เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๗๐(ความไว้วางใจ๒)


ความไว้วางใจคือความคาดหวังในทางบวกจากพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง

          เรามาต่อกันที่ความไว้วางใจที่ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างของสองฝ่ายทั้งระดับบุคคลและทางสังคม ที่ฝ่ายหนึ่งมีความคาดหวังในทางบวกจากพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งและมันยังขึ้นอยู่กับการตอบสนองของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย นอกจากนี้มันยังเกี่ยวกับผลลัพธ์ ผลประโยชน์ที่คาดหวังจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยว่ามันคุ้มหรือไม่ ถ้าคุ้มความไว้วางใจก็อาจจะมีมาก และมันยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคนที่เราจะให้ความไว้วางใจด้วย อาจารย์ยกตัวอย่าง ของการให้กู้ยืม ถ้าเราไม่ไว้ใจคนกู้เราจะให้เขายืมไหม..อืมม์ ผมว่าเข้าใจง่ายดี อิอิ  เพราะฉะนั้นจึงพิสูจน์ว่า ความไม่ไว้วางใจก็คือการคาดหวังต่อการแสดงออกของฝ่ายอื่นในทางลบ ใช่บ่....

        แล้วมันมีที่มายังไง ไอ้เจ้าความไว้วางใจนี่...เฉลยว่ามันมีที่มา ๒ ประเภท คือ ความไว้วางใจที่เกิดจากความสัมพันธ์ใกล้ชิด และความไว้วางใจที่ไม่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใกล้ชิด

ความไว้วางใจที่เกิดจากความสัมพันธ์ใกล้ชิด

        เช่น ผู้หญิงผู้ชายรู้จักกันใหม่ โดยผู้ชายไปจีบผู้หญิง ผู้หญิงยังไม่รู้จักดี ผู้ชายแตะมือนิดหนึ่งก็หลบเลี่ยง พอรู้จักกันสักพักหนึ่งก็จับมือได้ แล้วก็ค่อยเริ่มเป็นกอดนิดหนึ่ง แล้วต่อเป็นหอมแก้มอีกนิด....พอแล้ว อย่าจินตนาการมาก... เราจะเห็นว่ายิ่งไว้ใจมากก็ใกล้ชิดมาก ฮ่าๆ..นี่ผมอธิบายของผมเอง ทางวิชาการเขาบอกว่ามันเป็นลักษณะของความไว้วางใจในแบบของสังคมประเพณี ที่อาศัยความรู้จัก ความคุ้นเคย การเป็นพวกเดียวกัน หรือมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน พอหาลักษณะร่วมกันได้ความไว้วางใจก็เกิดขึ้นได้ง่าย  ผมยกตัวอย่างของผมอีกนะ...เวลาเราไปอยู่ต่างจังหวัด แล้วรู้ว่าที่นี่มีศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนที่เราเคยเรียน และได้รู้จักกันกัน เราจะไว้วางใจเขามากกว่าคนอื่น ถูกไหม....และความไว้วางใจแบบนี้จะมีความสำคัญมากกว่า จึงยืดหยุ่นมากกว่าเพราะหากแม้จะผิดหวังบ้างแต่ก็ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้คงความสัมพันธ์ต่อไปได้

ความไว้วางใจที่ไม่ได้มาจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือจะเรียกว่าเป็นแบบพันธะสัญญา

ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมสมัยใหม่ เป็นเรื่องของการคาดหวังผลลัพธ์จากการให้ความไว้วางใจ มาจากการประเมินว่าจะได้อะไรจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น แล้วมันก็ยังขึ้นอยู่กับกติกาและบรรทัดฐานที่ยึดติดในสังคม ทำให้เราทำนายได้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ และคนที่จะทำตามสัญญาก็จะขึ้นอยู่กับความคิดของเขาที่คิดว่าจะได้รับผลประโยชน์ใดๆหรือไม่จากการรักษาคำพูด ซึ่งมันจะเป็นความไว้วางใจในสถาบันหรือองค์กรทางสังคมรวมไปถึงธุรกิจด้วย นอกจากนี้กติกาหรือบรรทัดฐานยังต้องประกอบไปด้วยกับกลไกที่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะทำนายได้ว่าพฤติกรรมของคนจะเป็นไปตามครรลองที่คาดเดาได้

        อาจารย์บอกว่าในทางปฏิบัติ ความไว้วางใจอาจมีที่มาหลายทาง การวิเคราะห์การเกิดขึ้นของความไว้วางใจ จึงควรตรวจสอบที่มาของความไว้วางใจหลายทางพร้อมๆกัน

        แล้วที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ความไว้วางใจบกพร่องไปในส่วนไหนมากที่สุด คิดหรือยัง หึหึ...

เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ

        บุคลิกภาพ/เงื่อนไขทางสังคม/จิตวิทยา

        คนเราจะเป็นคนที่ไว้ใจคนอื่นได้ง่ายหรือไม่ บุคลิกภาพก็มีส่วนเพราะลักษณะนิสัยหรือการแสดงออกของบุคคลซึ่งอาจจะมาจากการเลี้ยงดูและการกล่อมเกลาทางสังคมให้เป็นคนแบบใดแบบหนึ่ง ประสบการณ์ส่วนตัวก็เป็นตัวสร้างเสริมให้เกิดการหล่อหลอมบุคลิกภาพด้วย

        เงื่อนไขทางสังคม เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะสร้างความไว้วางใจในระดับองค์กร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการสื่อสารเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าทั้งไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ (การพูดไม่เข้าหูคนบางทีก็ทำเอากระเจิดกระเจิงได้เหมือนกัน อิอิ) บทบาทขององค์กรหรือหน่วยงานหรือแม้แต่ระดับบุคคลที่ไม่มีความชัดเจนก็จะมีผลต่อความคาดหวังที่ไม่ตรงกับบทบาท และในที่สุดแล้วผู้ที่สวมบทบาทนั้นไม่สามารถบรรลุความต้องการของผู้คาดหวังได้ ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจได้ง่าย

        แนวจิตวิทยา ท่าทีของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องง่ายๆแต่มีความสำคัญ เพราะเป็นความประทับใจเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่การเปิดรับความสัมพันธ์ที่ดี โดยการแสดงความจริงใจ รักษาคำพูด รวมไปถึงความอาทรห่วงใย  (ไม่ใช่เขาพูดอะไรก็สวนกลับทันทีด้วยกิริยาวาจาของผู้ที่ถืออำนาจอยู่ในมือ อิอิ หรือปากว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่การจะจัดกระบวนรัฐมนตรีต้องโฟนอินก่อน ๕๕๕...) ตัวอคติมันไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่มันถูกสร้างขึ้นมาโดยผ่านการหล่อหลอมจากครอบครัว การศึกษา กลุ่มเพื่อนฝูง สื่อมวลชน อคติก็คือการรับรู้เกี่ยวกับผู้อื่นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อาจารย์ยืนยันว่า สังคมที่ไม่ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมย่อมมีแนวโน้มไปสู่การมีอคติได้ง่ายกว่า

 

สรุปบทเรียนในเรื่องเงื่อนไขการไว้วางใจ

 

        เงื่อนไขที่ทำให้คนทำตามสัญญา

                การกลัวผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับตนหากไม่รักษาสัญญาหรือกลัวถูกลงโทษ

                การคาดหวังผลประโยชน์

                การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่สัญญาหรือความรัก ความเอื้ออาทร ความเป็นพวกเดียวกัน

        เงื่อนไขที่ทำให้ไว้วางใจ

                ความคุ้มค่าความเสี่ยง ซึ่งอาจมาจากการพึ่งพาต่ออีกฝ่ายได้

                พฤติกรรมที่ผ่านมา

                การค้ำจุนสัญญาด้วยความสัมพันธ์ที่หลากหลาย

          เงื่อนไขแวดล้อมความไว้วางใจ

                ความไว้วางใจไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ แต่อยู่ท่ามกลางเงื่อนไขอื่นๆในสังคม เช่น สภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม

                ความไว้วางใจขึ้นอยู่กับระบบการตรวจสอบด้วย หรืออาจจะมีกลไกที่ทำให้แต่ละฝ่ายวางใจได้ การไว้ใจจึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีข้อสงสัย แต่ข้อสงสัยนั้นไม่เกินความเสี่ยงที่แต่ละฝ่ายยอมรับได้

                ความไว้วางใจมีข้อจำกัดในตัวเอง โดยเงื่อนไขของเวลา(อดีตและอนาคตเป็นสิ่งที่เข้าไม่ถึง) และความเฉพาะเจาะจงและความแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่งตลอดเวลา ไม่ใช่ปัญหาของบุคคล เหตุการณ์และสถานการณ์บางอย่างอาจมีนัยยะทำให้เกิดการสูญเสียความไว้วางใจชั่วคราว แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปก็อาจปรับเปลี่ยนได้ เช่น ภาวะความรุนแรงบางขณะ  นโยบายรัฐในบางช่วง

                ความสัมพันธ์ทางสังคมบางอย่าง(การคบหาสมาคม)เป็นพื้นฐานที่เอื้อให้เกิดความไว้วางใจและส่งผลให้ชุมชนหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงได้

        มันชักจะยาวอีกแล้วพระเดชพระคุณ แต่ที่ทำอย่างนี้เพราะนึกถึงท่านที่ไม่เป็นนักเรียนร่วมห้อง เพราะถ้าใส่แต่หัวข้อท่านก็คงจะอ่านแบบงงๆแล้วก็พาลให้ไม่ใส่ใจบทเรียน จึงขอจบตอนหน้าแล้วกันนะ จนได้.....

 

 

หมายเลขบันทึก: 224999เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

-สวัสดีค่ะ

-มาเรียนรู้เรื่องเงื่อนไขการไว้วางใจ

-มาบอกว่าพี่สาวเคยอยู่กองบังคับคดี ค่ะ

-ชื่อสุชาดา แล้วย้ายตามสามีไปอยู่สงขลา

- สวัสดีค่ะ พี่อัยการชาวเกาะ

- แวะมาอ่านอย่างตั้งใจ เพื่อนำไปประยุกต์กับการทำงานค่ะ

- ขอบคุณค่ะ

  • ความไว้วางใจเป็นเช่นนี้เอง
  • ขอบคุณครับ ท่านอัยการ
  • แวะมาอ่าน มาเยี่ยมเยือน มาทักทายครับ

สวัสดีคะท่านอัยการ..

ไม่มาทักทายหลายวัน

ไปอมรม..กำลังหัวปั่น

ใกล้จบแระ

เด๋วจะมาทักทายใหม่นะคะ

อันว่าความรู้..ต้องค้นคว้าเอาทุกวิถีทาง.จึงจะได้มา..ท่วมตัว.นะคะ

สวัสดีครับครูต้อย

ยินดีที่มีญาติอยู่ในแวดวงครับ

สวัสดีครับคุณ tiya

ยินดีที่ใฝ่เรียนรู้ครับ และรับรองว่านำเอาไปใช้ได้หลายงานครับ

สวัสดีครับคุณคนพลัดถิ่น

ยินดีที่แวะมาอ่าน เยี่ยมเยือนและทักทาย ครับ อิอิ

สวัสดีครับคุณวลาวัณย์

ยินดีที่ใกล้จบแระ...ความรู้ท่วมยังดีกว่าน้ำท่วมเนอะ...อิอิ

  • สวัสดีค่ะ...ท่านอัยการ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • ยะลา...ฝนตกทุกวัน
  • อยากรู้จัง...แถวภูเก็ต ฝนจะตกเหมือนยะลาหรือป่าวหนอ อิอิ
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ

สวัสดีครับน้องอ้อยควั้น

ภูเก็ตไม่ค่อยตกเท่าไหร่เลย เมื่อวานตกตอนบ่ายนิดหน่อย

ขอบคุณที่ห่วงสุขภาพ เพราะเมื่อวานจามอยู่ สงสัยว่าใครคิดถึง เอิ้กๆ

มีโปรแกรมลงใต้เดือน มกรา-กุมภา วันที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะ...

ขอให้น้องมีความสุข ปลอดภัย ครับ

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • ผมว่ากายภาพภายนอก มีผลต่อการไว้วางใจในระยะแรกครับ
  • ขั้นเปิดการเจรจา ประมาณนั้น
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีครับ

สวัสดีค่ะท่าน

มาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีครับ Col.boonyarit

เห็นด้วยครับว่ากายภาพภายนอก มีผลต่อการไว้วางใจ เช่น คนเราเห็นหน้ากันครั้งแรกอาจจะไม่ถูกชะตากัน มันก็ส่งผลต่อการไว้วางใจครับ กำลังเขียนตอนต่อไปอยู่ครับใกล้เสร็จแล้ว

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับ MSU-KM :panatung~natadee

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท