เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๒๗(การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี๒๕๕๐ตอนที่๒)


การร่างรัฐธรรมนูญ ต้องร่างตามกรอบใหญ่ ๓ กรอบ

        ขอต่อให้จบในวันนี้เลยนะครับ เพราะยังมีอีก ๓ หัวข้อที่ยังไม่ได้เขียน คราวนี้จะไม่สนใจ rating ว่าจะมีใครเข้ามาอ่านกี่คน อิอิ วันนี้ก็เพิ่งไปว่าความคดีใหญ่มา ก็เหนื่อยเอาการเหมือนกัน นานๆว่าความที อิอิ

        อาจารย์เล่าให้เราฟังว่าการร่างรัฐธรรมนูญ จะมีกรอบการร่างหลักๆ ๓ กรอบ คือ

-กรอบสิทธิเสรีภาพของประชาชน

-กรอบการตรวจสอบอำนาจรัฐขององค์กรอิสระของรัฐธรรมนูญ

-กรอบพรรคการเมือง ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่เคยมีพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้มแข็ง จนกระทั่งถึงปี ๒๕๔๐

        ๑.ต้องทำให้ประชาชนเข้มแข็ง สิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วม

        ๒.ระบบรัฐสภาเมื่อตั้งรัฐบาลได้ รัฐสภาจะอ่อน จึงต้องร่างให้ทำให้ระบบรัฐสภามีความเข้มแข็ง

แนวนโยบายของรัฐ มีการวิพากย์วิจารณ์หลังรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๒ ว่ามีทำไม ใครจะมาเป็นรัฐบาลเขาก็จะมีแนวนโยบายแห่งรัฐ  (แต่ที่มีเพราะไม่ไว้ใจรัฐบาล อิอิ )ตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ มาถึงปัจจุบัน ตัดไม่ได้

        จนปัจจุบันมีการเมืองภาคประชาชน

        รัฐธรรมนูญปี ๔๐ มีการพูดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตกผลึกเมื่อรัฐบาลขิงแก่ ออกกฎหมายรับรององค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน องค์กรที่เป็นสถาบันทางการเมืองได้รับการรับรองโดยกฎหมายของรัฐ

        รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ขยายมามองถึงผู้ถูกปกครอง นายชวน เป็น ส.ส.ตั้งแต่ ๒๕๑๒ การคุ้มครองผู้ถูกปกครอง การจะจับคนก็ถูกห้ามไม่ให้ทำง่ายๆเพราะต้องการคุ้มครองคนดีแต่มันก็เกิดผลกระทบอย่างที่บรรดาฝ่ายกฎหมายรู้ดี และไม่สามารถเขียนให้สมบูรณ์ได้ทุกจุด

        คนที่กำหนดตัวนายกคือพรรคการเมือง

        รัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดความชอบธรรมแห่งอำนาจ ที่ซึ่งประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง

        หลังจากพักดื่มกาแฟแล้ว ท่านอาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถาม

        คุณไตรรัตน์ ถาม รัฐธรรมนูญมีโอกาสที่จะไม่ต้องมีตัวรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ตัวรัฐธรรมนูญถ้าให้เป็นตามธรรมชาติ เป็นตามทางวัฒนธรรมไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร

        อ.บอกว่ายากมาก เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงต้องมีการเขียนกติกา โลกที่ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมีน้อยมาก เช่น นิวซีแลนด์ ขนาดเขียนมีกติกาล่วงหน้ายังมีปัญหาเลย....สมัย อ.สัญญา(เป็นนายกรัฐมนตรี) มีการยุบสภา มีปัญหาว่าเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้จะยุบได้อย่างไร ก็ตอบว่ามีตัวอย่างมาก่อนแล้วสองครั้ง ทำได้

        คุณกฤตพล ถามทำไมรัฐธรรมนูญไทยจึงมีหลายมาตรา

        อ.ตอบ อินเดียเขียนเยอะกว่าเรา แต่หลายเรื่องก็ไม่น่าใส่ แต่เวลาแลกเปลี่ยนความเห็นฝ่ายที่ให้ใส่เป็นฝ่ายชนะ เช่น การปกครองส่วนท้องถิ่น ไทยมี ๔ แบบ

        โกติ่ง ถาม รัฐธรรมนูญแก้ไขได้หรือไม่

อ.ตอบ ถ้าแก้ไขจะทำได้ง่ายกว่าการร่างเพราะมันมีหลายเรื่อง น่าจะเป็นเรื่องจรก็เป็นเรื่องหลัก ถ้าจะแก้ จะแก้เรื่องไหน และถ้าถามว่าควรจะแก้หรือไม่ แก้เรื่องอะไร ก็ต้องถามว่าแก้แล้วเกิดประโยชน์แก่ประชาชนหรือไม่

        คุณศิริบูรณ์ ถาม รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ที่มีการรับร่างรัฐธรรมนูญเพราะชาวบ้านอยากให้มีการเลือกตั้ง มากกว่ารับรัฐธรรมนูญเพราะชอบรัฐธรรมนูญ (โพล) ถามว่าใครควรจะเข้าไปแก้

        อ.ตอบว่า นักการเมืองนั่นแหละ เพราะรับอาสามาสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง จะไปโทษตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้

        คุณเทพสิทธิ์ ขอให้วิจารณ์แก้รัฐธรรมนูญ ม. ๒๓๗ วรรคสอง ม.๓๐๙

        อ.ตอบ เป็นที่รู้กันการเลือกตั้งซื้อเสียง ฝ่ายที่เสนอต้องใช้ยาแรงคือต้องยุบพรรค มีการอภิปรายกันแต่ในที่สุดฝ่ายที่บอกว่ายุบพรรคเป็นฝ่ายชนะ   แต่ที่สุดแล้วก็คือศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ตัดสิน

        ท่านนันทศักดิ์  ถามเรื่องการถอดถอนกรรมการบริหารพรรคว่าผู้ร่างคิดอย่างไรที่เขียนให้ยุบพรรค เพราะกรรมการพรรคผู้ใหญ่บางท่านอาจจะไม่รู้เรื่องแต่เป็นเรื่องส่วนตัวของส.ส.ที่คนหนึ่งบังเอิญว่าเป็นกรรมการ บริหารพรรค

        อ.บอกว่าตอนร่างก็พูดกัน แต่ก็เกิดคำถามว่าจะใช้ยาแรงไหม ถ้าใช้ยาแรงก็ต้องเป็นแบบนี้ และในที่สุดก็เป็นยาแรง ก็ถ้าไม่ทำผิดจะไปกลัวอะไร

        ท่านนันทศักดิ์ พรรคเล็กตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ เมื่อตั้งพรรคแล้ว ทำโครงการเสนอทำกิจกรรม กกต.ก็จ่ายตังค์ แต่พอถูกเพิกถอนก็ไม่เหลืออะไรสักอย่าง ควรจะทำอย่างไรที่จะทำให้พรรคเหล่านี้เหลือน้อยลง

        อ.บอกว่า พรรคที่เพิ่งตั้งใหม่ไม่มีเงินทำกิจกรรมเหมือนกัน แต่ว่าต้องตามจับโจรกัน

        คุณไตรรัตน์ เสนอว่ารัฐธรรมนูญควรมีการสอนตั้งแต่เด็กนักเรียน

        อ.บอกว่า เวลามีปัญหาอย่าเอาไปให้เด็กเรียนทุกเรื่อง อิอิ แต่การศึกษาอย่ามัวแต่นึกสอนอยู่ในห้องเรียน ต้องให้เด็กเรียนรู้นอกห้องเรียน

        ลืมจดว่าใครพูด อิอิ (นึกไม่ออกจริงๆ) เราพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าอยากแก้เพราะมาจากเผด็จการ แต่ในความเป็นจริงทหารเข้าไปเป็นกรรมการร่างน้อยมาก และปี ๒๕๔๐ กับ ๕๐  คนร่างก็เป็นชุดเดียวๆกัน ถ้าชอบผู้หญิงคนหนึ่งคงไม่ไปถามว่าใครทำคลอด สอนเรื่องกฎหมายกับสังคม ให้นศ.วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี ๔๐ กับปี ๕๐ นศ. ๙๐ เปอร์เซนต์ วิจารณ์ว่าปี ๕๐ ดีกว่า

        เราถามกันเยอะมาจนผมจดไม่ค่อยทัน เอาว่ามันมาก..สนุกกับการเรียนรู้ จนอดใจไม่ไหวเอามาเล่าสู่กันฟังทั้งๆที่มีงานคดีหนักรออยู่ข้างหน้า อิอิ จบแล้วครับ......

หมายเลขบันทึก: 199234เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ปาดดดดดดดด

อิอิ  มาจองนั่งหน้าก่อนกามนิตค่ะ

แล้วจะย้อนกลับไปอ่านละเอียดๆ  อิอิ

ชั่วโมงนี้ ตั้งใจว่า จะถามท่านว่า คนต่างด้าวได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไหม ? ยกมือแล้วยกมืออีก แต่ก็ไม่มีใครเห็นมือค่ะ

ไประยอง ถ่ายรูปมามากๆ นะคะ จะรออ่าน รอดูค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับ

อยากจะเสนอให้มีอีกกรอบหนึ่ง

คือกรอบทางด้านคุณธรรม และศีลธรรม

:)

  • มาตามอ่านครับ...
  • อิอิ..นี่ขนาดจดไม่ทันนะครับ
  • ถ้าทันจะขนาดไหน
  • ขอบพระคุณมากครับ

เห็นด้วยกับคุณ Poldej Worachat เรื่องกรอบทางศีลธรรม หรือธรรมาภิบาล

 

                                                             

กราบขอบพระคุณท่านอัยการมาก ๆ ค่ะ

ที่ให้กำลังใจครูปูเสมอ ๆ แม้กระทั่งวันสำคัญเช่นนี้ก็ไม่ลืมที่จะเมตตาอวยพรเพื่อเป็นกำลังใจประกอบวิชาชีพอันทรงคุณค่าต่อไป

ขอบพระคุณค่ะ ( ^__^ )

สวัสดีน้องหนิง

ขยันเรียนดีนะ..อิอิ

อ.แหววครับ

คำถาม อ.แหวว น่าสนใจมากนะครับ ควรจะมีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญไว้เพื่อนักกฎหมายจะได้ใช้แก้ปัญหากรณีไม่รู้จะช่วยยังไง เช่น กรณีที่เคยคุยกับ อ.แหวว เพราะเป็นกรณีที่มีแต่คำให้การของผู้ต้องหา ไม่มีพยานประกอบเลย ไม่รู้จะช่วยอย่างไรเหมือนกัน ครับ

สวัสดีครับท่าน อท.

กรอบทางด้านคุณธรรมจริยธรรมน่าสนใจครับ ถึงวิธีเขียนรัฐธรรมนูญอาจจะยากสักหน่อย เพราะการนำเอาคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นบังคับมันหามาตรฐานยากเหมือนกันนะครับ เช่น จะเขียนว่า บุคคลจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการครองเรือน การทำงาน การปฏิบัติราชการ ฯลฯ เป็นหัวข้อใหญ่ แต่ถ้าเขียนละเอียดรัฐธรรมนูญก็จะยาวมาก ท่านลองเสนอความเห็นดูสิครับ ว่าเราจะร่างรัฐธรรมนูญแบบไหน เผื่อผู้เข้ามาอ่านจะได้ปรับความคิดให้ตรงกันครับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับคุณสิงห์ป่าสัก

คิดถึงครับ แม่บ้านและหลานๆเป็นไงบ้าง สบายดีไหม

ช่วงอาทิตย์นี้งานระเบิดระเบ้อเลยครับ เขียนตอบไม่ค่อยทัน เพราะไปควบคุมคดีแพ่งสำคัญที่ศาล พอเสร็จก็ต้องเอาอีกคดีหนึ่งมาตรวจเป็นคดีใหญ่อีกคดีหนึ่ง แถมรู้จักคู่ความด้วย ตกบ่ายประชุม อ.ก.ค.ศ.ถึง ๕ โมงเย็น เช้านี้ต้องไปเป็นประธานเปิดประชุมเสวนาความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเขาเชิญบรรยายพิเศษอีก ตกบ่ายขึ้นเครื่องเข้าไปเรียนหนังสือที่ กทม.อีก ตอบเมล์ ตอบบันทึกแทบไม่ทันเลยแหละครับ เลยยัง

ไม่ได้เขียนอีก ๒ หัวข้อครับ

สวัสดีครับคุณเอกราช

กรอบเหล่านี้เป็นกรอบที่เขียนยากมากครับ ผมยังนึกภาพไม่ออกว่าจะลองเขียนอย่างไร ลองเสนอความเห็นสักนิดพอเป็นแนวทาง คือผมมองภาพรวมว่าถ้าเราใส่ไว้มันดีครับ แต่พอจะลองเขียนดู มันยากไม่ใช่เล่น อิอิ

สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์

สบายดีนะครับ ผมเข้าไปเยี่ยมบันทึกท่านแล้ว แต่ไม่ได้ฝากรอยไว้เพราะช่วงนี้งานเยอะมากครับ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

เป็นกำลังใจให้น้องสาวคนเก่งเสมอครับ

เมื่อวานก็ไปประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯมาเจอลูกเล่นของกรรมการกลั่นกรอง แต่ตามทัน จึงไม่เสร็จโจร อิอิ เหนื่อยจริงๆกับการบริหารงานของครู เนี่ย...อิอิ

ในประเด็นคำถามที่ว่า "รัฐธรรมนูญไทยคุ้มครองคนต่างด้าวไหม ?"

ในนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนคงยุติแล้วค่ะ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ มีมาตรา ๔ ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไป เพื่อรองรับเรื่อง "สิทธิในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" กล่าวคือ รัฐธรรมนูญไทยคงคุ้มครอง "มนุษย์ทุกคน" ไม่เฉพาะแต่ "มนุษย์ที่มีสัญชาติไทย"

ในทางแนวคิดกฎหมาย หากเราเชื่อว่า  รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน รัฐไทยก็ต้องมีอำนาจอธิปไตยเหนือทุกคนทุกสิ่งบนดินแดน ดังนั้น หากเราเชื่อใน territorial jurisdiction ของรัฐไทยเหนือแผ่นดินไทย คำถาม ก็คือ รัฐไทยจะจับคนต่างด้าว โดยไม่คุ้มครองคนต่างด้าวหรือ คงมิใช่มาตรฐานความยุติธรรมที่รัฐไทยควรจะมีแน่นอน

ทราบว่า ตอนรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ก็คุยกันมาก และในสมัยของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็คุยกันมาก

แต่นักกฎหมายแบบอำนาจรัฐนิยมยังทำใจไม่ได้ค่ะ และอยากตีความว่า มาตรา ๔ ดังกล่าวหมายถึงมนุษย์ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น.....

อิอิ อ.แหวว

มันต้องรื้อโครงสร้างการสอนกฎหมายใหม่ บังคับให้เรียนกฎหมายสัญชาติด้วย คนที่จะสอบเป็นพนักงานอัยการผู้พิพากษาต้องสอบกฎหมายพวกนี้ด้วย เพื่อให้เขาเรียนรู้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และที่สำคัญคือต้องคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพราะถ้าคิดกันไปคนละทาง ตัวอย่างง่ายๆ คิดไม่เหมือนผู้บังคับบัญชาก็โดนแล้ว อิอิ แต่บางทีผมก็คิดนอกคอกบ้างเหมือนกันแหละบังเอิญว่าผู้บังคับบัญชารู้จักนิสัยของเราดีท่านเลยสั่งยุติเรื่อง เกือบโดนภาคทัณฑ์เข้าให้แล้ว รู้ป่าว...อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท