เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๖๒(การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง)


การศึกษาเรื่องconflict transformation นี้มีความสำคัญและเป็นหัวใจครับ

หัวข้อวันนี้ บรรยายโดย อ.พิชัย รัตนพล อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ท่านเล่าว่า อยู่กับความขัดแย้งตั้งแต่วันเสียงปืนแตกเมื่อปี ๒๕๐๘ เข้ารับราชการตั้งแต่ปี ๑๙

ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยจากประสบการณ์ การเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ถึงวันนี้ก็ยังคิดแบบเดิม หลายเรื่องวนอยู่ในที่เดิม เช่น คำสั่ง ๖๖/๒๓ ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองขณะนั้นก็เป็นห่วงว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะครองเมือง ถึงปัจจุบันการเข้าใจปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาวนอยู่ในที่เดิม เวลาพูดถึงการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ก็คิดแบบเดิมๆ ว่าอย่าเจรจาเดี๋ยวได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา คิดแบบเดิมๆคือไม่ใว้ใจจะเกิดอะไรขึ้นหากเราควบคุมไม่ได้ (อืมม์....จริงแฮะ)

การวิเคราะห์ปัญหาสองมิติของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จะพูดถึงความขัดแย้งเป็นใหญ่ และของ อ.ภูมิรักษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง

        การใช้ perception เดิม คือการมองอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูของการเคลื่อนไหว แต่กระบวนการอื่นของสังคม รวมไปถึงการอยู่ในอำนาจ มันเปลี่ยนไปแล้ว

        อาจารย์จะยกตัวอย่างคนเล็กคนน้อยที่ขัดแย้งกับรัฐ ยกตัวอย่าง ๔ กรณี ของ conflict transformationเกี่ยวพันกันอย่างไร การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไม่ให้เกิดความรุนแรง เช่น

        ปัญหาในอดีตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือคนจีนเดิม วิธีคิดสมัยก่อนไม่แตกต่างกับการคิดเรื่องปัญหาภาคใต้ยุคปัจจุบัน  จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันไม่ใช่แล้ว (คนจีนคนไทยกลายพันธุ์กันเรียบร้อย ลูกจีนรักชาติเยอะแยะไปหมด อันนี้ผมว่าเอง อิอิ...)

        ปัญหาประชาชนกับอำนาจรัฐ คือสมัชชาคนจน เรื่องปากมูลอาจจะเป็นจุดหันเหสำคัญที่หยิบเอาเรื่องของเขื่อน และขยายเรื่องเขื่อนอื่นๆในอีสานจนทั่วประเทศกลายเป็นสมัชชาคนจน

        เรื่องปัญหา พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย.แม้เป็นเรื่องเก่า ในอดีตเขาคิดอย่างไร

ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหามีทุกมิติ ถ้าใครเข้าใจเรื่องนี้จะเข้าใจเรื่องอื่น เพราะยากสุด  ปัญหาคือมันเปลี่ยนไม่ได้เพราะมันล็อกตัวเอง เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วมันเป็นเรื่องเล็กน้อย สงสัยว่าเป็นเรื่องยาเสพติด เรื่องศาสนา วนไปวนมาถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องเก่า แต่จริงๆแล้วมันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง หัวใจคือการเข้าใจปัญหาและต้นเหตุของปัญหาและเข้าไปเปลี่ยน การเปลี่ยนผู้บัญชาการที่ดูแล ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ความรุนแรงลดลง

การศึกษาเรื่องconflict transformation นี้จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจ

        ปัญหาสำคัญเรื่องความขัดแย้ง ๒ รูปแบบ คือ

        ๑.ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เช่น ขัดแย้งเรื่องที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ครอบครัว มรดก ซึ่งไปใช้การไกล่เกลี่ยของอาจารย์หมอวันชัยฯ

        ๒.ขัดแย้งในเรื่องคุณค่า เช่น ความรู้สึกความเป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตน ความรู้สึกอยากเห็นคุณค่าใหม่ในสังคม ไม่ใช่ปัญหาในตัวคนแต่เป็นปัญหาของโครงสร้างและวัฒนธรรม  

หัวใจสำคัญ คือการแปรเปลี่ยนที่รากเหง้าของปัญหา การจะตอบปัญหาใดต้องถามว่าเราเข้าใจโจทก์ของมันได้ถ่องแท้หรือไม่ ที่ผ่านมาเราไม่ชัดเจนในเรื่องของโจทก์ เราสู้กับคอมมิวนิสต์ ด้วยการปฏิวัติ ทั้งที่โจทก์ของเขาคือต้องการให้รัฐบาลเผด็จการปลดปล่อยอำนาจ

        เหตุที่เกิดความขัดแย้งรุนแรง เกิดจากการใช้ระบบอุปถัมภ์มากเกินไป ถ้าไม่ใช่พวกก็ไม่ช่วย....(จำได้คุ้นๆ ใครนะ ที่ใช้วิธีนี้..แถมประกาศให้ประชาชนทั้งประเทศรู้ด้วยนะ...เพราะอย่างนี้มั๊ง...ถึงอยู่ประเทศนี้ไม่ได้....) มีการใช้ระบบอุปถัมภ์มากจนกระทั่งมองไม่ออกว่าเป็นรากของปัญหา แล้วยึดโยงเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  อาจารย์บอกว่าเรื่องปัญหาภาคใต้เคยไปพบนายกฯแทบทุกคนในอดีตเพื่อบอกว่าโจทก์คืออะไร แต่ลูกน้องสายตรง บอกว่าไม่มีอะไรหรอกครับ ทำให้กลัวเท่านั้นก็จบ  แต่เมื่อนายคิดตามลูกน้อง ใครจะบอกอย่างไรก็ไม่ได้ผล เพราะไม่ยอมฟังข้อมูลความจริง

        สมัชชาคนจนชุมนุมกันสมัยก่อน ชาวบ้านเกรงใจ เคารพ ส่วนกลางสั่งลงไปอย่างไร ในพื้นที่ต้องหยุดให้ได้ คิดอะไรไม่ออกก็จะคิดว่า อ๋อ คอมมิวนิสต์ใหม่ สมัชชาชนเผ่าที่ภาคเหนือเคยปิดล้อม ไปถามผู้ว่าฯ ท่านก็บอกว่า ผมดูแลชาวเขาดีที่สุด ผมเอาผ้าห่มไปให้ เอาอะไรไปให้ แต่ผู้ว่าไปสั่งให้เลิกชุมนุมไม่ได้ ชาวบ้านเขาไม่ยอมเขาบอกว่าเขามาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (เห็นหรือยังว่า เฮาป๊ตตานา..แล่ว)

        อาจารย์บอกว่าเมื่อเราไปหาข่าว จะเห็นว่าคนนั้นติดต่อคนนี้ คนที่มีความคิดพวกนี้ก็คือพวกคอมมิวนิสต์เก่า

        ทำไมเราชนะคอมมิวนิสต์ คนแรกที่ไปหาโจทก์ พล.ต.ต.อารีย์ ไปนอนในคุกกับประเสริฐ ทรัพย์สุนทร   เพื่อจะถามว่าคอมฯคิดอะไร คำตอบคือต้องการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐให้เป็นประชาธิปไตย จึงมาสร้างโรงเรียนของท่าน

        ในยุโรปใช้วิธีเปลี่ยนความคิด จากใช้วิธีรบกัน เป็นการแปรเปลี่ยนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

        นาวาเอกอมร สุวรรณบุปผา ถูกสอนให้เกลียดชังคอมฯ ท่านรับคำสั่ง ๖๖/๒๓ ไม่ได้ จึงถูกออกจากราชการ

        -การตั้งโจทก์ ระบบราชการจะเลือกตอบโจทก์ที่ง่ายที่สุด กอส.คณะกรรมการอิสลามเพื่อการสมานฉันท์ เสนอโจทก์ใหญ่ว่าเป็นปัญหาอัตลักษณ์ แต่ภาครัฐไม่มีการพูดถึงเพราะตอบโจทก์ยาก

        -การหาโจทก์ในที่สว่าง  ชายคนหนึ่งเดินหาของอยู่ที่กลางลานจอดรถ มีคนถามว่าหาอะไร ตอบว่าหากุญแจรถ ถามว่าแล้วคิดว่ากุญแจตกที่ไหน เขาตอบว่าน่าจะใกล้ที่จอดรถ เมื่อถามว่าทำไมมาหาตรงนี้ เขาตอบว่า เพราะสว่างดี  เออ...คงเจอหรอก อิอิ

ประชาชนเดี๋ยวนี้เรียนรู้แปรเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดเดิม สมัยก่อนราชการมักอ้างว่าเพราะ NGO จึงทำให้ปกครองยาก พวกนี้รับเงินจากต่างชาติ แต่เดี๋ยวนี้ชาวบ้านพูดถึงปัญหาของตัวเองได้เอง

        -แม้เจอโจทก์ที่ชัด ก็ขาดความกล้าที่จะเสี่ยง ในภาคใต้  ขัดแย้ง ส่งกำลังปราบ ปราบเสร็จกลับ แล้วก็เหมือนเดิม ภาคใต้เขาเรียนรู้วิธีการ

        กรณีสมัชชาคนจน เมื่อเกิดการยึดเขื่อน นักการเมืองประกาศว่าไอ้พวกนี้จะเล่นงานนายผม ข้ามศพผมไปก่อน เพื่อต้องการให้นายได้ยิน เอาม๊อบมาชนม๊อบเพื่อให้เกิดการปราบปราม  หรือในกรณีโรงแรมเจบี จะมีการปิดโรงแรม ไปนั่งคุยเพื่อหาข้อมูลก็ได้ความว่า มันชนะมาหลายที ก็จัดการมันเสียมั่ง

        การข่าวสำคัญมากต้องรู้ลึกให้ได้ ต้องรู้ให้ได้ว่าทำไมต้องผูกผ้าแดง จะเดินขบวนเมื่อไหร่ วิธีคิดก็มักจะคิดว่าฝ่ายที่ต่อต้านเป็นศัตรู มักตั้งโจทก์ผิดอยู่เรื่อย พอเรื่องยาเสพติดไปตั้งโจทก์ว่าสงครามยาเสพติด จึงสามารถฆ่าได้เพราะมันเป็นสงคราม

        เรามักจะมีวิธีการคิดเผื่อคนอื่น เด็กภาคใต้เรียนจากโรงเรียนแล้วยังต้องไปเรียนศาสนา เสาร์อาทิตย์ก็ต้องไปเรียน ก็ไปคิดเผื่อเขาว่าเด็กไม่ได้พักผ่อน ทั้งๆที่เป็นกระบวนการหล่อหลอมคุณธรรมของเขา

        เหตุการณ์ปล้นปืนที่ภาคใต้ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ ให้รัฐเจ็บปวด.....จะรู้ความจริงต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ หากตั้งโจทก์ไม่ถูก ยากที่จะแก้ปัญหาได้ถูกจุด

         อืมม์.....มันชักจะยาวไปแล้ว พักกันตรงนี้ก่อนนะครับ อิอิ

หมายเลขบันทึก: 214829เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาลงทะเบียนเรียนครับ
  • เข้าใจว่าเริ่มเข้มข้นขึ้น
  • แต่ตอนนี้การเมือง ข่าวบ้านเรา
  • เห็นภาพแล้วตกใจ
  • รู้สึกเศร้าใจกับคนขาขาดครับ

สวัสดีครับคุณวาทยุทธ

ขอบคุณที่แวะมาเรียนรู้ครับ

สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์ หน้าตาดี...

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิต

วันนี้จะแต่งชุดดำไว้ทุกข์ให้กับคนไร้ความคิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท