ฌาคส์ รองสิแยร์ กับ การเมืองและสังคมประชาธิปไตย ๓


กล่าวได้ว่าความเท่าเทียมที่ถูกพูดถึง/คิดถึงในด้านหนึ่งนั้นสามารถสร้างปัญหาในสังคมการเมืองประชาธิปไตยได้ ความเท่าเทียม เห็นได้จากการที่ ความเท่าเทียม ถูกพยายามที่จะลดบทบาทของอำนาจครั้งหนึ่งที่สำคัญคือในสหรัฐอเมริกาที่ข้อเสนอของพับลิอัส(Publius) หรือ นักสหพันธรัฐ(The Federalists)” ใน สารสหพันธรัฐ(The Federalist Paper)”[1] ที่เห็นว่าแม้ประชาธิปไตยแบบนครรัฐเอเธนส์จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการกระจายอำนาจไปสู่ คนหมู่มาก และเป็นการปกครองที่ดีที่สุดก็ตาม แต่ทว่าเขาก็เห็นว่าประชาธิปไตยโบราณนั้นไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้กับโลกสมัยใหม่ทั้งหมด เพราะ

...รูปแบบการปกครองแบบโบราณนั้น หากจะนำมาปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมใหม่คงเป็นไปได้ยาก... เพราะปัจจุบันความรู้ในทางการเมืองการปกครองนั้นมันได้พัฒนาขึ้นมากแล้ว มีเรื่องทางการเมืองการปกครองมากมายที่มนุษย์ในปัจจุบัน รู้มากกว่าที่บรรพบุรุษของเรารู้ เช่น เรื่องการแบ่งแยกอำนาจโดยให้มีการตรวจสอบอำนาจนิติบัญญัติ, การมีสถาบันตุลาการที่ดำรงตำแหน่งได้ตราบเท่าที่ยังประพฤติตนได้ดี การมีการเลือกตั้งตัวแทนของตนให้เป็นผู้ออกกฎหมาย ต่างๆนี้เป็นสิ่งมนุษย์สมัยใหม่ค้นพบ หรืออาจเป็นการทำให้หลักการต่าง(ทางการเมืองการปกครอง)พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์...เพื่อหลีกเลี่ยงความบกพร่องของรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้นได้...[2]ในประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าหมายความว่าในสังคมที่มีพลเมืองจำนวนน้อยนั้นจะไม่สามารถสะสางปัญหา(mischief)เรื่องเสียงข้างมาก... มันไม่มีอะไรมาตรวจสอบความพยายามอันน่าสะอิดสะเอียนในการชักจูงผู้คน จากพวกนักการเมืองทั้งหลายที่มีอำนาจชักจูง อันมาจากความสามารถในการอุปถัมป์ผู้ออกเสียงในสภาแบบนี้ ที่ลดรูปทุกอย่างของพลเมืองจนเหลือเพียงความเท่าเทียมกัน...[3]

มุมมองของพับลิอัสต่อสังคมการเมืองของเขา จึงแสดงให้เห็นว่าการเข้าใจใน ความเท่าเทียม ในสังคมการเมืองประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ไม่ต่างกับที่รองสิแยร์มองเห็น เนื่องด้วยสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางความคิดว่าด้วย ประชาธิปไตย ของโลกสมัยใหม่นั้นก็คือเรื่อง ฉันทามติ(concensus)” ที่สำหรับรองสิแยร์แล้วก็เป็นเพียงวิธีการของสังคมการเมืองสมัยใหม่ในการกีดกัน(exclusion)ความเห็นที่แตกต่างออกไป ผ่านภาพของการทำให้เห็นว่าฉันทามตินั้นเป็นเป็น ความเห็นสาธารณะ(public opinion)”[4] ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ต่างอะไรกับที่เสียงข้างมากถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองภายใต้มโนทัศน์เรื่องเผด็จการเสียงข้างมาก(tyranny of majority) ที่ดูจะเป็นรูปแบบสุดท้ายของการแปรรูปเปลี่ยนร่างเสียงต่างๆของสมาชิกในสังคมการเมืองให้กลายเป็นข้ออ้างความชอบธรรมของนักการเมือง แล้วจากนั้นก็เก็บกดปิดกั้นเสียงอื่นๆด้วยตรรกะของการตรวจตรา/ตำรวจต่อไป



[1] The Federalist Paper ถูกเขียนขึ้นโดย อเลคซานเดอร์ แฮมิลตัน(Alexander Hamilton), เจมส์ เมดิสัน(James Madison) และ จอห์น เจย์(John Jay) ร่วมกันภายใต้นามปากกาว่า Publius ซึ่งมาจากชื่อของกงสุลโรมันคือ พิวบลิอุส วาเลริอุส พิวบลิโคลา(Publius Valerius Publicola) เพื่อสื่อว่าเป็นงานเขียนที่ต้องการ ให้ สิ่งที่ดีแก่ มหาชนรัฐ อันเป็นลักษณะการใช้ชีวิตทางการเมืองของเขาที่ถูกบันทึกไว้โดยพลูทาร์ก(Plutarch)โปรดดู ลีโอ สเตร๊าส์ และ โจเซ็ฟ ครอปซีย์, ประวัติปรัชญาการเมือง เล่ม 3, แปลจาก History of  Political Philosophy, โดย สมบัติ จันทรวงศ์ (กรุงเทพฯ : คบไฟ, 2550), น. 12. อนึ่งในปัจจุบันคำว่า Federation นั้นแปลว่า สมาพันธรัฐ โดยที่คำว่า สหพันธรัฐ จะใช้คำว่า Confederation ทว่าในอเมริกาช่วงนั้น ทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน ชาวอเมริกันที่เรียกตนเองว่า Federalist คือผู้ที่ให้การสนับสนุนแก่ระบบ Confederation  เพิ่มเติมโดยละเอียด โปรดดู สมบัติ จันทรวงศ์, มหาชนรัฐ และประชาธิปไตย : ความคิดทางการเมืองอเมริกัน ค.ศ. 1776 – 1800. (กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528), น. 221 – 225.

[2] Publius(Hamilton), “The Federalist No. IX(from The New York Packet, Fraiday, November 23, 1787),” in Alexander Hamilton, James Madison and John Jay, The Federalist, Or The New Constitution. (London : J. M. Dent & Son Ltd., 1948), p. 36 – 40.

[3] Publius(Madison), “The Federalist No. X(for The Independence Journal),” in Alexander Hamilton, James Madison and John Jay, ibid, p. 46.

[4] Jacques Rancière, ibid, p. 106, 115 - 116.

หมายเลขบันทึก: 237903เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท