เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๕๕(ไปดูแตงโม ๒)


ทำไมชาวบ้านบอเกาะจึงรักแตงโม ปลูกแตงโม ทำเสื้อแตงโมสมานฉันท์

พี่อดิศร เล่าให้พวกเราฟังถึงการร่วมคิดร่วมทำของชาวห้วยต้ม และชี้ให้เห็นการใช้เงินอย่างมีคุณค่า และได้ขอจากสำนักพระราชวังให้ชาวบ้านได้ใช้ตราสัญลักษณ์ในการทำเสื้อเหลือง ให้เขาได้ภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกันทำเพื่อหมู่บ้านเอากำไรมาทำฝาย แล้วก็มาเล่าเรื่องโครงการบ้านบอเกาะ ตอนที่คุณอัมรากับพี่พิเชษฐ์ (พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร)เรียนอยู่ที่ วปอ.ด้วยกัน วันดีคืนดีคุณอัมราก็ชวนให้พี่อดิศรได้ไปคุยกับพี่พิเชษฐ์  โครงการนี้เกิดขึ้นไม่ยากเท่าไหร่ แต่ช่วงนั้นธุรกิจถูกมองเป็นผู้ร้ายของสังคม ทำให้นักธุรกิจระวังตัวมาก การได้คุยกันเรื่องตำรับพิชัยสงครามของซุนวู มีความรู้สึกตรงกันว่า การชนะสงครามที่ดีที่สุดคือการชัยชนะที่ได้มาโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ก็เลยมีความคิดตรงกันว่าเรามาเปลี่ยนอาวุธเป็นอาชีพกันไหมเพราะภาคใต้รุนแรงเพราะเริ่มจากการขโมยอาวุธ ลองดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

พี่พิเชษฐ์ได้ใช้จุลินทรีย์ช่วยชาวบ้าน เพิ่มผลผลิตยางพารา พี่อดิศรมองเห็นจุดอ่อนของเกษตรกรรม เพราะปลูกฟักทอง ๔๗ วันจึงจะได้ขาย อะไรที่ได้ตังค์ทุกวัน ลองดูซิให้เขาทำเสื้อเพราะไม่ใช่เย็บเสื้อธรรมดา แต่เป็นการเย็บสันติภาพ ฟังดูเหมือนกับไม่เกี่ยวกัน แต่ลองใช้จินตมยปัญญา ลองจินตนาการดูสินั่งเย็บเสื้ออยู่ทำให้เกิดสันติภาพได้หรือไม่  จึงทำเสื้อสมานฉันท์ แต่โลโก้สมานฉันท์ยังไม่มีใครรู้จักในเชิงสินค้าจึงเอาชื่อแตงโมไปไว้ข้างหน้าเป็น แตงโมสมานฉันท์ เมื่อคนรู้จักแล้วจะถอด แตงโมออกเพื่อให้ยี่ห้อสมานฉันท์เป็นโลโก้ของชาวสามจังหวัดภาคใต้โดยสมบูรณ์  เจ๋ง ไหมครับความคิดของผู้ชายคนนี้.....ถ้านักธุรกิจทั่วประเทศคิดแบบนี้ ประเทศนี้จะเป็นอย่างไร คิดแล้วขนลุกครับ....

 

พี่อดิศรเล่าให้ฟังว่าเมื่อไม่นานมานี้ ชาวบ้านที่นั่นโทร.มาบอกว่าข้าวที่ปลูกที่นั่นล้อตแรกจะขอใช้โลโก้สมานฉันท์ ผ้าโพกหัวที่ชาวบ้านเย็บก็จะใช้ตราสมานฉันท์และขอติดเป็นชื่อของหมู่บ้านเขาด้วย นี่คือความภาคภูมิใจในผลงานของเขา....

โครงการบ้านบอเกาะมีวิธีการก็คือขอให้พี่พิเชษฐ์ส่งคนมาฝึก ๑๑ คน ให้ฝึกหัดเย็บ ๑๐ คน อีก ๑ คนให้ควบคุมคุณภาพ เป็นผู้หญิงล้วน พูดไทยก็ไม่ได้ รู้จักกับใครหรือก็เปล่า การออกจากหมู่บ้านมาก็เพียงความเชื่อว่าคนไทยจะไม่ทำร้ายกัน  เดินทางมาถึงนครปฐมก็มีคนแปลกหน้า ๕ คนไปต้อนรับด้วยดอกกุหลาบแทนคำพูดคนละ ๕-๖ ดอก อะไรจะเกิดขึ้นชาวบอเกาะไม่รู้...แล้วก็มาถึงโรงงานก็มีการต้อนรับอย่างเรียบง่าย โครงการนี้ไม่ใช่เพียงการฝึกอบรมตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ แต่จะทำให้เรากับชาวบอเกาะใกล้ชิดกัน คิดถึงกัน เป็นพี่น้องกัน ห่วงใยกันตลอดไป มาถึงไม่มีสอน แต่ให้วิชาเฝ้าดู แล้วพี่อดิศรจะถามว่าเห็นอะไรบ้าง หลังจากตอบคำถามครบแล้วก็จะให้ลงไปดูอีก ๑ ชั่วโมงแล้วมาคุยกันอีก เป็นการฝึกการมีส่วนร่วมในการเรียน เพราะแต่ละคนอาจจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน คนอื่นจะได้รับรู้มุมมองของเพื่อนด้วย ๑๑ คนก็จะได้อีก ๑๐ มุมมอง  จากนั้นก็ให้นั่งลงเย็บด้วยความตั้งใจ ตอนแรกขอให้อยู่ ๖๐ วัน แต่มีการต่อรองเหลือ ๓๐ วัน การหัดเย็บเริ่มจากเย็บเส้นตรง เส้นโค้ง สามเหลี่ยม วงกลม เย็บกันไป..

วันที่สองหัดให้เย็บเสื้อ  ๑๐ คนเย็บทั้งวันได้เสื้อ ๒๒ ตัว ใช้ได้ ๒ ตัว ในขณะที่ข้างๆ คน ๙ คน เย็บในเวลาเท่ากันได้เสื้อ ๑,๔๐๐ ตัว เขาก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะได้อะไรกลับไปบ้าง

ต้นปี ๒๕๔๙ เสื้อเหลืองยังขายไม่ดี แต่ก็ทำกันไป มาขายดีในภายหลัง วันที่เขากลับบ้านบอกกับเขาว่า อย่าคิดว่าเย็บเสื้อนะ ขอให้คิดว่าเธอกำลังเย็บความสามัคคีของคนรุ่นเดียวเข้าด้วยกัน ขอให้คิดว่ากำลังเย็บอนาคตของลูกหลานของเขาเองเพราะความรู้ที่ได้ไปเขาสามารถนำไปสอนลูกหลานได้ ขอให้คิดว่าเขากำลังเย็บความมั่นคงทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน และที่ชายเสื้อจะติดป้ายบอกว่า เสื้อตัวนี้เย็บที่บ้านบอเกาะ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และบอกเขาว่านี่คือยันต์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อไหร่ก็ตามที่เย็บเสื้อออกมาไม่ได้มาตรฐานเธอจะพาบ้านบอเกาะไปลงนรก แต่ถ้าทำด้วยความประณีตเธอจะทำให้บ้านบอเกาะไปสู่สวรรค์

เสื้อของบ้านบอเกาะ เป็นหนึ่งของโครงการตัวอย่างสามจังหวัดภาคใต้ เพราะเย็บได้สวย เริ่มมีชื่อเสียง คนงานกลับไปแล้ว ๑ เดือนแต่เงียบ จักรที่เตรียมไว้ก็ยังไม่ได้ส่ง สอบถามไปปรากฏว่าคุณซัมซูดิงได้บริจาคที่ดิน ๑๐๐ ตารางวาให้เป็นที่ตั้งโรงงาน ชาวบ้านคนอื่นเห็นความตั้งใจดีก็ช่วยกันบริจาคเงินมาได้ ๔๐,๐๐๐ บาท แต่การสร้างโรงงานต้องใช้เงินมากกว่านั้น เมื่อพี่อดิศรกับพี่อัม รู้เข้าก็เลยบอกข่าวให้เพื่อนๆทราบ จะขอกระเบื้องมุงหลังคา ๑๔๐ แผ่นจากกระเบื้องโอลิมปิค  ขอซื้อกระเบื้องปูพื้นจากดูราเกรส แต่ทั้งสองแห่งไม่คิดเงิน แกรนด์โฮมมาร์ทก็ให้อุปกรณ์การก่อสร้าง ให้ชาวบ้านไปเอาที่สาขาในพื้นที่

การทำโรงงานในหมู่บ้านมีแต่เรื่องดี ไม่ต้องเสียค่าจ้างแรงงานเพราะ เขาทำโรงงานให้แม่ ให้เมีย  มีรายได้  ให้แม่กับลูกอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่นภายในหมู่บ้านไม่ต้องจากบ้านไปหางานทำนอกบ้าน  ให้รายได้หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน ดึงความเป็นครอบครัวกลับไปสู่หมู่บ้านได้

ในวันที่ชาวบอเกาะจะกลับ วันนั้นมีการจัดงานแตงโมแฟร์ เสื้อที่เขาเย็บเสร็จเอามาวางแผง พี่พิเชษฐ์ส่งแตงโมมาให้ ๒๐๐ ลูก พี่อดิศร ทานไป ๒ ลูก ที่เหลือเอาไปวางขาย ให้ลูกน้องไปถามที่ตลาดในห้างขายลูกละ ๓๐ บาท จึงตั้งราคาลูกละ ๕๐ บาท ขายไม่ออก พี่อดิศรจึงประกาศว่า แตงโมปลอดสารพิษจากบ้านบอเกาะ  รายได้จะฝากชาวบอเกาะซึ่งเขามาไกล กลับไปเป็นทุนตั้งตัว ไม่ต้องบอกว่าคนไทยรักกันหรือเปล่า เพราะหมดภายใน ๑๕ นาที

วันเปิดโรงงานที่บ้านบอเกาะ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส  พี่อดิศรมีภารกิจ พี่อัมจึงไปแทน แต่พี่อดิศร แซวว่าเพราะรู้ว่ามันอันตรายจึงให้พี่อัมไปแทน ฮา.....หวังมรดกลึกๆ ฮา... แต่วันนั้นชาวบ้านไปรับคุณอัมรามากกว่าที่เคยไปต้อนรับพวกเขา เกือบร้อยเท่า คุณอมราบอกว่านี่คือแนวทางของในหลวง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา  พี่อดิศรบอกให้พวกเราลองคิดถึง ชาวบ้านบอเกาะ ๑๑ คน ที่มาอยู่ในกลุ่มคนไทยพุทธ แต่พุทธที่นี่ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ข้องเกี่ยวอบายมุข เขากลับไปด้วยความรู้สึกที่ดีมีพลังมหาศาล

ตอนนี้ที่หมู่บ้าน กลุ่มคนเข้มแข็งขึ้นมาก ทหารกับชาวบ้านเข้ากันได้ดี  มีคนเข้าไปเยี่ยมเยอะมาก คุณซัมซูดิงเห็นความงดงามจึงบริจาคที่ดินอีก ๑๐๐ ตารางวา สร้างสนามเด็กเล่นให้เด็กๆ แม่ก็ไม่กังวลทำงานไป ลูกก็อยู่ใกล้ ๆ และที่ด้านหน้าโรงงานมีคำขวัญของชาวบอเกาะว่า สมานฉันท์ คือพลังสันติสุข

พี่อดิศร จบการบรรยายในเรื่องบ้านบอกเกาะด้วยคำว่า ชีวิตเราเป็นสุขอยู่ใต้ ฟ้า ฟ้า มีความอบอุ่น ฟ้ามีดวงตา ฟ้ามีหัวใจ ผมเห็นข้อความนี้ติดที่รถของบริษัท เห็นตามข้างถนน ประทับใจมากๆๆ

ยังมีอีกตอนครับ ของดีๆอย่างนี้ต้องดูกันให้ถึงแก่น เพราะเป็นการจุดประกายให้พวกเราคิดทำความดีเพื่อคนอื่น ให้รู้จักวิธีการคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ เราหาครูอย่างนี้ไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ ตอนหน้าจะพาไปดูโรงงาน ใครไม่อยากดูไม่ต้องตามมาอ่าน อิอิ

หมายเลขบันทึก: 211117เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ตามอ่านมา 2 ตอนเพื่อเก็บเกี่ยวเติมพลังใจให้ตัวเองด้วย
  • อยากจะรู้ว่าครูมีประสบการณ์จากการ คิดทำความดีเพื่อคนอื่น หลังคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ แล้วเจออุปสรรคและกรุยอุปสรรคอย่างไรบ้างค่ะ
  • แล้วใจครูผ่านตรงนั้นมาได้อย่างไร จึงไม่ทุกข์ไม่ท้อใจค่ะ
  • ลองสัมภาษณ์มาเล่าให้ฟังหน่อยนะค่ะ
  • เบื้องหลังความสำเร็จ คงไม่โรยด้วยดอกกุหลาบตลอดทาง
  • ...............
  • เป็นเรื่องที่ชวนตามอ่าน เขียนกี่ตอนก็ตามอ่านค่ะ ไม่ต้องแกล้งห้ามกัน...อิอิ
  • อึ้งในแนวความคิด
  • ว่าจะไปนอน
  • แต่ขอมาอ่านก่อน
  • ถ้าไม่ไกล
  • ขอตามไปดูโรงงานแล้ว
  • เอารูปโรงงานมาดูบ้างนะครับ
  • รอดูๆๆๆ

+ สวัสดีค่ะท่านอัยการชาวเกาะ...

+ ประทับใจมากค่ะ...

+ ขอบคุณน้ำใจที่แสนงดงามของท่านทั้งสองค่ะ...

+ สัมผัสได้เลยค่ะว่า " ความสุขที่แท้จริง มาจาการที่เราได้ทำความดี"

+ ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องราวดี ๆ มานำเสนอให้ได้รับทราบค่ะ

สวัสดีครับ

เนื้อแตงโมลูกนี้ ทานครั้งใดก็ยังหวานอย่างมีสาระ มีคุณค่าและมีชีวิตจิตใจทุกครั้งไป

ขอบคุณคนนำมาเสนอด้วยครับ

อร่อยฉ่ำจิตเลยครับ

สวัสดีครับพี่หมอเจ๊

ช่วงนี้เดินทางบ่อยมาก เอกสารงานในหน้าที่ก็มาก นั่งหน้าจอนานด้วย และไม่ค่อยได้ออกกำลัง(บอกเสียก่อนเดี๋ยวถูกเจ๊ดุ แฮ่..)ก็เลยมีอาการปวดหลัง จึงเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยไม่ได้ค่อยไปเยี่ยมใครตามบันทึก อิอิ ส่วนใหญ่จะเช็คเมล์ครับ

แตงโมมีเรื่องให้เล่าอีก ในเรื่องการจัดการโรงงาน น่าสนใจ และคนที่ทำงานที่นั่นเขาทำให้รักองค์กรอย่างไร แต่เขาไม่ได้พูดอุปสรรคให้ฟัง เอาไว้ผมคุยกับพี่อัมแล้วจะสัมภาษณ์มาเล่านะ.. แต่ที่ไม่มีปัญหาอุปสรรคเพราะก่อนจะเริ่มลงมือทำเขาทำ BAR ก่อน ตรวจสอบพลังของกลุ่มในชุมชนว่ากลุ่มไหนที่จะผลักดันให้ประสบความสำเร็จได้ และอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน

วันที่ไปเยี่ยมโรงงาน พี่อดิศร เล่าให้เราฟังเพียง ๓ เรื่อง คือ บ้านบอเกาะ บ้านห้วยต้ม กับเรื่องที่โรงงาน แต่ไม่ได้เล่าไต่ว่าล้มลุกคลุกคลานอย่างไร

เจ๊สังเกตไหมว่าเสื้อแตงโมเนื้อผ้าดี ทำไมไม่มีขายในห้าง อิอิ..เฉลยในบันทึกดีกว่า ยั่วยวนชวนให้ตามอ่าน แอ่น แอน แอ๊น...

อ.ขจิต

ผมเอารูปโรงงานแทรกอยู่เรื่อยๆ ดูไม่รู้ว่าเป็นโรงงานใช่ไหมครับ เพราะที่นี่เขาทำโรงงานเป็นบ้านครับ ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ มีที่นั่งชมวิวริมแม่น้ำ ตอนนี้กำลังทำโฮมสเตย์ใกล้เสร็จแล้ว น่าพักมากกกก

อ.ลองเปิดบันทึกแรกจะมีบรรยากาศในโรงงานแทรกอยู่เรื่อยๆครับ

น้องแอมแปร์ครับ

ผมฟังแนวความคิดของพี่อดิศรและพี่อัมแล้วมีความสุขจนอยากนำมาบอกต่อ ให้คนฉุกคิด อยากให้นักธุรกิจลงมือทำแบบนี้ให้เห็นผล อย่าทำเพียงแค่ห้าง.....บริจาคเงินช่วยตรงนั้นตรงนี้ แต่อยากเห็นห้างฯ...คิดโครงการลงไปร่วมมือร่วมใจกับชาวบ้านทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนให้ชาวบ้าน

น้องสังเกตไหมว่า โครงการทั้งสองโครงการที่เล่ามา เป็นโครงการที่สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนนะครับ และที่สำคัญเมื่อทำสำเร็จแล้วเขามีวิธีการที่ทำให้คนรักสิ่งที่เขาสร้างมากับมือครับ ที่บ้านห้วยต้มเขาทำวีซีดีมีเรื่องราวและระบุชื่อผู้ร่วมทำฝายทุกคน เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ที่เขาจะสามารถเล่าสู่ลูกหลานของเขาได้ด้วยความภาคภูมิใจ ที่บ้านบอเกาะเขาทำหนังสือปกเหลือง เล่าความเป็นมา มีใครเป็นผู้เริ่มต้น เริ่มต้นอย่างไร คิดอย่างไร มีภาพเสื้อเหลืองที่บอกว่า ๑๐ คนชุดแรก คนไหนเย็บตรงจุดไหน มีภาพโรงงงานที่ชาวบ้านสร้างกันเอง หนังสือนี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านที่คนทั้งหมู่บ้านจะต้องหวงแหนครับ

ขอบคุณท่าน อท.ครับที่ติดตามอ่านอย่างสม่ำเสมอ

ผมบอกลุงเอกว่าพอจบแล้ว แจกประกาศนียบัตรให้ท่าน อท.ด้วยเลย อิอิ

  • อรุณสวัสดิ์ครับ
  • ตามมากินแตงโมต่อ  เอ้ยดูแตงโม
  • แตงโมยี่ห้อนี้สุดยอดจริงๆ
  • ทำไม ทำไม ทำไม ชาวบ้านบอเกาะจึงรักแตงโม ปลูกแตงโม ทำเสื้อแตงโมสมานฉันท์
  • โหง้วเฮ้งหน้า บอกพื้นฐานจิตใจ
  • ผมติดใจ ใบหน้าท่าน เป็นหน้าที่สดชื่น มั่นคง
  • ดูดีมีความสุข ในทุกอริยาบท
  • อันนี้น่าสนใจ น่าถอดบทเรียน
  • ให้น้องๆ พี่ๆ ทีหน้าเหยี่ยวๆหม่นหมอง
  • ได้ปรับกระบวนทัศน์ของตัวเอง
  • จะตามไปโรงงานต่อครับ
  • ขอบคุณ
  • Song9

 

สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์ หน้าตาดี

ขอบคุณสำหรับคำชม ความจริงที่ท่านไม่บอกชาวบ้านคือผมหัวล้านกว่าในรูป อิอิ

กรุณาอดใจรอ เพราะใกล้จะเขียนจบแล้ว อิอิ

สวัสดีครับ

มาติดตามอ่านต่อ

สุดยอดจริงๆครับ

มาเยี่ยมท่านอัยการ

ตามมาดูแตงโมจินตหรา

มีไหมครับ

อิอิ

พี่ไมตรีครับ

ตั้งใจจะเขียนสามตอนจบ แต่ตอนนี้กลายเป็นสี่ตอนจบแล้วครับ กำลังจะนำบันทึกขึ้นครับ

สวัสดีครับครูโย่ง

แตงโมจินตหรามีครับ แต่ต้องมาเอาที่ภูเก็ต อิอิ

สวัสดีค่ะคุณอัยการชาวเกาะ

เล่าได้ใจจริงๆ.. อ่านตอน 3 แล้วเลยย้อนมาตอน 2 ต่อ... อ่านไปขนลุกไปจริงๆค่ะ เย็บสันติภาพ เย็บสิ่งดีๆที่มีให้กัน ไม่ใช่แค่เย็บเสื้อ...น่าชื่นชม ยกย่องจริงๆค่ะ

สวัสดีครับ a l i n_x a n a =)

อ่านย้อนไปเรื่อยๆก็จะได้เรียนหลักสูตร การเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑ ของสถาบันพระปกเกล้าเลยแหละครับ แฮ่...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท