โปรแกรมเมอร์จิ๋วแจ๋วอัจฉริยะ ผู้พลิกมุมมอง+ ของเกมในโลกไซเบอร์


"...เกมคือสื่ออย่างนึง ขึ้นอยู่กับมุมมอง หากมองในแง่ดี เกมจะเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่ให้ความสุขกับเรา คลายเครียดและผ่อนคลาย หากมองในอีกแง่มุมนึงก็จะเหมือนกับที่เป็นข่าว ขึ้นอยู่กับที่เราเล่นแบบไหน แบ่งเวลาเป็นไหม ควรจะหาเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ที่สำคัญคือโลกแห่งความจริง..."

พีรพัทธ์ นันนารารัตน์  หรือ ”น้องฮง” นักเรียนชั้นมัธยมศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมน้อมเกล้า กับบทบาทหลายหน้าที่เป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ , นักโอเพนซอร์ส , นักพัฒนาเกม และแกนนำผู้ร่วมก่อตั้ง  เครือข่ายเยาวชนเพื่อพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ไทย  ผู้สัมผัสเกมตั้งแต่วัยเด็กตั้งแต่อายุไม่ถึง 10 ขวบ ด้วยเหตุที่ว่าเห็นเพื่อนและคนอื่นๆ เล่นกันอย่างสนุก แต่น้องฮงมองเห็นคุณค่าของเกมมากกว่าความสนุกอย่างที่เด็กในวัยเดียวกันมองกัน  เพราะเขาสนใจอยากจะสร้างเกมนั่นเอง 

จินตนาการและความคิดก็เริ่มโลดแล่นในวัยที่น้องฮังอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เริ่มเรียนรู้ด้านกราฟฟิก แต่เมื่อเรียนรู้แล้วเมื่อไหร่จะกลายเป็นเกมซักที ประกอบกับเห็นเกมหลายๆเกมสร้างไม่สำเร็จ แล้วอะไรคือหัวใจของเกมนั่นคือโปรแกรมเมอร์ น้องฮงจึงเบนเข็มทิศทางใหม่ด้วยการศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง ค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด จนเจอหนังสือที่จุดประกายความคิด   “เริ่มต้นการพัฒนาเกม” ประกอบกับได้รู้จักรุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียนที่มีหัวใจเดียวกันที่จะสร้างสรรค์เกมขึ้นมา  จึงรวมตัวกันในกลุ่มของ IGD ปฏิบัติการนักพัฒนาเกมรุ่นเยาว์  โดยสร้างเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งจากโปรแกรมสำเร็จรูป จนกระทั่งหัดเขียนโปรแกรมเอง จากเกมแรกคล้าย Quake II และด้วยความคึกคะนองของวัยรุ่นทำให้เกมที่สร้างขึ้นเป็นไปลักษณะเกมที่ยิงกัน เพื่อเอาความมันส์และ ความสนุกอย่างเดียว

            ด้วยหัวใจคำนึงถึงคุณค่าของเกมได้ฉุกคิดให้น้องฮง เปลี่ยนตัวเองมาสร้างเกมที่ใส่ใจสังคมมากขึ้น สิ่งที่คนทำเกมต้องการคงไม่ใช่การให้ผู้เล่นชนะแล้วยืนเหนือเกม แต่เกมนั้นจะต้องชนะ(ใจ)ผู้เล่น และต้องอยู่บนกฎเดียวกันกับหุ่นยนต์ คือไม่ทำให้มนุษย์เดือดร้อน เช่น เกมลดโลกร้อน Sci Fi  เกม Confuse Way   เกม Different Era  เกมฝนหลวง เกม BKK TaXo MeTroN หรือเกมTaxi เที่ยวกรุงเทพ เล่นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเราจำลองกรุงเทพของจริงมาใส่เกม นับเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่คิดสร้างมา และอยากให้เกมนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ iGame For Social ให้คนในสังคมพลิกด้านดีๆ ของเกมมาพัฒนามุมมองบวกของโลกไซเบอร์ต่อไป

เว็บมาสเตอร์ พัฒนาเกมเพื่อสังคมไทย

www.thaiopengames.org

 อ่านต่อที่นี่ค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 312922เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท