แทนผลิตภัณท์อื่นๆทีใช้ ภายในร่างกาย


กรดลอริก เหมือนในน้ำนมแม่ สร้างภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อโรค

   

ในแต่ละปี แต่ละวัน ทุกคนจะซื้อของใช้ของตัวเอง และของทุกคนในครอบครัว

หลายอย่างมาก ทั้งราคาถูกและราคาแพง แต่ถ้าเรามาใช้น้ำมันมะพร้าว แทน ก็จะประหยัด ปลอดภัย มีคุณภาพ ไม่มีสารเคมี สิ่งเจือปนใดๆทั้งสิ้น

เพียงแต่ใช้ขวดหรือกระปุกหลายใบแบ่งแยกการใช้ในแต่ละอย่าง เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ แต่ละครั้งของแต่ละคน

          ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อร่างกายภายใน แทน ผลิตภัณนือื่นๆได้

1.  วิตามินบำรุงร่างกาย  มีวิตามินอีสูง

2.  เติมในอาหาร หรือนมชงให้เด็กๆ ประมาณ 1     ช้อนชา มีกรดไขมันเหมือนน้ำนมแม่ 7 ชนิด

    

3.  ยารักษาโรค ให้ดีขึ้นหรือหาย เช่น   เกาต์   กระดูกหัก  หว้ด

    ไอ คางทูม  ปวดท้อง ต่อมลูกหมาก  ไธรอยด์  เบาหวาน ลำไส้ ฯลฯ

4.  ยาลด การอักเสบทุกอวัยวะในช่องปาก ไม่ทำให้เกิดโรคสุขภาพปากแข็งแรง

    ปากไม่แห้ง เหงือกดี ไม่ร้อนใน ไม่เสียวฟ้น ทอนซิลไม่อักเสบ ฯ

5.  น้ำมันใช้ทำอาหารได้ทุกอย่าง ไม่เปลี่ยนเป็น ทรานส์ ไม่มีคอเลสเตอรอล

    เพราะทำมาจากมะพร้าวเป็น พืช ถึงแม้จะเป็นไขมันอิ่มดัว แต่ไม่ได้มาจากสัตว์

    เป้นน้ำมันที่ให้พลังงานกับร่างกายแล้วจะไม่สะสมในร่างกายที่ทำให้เกิดโรค

    จะเผาผลาญที่ตับ เปลี่ยนเป็นพลังงานเร็ว ซึ่งเป็นน้ำมันชนิดเดียวเท่านั้น

 

   

   

 

ข้อมูลจาก    หนังสือเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหลายเล่มเขียนโดย

                  ดร. ณรงค์  โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์

                   และ   พัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย

 

       

หมายเลขบันทึก: 298440เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีคะคุณกานดา

บล็อก สามารถเพิ่มได้โดยใช้ user name เดียวกันค่ะ โดยไปที่เมนูของฉัน>>>บล็อกและบันทึก>>> เลือกสร้างบล็อกใหม่ ก็จะมีช่องให้เรากรอกรายละเอียดค่ะ ซึ่งหากโหลดรูปอะไรขึ้นไป ก็สามารถใช้ได้ทั้ง 2 บล็อกค่ะ แต่หากไปคนละ user การโหลดรูป หรืออะไรก็จะมาลำบากค่ะ

ตอนนี้ได้ สร้างบล็อกใหม่ โดยคัดลอกเนื้อหาจาก บล็อก นาฬิเก ของคุณกานดา มาไว้ที่บล็อกน้ำมันมะพร้าวให้แล้วนะคะ (ขอโทษนะคะ แม้จะเปลี่ยนใจแล้ว แต่ก็ยังแอบทำทำให้ เพราะอยากให้คุณกานดาดูแลบล็อกได้สะดวกขึ้นค่ะ) คุณกานดาก็ไป copy บันทึกจาก นาฬิเก เดิม มาไว้ที่ นาฬิเกใหม่ ได้ค่ะ อันไหนซ้ำเราก็ไม่ต้อง copy มาค่ะ ส่วนเมนท์ที่เพื่อนๆ มาเมนท์ ไว้ก็ copy มาได้ค่ะ

ซึ่งตอนนี้ หากคุณกานดาไปที่ เมนูของฉัน >>> แสดงบล็อก  ก็จะเห็นว่ามี 2 บล็อกแล้วค่ะ

http://gotoknow.org/blog/users/kandanalike/view

เห็นคุณกานดา โหลดไฟล์รูปขึ้นแล้ว แต่ยังเอาลงในบล็อกไม่ได้ใช่มั้ยค่ะ

เวลาที่พิมพ์บันทึก เมื่อเลื่อนลงไปใต้กรอบบันทึก จะมีกรอบอีกกรอบหนึ่งค่ะที่เขยนว่า คลิกที่นี่เพื่อแทรกรูปภาพ  ให้คลิกแล้วรายการรูปภาพที่โหลดไว้จะขึ้นมาค่ะ เช่นเดียวกับที่เวลาเราเขียนเมนท์ ไม่ว่าจะที่บล็อกเราหรือบล็อกคนอื่น บนซ้ายของกรอบเขียนเมนท์จะมีข้อความ เรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ  เมื่อกด ก็จะมีกรอบที่ให้กดแสดงรูปภาพเช่นกันค่ะ เมื่อกดรูปภาพ ภาพก็จะแทรกในบันทึก หรือเมนท์ค่ะ

ลองดูนะคะ ได้ทดลองแทรกให้แล้ว 1 ภาพค่ะ ถ้าไม่ใช่ภาพที่ต้องการใช้ในบันทึก ก็ลบได้ค่ะ โดยไปเลือก เมนูแก้ไขบันทึกค่ะ

แต่ภาพที่คุณกานดาโหลดไว้ ไฟล์ขนาดใหญ่มาก หากนำลงในบันทึกจะกินพื้นที่มาก แนะนำว่าว่า ปรับขนาดรูปให้เล็กลงก่อนจึงนำไฟล์รูปขึ้น แล้วค่อยนำลงในบันทึกอีกครั้งค่ะ

สว้สดีค่ะ คุณ ภาวดี ที่ใจดี

ขอบคุณมากนะคะที่ทำให้ การลงรูปได้บ้างไม่ได้บ้างอยู่ค่ะ จะพยายามให้ได้ค่ะจะได้มีรูปสวยๆให้คุณดูและสมาชิกคนอื่นๆได้ดูด้วยไงค่ะ มีรูปงานพืชสวนโลกมากพอควร ต่อไปจะ ได้ถ่ายรูปแปลกๆ บ้าง คงจะต้นไม้ ดอกไม้ เพราะชอบมาก

ท่าน ดร.ณรวค์ บอกว่า ปี 54 จะมีงานพืชสวนโลก น่าจะ 99 วันนะคะ เริ่มเดือนพย.54 ดีจัง สงสัยต้องทำสถิติเข้างานให้มากกว่าปี 49 สนุกค่ะ เดินได้ ทั้งวัน

เป็นงานที่ไปแล้วมี ความสุข มีแต่ต้นไม้

แล้วจะเล่าให้ทราบนะคะ

กานดาค่ะ

น้ำผึ้ง หัสถีธรรม

สวัสดีค่ะ คุณกานดา

ได้ประโยชน์จากบล็อคของคุณกานดามากมายเลยค่ะ

ประโยชน์ถึงขั้นเปลี่ยนชีวิตกันเลยทีเดียว

ขอเล่าที่มาก่อนค่ะ

ดิฉันชื่อ น้ำผึ้ง หัสถีธรรมค่ะ แม่ลูกหนึ่ง เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ได้สามีคนอุบลฯ

ตอนนี้มารับจ๊อบงานวิจัย และมาพักอยู่แถวอ.สว่างวีระวงศ์ ไม่ไกลจากเมืองอุบลฯ

พบว่าท้องถิ่นนี้มีมะพร้าวเยอะมาก คือ เยอะสำหรับภาคอีสานนะคะ

รู้สึกว่าดินจะเหมาะกับการปลูกมะพร้าว

แต่ชาวบ้านไม่ได้เพิ่มมูลค่าใด นอกจากใช้ทำอาหาร ทำขนม

และขายให้พ่อค้าในราคาสองลูกห้าบาทเท่านั้น

เลยเกิดความคิดว่าอยากพาชาวบ้านทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

เริ่มหาข้อมูลการทำจากอินเตอร์เน็ต ก็พบว่าบล็อกของคุณกานดานี่แหละค่ะเป็นครูให้อย่างดี

เริ่มทดลองทำโดยใช้วิธีของสถาบันวิจัยค่ะ ตอนแรกก็ทำครั้งละ สี่ถึงห้าลูก

ตอนนี้เริ่มเพิ่มจำนวนเป็นสิบลูก เริ่มรู้หลัก และทำได้คุณภาพพอใช้ได้แล้วค่ะ

อยากปรึกษาคุณกานดาในเรื่อง ถ้าเราจะส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเป็นอาชีพ ผลิตในปริมาณที่มากขึ้น

ต้องมีการจัดการอย่างไรบ้างคะ ในเรื่องเครื่องมือ และกระบวนการผลิตน่ะค่ะ

รบกวนด้วยค่ะคุณครู

สวัสดีค่ะคุณน้ำผึ้ง

 ดีใจและขอบคุณมากนะคะ  ที่เข้ามาแวะคุยกัน ช่วงที่สอนในสวท.กทม.ใหม่ๆก็มีกลุ่มผู้สูงอายุที่จังหวัดอุบล เก็บมะพร้าวกองไว้ จากที่ปล่อยทิ้งไม่มีประโยชน์ รอสูตรที่จะทำ ส่งไปจากเชียงใหม่ค่ะ ท่านบอกในโทรศัพท์ อย่างนี้ ฟังแล้วก็ดีใจ อยู่ที่ต.ขามป้อม อ.เขมราช จ.อุบลค่ะ คุณน้ำผึ้งจะส่งเสริม กลุ่มชาวบ้านดีมากเลยค่ะ ตอนนี้เขียงใหม่หลายคนเพิ่มอาชีพขายน้ำมันมะพร้าวมากมายค่ะ และต้องมีเพื่มขึ้นอีกแน่ค่ะเพราะจะไปสอนกศน. เพิ่มอีก

      การทำโดยไม่เก็บสะสมที่ละน้อยๆ อย่างที่คุณผึ้งทำหรือการสอนใน บันทึก ใช้เครื่องช่วยแรง นั้น เครื่องต่างๆที่สถาบันวิจัย กรมวิชาการเกษตร จะแนะนำให้ได้อย่างดีนะคะว่าซื้ออย่างไรที่ไหน ราคาเท่าไหร่ จะให้หมายเลขไว้นะคะ โทร.หาหัวหน้าวิจัย หรือเป็นเลขาของชมรมฯที่กรุงเทพได้ค่ะ คุณปิยะนุช นาคะ โทร.02-9405484 ต่อ 135 หรือ 117   118  ปรึกษาได้นะคะ การผลิตมีหลายวิธี จะขอรูปเครื่องการผลิตก่อนก็ได้พร้อมราคา ติดต่อที่ชมรมหมายเลขเดียวกัน โดยคุยกับคนอื่นก่อนก็ได้  หากยังไม่คุยกับหัวหน้า ในส่วนของพี่ดา ที่ทราบ หากจะหาซึ้อเองโดยไม่ผ่านราชการ หรือชมรมฯ

         เครื่องโม่มะพร้าวอย่างที่แม่ค้าขายราคาประมาณ 30,000 กว่าบาท เครื่องคั้นกะทิ บีบยาวๆ ที่เราเห็นในตลาด ราคา แสนกว่า บาท ซึ่งหากผลิตมากเราควรมีเครื่องระเหยน้ำ ซึ่งไม่ใหญ่ แต่พี่ดาไม่ทราบราคา ต้องถามที่ชมรมกทม.ค่ะ  และทุกเครื่องที่เอ่ย ติดต่อสอบถามที่ชมรมฯ ได้หมดค่ะเพระราคาน่าจะถูกกว่าที่อื่นๆค่ะ

               หากถามอะไรพี่ดาเพิ่มคุยถามทางเมล์ได้นะคะพี่ดาอยากได้ข้อมูลประสบการณ์ของผู้ใช้  เพื่อเขียนหนังสือเป็น ตัวอย่าง วิทยาทาน ให้ผู้อื่นได้ใช้ตาม พี่ดาฝากเก็บข้อมูลให้ด้วยนะคะ

                 

                 พี่ดา ทำใช้เองล่าสุด ชอบใช้แบบ แช่เย็นค่ะ

            เป็นยาประจำตู้เย็นค่ะ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้หลายโรคค่ะ

น้ำผึ้ง หัสถีธรรม

ขอบคุณค่ะพี่ดา ที่ให้คำแนะนำ

แต่ดูราคาแล้ว คงต้องพาชาวบ้านทำแบบพึ่งตัวเอง พึ่งเครื่องมือพื้นบ้านไปก่อน

ใช้ระบบช่วยกันทำงานไปก่อน ตอนนี้ในชุมชนมีเครื่องขูดมะพร้าว

เป็นของกลุ่มชาวบ้านที่เคยทำขนมดอกจอก แต่เขาไม่ได้ทำแล้ว

คงใช้ทุ่นแรงการขูดไปก่อน ขั้นตอนอื่นๆ ก็แฮนด์เมดไปก่อน

เท่าที่ทดลองทำกัน พอจะใช้ได้แล้วค่ะ คือ มีกลิ่นหอมมะพร้าว ใสแจ๋ว

แต่รู้สึกว่าจะมีกลิ่นหืนจางๆ เป็นเพราะยังไม่ได้นึ่งไล่น้ำในน้ำมันหรือเปล่าคะพี่

แล้วก็คุยกันว่าจะจัดอบรมในชุมชน ในลักษณะเวิร์กช็อป "เรามาทำน้ำมันใช้เองกันเถอะ"

อะไรประมาณนั้น ให้ชาวบ้านได้ทำใช้เอง แล้วก็เสริมความรู้ถึงประโยชน์ด้านสุขภาพและความงามไปด้วย

ให้เอามะพร้าวกันมาคนละสี่ห้าลูก มาทดลองทำด้วยกัน น่าสนุกดีค่ะ

แต่ตอนนี้รอชาวบ้านดำนาเสร็จก่อน ไว้จะมาเล่าบรรยากาศให้ฟังนะคะ

พี่มารายงานสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่าดีจริงๆอย่างที่คุณดาบอก..พี่ได้บอกเล่าเผยแพร่ไปทั่ว และยังแจกน้ำมันมะพร้าวแก่ญาติมิตรด้วยค่ะ..โปรดรับส่วนกุศลผลบุญไปด้วยนะคะ..ขออย่าเจ็บอย่าไข้..แข็งแรงดีทุกประการ..

 

 

ค่ะคุณน้ำผึ้ง ที่บอกกล่าวดีมากเลยค่ะ ช่วยกัน การผลิตแบบที่พี่ดาสอนทำมากก็ได้ ค่ะ หมักในหม้อใหญ่ หรือ ถุงพลาสติกใหญ่ ปิดฝา หรือรัดปากถุงให้แน่น พอเป็นน้ำมันก็ช่วยกันตักกรอง ช่วยกันเคี่ยวครีมที่ไม่เป็นน้ำมัน ทุกขั้นตอนต้องสะอาดหมดนะคะ  มะพร้าวงอก หรือใกล้เสีย หมักสกัดเย็นไม่ได้นะคะ ให้นำไปสกัดร้อน แล้วได้กากที่อร่อยมาก 

         สกัดเย็นจะได้น้ำมันมะพร้าวพรมจรรย์ คุณภาพเยี่ยมค่ะ มีกลิ่นหืนจางๆ นำไประเหยน้ำก็จะหายไปค่ะ ขั้นตอนนี้สำคัญมากในการเก็บน้ำมันไว้ได้นานและทำขายนะคะ

                       

                     

                     

                        

                       

สวัสดีค่ะคุณพี่ใหญ่

     ดาขอน้อมรับผลบุญกุศล ที่คุณพี่ใหญ่มอบให้    ขอบพระคุณมากค่ะ ดายังไม่ได้ไปบอกที่บันทึกคุณพี่ใหญ่ว่า จะขอให้คุณพี่ใหญ่เขียนเล่าผลการใช้ดีจริงนั้นมีอะไรบ้างให้ดาทราบเพื่อจะนำลงหนังสือและไปบรรยาย ที่กทม.ค่ะ  ดอกบัวสวยงดงามมาก  ขอบคุณค่ะ

                        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท