จผลเป็นรูปธรรม

ผมขอความกรุณาจากองค์กรทุกองค์กร และท่านทั้งหลาย โปรดร่วมมือและช่วยเหลือให้โครงการช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากยากจนและด้อยโอกาสต่างๆเหล่านี้ สัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใดสามารถส่งมาให้เราได้ที่ Email : [email protected]

ด้วยความนับถืออย่างสูง

หัวหน้าส่วนโครงการพัฒนาสังคม wresearch

นายสัมฤทธิ์ ศรีสุวรรณรัตน์

(อ.ปั้น – ติวเตอร์จุฬา ดินแดง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท