ระดับของการคิด


ระดับของการคิด

จากทฤษฎีของเพียเจต์ ทำให้สามารถคิดไปได้ว่าการคิดมีหลายระดับซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน การจะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับระดับการคิดนั้นๆ เพื่อสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียนมีการพัฒนาความสามารถในการคิดระดับนั้นจริงหรือไม่

เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom) นักจิตวิทยาการศึกษาอเมริกัน เสนอทฤษฏีแยกแยะทางความคิด (the Taxonomy theory) โดยมองว่า ความสามารถทางสมองของมนุษย์ในด้านการคิดจะมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนในการจดจำ เข้าใจและวิเคราะห์สิ่งต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งบลูมแบ่งความสามารถการคิดออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ การคิดรับรู้ (cognitive)” ซึ่งเป็นความสามารถของมนุษย์ในการจัดการข้อมูลข่าวสารต่างๆ,การคิดประทับ (affective)” ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ถูกรับรู้กับทัศนคติต่างๆที่เป็นผลจากทุนทางปัญญาของมนุษย์, และการคิดกระทำ (psychomotor)” ซึ่งเป็นกิจกรรมทางกายภาพ (physical) อันเป็นผลจากการคิด เขายังได้แยกการคิดรับรู้ (cognitive)เป็น ๖ ด้านคือ ความรู้ (knowledge), ความเข้าใจ (comprehension) ,การนำไปใช้ (application), การวิเคราะห์ (analysis), การสังเคราะห์ (synthesis) และ การประเมินค่า (evaluation) โดยเขาอธิบายด้วยแผนภาพดังนี้ บลูมยังอธิบายต่อไปว่าการคิดรับรู้ทั้ง 6 ยังสัมพันธ์กับการคิดประทับ (affective) อีก ๕ ชนิดคือ การรับรู้ (receiving), การโต้ตอบ (responding), การให้คุณค่า (valuing), การจัดการความรู้ (organizing) และ การสร้างอัตลักษณ์ (characterizing) ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นกระบวนการที่มนุษย์จัดการความรู้เพื่อสร้างตัวตน(characterizing) หรือ อัตลักษณ์ (identity) ของมนุษย์ อันจะก่อให้เกิดการแสดงความเป็นตัวตนออกมาสู่สังคม (psychomotor) [1]

(เอารูปลงไม่ได้ ลองดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Taxonomy_of_Educational_Objectives )

ความสัมพันธ์ของการคิดทั้ง 2 รูปแบบนี้เองที่บลูมนำมาอธิบายว่าความสามารถในการจัดการความรู้ผ่านทักษะการคิดนั้นส่งผลต่ออัตลักษณ์ของมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างไร

 

ความหมายของการคิดวิเคราะห์ (analysis thinking)

สารานุกรมวิกิพีเดียอธิบายว่า  การวิเคราะห์ (analysis)” นั้นโดยรากศัพท์ (ภาษากรีกโบราณ άνάλυσις (อ่านว่า analusis [อานาลูซิส]) หมายความว่า การทำลายความซับซ้อนของสิ่งต่างลง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เบนจามิน บลูม มองว่าการคิดวิเคราะห์เป็นการเน้นการตีความข้อมูลหลักไปยังองค์ประกอบย่อย และเป็นการค้นหาความสัมพันธ์และแนวทางที่ใช้ในการจัดการ การวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสื่อออกมาให้เห็นได้โดยผ่านเทคนิคและวิธีการการสรุปความที่มีประสิทธิภาพ การคิดวิเคราะห์จึงเป็นการพิจารณาไต่ตรองหาเหตุผลให้กับข้อมูลต่างๆโดยนำองค์ประกอบหลักและย่อย ของข้อมูลนั้นๆมาหาความสัมพันธ์เชื่อมโยง จนสามารถประกอบเป็นโครงสร้างหรือภาพรวม และหาทางออกหรือแนวทางแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้บลูมยังกล่าวอีกว่า ลักษณะของการคิดวิเคราะห์มี ๓ ประเภท คือ[2]

๑. การวิเคราะห์เนื้อหา ในข้อมูลต่างๆนั้นอาจประกอบด้วยส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงความคิดเห็นของผู้เขียน หรือค่านิยมซึ่งได้แก่ ความสามารถในการตระหนักรู้ซึ่งไม่กล่าวถึงข้อสันนิษฐาน, ทักษะในการจำแนกความจริงจากสมมติฐาน, ความสามารถในการจำแนกความจริงจากข้อมูลเบื้องต้น, ทักษะในการบ่งชี้และในการพินิจพิเคราะห์ระหว่างกระบวนการพฤติกรรมกับอ้างถึงยังแต่ละบุคคลและกลุ่ม และความสามารถที่บ่งชี้ข้อสรุปจากข้อมูล

๒. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผู้อ่านจะต้องมีทักษะในการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหลักกับส่วนอื่นๆ เช่นสมมติฐาน ซึ่งได้แก่ ทักษะความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดในข้อความ, ความสามารถในการระลึกในส่วนของเหตุผลของการตัดสินใจ, ความสามารถในการระลึกซึ่งเป็นความจริงหรือข้อสมมติฐานเป็นสำคัญหรือข้อโต้แย้งที่สนับสนุนข้อความนั้น, ความสามารถในการตรวจสอบความเที่ยงของสมมติฐานซึ่งให้ข้อมูลและข้อสันนิษฐาน, ความสามารถในการจำแนกความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลกระทบจากส่วนอื่นๆ ของความสัมพันธ์, ความสามารถในการจำแนกความสัมพันธ์ของข้อมูลในข้อโต้แย้งไปยังความสามารถในการจำแนกความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่นอกเหนือไป และความสามารถในการระลึกความสัมพันธ์และรายละเอียดที่สำคัญและไม่สำคัญในข้อมูลนั้น

๓. การวิเคราะห์หลักการ เป็นการวิเคราะห์ระบบหลักการโครงสร้างที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงความชัดเจนและไม่ชัดเจนของโครงสร้างในการวิเคราะห์หลักการนี้จะต้องวิเคราะห์แนวคิดจุดประสงค์และมโนทัศน์ ซึ่งได้แก่ความสามารถในการวิเคราะห์ ในรายละเอียดของงาน ความสัมพันธ์ของข้อมูลและความหมายขององค์ประกอบต่างๆ, ความสามารถในการวิเคราะห์รูปแบบในการเขียน ความสามารถในการวิเคราะห์จุดประสงค์ของผู้เขียน ความเห็นของผู้เขียนและความรู้สึกที่มีต่องาน, ความสามารถในการวิเคราะห์ถึงมโนทัศน์ของผู้เขียนว่ากำลังกล่าวถึงสิ่งใด, ความสามารถในการวิเคราะห์ถึงส่วนที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อและ ความสามารถในการวิเคราะห์ถึงจุดที่เป็นอคติของผู้เขียน

ดูต่อเรื่อง เทคนิคการใช้ผังกราฟิก http://gotoknow.org/blog/iammean/237842


[1] Lorin W. Anderson, David R. Krathwohl, Peter W. Airasian, Kathleen A. Cruikshank, Richard E. Mayer, Paul R. Pintrich, James Raths and Merlin C. Wittrock (eds.) A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing - A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives, (New York : Addison Wesley Longman, 2001). Quote in  http://en.wikipedia.org/wiki/Taxonomy_of_Educational_Objectives  อนึ่งบลูมยังแบ่งการคิดแบบที่ 3 ออกเป็นอีก 7 แบบ คือ การรับรู้ (perception), การจัดการความคิด (set or mind sets), การทดสอบ (guide respond) , การจัดระบบการกระทำ (mechanism), การแสดงออกอย่างชัดเจน (complex overt respond) และการปรับตัว (adaptation) (Elliot W. Eisner,

Prospects: the quarterly review of comparative education

(Paris, UNESCO: International Bureau of Education), vol. XXX, no. 3, September 2000.: 1 - 7)

[2]Eisner, “Benjamin Bloom”  2000 : 6 )

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 237841เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ในงานดุษฎีนิพนธ์ ก็ใช้ทฤษฎี ของบลูม อ้างค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับการเผยแพร่ทฤษฎีของบลูมค่ะ

จะทำผลงาน ชำนาญการพิเศษค่ะ ได้ไปอบรมกับท่านอาจารย์ที่ ม.ราชภัฏแห่งหนึ่ง ท่านบอกว่า ทฤษฎีของบลูม เปลี่ยนไหม่แล้ว

การคิดรับรู้ (cognitive)แบ่งเป็น ๖ ด้านคือ ความรู้ (knowledge), ความเข้าใจ (comprehension) ,การนำไปใช้ (application), การวิเคราะห์ (analysis), การสังเคราะห์ (synthesis) และ การประเมินค่า (evaluation)

ในส่วนของ การสังเคราะห์ (synthesis) และ การประเมินค่า (evaluation) ไม่ใช้แล้ว ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ไหนคะ ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ และผมเองก็เพิ่งลองอ่านบลูมครั้งแรก

สิ่งที่ผมอ่านผมเขียนไว้แล้วใน index ครับ

คุณสามารถเข้าไปศึกษา ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน 6 ข้นของบลูมที่

ftp://download.intel.com/education/Common/th/Resources/DEP/skills/Bloom.pdf ค่ะ

ขอบคุณนะคะ :) ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่เริ่มทำวิจัยค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท