ทำไมต้อง..เด็กยิ้ม? “เด็กดอยสร้างเว็บเพื่อสิทธิเด็ก”


หลายครั้งที่เรามักได้ยินคำว่า “เด็กไร้สัญชาติ” จนเกิดเป็นคำถามว่า ในประเทศไทยมี “เด็กไร้สัญชาติ” อยู่มากน้อยเพียงใด และเด็กเหล่านี้ได้รับ “สิทธิ” เทียบเท่าเด็กไทยหรือไม่อย่างไร....

หลายครั้งที่เรามักได้ยินคำว่า “เด็กไร้สัญชาติ”  จนเกิดเป็นคำถามว่า ในประเทศไทยมี “เด็กไร้สัญชาติ” อยู่มากน้อยเพียงใด และเด็กเหล่านี้ได้รับ “สิทธิ” เทียบเท่าเด็กไทยหรือไม่อย่างไร....

หากอยากรู้เรื่องราวเหล่านี้ ลองมาฟังละอ่อนน้อยวัย 14 ปี อย่าง “น้องหนุ่ม  นิลตา” จากจังหวัดเชียงราย ที่จะบอกเล่าเรื่องความเป็นมาของการเริ่มต้นพัฒนาเว็บไซด์เรื่องราวของ “สิทธิเด็กเว็บไซต์” ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของเด็กซึ่งมีปัญหาเรื่องสิทธิด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่อง “สัญชาติ” ที่เด็กหลายคนมีปัญหาเรื่องความยากจน ปัญหาการศึกษา และปัญหาด้านการเดินทางออกนอกพื้นที่ ซึ่งรากเหง้าของปัญหาคือ “การไม่มีสัญชาติ” นั่นเอง และด้วยความคิดที่ว่า "อยากให้เว็บนี้เป็นเว็บที่ช่วยผลักดันให้เด็กทุกคนในประเทศไทยและบนโลกนี้มีแต่รอยยิ้ม ได้เรียนหนังสือ ได้มีอิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่มีความแตกแยก ในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ และวัฒนธรรม" กิจกรรม “เด็กดอยสร้างเว็บเพื่อสิทธิเด็ก” จึงเกิดขึ้น

น้องหนุ่มบอกว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ICT เพื่อการพัฒนา ของมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การแพลน ประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อต้นปี 2551 ด้วยการรวบรวมเด็กนักเรียนใน 3 เขต ได้แก่ อ.แม่สาย อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.แม่จัน จาก 6 โรงเรียนจำนวนทั้งหมด 18 คนในจังหวัดเชียงราย   มาอบรมการทำเว็บไซด์ประมาณหนึ่งเดือน โดยมีแนวคิดคือต้องการสื่อสารผ่านระบบ  internet ให้บุคคล

ภายนอกได้รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มูลนิธิทำอยู่ และใช้เป็นช่องทางการสื่อสารในมุมอับของสังคมให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอีกมุมหนึ่งของสังคม เพื่อเป็นช่องทางในการระดมทุนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบท  โดยทีมงานมูลนิธิกระจกเงา เป็นผู้อบรมให้และเป็นที่ปรึกษาในการดูแลเว็บไซด์

“การอบรมน้องๆทั้ง 18 คน เริ่มต้นด้วยการระดมสมองในการพัฒนาเว็บไซด์ของตัวเองทั้งเรื่องเนื้อหา และรูปแบบของเว็บไซต์   พร้อมกับเปิดเว็บไซต์ในชื่อว่า “www.dekyim.orgเมื่อเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา”

น้องหนุ่มบอกว่า  แม้ว่าการทำงานจะพบอุปสรรคมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใส่ในเว็บไซด์ การตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง  ที่ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิช่วยตรวจสอบ ทำให้การทำเนื้อหาเว็บไซต์ค่อนข้างมีปัญหา หรือแม้แต่โครงสร้างของการทำงาน ที่มีทีมงานมาจากหลากหลายโรงเรียน ซึ่งในระยะเริ่มต้นทางมูลนิธิกระจกเงาจะสามารถช่วยเหลือให้เด็กได้มีโอกาสประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้  แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็จะไม่สามารถจัดการประชุมระดมสมองได้เลย เนื่องจากอยู่กันคนละพื้นที่   ทีมเลยคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยการให้กลุ่มของน้องหนุ่มที่อยู่อำเภอเดียวกันประมาณ 5 คน ดำเนินการไปก่อน เพื่อให้เว็บไซด์อัพเดทอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังพบว่าการประสานงานกันผ่านทางบอร์ดของเว็บไซด์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ เพราะควรตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา 6  เดือนน้องหนุ่มบอกว่ายังไม่สมารถนัดประชุมเพื่อวางแผนทำเว็บไซด์ได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่สำคัญคือการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และ Internet ของเด็กๆ เนื่องจากแต่ละคนไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว จึงต้องใช้ที่โรงเรียน ซึ่งบางโรงเรียน (แม้เป็นโรงเรียนที่ส่งเด็กเข้าอบรม) ก็ไม่ยอมให้ลงโปรแกรมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็กที่เข้ามาทำงาน เด็กๆ จึงต้องไปใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ซึ่งจะทำได้ก็เพียงแค่นัดหมายงานเท่านั้น เพราะไม่มีโปรแกรมที่ใช้ทำงานได้เช่นกัน ปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์คืออีกปัญหาหนึ่ง น้องหนุ่มบอกว่าเนื่องจากเว็บไซด์ดังกล่าวเป็นเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

“สิทธิเด็ก”  ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะทางมาก  คนทั่วไปจึงมองว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อการเข้าถึง ทำให้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของน้องๆ คือ ต้องการให้คนทั่วไปทราบเรื่องราวที่ตนกำลังทำอยู่ เมื่อไม่สามารถทำได้ดี  จึงทำให้น้องๆ เริ่มหมดกำลังใจลงไปเรื่อยๆ และหากถามว่าสขณะนี้เด็กๆ ต้องการการสนับสนุนในด้านใด  น้องหนุ่มตอบอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ การช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซด์และการจัดค่ายอบรมทีมงานต่อเนื่องไปอีก”  ทั้งนี้เพราะหวังว่าจะมีสมาชิกอาสามาช่วยกันพัฒนาเว็บไซด์ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

แต่อุปกรณ์ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการทำงาน เช่นคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป หรือแม้แต่อุปกรณ์การสื่อสารที่น้องๆ บอกว่าต้องการโทรศัพท์มือถือไว้สำหรับประสานงานกันระหว่างทีมงานด้วยกันเองก็ดูเป็นเรื่องจำเป็นเหมือนกัน รวมทั้งงบประมาณด้วยที่น้องหนุ่มบอกว่า เพราะขณะนี้แม้หน้าเว็บไซต์จะยังไม่หมดอายุ แต่เว็บดังกล่าวก็ไม่ได้มีการอัพเดทข้อมูลมาระยะหนึ่งแล้ว 

ถึงวันนี้แม้จะพบปัญหาอุปสรรคนานับประการ แต่น้องหนุ่มก็บอกว่า ไม่ท้อ และจะพยายามต่อไปเพื่อให้ “สิทธิเด็กไร้สัญชาติ” ได้รับการรับรู้จากคนในสังคม แม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม...

 

 

เงาเชียงราย มูลนิธิกระจกเงา 241 หมู่ 1 ต.แม่ยาว อ. เมือง จ.เชียงราย 57100

คุณพีระพล  โพยะโล  โทร : 053-737 412-3 , 080-124-4624  email: [email protected] 

หนุ่ม นิลตา มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย โทร.087 -737-5838

หมายเลขบันทึก: 312936เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท