"ทดแทน" ทางเลือกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้...


ศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง, ค้นคว้าหาความรู้จากตำรา, และถามจาก "ผู้รู้"

              การขาดความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี่และระบบเครือข่ายของเด็ก ๆ ในชนบท อาจจะเป็นอีกประเด็นสำคัญในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลาและต้องใช้ความร่วมมือกันของหลาย ๆ ฝ่าย...

             ผมมองว่า "ทางเลือก" ของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของเด็กชนบทก็มีอีกหลายทางที่พอจะ "ทดแทน" การขาดความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี่และระบบเครือข่ายนะครับ...

              การศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการไปสัมผัสจริง ๆ กับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว ซึ่งชนบทมีแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่น่าสนใจมากกว่าเมืองกรุงนะครับ...

              ค้นคว้าหาความรู้จากตำรา ในห้องสมุดของโรงเรียนหรือห้องสมุดชุมชน ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มก็เป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ในสิ่งที่เด็ก ๆ ไม่เคยได้สัมผัสมานะครับ...

              ถามจาก "ผู้รู้" ไม่ว่าจะเป็นคุณครู พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในชุมชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ในเรื่องเหล่านั้นนะครับ และความรู้ที่เราได้รับก็เป็นความรู้จากประสบการณ์จริงด้วยครับ...

             แม้มันอาจจะไม่ง่ายเหมือนแค่ปลายนิ้วสัมผัส แต่มันก็เป็นการฝึกฝนตัวเราให้มีความเพียรพยายาม ในการศึกษาเรียนรู้นะครับ และมันก็จะเป็นคุณสมบัติดี ๆ ที่อีกข้อหนึ่ง ที่จะติดตัวเราไปเมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ครับผม...

หมายเลขบันทึก: 258703เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ 

  • เห็นด้วยกับ  ชนบท มีทักษะชีวิตจากธรรมชาติให้นักเรียนได้เรียนรู้มากมาย
  • แต่อีกมุมหนึ่งของชีวิต  ในเมืองกรุง  ทักษะชีวิตก็สำคัญ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วย digital divide ทางเทคโนโลยี ชีวิตของนักเรียนจึงจะสมบูรณ์แบบ
  • ด้วย ชนบท ก็เข้ามาในเมืองอย่างชัดเจน พร้อมๆๆกับคนเมืองไปอยู่ชนบทได้อย่างมีความสุข
  • ความเหลี่อมล้ำทางความรู้  ครูในเมืองจึงพานักเรียนออกไปเรียนรู้เรื่องชนบท  แต่ก็ถูกตัด โครงการทัศนศึกษาออกไป  จึงต้องเรียนรู้กันใน เน็ต  ซึ่ง  จะถูกต้อง หรือไม่ ก็ยังน่าเป็นห่วง

ขอบคุณมากค่ะ

ครับ...คุณครูอ้อย P

ทั้งเด็กในเมืองและเด็กในชนบทก็มีโอกาสและเสียโอกาสในบางเรื่องนะครับ...

ซึ่งก็ต้องหา "ทางเลือก" ในการ "ทดแทน" นะครับ...

ผมเห็นด้วยครับว่าเด็กในเมืองควรมีโอกาสไปทัศนศึกษาในชนบทบ้างครับ...

ขอบคุณมากครับ...

 

 

นอกจากการแบ่งปัน  ให้โอกาส 

การทดแทน  ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ลดความเหลื่อมล้ำได้ค่ะ

แวะมาเห็นด้วยค่ะ

มีความสุขในทุกเส้นทางที่เลือก นะคะ

สวัสดีค่ะ..

เป็นความเหลื่อมล้ำจริงๆค่ะ

และก็เห็นด้วยถึงวิธีการทดแทนค่ะ..ตามแนวทางพระราชดำริของในหลวงเลยนะคะ..พอเพียง

และการทดแทนด้วยการ..ย้อนรอย..ในการค้นคว้าจาก "ตัวหนังสือ" เป็นความงดงามที่สามารถสัมผัสได้มากกว่าตัวอักษรบนแป้นพิมพ์..แน่นอนค่ะ (อิอิ..ยืนยันค่ะ) พร้อมได้อะไรๆมากกว่าเช่นกัน

ขอบคุณมากค่ะ

การได้สัมผัสลองผิดลองถูกในหลายมิติ ชีวิตก็จะได้เจอะเจอประสบการณ์ครับ เห็นด้วยกับการเรียนรู้เพื่อการก้าวผ่านความเหลื่อมล้ำทางความรู้ครับ

ครับ...คุณสายธาร P

ขอบคุณมากครับผม...

มีความสุขในทุก ๆ วันนะครับ...

ครับ...พี่ ศน.อ้วน P

"ทดแทน" เป็นทางเลือกสำหรับหลาย ๆ เรื่องในประเทศไทยได้เลยนะครับ...

และก็เห็นด้วยเช่นกันครับว่า "การอ่านหนังสือ" ทำให้เราสัมผัสความงดงามของอักษรได้มากกว่านะครับ...

ขอบคุณมากครับผม...

ครับ...เด๊ะเสียงเล็ก ๆ P

ช่วยกันก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำทาง "ความรู้"...

และความเหลื่อมล้ำทาง "ความรู้สึก" ด้วยครับ...

ขอบคุณครับผม...

สวัสดีค่ะ

  • ลดความเหลื่อมล้ำให้ตนเอง
  • โดยการฝึก...ฝึก...ฝึก...เขียนบันทึก
  • อ่านและเรียนรู้จากผู้รู้ นำไปปรับปรุงพัฒนา
  • ลดความเหลื่อมล้ำ  โดยการชำระล้างจิตใจตัวเอง..ให้เป็นผู้รักการเรียนรู้
  • เพราะครูที่อยู่บ้านนอก..มักขาดโอกาสเสมอ ๆ เหมือนเหมือน เด๊ะ ๆ เลยค่ะ

"บุคคลเรียนรู้" ขะเป็นบุคคลเรียนรู้ได้อย่างไร? ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเงื่อนไขการลดความเหลี่อมล้ำลงนะครับ

หากเป็นครู ก็คงต้องถามว่า

  • เรามีกระบวนการสอนเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความสุข ในการเรียนรู้อย่างไร?
  • และกระบวนการเรียนการสอนนั้นปิดกั้นความคิดหรือไม่?
  • หรือกระบวนการเรียนการสอนนั้น เอื้อให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ คืดเชิงระบบได้หรือไม่?

มีคำถามมากมายครับ ...

คือผมมองว่า การลดความเหลี่อมล้ำ ไม่ควรมองพฤติกรรมปลายทาง สำคัญที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกที่เป็นพฤติกรรมต้นทาง(ศัพท์นี้ผมคิดเอง) ของเขา(เยาวชนของเรา)ได้อย่างไร?

ท้าทายนะครับ โจทย์สร้างคนแบบนี้

............

 

ครับ...พี่คิม P

ฝึกฝน เรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ตัวเรานะครับ...

พื้นที่ G2K แห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้จริง ๆ ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...เพื่อนเอก P

มีคำถามมากมายนะครับกับเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้...

บุคคล, พฤติกรรม, เรียนรู้, กระบวนการ, บทบาท, จิตสำนึก...

รออ่านบันทึกแบบเชื่อมโยงหลายมิติอยู่ครับ...

ขอบคุณครับผม...

สวัสดีค่ะพี่

ตามติดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทุกครั้งที่ฉันคุยกับ "แม่" ฉันจะได้รู้เรื่องราวดีๆ ...

เช่น เมื่อก่อน...ตอนแม่เข้ากรุงเทพฯ ใหม่ หน้าตากรุงเทพฯ เป็นอย่างไร

หรือ เมื่อวาน...แม่ไปตลาด มะนาวใบละเท่าไร

ทุกครั้งที่ฉันทำสิ่งใดกับ "แม่" ฉันจะได้รับคำสอนดีๆ ....

เช่น ทำกับข้าว...ต้องเติมนั่นหน่อย นี่นิด จะอร่อย

หรือ ปลูกต้นไม้...ต้นนี้ต้องอยู่ในร่ม ต้นนั้นชอบแดดแรงๆ

นี่แหละ...สิ่งทดแทน ความเหลื่อมล้ำของความรู้...ที่แสนประเสริฐ

เห็นด้วยไหม???

สวัสดีค่ะ

การทดแทน เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ที่ดีค่ะ แต่อาร์มเองก็ยังคิดอยู่เสมอว่า ความไม่เท่าเทียมกันมันเป็นธรรมดาของโลกใบนี้ การเท่าเทียมกันทางความรู้ก็ย่อมต้องเป็นธรรมดาของโลกใบนี้อีกเช่นกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราจะมีทางไหนที่จะทำให้ความไม่เท่าเทียมนั้นมีช่องว่างน้อยที่สุด ^_^

ขอบคุณค่ะ

ครับ...น้องสี่ซี P

ขอบคุณมากครับที่ติดตาม...

ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...คุณ pis.ratana P

เห็นด้วยเลยครับว่า...

การได้พูดคุบกับพ่อแม่ เป็นทั้งการแบ่งปัน เปิดรับ  ชดเชย และ ทดแทน เลยนะครับ...

ขอบคุณมากครับผม...

ครับ...น้องอาร์ม P

พี่เห็นด้วยครับว่าคงยากที่จะไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำ...

สิ่งที่ทำได้คือลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำให้เหลือน้อยที่สุดนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

บันทึกนี้ ทำให้ความคิดผมยูเทิร์นแล้ว

  • ถ้าเราคิดแทนชาวบ้านในชนบทเรื่องความเหลื่อมล้ำทางความรู้ เราอาจกระโจนไปติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านให้เท่าเทียม แต่เราอาจจะลืมไปว่า ชุดความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของเขา อาจไม่สามารถค้นหาในอินเตอร์เน็ต แต่มันอยู่หน้าประตูบ้าน เท่านั้นเอง เรียนรู้จากของจริง
  • ขอบคุณครับ

ครับ...อ.หมอเต็มศักดิ์ P...

ความรู้มีอยู่มากมายและหลากหลายรูปแบบนะครับ...

และความรู้แต่ละแบบก็เหมาะสมกับกลุ่มคนที่แตกต่างกันนะครับ...

ขอบคุณมากครับผม...

 

 

คุณ คนตรงคะ

นี่คือเหตุผลที่พี่พาลูกไปหัดปลูกต้นไม้..การปลูกต้นไม้ ต้องหัดจริง ๆ จัง ๆ นะคะ มีครูสอนด้วย ต้นไม้แต่ละต้น แต่ละพันธุ์ แต่ละช่วงอายุ การหาร่มเงาให้ไม้ที่เพิ่งย้าย การวางแผนเรื่องน้ำหยดสำหรับต้นอ่อน ๆ ไปถึงต้นกลาง

การทำไอซียู ดูแล ต้นที่ป่วย.....จิปาถะค่ะ

ต้องอาศัย knowledge management เช่นกัน

 

ขอบคุณบันทึกดี ๆ ความคิดคล้าย ๆ ตรงกัน ของคุณคนตรง..ค่ะ;P

ครับ...คุณหมอเล็ก P

เห็นด้วยครับว่าเป็น knowledge management...

การเรียนรู้เรื่องของ "ธรรมชาติ" ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนะครับ...

แค่เรื่องการปลูกต้นไม้นี่ก็หลายขั้นตอนแล้วนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

แบ่งปัน เปิดรับ ชดเชย และก็ทดแทนนะค่ะ

ครับ...คุณศรีวิรัตน์ P

ขอบคุณมากครับที่ติดตามอ่านเสมอ ๆ ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท