เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๑๙(สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่๒)


สันติวิธี กับความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรม ต้องอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่อยู่เพียงแค่สองอย่าง

        พี่แจ๋หรือป้าแจ๋ ได้ยกตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจกับพวกเราโดยเอาเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมาเล่าสู่กันฟัง จึงทำให้การบรรยายของพี่แจ๋ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นครับ พี่แจ๋ยกตัวอย่าง...

        ตัวอย่างกรณีคนกัมพูชาในกรุงพนมเปญ เผาสถานฑูตไทยและทำลายสถานที่ประกอบธุรกิจของคนไทย เพราะเป็นความเชื่อสะสมว่าคนไทยเป็นเช่นไร  นี่คือตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่สันติวิธีและมองข้ามความรู้สึกของประชาชน บางทีการใช้เหตุใช้ผลไม่ตรงกัน จึงเกิดใช้อารมณ์ความรุนแรง

        เพื่อนบ้านเรา ภาคเอกชนในประเทศและต่างประเทศ หลังเกิดเหตุการณ์ที่พนมเปญ ถามคนลาวที่อยู่เวียงจันทร์ ถามคนลาวรู้สึกอย่างไร คนลาวตอบว่า สมน้ำหน้าโดนเสียบ้างก็ดี เพราะชอบดูถูกคนอื่น เลยไม่กล้าไปถามพม่า....(เพราะกลัวจะหนักกว่านี้...ฮา....ตรงนี้ผมเติมเอง อิอิ)

        ทุกคนเป็นตำราเรียนของกันและกัน เคยไปถามหมอบุญเรือง เรื่องเด็กติดยาเสพติด ปัญหาอยู่ที่ทักษะการเรียนรู้เพื่อเผชิญกับยาเสพติดมีไม่เพียงพอ จึงต้องเสริมสร้าง มิฉะนั้น การยับยั้งชั่งใจจะไม่เพียงพอเมื่อเผชิญกับปัญหา

        บางเรื่องที่เป็นเรื่องเล็กน้อยทำไมเอามาพูด ตอบได้เลยว่าเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้แหละที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ รัฐจะต้องเข้ามาแก้ไข แต่ถ้ารัฐทำตัวลงมาต่อสู้เองก็จะยิ่งทำให้มีปัญหา แล้วจะเข้าไปจัดการเองก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่

        สมช.นำเสนอแนะความเห็นวิธีการจัดการที่เหมาะสม การจัดการความขัดแย้งที่ไม่ให้เกิดความรุนแรง คือการส่งสัญญาณสำคัญสำหรับคิดหาทางออก กรณีบ่อนอกหินกรูดไปเตรียมเลือดไว้ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ทุกคนที่มีความพร้อมจะเก็บเลือดไว้ใช้ ติดชื่อกลุ่มของตัวเองไว้ รัฐแปลกใจว่าทำไมทำอย่างนี้ กรรมการสันติวิธีตอบไปว่า การเตรียมเลือดคือการส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะสู้ แม้ชิวิตก็ยอม เมื่อเสียเลือดเขาเตรียมเลือดของเขาไว้แล้ว เขาเกรงว่าเมื่อเกิดบาดเจ็บเขาจะถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการรักษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต่อสู้ด้วยความรุนแรง รัฐจึงต้องมีวิธีการจัดการ

        ท่อก๊าสที่จะนะ ก็จะเกิดความรุนแรงจะเข้ามาที่โรงแรมเจบี รัฐถามมาอีก แต่ตอบไปไม่ทัน ว่าทำไมต้องมีธงสีแดงที่มีไม้ปลายแหลมเป็นด้าม ทำไมต้องผูกผ้าสีแดงเหมือนคอมมิวนิสต์จีน ความระแวงของรัฐเห็น ปชช.ใช้สีแดงจึงสลายม๊อบเสียก่อน มีภาพที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถ่ายไว้ทำให้เกิดปัญหา

        กรณีพันธมิตร สัญญาณไม่ใช้อาวุธและไม่ใช้ความรุนแรงชัดเจน เมื่อมีกลุ่มที่จะแก้ไขกรณีจะมีผู้ใช้อาวุธ แกนนำจะสั่งให้นั่งลง เพราะนั่นคือสัญญาณของการไม่สู้

        กรณีนายกสุรยุทธ ส่งสัญญาณด้วยการขอโทษ และประกาศจุดยืนสันติวิธี แต่คำประกาศนั้นไม่มีอะไรเพิ่มเติมในส่วนที่พื้นจะปฏิบัติ ทุกอย่างจึงยังเหมือนเดิม

        กรณีพันธมิตร เป็นเรื่องการสะสมความคิดที่แตกต่างกัน ในสันติวิธีบอกว่าต้องให้เกียรติและเห็นคุณค่าของคนเท่าเทียมกัน สิทธิมนุษยชนจะต้องเท่าเทียมกัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนเหมือนการละเมิดสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศ 

        ปัญหาชายแดนภาคใต้ ความจริงที่แตกต่างกันระหว่างของรัฐและประชาชน เรากำลังทำให้กระบวนการยุติธรรมใช้ความจริงให้ปรากฏให้ใช้เครื่องมือทำความจริงปรากฏได้อย่างโปร่งใส ความระแวงจะไม่มี และจะสามารถฟื้นคืนความไว้เนื้อเชื่อใจ กรณีป้อมมหากาฬ ก็เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ รัฐก็ระแวงประชาชน/ เรื่องคนชายขอบ กฎหมายใหม่ จนท.รัฐที่เกี่ยวข้องต้องไม่ใช้ดุลยพินิจเกินความจำเป็นคือการไม่ไปรีดไถ เรียกร้องเงินเพื่อผลประโยชน์ให้ตีความเป็นไปอย่างที่ต้องการ

       การใช้กฎหมายไม่เข้าใจกฎหมายหรือใช้กฎหมายแบบบิดเบี้ยวแล้วออกนอกกรอบของกฎหมาย แล้วอธิบายให้เข้าใจไม่ได้ มันก็ทำให้เกิดปัญหา

        การบังคับใช้กฎหมาย กรณีพรก.ฉุกเฉิน เชิญตัวผู้ต้องสงสัย ๓๐ วัน กับคำว่าเชิญตัวกับจับกุมตัว กับระยะเวลาพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันอย่างฉันท์เพื่อน เพื่อให้รู้ว่ามีเหตุผลอย่างไร ไม่ใช่เจตนาจะเอามารีดข้อมูล และให้ญาติเยี่ยมได้ในทันที แต่ทางปฏิบัติไม่ยอมให้เยี่ยมในทันที จึงเป็นเรื่องผิดกติกาสากล เมื่อคิดว่าเขาเป็นคนร้าย และต้องการรีดเอาข้อมูลจึงมีการละเมิดกฎหมาย ถูกซ้อมทำร้าย แต่เมื่อถูกปล่อยตัวมาแล้วเขาให้อภัยและต้องการเพียงแค่ว่าอย่าไปทำกับคนอื่นอีก

        เด็กราชภัฎยะลาที่ถูกซ้อมทรมาน มีหลายวิธี ถูกซ้อมแล้วไม่มีบาดแผลแต่เจ็บปวดอยู่ข้างใน เอาเข็มแทงที่ซอกเล็บ แทงแล้วแทงอีก เด็กเล่าอยากให้คนทำเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าพวกเราไม่รับความเจ็บปวดของคนอื่นเราจะไม่รู้ว่าเพื่อนร่วมแผ่นดินเจ็บปวดและทุกข์อย่างไร เด็กในโรงเรียนปอเนาะถูกบังคับคว่ำหน้า ก็พูดกันไปทั่ว แต่ภาพเชิงบวกของรัฐซึ่งมีมาก แต่ประชาชนไม่ค่อยพูด รัฐจะประชาสัมพันธ์เองว่าทำดีอย่างโน้นอย่างนี้ก็พูดลำบาก (เพราะจะเป็นการ Make picture อิอิ สร้างภาพไง....) ความน่าเชื่อถือจะเกิดขึ้นหากประชาชนเป็นคนพูด

        ขณะนี้คิดว่า สันติวิธี กับความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรม ต้องอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่อยู่เพียงแค่สองอย่าง

        ความขัดแย้งไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ต้องมาจากความเป็นจริง มีการขับเคลื่อนมาทำให้การแก้ไขประสบผลสำเร็จ กระบวนการยุติธรรมจึงต้องเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย

        ขอต่ออีกตอนเหอะนะครับ เพราะอย่างที่บอก ผมบันทึกของพี่แจ๋ได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ และตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมีเยอะ จะน่าเสียดายหากจะสรุปย่อแล้วไม่มีกรณีตัวอย่างจริงเพราะจะทำให้อรรถรสในการเรียนรู้ขาดหายไปครับ....

หมายเลขบันทึก: 195043เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • อ่านเพลินไปเลยค่ะ
  • อะไรๆๆล้วนมีนัยะและความละเอียดอ่อนนะคะ
  • เราต้องอยู่กันอย่างนี้อีกนานมั้ยคะเนี่ย
  • ขอบคุณค่ะ
  • เกาะติดเรื่องราวดีๆ...เพลินไปเลยค่ะท่านอัยการ
  • ในโรงเรียน ในห้องเรียน ในที่ทำงานครูนกจะพยายามนึกถึงสันติวิธี....ด้วยความขันติ...(แต่ถ้าขยันติ...อาจจะเกิดขันแตกก็ได้)
  • ขอบคุณมากค่ะ...ธรรมรักษาท่านอัยการด้วยค่ะ

สวัสดีครับ

วันนี้เน็ตที่เดลีไม่ค่อยดี เป็นความขัดแย้งของความเก่งทาง IT ของตนอินเดียแต่เครือข่ายโทรศัพท์ที่ยังไม่ทันสมัยในระดับเดียวกัน...คนใช้ต้องแก้ไขโดยการทำใจเย็นๆ

หลายกรณีที่ยกมานั้นเป้นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งนักครับ เกิดขึ้นจริงและก็คงพยายามจะลืมกันจริงๆ

ผมมองว่าเป็นเรื่องเฉพาะความขัดแย้งในใจของผู้นำเพียงไม่กี่คนที่สามารถทำการชักจูงให้ผู้อื่นรู้สึกว่าสำคัญและยอมทำตามเพื่อความรู้สึกที่ถูกต้องโดยไม่ได้เกี่ยวกับความจริงหรือความถูกต้อง....อันนี้เฉพาะกรณีสถานทูตไทยถูกเผาในเขมรนะครับ

ในกรณีอื่นๆ เห้นว่ามีความจริงที่มองจากจุดคนละปลายที่ต่างกัน จึงหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าไม่พ้น

ทำให้ผมต้องกลับมาคิดเรื่องที่คิดว่าสำคัญก็คือความขัดแย้งในใจบุคคล เป็นต้นตอของปัญหาในทุกระดับครับ

ทำให้คิดว่าจิตเป้นเรื่องสำคัญ

ทำให้คิดว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้แก้ไขและบริหารความขัดแย้งที่เก่งที่สุดในโลกและจักรวาล

และทำให้คิว่าอริยะสะจจ 4 นั้นคือสูตรการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของมนุษยได้วิเศษสุดและรูปแบบหรือโครงสร้างนั้นไม่ต่างไปจากนี้เลย แม้จะเป็นความขัดแย้งในปัจจุบันก็ตาม

จะบอกได้ไหมว่า ทุกข์คือความขัดแย้งพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์

ถ้ามองตรงนี้ได้ละเอียดและลึก ก็จะไม่มีความขัดแย้งในเรื่องอื่นตามมาเลย

ดุจะเพ้อฝันนะครับ

แต่ผมคิดว่าน่าจะศึกษาอย่างละเอียดในประเด็นนี้ หากไปศึกษาหลักการแก้ปัญหาความขัดแย้งของฝรั่งมากไป ที่อาจจะนำมาใช้กับสังคมไทยไม่ได้ดีเท่า

บางทีประเด็นเรื่องการแก้"ทุกข์" จะเป็นคำตอบหนึ่งที่น่าสนใจครับ

ผมจะคิดต่อไปด้วยครับว่าจะประเด็นนี้จะนำไปสุ่อะไร

ตามมาอ่านต่ออย่างกระชั้นชิดค่ะ

จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ท่านได้เล่ามา อ้อยมองไปที่มุม เรื่องชุดความคิด / perception ของแต่ละฝ่ายค่ะ ชุดความคิดหรืออาจเรียกทัศนคติน่าจะได้นะคะ ของคนแต่ละคน และบางอาชีพ จะผ่านกระบวนการหล่อหลอมกันมาจนส่งผลให้มีมุมมองในเรื่องต่างๆ ต่างกัน เช่น บางทีเราเห็นม๊อบ ทำไมบางคนถามคำแรก ใครจ้างมา (อ้าววววว มาเองบ้างไม่ได้เหรอ..อิอิ)หรือไม่ก็ต้องใครอยู่เบื้องหลัง (คิดหลายชั้นอีก..)ขณะที่บางคนอาจเริ่มต้นด้วยคำถามอีกแบบ เช่น ม็อบกลุ่มนั้นเดือดร้อนด้วยเรื่องใด ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร จากตรงนี้ หากคนสองคนที่ตั้งคำถามต่อม็อบเดียวกันต่างกัน วิธีการเข้าไปจัดการกับม็อบก็น่าจะต่างกันแล้ว นอกจากนี้ บางครั้งทัศนคติในเรื่องบางเรื่องก็ถูกถ่ายทอดผ่านรุ่นต่อรุ่นจนฝังรากลึก เมื่อสะกิดนิดเดียวก็ติดไปแล้วววว ดังนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่คะ หากจะมองเรื่องทัศนคติบางอย่างของกลุ่มที่มีหน้าที่เกียวข้องกับการจัดการปัญหา.. จนเป็นปัญหาวนๆ ซ้ำๆ อิอิ จะรออ่านภาคต่อไปค่ะ ขอบคุณนะคะ

สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์,มณีแดง และหลานจิ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

มณีแดงถามว่าเราจะอยู่กันอย่างนี้อีกนานไหม

ก็คงนานหากคนไทยไม่มีความคิดร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกัน หากไม่ลองละทิ้งบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตนและหันมาทำเพื่อส่วนรวม ยิ่งคิดแบบทุนนิยมก็จะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะทุกคนต่างจะคิดเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ แม้แต่ระบบราชการยังคิดประเมินผลแบบธุรกิจเลย เฮ้อ....

สวัสดีน้องนกทะเล

ทุกแห่งหนมีความขัดแย้ง แต่เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยความรุนแรงหรือสันติวิธี หากเราอยู่ในข้างหนึ่งของความขัดแย้ง มันอยู่ที่ตัวเราด้วยจริงไหม....

ในการต่อสู้ ฝ่ายใด(จิต)นิ่งกว่าฝ่ายนั้นชนะ...

ท่าน อท.ครับ

วันนี้ผมเดินหาหนังสือมาอ่านประกอบเกี่ยวกับเรื่องสันติวิธี หันไปเห็นหนังสือธรรมะทำให้ฉุกคิดว่า ความจริงทฤษฎีต่างๆของตะวันตกมันก็อาจจะเหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหาของตะวันตก ส่วนตะวันออกก็น่าจะแก้ไขปัญหาแบบตะวันออก แล้วก็นึกถึงทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค นึกถึงที่ท่านพุทธทาสได้เคยอธิบายว่ามันสามารถแก้ได้สารพัดทุกเรื่อง เอาหลักนี้มาจับก็จะแก้ได้

เพราะมนุษย์มีความคิดมีความเห็นที่แตกต่าง และมนุษย์เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่ การฝึกควบคุมสติจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทุกคนคิดเรื่องนี้เหมือนกัน ปัญหาความขัดแย้งก็จะไม่ลุกลามเป็นความรุนแรงครับ...

อ.อ้อย ครับ

ผมเห็นว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องมองรอบด้าน และด้านที่ อ.อ้อย พูดถึงก็น่าสนใจ เพราะหากเราไม่รู้สมมุติฐานของโรคว่ามันเกิดมาจากอะไร กรณีเช่นนั้นเพราะอะไรทำให้เขาคิดเช่นนั้น ก็ต้องไปแก้ตรงนั้น ซึ่งจากบันทึกที่ผ่านๆมา ทำให้เราทราบว่าข้อนี้อยู่ในกลุ่มที่แก้ไขยาก..อิอิ

  • สวัสดีคะพี่อัยการ พี่นิดมาขอบคุณ แต่อยากบอกว่า หา 14 ไม่ได้ทั้งตลาด 55555 เลย ออก 41 อิอิ
  • ดีใจ ที่สิงโต ออกดอกของพี่นิด กะลังแตก กอค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะท่านอัยการ

เห็นด้วยค่ะ กลุ่มนี้แก้ไขยากสุด และความขัดแย้งมักไม่ได้มีสาเหตุเดียว เหมือนทานขนมชั้นหลากสี ต้องเปิดชั้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น เวลากำลังวิเคราะห์ความขัดแย้ง เพื่อความไม่เครียดก็จะนึกว่ากำลังทานขนมชั้นอยู่ก็ได้ ฮา.. ความยาก คือ จะหาอย่างไรจึงจะเจอ อิอิ

สำหรับหนังสือธรรมะที่อ้อยว่าน่าสนใจ (ไม่ได้อ่านมากหรอกนะคะ แต่คิดว่าเล่มนี้ ย่อเอาทุกกระบวนทัศน์มาแล้ว ) คือ รวมเล่ม คู่มือมนุษย์ของท่านพุทธทาส กับธรรมนูญชีวิต ของท่าน ปอ.ปยุตโต เป็นเล่มเดียวค่ะ เปิดไปเจอทุกเรื่องค่ะ แต่บางทีท่านอาจเคยอ่านแล้วนะคะ เลยลองเสนอดูค่ะ

การณ์ทุกอย่างเกิดมาจากเหตุ  เหตุดี-ผลดี  เหตุชั่ว-ผลก็ชั่วความขัดแย้งในสังคมไทยทางการเมืองทุกวันนี้ไม่ได้เกิดมาจากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนอาตมาเห็นว่าเกิดมาจากอำนาจของระบอบทักษิณ..โดยผ่านทางคุณสมัครและบริวารพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า ครม ทั้งคณะทำผิดกฏหมาย..สันติวิธีจะยังไม่บรรลุเป้าประสงค์หากความอยุติธรรมยังดำรงอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ทำผิดมากมายประชาชนรู้เห็นทั้งประเทศแต่พยายามจะแก้กฏหมาย ให้ตัวเองและพวกพ้องพ้นผิดปัญหาต่างๆมากมายรอการแก้ไขแต่ทำไมไม่แก้ ต่อไปข้างหน้าหากใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จถือว่าอันตรายอย่างมาก เพราะคนรุ่นต่อๆไปจะไม่เคารพกฏหมายเมื่อมีอำนาจขึ้นมาหากทำผิดก็จะแก้กฏหมายเช่นผู้นำในยุคนี้..แนวคิดของผู้นำยุคนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เกรงกลัวบาป ขาดจิตสำนึกต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทำให้คนไทยแตกแยกเรืองอย่างนี้ไม่ใช่การขัดแย้งทางความคิด ความเห็นเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างได้ชัยชนะแต่บ้านเมืองเสียหาย แต่เป็นสถานะการณ์ของมวลมนุษย์ชาติที่เกิดการพัฒนามาตามลำดับ การต่อสุ้เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทางการเมืองมีมาตลอด เราต้องเสียเลือดเนื้อของผู้กล้าหาญมากมายที่กล้าต่อสู้กับอำนาจที่ไร้ธรรม

เมืองไทยเรามาไกลกว่าที่จะกลับไปสุ่ความรุนแรงเลวร้ายทางการเมืองเหมือนอดีตอีกแล้วแม้จะมีความพยายามใช้คนมาก่อกวนจากอันธพาลกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ซึ่งภาครัฐจะปกิเสธไม่ได้เลยว่าไม่รุ้เห็น..แต่ด้วยพลังแห่งสีลธรรมขอ

งประชาชนที่อดทนอดกลั้นตั้งมั่นอยู่ในสันติวิธีจึงทำให้เกิดความสงบมาตลอด.. พลังสันติ สงบ อหิงสาได้รับการตอบรับจากภาคประชาชน ทุกสาขาอาชีพ เป็นพลังประชามติ ประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่งดงามที่ไม่มีในห้องเรียนในมหาวิทยาลัยใดๆทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากมหาวิทยาลัยราชดำเนิน..

สวัสดีครับพี่นิด

สิงโตเล็บเหยี่ยว ออกมาสี่ดอก สิงโตพัดแดงออกมา ๑ ดอก ๔๑ พอดี อิอิอิ

สวัสดีครับ อ.อ้อย

หนังสือทั้งสองเล่มอ่านแล้วครับ เวลาว่างๆก็เอามาทบทวนดูเหมือนกันครับ

ผมชอบการเปรียบเทียบความขัดแย้งเหมือนขนมชั้นหลากสีต้องเปิดชั้นไปเรื่อยๆ จัง ขออนุญาตเอาไปใช้มั่งครับ เก็บค่าลิขสิทธิ์ไหม หุหุ

สาธุครับ ท่าน tukkatummo

ผมไม่ชอบทุนนิยมจัด เพราะทำให้ผู้คนแสวงหาสิ่งที่เรียกว่ากำไร ผลประโยชน์ เงิน คุณธรรมในตัวตนลดลง

ผมไม่ชอบการไม่จบสิ้นขยายเหตุไปเรื่อยๆเหมือนการขยายเหตุเป็นรายวัน ผมจะไม่รู้สึกอะไรเลยหากการชุมนุมเริ่มจากการขับไล่รัฐบาลมาตั้งแต่ต้น

ผมไม่ชอบการตอบโต้แบบนักเลงของรัฐบาล

ผมไม่ชอบการที่คนมีความคิดแตกต่างแล้วมาทำร้ายฝ่ายพันธมิตร

ผมไม่เข้าข้างใครที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย แต่ผมก็เข้าใจว่าถ้าไม่ใช้วิธีการดังกล่าวจะเกิดอะไรขึ้น

ผมขอวางตัวเป็นกลาง ขอนั่งดู ฝ่ายใดทำถูกก็เห็นด้วย ถ้าฝ่ายนั้นทำไม่ถูกในกรณีอื่นผมก็จะไม่เห็นด้วย

สาธุ

ยินดีค่ะท่านอัยการ ไม่หวงลิขสิทธิ์ค่ะ ขอยืมไปใช้สองแล้วนะคะ หุหุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท