เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๑๓(การวิเคราะห์ความขัดแย้ง๑)


รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ วิทยากรของเราวันนี้ท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม ท่านบอกว่าเรื่องที่บรรยายเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์จากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเรื่องของการตั้งหน่วยงาน ในเบื้องต้นศึกษา public policy conflict ความขัดแย้งในนโยบายภาครัฐ ซึ่งจะเป็นโครงการที่กระทบต่อประชาชน เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้า  เป็นต้น เมื่อเรามาลองศึกษาโครงการของรัฐที่กระทบต่อประชาชน แล้วจะเห็นว่า

การตัดสินใจของรัฐในการทำโครงการที่กระทบต่อประชาชนเป็นแบบ

กำหนดนโยบายจากส่วนกลาง (โดยไม่ฟังเสียงความต้องการของประชาชน)

ประกาศโครงการ (ที่ต้องการจะทำ)

ปกป้องเพื่อให้ดำเนินการได้ (เมื่อเกิดปัญหารัฐก็จะปกป้องตัวเอง  โดยประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้เห็นแต่ข้อดีของโครงการ ใครไม่เห็นด้วยก็จะกลายเป็นผู้ร้ายไป)

เราพยายามพัฒนาประเทศให้มีความมั่งคั่งและเรามองกันว่าประเทศเกษตรกรรมไม่สามารถรวยได้ เราอยากจะเป็น NIC แต่บางคนบอกว่า Narok Is Coming อิอิ

การพัฒนาจากระบบเกษตรสู่ยุคอุตสาหกรรม จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น

        ปัญหาเรื่องการใช้ที่ดิน ภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตร

        มลภาวะ อากาศ น้ำ

        กากของเสียอันตราย ไปสร้างที่ไหน ชุมชนก็ไม่อยากให้มี

ปัจจัยที่ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

        การเจริญเติบโตหรือถดถอยทางเศรษฐกิจ

        มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น/ผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงเรียกร้องสิทธิมากขึ้น

        การสื่อสารมวลชน  เกิดเหตุที่ไหนรู้ไปทั่วโลก

        ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม

        อิทธิพลจากต่างประเทศ

ในส่วนภาครัฐจะต้องเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสาธารณชน เพราะรัฐจะมองว่าประชาชน

        -ไม่มีการศึกษา

        -ไม่สามารถเข้าใจในโครงการต่างๆได้

        -หากไม่เห็นด้วย คือผู้ขัดขวางการพัฒนา

        -การเคลื่อนไหวใดๆจะถูกมองว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง (การตอบสนองให้ความสนใจกับปัญหาของเขา กับการที่ไม่ให้ความสนใจ จะเกิดผลที่ต่างกัน)

        -เป็นม๊อบรับจ้าง (เรื่องบำรุง คะโยธา ทำไมมีการประท้วงที่ไหนจึงเห็นแต่หน้าบำรุง เขาบอกว่าชาวบ้านเดือดร้อน เขาต้องการผู้นำ และคนที่เดือดร้อนจะวิ่งมาหาประจำ)

รูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปจากอดีตถึงปัจจุบัน เมื่อมีปัญหาก็จะ

        ๑.แต่งตั้งคณะกรรมการ

        ๒.จัดทำโครงการแก้ปัญหา

ปัญหา ๑             ปัญหา ๒                     ปัญหา ๓

                       

กรรมการ ๑          กรรมการ๒                   กรรมการ ๓

                       

โครงการ ๑          โครงการ ๒                  โครงการ ๓

 

   (ซึ่งความจริง การเกิดปัญหามันอาจเชื่อมโยงกัน จะมาตั้งกรรมการแต่ละชุดทำโครงการทีละโครงการ แก้ทีละปัญหาไม่ได้ ต้องคิดในเชิงระบบ)

        ข้อขัดแย้งมีอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในสังคมไทย เราสังเกตไหมว่าเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย การเมืองไทยทำอย่างไร อาจารย์ชี้ให้เรามองเห็นว่า

การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในเมืองไทย

        แก้ปัญหาในวงราชการด้วยการกลั่นแกล้งข้าราชการ

        แก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของนักการเมืองโดยการโกหก

        แก้ปัญหาคนจนด้วยการดูถูกคนจน (รมต.มหาดไทย พูดว่าคนจนควรซื้อซี่โครงไก่มาต้นจะได้คุณค่าทางอาหารและรสชาติดี)

        แก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินโดยจะให้บรรทุกมากขึ้น

        แก้ปัญหาสถานเริงรมย์เปิดเกินเวลา ด้วยการขยายเวลา

        แก้ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงด้วยการให้สัมภาษณ์ไปวันๆ

วิธีควบคุมฝูงชนแบบใหม่ เป็นภาพสุนัขตำรวจงับประชาชน

        ปิดหูปิดตาปิดปาก (คิดใหม่ ทำใหม่) / ตาบอดคลำช้าง เป็นภาพ อ.วันนอร์จับหางช้าง แล้วพูดว่า ปัญหาทางใต้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่

        อ.เล่าให้ฟังที่นิวซีแลนด์ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตจะเปลี่ยนเป็นสถานฑูต ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆต้องสำรวจความคิดเห็นและให้คนเห็นชอบจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะมันเกิดผลกระทบ มีงานเยงที่สถานฑูต ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องรถที่จะเข้ามาในซอย ต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จึงสำเร็จ

        ถึงตอนนี้ อาจารย์ก็ให้แสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่ใช้ในรัฐบาลปัจจุบัน

คุณสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การมีม๊อบปัจจุบันไม่มีการรับฟังความคิดเห็น ไม่มีการเจรจาจึงแก้ปัญหาไม่ได้

คุณเตือนใจ ดีเทศน์ พูดถึงอำนาจ ๓ ฝ่าย รัฐสภา (ยังทำอะไรไม่ได้ ตั้งกรรมาธิการก็ตั้งไม่ได้) โรงถลุงเหล็กของสหวิริยา มีความขัดแย้งก็ยังแก้ไขไม่ได้  ในส่วนของรัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) ความทุกข์ของประชาชน ไม่ได้รับการแก้ไข จึงเกิดการประท้วง แต่ถ้าเข้าใจก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา 

        เอากันแค่พอหอมปากหอมคอ  อาจารย์ก็บรรยายต่อ

ทำไมสาธารณชนมีส่วนร่วมในปัญหาความขัดแย้ง

        สนับสนุนการตัดสินใจ support dicision/commitment

        หาทางออกที่ดีกว่า better solution

        เพื่อความยุติธรรม Fairness

Go slow to fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม (เล่มเดียวกันกับของ ศจ.นพ.วันชัย นั่นแหละ อิอิ)ตอนเริ่มต้นยอมเสียเวลาประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน เมื่อเขาเข้าใจก็จะไม่คัดค้าน หากสร้างไปก่อนเหมือนกับเขื่อนปากมูลก็จะมีปัญหา

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ม.๕๖  ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ทุกฝ่ายพอใจ

        คนไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า แต่ชอบนินทาลับหลัง

        สังคมไทยไม่มีวิธีแก้ไขความขัดแย้ง (ขณะนี้เอาพลังมวลชนมาสู้กัน)

        กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบตะวันตกใช้ไม่ได้กับสังคมไทย

        จึงพอจะเห็นได้ว่า ยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจ

ความขัดแย้งจัดการได้ถ้า..

        ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและร่วมหาทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

        ให้เวลาเจรจาแบบมีหลักการ

        ประสานความร่วมมือ

        ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อย

        ปัญหาการถือครองที่ดิน

        ปัญหา GMO เพือ่นบ้านเราปลูกกันเต็มไปหมดแล้ว

        ปัญหาเขื่อน

        ปัญหาป่าไม้

ดร.อิศรา ศานติศาสน์ พูดถึงว่า ที่อาจารย์ว่า ประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อย นั้นเห็นด้วยว่าประชากรเพิ่ม แต่ทรัพยากรน้อยนั้นไม่แน่ แต่ที่แน่ๆการแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจารย์ก็เห็นด้วย

        วันนี้อาจารย์ท่านก็ไม่ค่อยมีลูกฮา ท่านปล่อยมุขทีหนึ่ง ท่านยิ้ม แต่พวกเราไม่ get (ศจ.นพ.วันชัย ท่านชอบถามว่า get ไหม) อาจารย์เลยยิ้มอยู่คนเดียว อิอิ

หมายเลขบันทึก: 193649เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2008 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • ตามมาลงทะเบียนเรียน
  • ตอนตั้งมหาวิทยาลัยนครพนมใหม่ๆๆ
  • ก็มีความขัดแย้ง
  • ค่อนข้างสูง
  • ท่านได้เล่าให้ฟังบ้างไหมครับ
  • ชอบตรงที่นักศึกษาแต่ละท่านถามนี่ละ
  • แหมแต่ละท่านไม่ธรรมดา
  • รอเรียนอีก
  • ขอนั่งหลังห้องนะครับ

เรียน ท่านอัยการ นำขนม สำหรับ คนอ่อนหวาน มาลดความขัดแย้ง นิ

Gippo1

ยังเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและสาระที่เข้มครับ

กำลังศึกษารูปแบบความขัดแย้งที่หลากหลายนะครับ

เรื่องทำเนียบเอกอัครราชทูต ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วประชาชนมีสิทธิส่วนบุคคล สิทธิชุมชนที่สูงมากครับ

ผมเคยไปประจำการที่เจนีวา ถ้าทางการจะสร้างอะไรที่ แม้จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าชุมชนไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถสร้างได้ครับ

เจนีวาจึงยังคงเป็นเมืองที่อนุรักษ์ธรรมชาติมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่งและแม้จะร่ำรวยมากแต่ก็ไม่ได้มีสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัยเกินไปจนทำลายภูมิทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเลย

ที่น่าสนใจคือในนิวเดลี อินเดียประเทศที่มีทั้งความยากจนและความร่ำรวย ทางการได้กำหนดให้เป็นเขตนิวเดลีเป็นเขตที่อนุรักษ์ต้นไม้ ภูมิทัศน์ ห้ามการก่อสร้างอาคารที่สูงเกิน 4 ชั้น ห้ามตัดต้นไม้และสิ่งก่อสร้างต้องไม่ขัดกับภูมิทัศน์โดยรอบๆซึ่งทุกฝ่ายก็ปฏิบัติตาม

ผมเห็นว่า ความขัดแย้งที่แสดงออกและมีผลต่อสังคมและประเทศหรือแม้แต่ระดับโลกนั้น อาจต้องย้อนกลับทางไปดูความขัดแย้งในจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นต้นทางของปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในทุกวันนี้

ตามมาเรียนเช่นเคยครับ เผื่อท่านเอกชัยจะยอมให้เป็นนักเรียนสมทบนอกห้องจากต่างแดน :)

เรื่องความขัดแย้งต้องอย่างลืม คำนี้ครับ

"คำถามปลายเปิด "ทำไม อย่างไร เพราะอะไร

"ไม่ใช่คำถามปลายปิด" เอา หรือ ไม่เอา

เรื่องความขัดแย้งต้องอย่างลืม คำนี้ครับ

"คำถามปลายเปิด "ทำไม อย่างไร เพราะอะไร

"ไม่ใช่คำถามปลายปิด" เอา หรือ ไม่เอา

สวัสดีค่ะท่านอัยการ

ตามมาเรียนต่อค่ะ จะรออ่านตอนต่อไปค่ะ

เรื่องการนินทาลับหลังและอาจจะเลยไปถึงคำว่า ต่อว่า (ด่า)ลับหลัง บางคนบอกว่าเป็นรูปแบบการจัดการกับความขัดแย้งประเภทหนึ่ง เพื่อลดแรงปะทะค่ะ (ใช้การหลีกเลี่ยง) เพราะไม่อยากเผชิญหน้า แต่ในใจยังคุกรุ่นอยู่ จึงต้องไประบายออกทางอื่น แต่จะแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้หรือไม่อีกเรื่องค่ะ อิอิ

ขอบคุณค่ะ /อ้อยค่ะ

สวัสดีท่านอัยการสุดที่คิดถึงค่ะ

* มา ร่วมเรียน แบบเงียบๆ ค่ะ

* มีแต่ ใจ กับ ความระลึกถึง ค่ะ

เรียนให้สนุก รักษาสุขภาพนะคะท่าน

ขอบคุณค่ะ ... ใกล้จะได้เจอกันแล้ว :)

อาจารย์ ดร.สุวิทย์ ท่านรู้จักกันดีอยู่ครับ ท่านเป็นคนหนุ่มไฟแรง น่าสนับสนุนยิ่งนัก 

เราทำโครงการด้วยกัน และก็ชวนไปเยี่ยมที่นครพนมอยู่  ท่านมาจากกรอบความคิดเดียวกันกับ อ.นายแพทย์วันชัยครับ ทั้งสองท่านเคยอยู่ที่สถาบันสันติศึกษาที่ มข.ครับ

การศึกษาและหาทางแก้ความขัดแย้งสังคมไทยตามหลักการล้วนๆนั้น ผมคิดว่าจะใช้ได้เพียงกรณีง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนเท่าใด  แต่ในกรณีที่ซับซ้อนที่มีการเมือง มีผลประโยชน์ มีศักดิ์ศรี มีรุ่น มีพวก มีอัตตา... หลักการเป็นเพียงทางไต่เต้าในการเข้าหาทางออกทางหนึ่งเท่านั้น 

หากไม่สามารถวิเคราะห์ความขัดแย้งนั้นให้ทะลุ  หากพลังทางความยุติธรรมเข้าถึงก็โอเค  แค่บางกรณีความยุติธรรมเข้าไม่ถึง ผลประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่า ความขัดแย้งนั้นก็ต้องมีทางออกโดยมวลประชาเป็นแรงบีบ  ซึ่งเป็นทางออกสุดท้าย

แต่อย่างไรก็ตามมีหลักการดีกว่าไม่มีหลักการครับ

ตามเข้ามาเรียนด้วยคนครับ

พี่แดง เตือนใจ ดีเทศน์ ตอนที่มาพักบ้านผมที่ขอนแก่น พี่สาวคนนี้จะตื่นแต่เช้า เดินไปรอบบ้านเพื่ออาบแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ เป็นวิถีปฏิบัติที่น่าสนใจครับท่านอัยการ  เส้นทางเดินของพี่น่าสนใจนะครับ โดยเฉพาะงานที่พี่ทำที่เชียงราย เราสามารถไปใช้สถานที่จัดเฮฮาศาสตร์ที่นั่นได้เลยนะ  ถือโอกาสเยี่ยมน้องเบิร์ดที่นั่นด้วย

อ.ขจิต ครับ

อาจารย์ก็เล่าให้ฟังเหมือนกันครับเรื่องความขัดแย้ง

ความขัดแย้งแม้จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่มันก็มีข้อดีเหมือนกันนะครับ

อาทิตย์ที่ผ่านมามีการบรรยายดีๆ ผมจะทะยอยนำมาลงบันทึกครับ

ผมว่าไม่ต้องนั่งหลังห้องหรอกครับ นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นั่นแหละครับดีแล้ว อิอิ

ขอบคุณอาจารย์ JJ ครับสำหรับขนมลดความขัดแย้ง อิอิ

ท่านอัครราชฑูตครับ

ความขัดแย้งภายในจิตใจของแต่ละคน ต้องตามหาปมให้เจอครับ

หาปมไม่ถูกก็แก้ไม่ได้ ดีไม่ดีบางทีก็ลามไปเป็นปัญหาสังคมและประเทศชาติอย่างที่ท่านว่าครับ ยิ่ง ego สูงก็ยิ่งไปกันใหญ่ครับ

ขอบคุณที่ท่านติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ขอบคุณบังยุบที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

เห็นด้วยกับการใช้คำถามที่ถูกต้อง การที่เราตั้งคำถามปลายเปิดแสดงว่าเราพร้อมที่จะรับฟังครับ

ผมกลับมาถึงตั้งแต่ ๑๐ โมงกว่า แล้วเข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้ เพิ่งรู้ว่าลูกมายืมสายแลนไปลองให้ลูกค้า และมาใช้โน้ตบุ๊คตอบตอนนี้แหละครับ อิอิ (ที่บ้านใช้ wi-fi ด้วย)

สวัสดีครับ อ.อ้อย

แล้ววันนี้จัดการความขัดแย้งแบบนั้นหรือยัง อิอิ

สวัสดีครับ พี่หมอเจ๊ และ น้อง poo

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเรียนรู้ครับ

  • ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดในภาคราชการ
  • ภายใต้วัฒนธรรมการเมือง
  • การออกแบบแก้ไขปัญหาจึงไม่สอดคล้องราบรื่นเท่าที่ควร อยู่ในระดับลูบหน้าปะจมูกเป็นส่วนใหญ่ บางทีเรื่องใหญ่ก็ลูบไม่ไหว อย่างปัญหาคลองด่าน ปัญหาCTX
  • มักจะเป็นการแก้ไข่เฉพาะส่วน-เฉพาะหน้า-และลูบหน้าในบางครั้ง
  • จำเป็นครับ จำเป็นที่จะต้องเติม วิธี-กระบวนการ-ที่เป็นกลาง
  • กรรมการกลางอยู่ที่ไหน มีไหมในประเทศนี้ ?
  • อย่าบอกนะว่าอยู่ที่คนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเหมาโหลว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ผลประโยชน์ที่ซับซ้อน บางทีกรรมเกินพวกนี้ก็ไม่มีอิสระที่จะพูดจะทำอย่างตรงไปตรงมา
  • เป็นกรรมการตามใบสั่ง เรื่องเขาพระวิหารจึงเหิรหาวยังไงละครับ?
  • เรื่องนี้จบยาก เพราะเป็นการบ้านที่สังคมนี้ไม่ยอมทำ ดื้อตาใสไปวันๆ
  • ประเทศเรายังไม่มีกรรมการ พึ่งศาล พึ่งกฎหมาย ก็อืดเหลือเกินนะขอรับ บางทีก็เสียเวลากับห่อขนมราคา2ล้าน เป็นต้น
  • มีสมบูรณืแบบอยู่2อย่าง คือ

       -การบันทึกบทบรรยายได้ดีเหลือเกิน

       -สะตอ จิ้มน้ำพริก อร่อยเหลือเกิน

 

อ.ครับ

ผมแวะมาศึกษาและพยายามร่วมด้วยกับปัญหา

ด้านหนึ่งถ้าปัญหาเกิดขึ้น ความขัดแย้งที่ก่อกำเนิดย่อมมีเหตุที่มา

ล้วนแล้วแต่ว่าพฤติกรรมโดยรวม และคู่ของความขัดแย้งที่จริงควรอยู่ตรงไหน  ถ้าไม่เข้าใจมันก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด

ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมไปมาก ขอขอบพระคุณครับ

พี่บางทรายครับ

ผมยังได้พูดคุยกับป้าจุ๋ม พ่อครูบา และลุงเอก อยู่เลยว่าน่าเสียดายอยากให้พี่มาเป็นนักเรียนด้วยกันเพราะจะเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติงานของพี่ครับ

อ.ดร.สุวิทย์,ศจ.นพ.วันชัย ท่านบรรยายเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งคนละสไตล์ครับ แต่ ศ.นพ.วันชัย ลูกเล่นเยอะ และมาต่อด้วย รศ.ดร.ชัญญา อีกคน ซึ่ง รศ.ดร.ชัญญา ก็มานั่งเรียนด้วยครับ ผมจะนำมาเล่าในตอนต่อๆไปครับ

พี่แดงก็เป็นผู้หญิงที่น่ารักน่านับถือมาก รู้จักกับน้องชายผมด้วย

เรามีการศึกษาดูงานที่เชียงรายด้วยครับ ถ้ามีโอกาสก็จะได้ไปเยี่ยมน้องเบิร์ด กับพ่อครูบา ลุงเอกและน้องเอก ครับ

เบิร์ด อยู่ไหน?

19-20-21-22 ธันวาคม

คณะเราจะบุกภาคเหนือ

จะไปตั้งหลักที่เชียงรายเสียด้วยสิ

กะจะไปนอนบ้านชาวเฮฮาศาสตร์

คืนละหลังๆๆๆๆๆ

 

ท่านสิทธิรักษ์ ครับ

สวรรค์มีตา นำพาให้เราไปลงสนามที่เชียงรายเสียด้วย

เตรียมประเด็นความขัดแย้งในหัวใจไว้นะครับ

จะเชิญมาร่วมกระแทกแลกเปลี่ยนเรียนให้รู้ได้!!!

เอ๊ะ! รึเราจะจัดเฮฮาศาสตร์ 7 ที่เชียงรายเสียเลย

เริ่ม 23-24 จะได้อยู่ยาว อิอิ

ไม่รู้ช่วงนั้นจะหนาวไหม

ถ้าไม่หนาวจะได้ขนตู้เย็นไปแช่ความขัดแย้ง อิอิ

อ่านของพ่อครูแล้วสะดุ้งครับ "มักจะเป็นการแก้ไข่เฉพาะส่วน-เฉพาะหน้า-และลูบหน้าในบางครั้ง " เกินไม้เอกหรือเปล่าละพ่อครู อิอิ

คนเกี่ยวข้องให้มาเป็นกรรมการไม่ได้ เพราะถ้าเข้ามาก็ไม่เป็นกลาง พอไม่เป็นกลางก็จะไม่ได้รับการยอมรับ แทนที่จะเข้ามาแก้ปัญหาก็จะเข้ามาเพิ่มปัญหา ยิ่งทำไปก็ยิ่งยุ่ง ภาษาบ้านผมเรียกว่า "เข้าเหยา" หมายถึงเวลาด้ายมันพันกันยุ่ง มันเข้าเหยาจึงแก้ยากครับ

ลุงเอกอยากให้พวกเราเป็นผู้มีอิทธิพลที่สามารถเข้าไปเคลียร์ปัญหาได้ อิอิ

ดีใจที่พ่อชอบครับ

เห็นด้วยกับพ่อครับ

พี่เหลียงจัดเฮฮาศาสตร์ ๗ ที่เชียงรายเลยครับพี่จะได้อยู่ยาว อิอิ

อยากเจอน้องเบิร์ดกับชาวเจียงฮายครับ

ขอบคุณพี่เหลี่ยงที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท