รายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ ( 1 )


  
     เมื่อวันที่ 6-8 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา มีการสัมมนาวิชาการเรื่อง "รู้คิด พิจารณา สร้างคุณค่าแท้สู่ PBRI: Performance Benchmarking through Realistic Integration & Intuition" ที่โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ท่านคณบดี (รศ.มาลินี ธนารุณ) ได้ไปร่วมสัมมนาวิชาการและนำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ในครั้งนี้ด้วย และการสัมนาในครั้งนี้ มีการ Benchmarking ระหว่างหน่วยงานด้วย และทราบจากท่านคณบดีว่าจะมีการไปเยี่ยมชมหน่วยงาน (Site visit) ที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งคณะสหเวชศาสตร์ได้รับการพิจารณาเป็น 1 ใน 5 หน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานที่มีปฏิบัติการที่ดี ในเรื่องของการจัดการความรู้ด้วย (รายละเอียดต้องให้ท่านคณบดีช่วยเต็มผ่าน Blog ครับ) ผมขอนำรายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ของรศ.มาลินี ธนารุณ มาลงใน Blog ครับ

 รายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ 

สถาบัน                    คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กลุ่มภารกิจที่ 12        การจัดการความรู้ 

ปัจจัยนำเข้าในการกำหนดแผน/แนวทาง/โครงการ เพื่อการจัดการความรู้

      ปัจจัยนำเข้าของคณะสหเวชศาสตร์ในการกำหนด “แผนการจัดการความรู้” คือ “แผนปฏิบัติการประจำปี” ของปีงบประมาณนั้น

            เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณ  ประมาณเดือนสิงหาคม งานนโยบายและแผนของคณะจะส่งบันทึกเตือนให้รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าสำนักงาน จัดประชุมคณะกรรมการในส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ  เพื่อทบทวนโครงการ/กิจกรรม ของแผนปฏิบัติการประจำปีที่ผ่านมา  แล้วเสนอโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณที่กำลังจะมาถึงมายังคณะ  คณะออกแบบ แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ ให้ง่ายต่อทั้งผู้เสนอขอ และผู้รวบรวมแผน  โดยประเภทโครงการ จำแนกไว้ 7 ประเภท คือ

1.      ด้านคุณภาพบัณฑิต 

2.      ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

3.      ด้านการบริการวิชาการ

4.      ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

5.      ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร 

6.      ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน 

7.      ด้านระบบการประกันคุณภาพ

            จุดสำคัญ คือ  การเขียนหัวข้อ “ลักษณะกิจกรรม” ของโครงการ ที่ออกแบบให้ ผู้เสนอโครงการระบุว่า เป็น แบบ KM  หรือ แบบอื่นๆ   ทั้งนี้ เพื่อให้ตระหนักและเตรียมคิดวิธีดำเนินโครงการหรือกิจกรรมล่วงหน้า  ว่าสามารถใช้ KM เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดประสิทธิผลดีกว่าเดิมได้หรือไม่

            วิธีนี้จะช่วยให้คณะฯสามารถบูรณาการการจัดการความรู้  เข้าไปในทุกภารกิจของคณะฯ  และทำให้การเขียนแผนจัดการความรู้ง่ายขึ้น  นั่นคือ  เพียงนำโครงการ/กิจกรรม ที่ระบุว่ามีลักษณะกิจกรรมแบบ KM มาประมวลเข้าด้วยกันตามลำดับเวลานั่นเอง  ตัวอย่างการเขียนโครงการเพื่อบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี          

          ดังนั้น เมื่อได้แผนปฏิบัติการประจำปีแล้ว  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ก็สามารถร่างแผนจัดการความรู้ได้อย่างง่ายดาย    คณะฯ เผยแพร่นโยบายการจัดการความรู้ และแผนจัดการความรู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ  แก่บุคลากรให้รับทราบเป็นประจำทุกปี ด้วยระบบ E-Office ที่มีประสิทธิภาพของคณะ 

                                                                                                                บอย สหเวช
                                                                                                                14 ต.ค. 51

หมายเลขบันทึก: 216343เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท