เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๓๓(เตรียมข้อมูลก่อนไประยอง๔)


ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่ภาครัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเอาจริงเอาจัง โรงงานอุตสาหกรรมใดขาดจิตสำนึกในด้านนี้ต้องลงโทษสถานหนัก

        ในคราวที่แล้วผมได้เล่าให้ฟังว่าเขามีแผนลดปริมาณการทิ้งมลสารถ้าจะถามว่าแล้วจะเอาอะไรเป็นตัวชี้วัด  ก็บอกว่าเขาใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการระบายไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สูงสุดเมื่อเดินเครื่องจักรเต็มกำลังผลิตโดยใช้ฐานปี ๒๕๔๙ เป็นเกณฑ์ครับโดยมีเป้าหมายลดปริมาณที่ปลดปล่อยสารดังกล่าว ในพื้นที่มาบตาพุดลง ๑๐-๒๐ %  (มีการอ้างอิงว่าผู้ประกอบการในมาบตาพุดสามารถลดการระบายลงได้ ๒๓-๒๖ %) ส่วนสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs จะต้องควบคุมการรั่วซึมจากแหล่งต่างๆให้ได้มาตรฐานภายในปี ๒๕๕๑  ส่วนเรื่องน้ำทิ้งของชุมชนพื้นที่มาบตาพุด ต้องจัดการน้ำเสีย ๒๕ % ภายในปี ๒๕๕๑ และ ๕๐% ในปี ๒๕๕๔ กับทั้งโรงงานต้องระบายมลสารให้เป็นไปตามมาตรฐาน ๑๐๐ % ภายใน ๑ ปี ลดปริมาณการระบายน้ำเสียในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะสั้น ๗๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปี และอีก ๖๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปีภายใน ๒๕๕๔ (เขามีปริมาณการใช้น้ำวันละ ๓-๔ แสนลูกบาศก์เมตร),กากของเสียและขยะจัดการให้ถูกต้อง ๑๐๐ % และอาชีวอนามัยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

        ที่มาบตามพุด กรมควบคุมมลพิษจะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ๔ สถานี ในปัจจุบันก็จะมีหน่วยติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่  ส่วนของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็จะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๔ สถานี และของบริษัทบีแอลซีพี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ก็มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๕ สถานี ซึ่งได้ตั้งตามที่ต่างๆ แต่บางทีก็ตั้งไว้ซ้ำซ้อนกัน เช่น ของสำนักงานนิคมมาบตาพุด กับของบริษัท บีแอลซีพี ต่างก็ตั้งที่วัดตากวนคงคาราม เมืองใหม่มาบตาพุด วัดมาบชะลูด (นึกอีกทีก็ดีเหมือนกันว่าวัดค่าได้เท่ากันไหม อิอิ แต่เราก็ไม่ได้ไปดู หวังว่าคงเป็นคนละเครื่องฮิ)

        เรามามองการทำงานของทางด้านการนิคมอุตสาหกรรม เขาก็รายงานว่าการดำเนินการลดไอสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs มาจากคำว่า Volatile Organic Compounds ครับ ได้มีการดำเนินไปกว่า ๘๐ % แล้วครับ และกลุ่ม ปตท.และเครือซีเมนต์ไทยพิจารณาลงทุนในมาบตาพุดกว่า ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อลดการปล่อยก๊าซทั้งสองชนิด (แต่ชาวบ้านสงสัยว่าทำไมเขาเรียกร้องให้ชลอการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เพราะภาวะมลพิษแพร่กระจายยังไม่ลดลง ทำไม ปตท.ยังสร้างเพิ่มเรื่อยๆ..ฮึๆ)

        ในส่วนเรื่องน้ำลดปริมาณน้ำเสียได้ประมาณ ๒,๑๐๖,๙๙๔.๔ ลบ.ม.หรือ ๓๐๑% ของเป้าหมาย(๗๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.)

        ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) Corperate Social Responsibility เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น,ดูแลสุขภาพอนามัยของชุมชน,เพิ่มศักยภาพของคนในพื้นที่ รับคนในพื้นที่เข้าทำงานมากขึ้น(อิอิ ยังงี้ใครก็มองออกว่าหาพวก ลดพวกต่อต้าน อิอิ),พัฒนาเรื่องน้ำกินในภาคตะวันออก(อันนี้เข้าท่าหน่อย ชาวบ้านเขาเดือดร้อนหลังบ้านอยู่ติดโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมทุกด้าน แต่แถวนั้นไม่มีน้ำประปา ขุดบ่อก็ไม่ได้เพราะน้ำใช้ดื่มไม่ได้),เพิ่มพื้นที่สีเขียว,ให้ความรู้ชุมชนด้านมลพิษ,สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนต่างๆ(เอาเงินมาล่ออีกแล้ว....เหอๆ) และทางกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็ได้ร่วมมือกันลดการปล่อยมลสาร,ลดการใช้น้ำและระบายน้ำทิ้ง,เพิ่มพื้นที่สีเขียว,สนับสนุนงบประมาณ (แต่ได้ข่าวว่าให้เงินสนับสนุนไปตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยมีผู้ว่าเป็นผู้ดูแล(ไม่ใช่ผู้ว่าท่านปัจจุบัน) กองทุนนั้นมีอยู่ ๓๑ ล้านบาท แต่เอาไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ๒๗ ล้าน แหะๆ แล้วคนระยองจะเอาเงิน ๔ ล้านไปแก้ปัญหายังไงครับจ้าวนายยยยย)

        เขียนมาถึงตรงนี้ชักเขินมีเรื่องสารภาพ เพราะเวลาฟังวิทยากรได้ยินไม่ชัดและไม่มีการฉายคำภาษาอังกฤษขึ้นจอ ผมได้ยินเวลาเขาบรรยายเรื่องบับเบิ้ลโซน แล้วก็นึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง แต่เข้าใจตามที่เขาอธิบายว่ามีการปลูกต้นไปเป็นเขตระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชน เพิ่งรู้ว่าเขาเรียกบัฟเฟอร์โซน Buffer Zone อิอิ โปรดเข้าใจตามนี้

บทบาทของสภาอุตสาหกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก

        สภาอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นศูนย์กลางข้อมูล ข้อสนเทศ และการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพปัญหาและแนวทางการลดภาวะโลกร้อน โดยสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของภาคอุตสาหกรรมในการมีส่วนร่วมต่อการลดปัญหาภาวะโลกร้อน มีการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น การบริหารจัดการเพื่อลดการระบายมลพิษอากาศหลักจากโรงงานอุตสาหกรรม,โครงการฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์,โครงการสัมนาวิชาการเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจและทราบถึงแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR เป็นต้น

        คุณพยุงศักดิ์ ได้จบหัวข้อ การพัฒนาอุตสาหกรรมกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่เพียงเท่านี้ และยังไม่เปิดโอกาสให้ถามคำถาม เพราะคุณศิริบูรณ์ ขอให้ ดร.สมยศ จากเจนโก้ ได้บรรยาย ต่อ แต่ภาคคำถามก็สนุกครับ กรุณารออ่านตอนต่อไปฮิ....

หมายเลขบันทึก: 201641เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • อาชีวอนามัยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • พี่สงสัยจังว่า ที่เขาเอ่ยมานั้น เขามีข้อมูลอะไรอ้างอิงให้ได้รู้ว่า ณ วันนี้ เขามีข้อมูลอยู่แล้วหรือ
  • ความครอบคลุมเป็นเท่าไร เป็นอย่างที่พูดแล้วไหม อย่างไร
  • .............
  • หรือว่าพูดเป็นว่าเล่น ให้โก้ๆไปอย่างนั้นแหละ 
  • ก็ผลกระทบความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คือ ผลต่อสุขภาพนะค่ะ
  • .............
  • การหาทางแก้ก็ดูเหมือนจะลอยๆ จะประกันตรงไหนว่า สมดุลเริ่มเกิดขึ้น ระหว่างคนก่อ คนคุม คนแก้ แล้ว
  • เพื่อบอกคนรับผลงานตัวจริง คือ ประชาชน ให้เขาเข้าใจ มั่นใจได้
  • ถ้ามีข้อมูลในแง่มุมนี้ บอกกันหน่อยนะค่ะ

สวัสดีครับ

อ่านแล้ว เห็นว่าความสำคัญอยู่ที่การให้ชุมชนมีบทบาทและคุมคุณภาพชีวิตของชุมชนเองครับ

ขอบคุณครับ

  • เห็นด้วยกับอาจารย์วรเดชค่ะ
  • ทำให้เห็นประเด็นว่าที่เขาว่า "ให้ความรู้ชุมชนด้านมลพิษ" นั้นน่าสนใจๆ ว่าทำอะไรบ้างน๊า
  • มี bias หรือชี้นำอะไรไปบ้างหรือเปล่า
  • เราก็มีบทเรียนอยู่ว่า การ bias และ ชี้นำทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่บานปลายไปสู่ความขัดแย้งเรื่องใหม่
  • น่าสนใจนะว่า เขาทำอย่างไรไปบ้างที่คนดูอย่างเรา เชื่อได้ว่า ความขัดแย้งจะลดลงได้ และนำมาเป็นบทเรียนรู้ได้ 

สวัสดีค่ะ อาจารย์

สงสัยระยอง มีมาบตาพิษ อย่างที่พ่อครูบอกจริงๆค่ะ เตรียมข้อมูลตั้งหลายตอน อิอิอิ ขอหยอกนิดนึงนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

หวัดดีครับพี่หมอเจ๊

ถ้ามีข้อมูลที่ทำให้ประชาชนเข้าใจมั่นใจ เราคงไม่ต้องไปศึกษาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีครับ อิอิ

ภาพที่ทุกคนสร้างต้องดูสวยงามแน่นอน แต่เวลาปฏิบัติจริงก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมไปพบชาวประมงที่ลูกเป็นภูมิแพ้ เขาบอกว่าโรงงานไหนบ้างที่ยื่นมาดูแล การรักษาพยาบาลก็ต้องจ่ายเอง เพราะต่างคนต่างอ้างว่าไม่ใช่โรงงานของตัวเป็นคนทำ โรงงานในนิคมก็ว่าโรงงานตนดีมีมาตรฐานแต่ก็เป็นโรงงานขนาดใหญ่ เป็นแหล่งก่อให้เกิดของเสีย แต่ก็โบ้ยไปให้โรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กนอกนิคม ก็ว่ากันไป แต่ชาวบ้านมีปัญหา เราไปแต่ละหน่วยก็บอกว่ามลพิษอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่จมูกของผมซึ่งบ้านอยู่ติดชายป่า จมูกครูบาที่อยู่ในสวนป่า จมูกของเพื่อนที่อยู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บอกตรงกันว่ามีกลิ่นเหม็น หรือว่ามาตรฐานของระยองต้องเหม็นหน่อยๆ อิอิ

สวัสดีครับท่าน อท.

ปัญหาอยู่ที่ว่าชุมชนมีส่วนร่วมจริงหรือ ชุมชนได้รับโอกาสจริงหรือ มีใครฟังเสียงชุมชนจริงหรือ หากจริงทำไมพวกผมยังต้องไปศึกษาเพื่อป้องกันความขัดแย้ง ทำไมชาวบ้านยังออกมาบอกเล่าให้พวกเราถึงปัญหาที่ยังมีไม่สิ้นสุดละครับ

ตอนต่อไปเป็นคำถามที่พวกเราถามในห้องเรียน และตอนต่อไปผมจะเล่าถึงสิ่งที่ไปพบเห็นมาครับ

สวัสดีมณีแดง

น้ำหายท่วมหรือยัง เห็นข่าวบอกว่าท่าบ่อน้ำท่วมคงลดแล้วนะ

เตรียมงานหลายตอนเพราะอยากรู้ว่าความจริงคืออะไร ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท