เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๖๔(ความขัดแย้งในอีสานใต้)


ผมจะเดินทางไปศึกษาความขัดแย้งในพื้นที่อีสานใต้ แต่คิดว่าจะไม่เอาโน้ตบุ๊คไปให้พะรุงพะรัง แต่จะเอากล้องถ่ายรูปตัวใหญ่ผมไปขอถ่ายรูปให้ฉ่ำ น้ำหนักมันก็พอกับโน้ตบุ๊ค ยิ่งตอนนี้หลังไม่ค่อยดีอยู่ด้วยก็เลยต้องตัดใจ เลยรีบเอาบันทึกมาลงต่อเนื่องเพื่อเตรียมให้ท่านได้อ่านเรื่องราวเบื้องต้นไว้ก่อน แล้วผมจะมาเล่าต่อว่าไปอีสานใต้ได้อะไรมาบ้างครับ

วิทยากรวันนี้ ศจ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฎจบทางวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี ม.อุบลราชธานี ท่านบอกว่าจะมาเล่าเรื่องที่ประสบมา เป็นคนอีสาน อยู่อีสานมาตลอด ได้เข้าไปแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำ พอมาเป็นบริหารมหาวิทยาลัยก็มาสร้างคนสร้างความรู้ให้กับเยาวชน

        การเมืองการปกครองมีความขัดแย้งเยอะในสังคมไทย และ อาจารย์บอกว่าท่านเป็นหนึ่งใน ๒๔ อธิการบดีมหาวิทยาลัยที่ยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาล ในเรื่องการเมืองอาจารย์บอกว่ามีหน้าที่อธิบายแทนคนอีสาน คนอีสานไม่โง่ และคนที่เขาเลือกมาไม่ใช่คนชั่วเพราะถ้าเราไปอยู่ในสภาพสังคมแบบชาวอีสาน เราก็ต้องทำแบบเขา และคนอีสานก็ไม่ได้ต้องการแบบนั้น แต่มันถูกขับเคลื่อนมาในทิศทางนั้น คนอีสานเขาขาดที่พึ่งเขาพึ่งรัฐบาลไม่ได้เลย พึ่งราชการไม่ได้เลย จึงต้องหันไปพึ่งส.ส. ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง เลือกตั้งกี่ทีก็ได้แบบนี้แหละครับ...(งั้นไม่ต้องเลือกสิครับ อิอิ ขอแซวอาจารย์หน่อย)

        อาจารย์ชอบไปออกค่ายพัฒนา  เดิมอีสานอยู่ดี เพราะทรัพยากรมีมาก แต่เวลาผ่านไปคนมากขึ้น คนอยู่ในอีสานประมาณ ๒๐ ล้าน แต่ทรัพยากรดินน้ำสามารถให้คน ๖๐ ล้านใช้ได้สบายหากมีระบบการจัดการน้ำที่ดี  แต่อีสานมีความขัดแย้งระหว่างคนชนบทกับคนเมือง ขัดแย้งกับภาครัฐ ควบคู่มากับความขัดแย้งกับกลุ่มทุนโดยถูกกลุ่มทุนเอาเปรียบ

        ความขัดแย้งระหว่างคนเมืองกับชนบท  อาจารย์เล่าว่าสมัยเป็นนักศึกษาไปกินข้าวบ้านเพื่อนในเมืองเมือง พ่อเพื่อนเป็นพ่อค้า  ได้ฟังนักธุรกิจพูดถึงผู้ว่า กับตำรวจ เขาพูดกันว่าจะซื้อด้วยเงินเท่าไหร่  เพื่อจะได้เอาเปรียบคนอื่น  พ่อเพื่อนถามว่าทำไมชอบไปพัฒนาชนบท  ก็บอกว่าคนเขาลำบาก พัฒนาให้เขาได้ดิบได้ดีมีผลผลิตทางเกษตรมาขาย พ่อซื้อของเขามาขายก็ขายได้กำไรไม่ใช่หรือ แต่เขาบอกว่าถ้าชาวบ้านขายสินค้าเกษตรได้ราคาดี เขาก็ต้องจ้างคนใช้ก็แพงนะสิ  มันเป็นการเอาเปรียบโดยไม่รู้ตัว คนเมืองเอาเปรียบคนชนบท นักธุรกิจเอาเปรียบชาวบ้าน....

        พอตะวันตกเข้ามา ความคิดที่ว่าไปพัฒนาชนบททำไม เมื่อคนอีสานพึ่งรัฐพึ่งราชการไม่ได้ ก็ต้องมาพึ่งพ่อค้า กรรมการกลาง(ราชการ)ก็ลำเอียง ชาวบ้านไม่มีใครเข้าข้าง พอมีสภาพัฒน์ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะไปเรียนต่างประเทศ กลับมาก็มาเน้นในเรื่องเศรษฐกิจแบบต่างประเทศ แต่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจล้มเหลวหมดเพราะเราไม่ถนัด วางแผนทำ NICs  ทำโรงงานอุตสาหกรรม มีคนงาน ก็จ้างแรงงานถูก และวัสดุอุปกรณ์ต้องซื้อมาจากต่างประเทศทั้งหมด คนชนบทจึงอยู่ไม่ได้ ออกมาเป็นแรงงานก็ถูกเอารัดเอาเปรียบ

        เพื่อนชาวอเมริกันบอกว่าเมืองไทยง่ายมาก มีเงิน ๘,๐๐๐ ล้าน- ๑๐,๐๐๐ ล้าน ก็ซื้อประเทศไทยได้แล้ว ถามว่าจริงไหม ก็ต้องตอบว่ามันเป็นความจริง แต่อย่ามาโทษคนอีสานภาคเดียวต้องโทษคนทั้งประเทศนั่นแหละ...เพราะทุกคนต่างทำให้มันเกิด..(จริงของอาจารย์ครับ)

        คนอีสานเก่งปลูกข้าว ก็ไม่ส่งเสริมเขา แต่ไปส่งเสริมปลูกปอ ปลูกมันสำปะหลัง พอมีปัญหาคนอยู่ในชนบทไม่ได้ ก็เข้ามาอยู่ในโรงงาน แล้วจ้างราคาถูก เมื่อพึ่งคนอื่นไม่ได้ก็หันมาพึ่งการเมือง จะให้เขาเลือกใครในเมื่อมันก็เหมือนกัน นักการเมืองเข้ามาแสวงหาด้วยกันทั้งนั้น เขาก็ต้องเลือกคนที่ช่วยเขาได้มากกว่า

        อาจารย์ไม่เห็นด้วยที่เรียกระบบทักษิณ เพราะไปให้เครดิตมากเกินไป แต่มันเป็นระบบนายทุนซึ่งมีการพัฒนามาโดยตลอด  กลุ่มทุนระดับเมือง ข้ามชาติ ต่างก็หลั่งไหลเข้ามา  ที่ดินในชนบทไปดูสิครับว่าเป็นของใครเป็นของคนในเมืองทั้งนั้นแหละที่ซื้อไว้  คนอีสานพึ่งตนเองไม่ได้ เมื่อไม่มีอะไรคว้า ก็ต้องเลือกคนที่มีอะไรให้ ถ้าคนหนึ่งช่วย แต่อีกคนดีแต่ปากไม่เคยช่วยเหลือเขา จะให้คนอีสานเลือกใคร

        แนวคิดของคนก็เริ่มแตกต่างกัน ไม่รู้ว่าการปฏิรูปการเมืองจะแก้ได้อย่างไร ต้องพูดคุยกันต้องสันติวิธี ปัญหามันหมักหมมมานาน เป็นวิวัฒนาการของการเอาเปรียบระหว่างชนชั้น การเมืองใหม่ของพันธมิตรก็จะเกิดความขัดแย้ง และจะเกิดความขัดแย้งในชนชั้นระดับสูง อาจารย์เห็นว่าการเลือกตั้งแบบเลือกตามวิชาชีพในที่สุดแล้วก็จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาเพราะชนวิชาชีพใดก็ต้องทำเพื่อชนวิชาชีพนั้น

        พูดถึงการบริหารของนายกฯ อยากบอกนายกว่า เมียเมื่อหย่าแล้วก็เป็นคนอื่น อิอิ

        ความขัดแย้งในปัจจุบันเกิดจากการไปฟังความข้างเดียวแล้วเชื่อ และปัญหามันสลับซับซ้อน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าการแก้ปัญหาต้องทำอย่างนี้ ๑,๒,๓,๔.. มันต้องมีการกระบวนการในการพูดคุยทำความเข้าใจกัน และการพูดคุยก็ต้องพูดกันในประเด็นที่คุยกันได้ก่อน เห็นร่วมกันสักอย่างหนึ่งสองอย่างแล้วมาทำให้เห็นผล เพราะไม่เช่นนั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้เลย

        อาจารย์เล่าให้ฟังว่าในเรื่องการบริหาร ชอบการบริหารอยู่ ๒ ท่าน คือ

        เหล่าจื๊อกับการปกครอง(หรือการบริหาร) ได้สอนผู้ปกครองให้รู้จักการปกครองคน

                ผู้ปกครองที่ไม่นับถือผู้คน จะไม่ได้รับการนับถือ

                ในการปกครองชั้นต่ำสุด ผู้คนจะชิงชัง จิ๋นซีฮ่องเต้ ปกครองโดยกฎหมาย ในเบื้องต้นดี แต่ตอนหลังล้มเหลว และคนจะไม่นึกถึงความดีที่ผ่านมาแต่จะไปจำเฉพาะเรื่องร้าย จิ๋นซีออกกฎหมายว่าผู้ใดฆ่าคนต้องถูกประหาร แต่คนก็ยังฆ่ากัน จิ๋นซีจึงออกกฎหมายใหม่ ฆ่าคนต้องถูกประหารสามชั่วโคตร คราวนี้เป็นเรื่อง เพราะผู้บริสุทธิ์เดือดร้อน จึงเกิดความชิงชัง เพราะการใช้อำนาจ

                ในการปกครองชั้นต่ำ ผู้คนจะเกรงกลัว

                ในการปกครองชั้นดี ผู้คนจะชื่นชอบ

                ในการปกครองชั้นเยี่ยม ผู้คนจะไม่รู้สึกตัวว่าถูกปกครอง

        ถ้าเราเป็นนักปกครองแล้วไปปกครองก็จะรู้สึกว่าตนเป็นผู้ปกครอง และเมื่อไรที่คิดว่าเราเป็นผู้ปกครอง ผู้คนที่เหลือก็จะเป็นผู้อยู่ภายใต้ปกครอง จึงเป็นเรื่องของการใช้อำนาจ จึงต้องเปลี่ยนความคิดผู้ปกครองเสียใหม่ ต้องปกครองคนให้เขาไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง ซึ่งก็คือต้องฟังเสียงของเขา

        ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นที่ปรึกษาบริษัทชั้นเยี่ยม รายได้คิดเป็นชั่วโมงนับล้านบาท บอกว่า

 

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้นำ คือการถามว่ามีงานอะไรบ้างที่จำเป็นต้องทำ และทำทุกอย่างจนมั่นใจว่าเข้าใจในงานที่จำเป็นต้องทำนั้น

 

ผู้นำที่ล้มเหลว เกิดจาการที่พวกเขาทำในสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ แทนที่จะทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำนั้น และเกิดจากปัญหาของการสื่อสารกับผู้คน

 

การที่จะแน่ใจได้ว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ ก็ด้วยการถามและด้วยการฟัง

 

อ.ลิขิต ธีรเวคิน ได้เคยเล่าให้ฟังระบบการคิด เพราะ อ.เรียนหนังสือเก่ง เมื่อไปเรียนที่ต่างประเทศ ปรากฏว่าได้เกรดบี สงสัยไปถามอาจารย์ว่าตอบได้ตามที่อาจารย์สอนทุกอย่าง ทำไมได้บี โปรเฟสเซอร์บอกว่าเพราะตอบเหมือนจึงได้แบบนี้ ไม่ปรับตกก็ดีแล้ว เมื่อถามว่าตอบอย่างไรจึงจะได้เอ ก็ได้คำตอบว่าต้องตอบตามความคิดของตัวเอง

        วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องปากมูล ก็ใช้วิธีนี้ เริ่มต้นขอให้ผู้ว่าฟังก่อน และตั้งคำถามให้เขาบอกว่าปัญหาอย่างนี้จะแก้อย่างไร ในที่สุดก็ได้คำตอบ และเป็นคำตอบที่ชาวบ้านภูมิใจว่าเป็นคำตอบที่เขาเสนอ... สรุปว่า วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ฟัง ถาม ให้เขาพูด

        ท่านพุทธทาสเคยเปรียบเทียบ สวรรค์กับนรก คล้ายกันมาก เหมือนกับห้องๆหนึ่งมีผู้คนเยอะแยะ มีอาหารอยู่ตรงกลาง สวรรค์คือทุกคนรู้ว่าคนโน้นชอบอย่างโน้นอย่างนี้ ตักให้กัน นรก เหมือนเดิมคนชุดเดิม แต่ต่างคนต่างจะแย่งกินอาหารที่ชอบ แย่งกันถีบกัน อาหารตกเรี่ยราด บางคนไม่ได้กิน มันก็คือนรก

        อาจารย์จบการบรรยายเพียงเท่านี้ ให้พวกเราพักและกลับมาซักถามกัน

หมายเลขบันทึก: 215111เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ตามมาอ่านแบบติดจอครับ
  • จริงๆแล้วในอีสานมีเรื่องดีๆๆอีกมาก
  • ถ้าใครอยู่อีสานหลายๆๆปีจะทราบ
  • เข้าใจว่า ระบบบ้านเราไม่เอื้อให้คนอีสานทำตามศักยภาพของตนเอง
  • ถ้าศึกษามากๆๆจะพบปรัญชาวบ้าน ผีบุญ ผู้รู้และภูมิปัญญามากกว่าภาคอื่น
  • ความขัดแย้งในอีสานสงสัยว่าเป็นระบบของรัฐที่ไม่ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำตามความสามารถของเขา ถ้าศึกษาเรื่องตลาดปลาที่ทุ่งกุลาของสุรินทร์จะพบว่า ชาวบ้านทำได้ดีกว่าระบบราชการไม่เกิดความขัดแย้งด้วยครับ
  • ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ หลังไม่ค่อยดีนั่งนานไปหรือเปล่าครับ
  • รอติดตามด้วยใจระทึกครับ
  • สวัสดีครับ
  • ตามคนรูปหล่อข้างบนมาครับ
  • แวะมาอ่านบ่อยๆ แต่ไม่ได้ทิ้งรอยไว้
  • อ.นิธิ  ก็เคยบอกไว้เหมือนกันในบทความ,
  • ว่ารู้สึกผิดในอาชีพครูในอดีต  ที่ไม่ได้ให้คะแนนคนที่ตอบข้อสอบที่ไม่ตรงคำถาม.
  • ขอบพระคุณมากครับ 
  • อย่างพวกเราเขาคงไม่ปฏิเสธการขึ้นเครื่องนะครับ
  • เพราะไม่เคยทำร้ายประชาชน
  • ...อิอิ...เจอเป็นกอด
  • มาอ่านเรื่องดี ๆ ครับ
  • มาเยี่ยมท่านอัยการด้วยครับผม

สวัสดีค่ะ

- คนอิสานใจดี มีน้ำใจ จนบางครั้งซื่อเกินไป ทำให้มองดูว่าเป็นคนโง่

  • สวัสดีค่ะท่านอัยการชาวเกาะ
  • อยากตามไปอิสานใต้จังค่ะ จะติดตามทางบล็อกก็แล้วกันนะคะ
  • "สิ่งสำคัญทีสุดสำหรับผู้นำ คือการถามว่ามีงานอะไรบ้างที่จำเป็นต้องทำ และทำทุกอย่างจนมั่นใจว่าเข้าใจในงานที่จำเป็นต้องทำนั้น"
  • "ในการปกครองชั้นเยี่ยม ผู้คนจะไม่รู้สึกว่าถูกปกครอง"
  • เยี่ยมจริงๆค่ะ
  • ได้ส่ง ซีดี คู่มือปฐมนิเทศไปให้แล้วนะคะ พร้อมงานวิจัยกรณีศึกษา การรับสมัคพนักงานราชการ บรรจุเป็นข้าราชการครูค่ะ
  • จะคลิกไปอ่านคู่มือกาปฐมนิเทศก่อนก็ได้นะคะ คลิกที่นี่ค่ะ
  • ต้องขออภัยที่ทำ ร.เรือหายไป 2 ตัวค่ะ
  • คู่มือการปฐมนิเทศ     
  • การรับสมัครพนักงานราชการค่ะ

ตามมาอ่านต่อค่ะ ชอบใจเรื่องนรกกับสวรรค์ค่ะ เห็นภาพสามมิติเลยค่ะ อิอิ

สวัสดีครับอ.ขจิต

ไปอีสานคราวนี้ได้ไปเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน รู้สึกทึ่งกับแนวคิด ไม่สงสัยเลยว่าทำไมเขาถึงว่าอุบลเมืองนักปราชญ์ โคราชเมืองนักมวย อิอิ

สวัสดีครับสิงห์ป่าสัก

วันที่ ๘ พ.ย.นี้มีเวลาลงมา กทม.หรือเปล่าครับ คนแซ่เฮปะทะสังสรรค์กับคนหน้าตาดี อิอิ น่าจะมันนะ....

นอกจากเขาไม่ขัดขวางแล้ว ขามากรุงเทพเขายังให้ผมนั่งชั้นธุรกิจด้วย วันนั้นใส่ชุดดำ ฮ่าๆ เขานึกว่าพวกเดียวกัน อิอิ

หวัดดีครับครูโย่ง

รอเจอหน้าครูโย่งตัวเป็นๆครับ

สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์

ขออภัยที่ตอบช้า ไปอีสานและลาวเพิ่งกลับมาถึงเมื่อคืนตอนเที่ยงคืนครับ วันนี้ก็ต้อนรับผู้อำนวยการเขตคนใหม่ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต

ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

ตามเข้ามาติดตามเพราะ..คิดถึงค่ะ...ท่านอัยการฯ ขา  เอ...เรียนหนักหรือโน๊ตบุ๊คหนักคะน่ะ

เอาใจช่วยค่ะ...ฝากคิดถึงไปให้ลุงเอกกะท่านพ่อครูฯ ของครูแอนด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ 

อ้อ...ฝากความระลึกถึงหลวงพี่ติ๊กด้วยแล้วกันค่ะ

ท่านอัยการฯ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

สวัสดีครับคุณเพชรน้อย

คนอีสานรู้จักปล่อยวาง จึงไม่อยากตอแย แต่กลับทำให้พวกชอบเอาเปรียบผู้คนคิดว่าคนอีสานไม่สู้คน ไม่ฉลาด แต่ในความเป็นจริงคนอีสานมีภูมิธรรมสูงมาก และมีความจริงใจกับคนมากจนทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลาครับ

เฮ่อๆ โก๊ะจิจัง

ตอนแรกก็ไม่คิดอะไร แต่พอคิดไปทำไมต้องสีซอให้ลุงฟังด้วยฟะ..หงิกๆๆ

หวัดดีครับอ.แหวว

เดี๋ยวค่อยเอาภาพขึ้นให้ดูนะ ขอเวลานิดหนึ่งเพราะงานเต็มโต๊ะเลย..อิอิ

สวัสดีครับ ศน.เอื้องแซะ

เพิ่งได้เข้าทำงานวันนี้ได้รับแผ่นพับและซีดีแล้วด้วยความขอบพระคุณครับ

ผมยังต้องว่าความตั้งแต่เช้ายันเย็นจนถึงวันพฤหัสครับ ถ้าไม่เหนื่อยจนเกินไปก็จะเอาเรื่องอีสานมาลงครับ

สวัสดีครับ อ.อ้อย

ยังตามไม่ถอยเลยนะครับ อิอิ

สวัสดีครับน้องครู Lioness_ann

คิดถึงครับ ที่เทพาเป็นอย่างไรบ้าง

โน้ตบุ๊กหนักครับ คราวนี้ไปอีสานและลาวเลยไม่หิ้วไป เอาแต่กล้องใหญ่ไปมันก็หนักเหมือนกัน อิอิ

ไปกทม.เจอลุงเอกและพ่อครูบาแล้วจะเอาความคิดถึงไปกอดให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท