สันติภาพและการเบียดเบียนตนเอง


ข้าพเจ้าทำความรู้จักกับสภาวะสองสิ่งนี้ ... ระหว่างคำว่า สันติภาพ และ การเบียดเบียนตนเอง เป็นการทำความเข้าใจที่ไม่ได้พยายามเชื่อมโยง หรือพยายามหาความหมายใดใด แต่เป็นการทำความเข้าใจในระดับภูมิรู้ที่ตนเองพอมีอยู่บ้าง...

 

ข้าพเจ้าได้มองเห็นทั้งความพยายามที่ก่อให้เกิดสันติภาพ แต่...น้อยนักที่จะเห็นถึงความพยายามลดการเบียดเบียนในตนเอง แต่ต่างมุ่งไปเฉพาะการกั้น หรือป้องกันการถูกเบียดเบียนจากสิ่งอื่น หรือพยายามให้สิ่งอื่นๆ มาเบียดเบียนตนเองให้น้อยที่สุด จนเกิดเป็นสภาวะที่เรียกว่า กลไกการป้องกันตัว หรือ Defense Mechanism เพื่อน้อมไปสู่สภาวะการหลอกตนเองว่า ได้มีการพยายามป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกเบียดเบียนจากสิ่งต่างๆ รอบนอก เพราะเชื่อว่า หากลดการถูกเบียดเบียนจากสิ่งรอบนอกแล้ว ความมีสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ แต่หารู้ไม่ว่ากระบวนการที่ตนกำลังดำเนินอยู่นั้น กำลังกลายตัวไปเป็นสภาวะที่เรียกว่า เกิดการเบียดเบียนตนเองเกิดขึ้น

 

การเบียดเบียนในตนเอง... เกิดเป็นรูปร่างแห่งสภาวะนั้นได้อย่างไร

 

การที่เราปล่อยให้เราเองนั้น มีสภาวะแห่งจิตใจที่หนักอึ้งและขุ่นมัวนั้นนั่นแหละ คือ สภาวะที่เราหาใช่การปลดปล่อยตนเองออกจากพันธนาการทั้งปวงไม่ หากแต่เป็นสภาวะที่กำลังเหนี่ยวนำให้ จิต เกิดการยึดอยู่ในอารมณ์ และเรื่องราวที่ตนเองไปสัมผัสสัมพันธ์ด้วย ... เมื่อใดที่กลไกการป้องกันตัวใช้ไม่ได้ผล สภาวะจิตที่เกิดขึ้นก็จะเดี้ยง...และแบกรับทางอารมณ์อย่างไม่รู้ตัว และ จิต นี้จะค่อยๆ เสพสภาวะอารมณ์นี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป พอรู้ตัวอีกที...เกิดสภาวะ จิตหมอง จิตขุ่นเกิดขึ้นแล้ว....

 

เพราะอะไร จึงได้เป็นเช่นนี้...

 

เนื่องจาก...การที่เราไร้ซึ่งสติ ที่จะตามทันสภาวการณ์ที่เข้ามากระทบ ความกระทบนั้นมาได้ในหลากหลายรูปแบบ ผ่านเรื่องราวในชีวิตประจำวันเรานี่แหละ ... เมื่อสติอ่อนกำลัง ... โอกาสที่จะเกิดปัญญา หรือการดึงปัญญาออกมาใช้นั้นก็มีน้อย รู้ตัวอีกที...ก็เป็นสภาวะ... จิตถลำไปในอารมณ์ อย่างเรียบร้อย...

 

เปรียบแล้วก็เหมือนกับการก้าวเดินของเรา...ที่เดินไปตามทางเรื่อยๆ ขาดการสังเกต ขาดการรู้ตัว...ปล่อยตนเองเพลิดเพลินไปกับการเดิน พอรู้ตัว...ตกหลุมไปแล้ว กว่าจะตะกายขึ้นมาได้นี่บางคนก็สะบักสะบอมพอสมควร บางรายก็ถลอกปอกเปิกเลยก็มี...

 

ดังนั้น การทำความรู้ตัว... รู้สึกตัวตลอดเวลา เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยที่สุด... ปลอดภัยจากความพลาดที่จะนำไปสู่การเกิดการเบียดเบียนตนเอง  เมื่อไรก็ตามที่เราละการเบียดเบียนตนเองได้เบาบางลงได้บ้าง... สภาวะแห่งความเป็นสันติภาพก็จะบังเกิดขึ้นในจิตใจเราแบบเป็นอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องวิ่งไปควบคุมหรือจัดการให้เกิดสันติภายนอกเลย...

 

 Note: เพิ่มเติม

สภาวะการณ์เบียดเบียนที่เกิดขึ้น มักมาในรูปของอารมณ์ นั่นคือ การปล่อยตนล่องลอยไปตามอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นในจิตใจของเรา ... ตัวที่เป็นผู้เสพทางอารมณ์นั้นมักเป็น "จิตใจ" ... และโดยส่วนใหญ่ ก็มักเป็นอารมณ์ทางลบ... เหนี่ยวนำสู่สภาวะก่อตัวหรือก่อรูป เป็นพลังงานด้านลบเกิดขึ้น และพร้อมที่จะสาดใส่บุคคลอื่น...ผ่านทางน้ำเสียง ท่าทาง และรัศมีกาย หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น "สภาวะแห่งการถูกคุกคามทางอารมณ์" เกิดขึ้น...

 

 

.........................................

หมายเลขบันทึก: 221586เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2008 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมว่า...

หลาย ๆ คนขาด "สติ" เพราะมองข้าม เนื่องจากเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้มี "ปัญญา" ที่สูงส่งแล้ว...

แต่เป็น "ปัญญา" ที่แค่เกิดจากการท่องจำหรืออ่านจากตำรา หาได้เป็น "ปัญญา" ที่เกิดจากการฝึกฝนตนเองไม่...

                

การน้อม "ใจ" เข้าหาตัวเราต่างหากครับที่จะทำให้เกิด "สันติ" ...

ขอบคุณมากครับ...

D-A-V-I-D says:

เพราะเป็นการเชื่อมโยงสอง step"""

 

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

สอง step ยังงัยคะ

 

D-A-V-I-D says:

   ธรรมะ กับ psycho

 

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

ธรรมะล้วนๆ นะคะ

เหนือที่สุดขึ้นไป จาก psycho คือ ธรรมะ แต่ก็สอง step อย่างที่คุณ D-A-V-I-Dว่า ทำให้นึกถึงงานเขียนของท่านพุทธทาสขึ้นมาทันทีเลยค่ะ

 

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

คือคำว่า สันติภาพ คนมองไปเรื่องภายนอกเสียมากกว่า

เป็นการทำสันติภายนอก

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

จริงๆ แล้วการลดวามขัดแย้ง ต้องทำให้คนรู้จักธรรม

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

ซึ่ง ธรรม นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนาเลย

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

คนมักเข้าใจว่า เมื่อพูดถึงธรรม แล้ว ต้องหมายถึง พุทธะเสมอไป

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

อย่างที่คุณ...(นับถืออิสลาม) หรือ คุณ...(นับถือคริสต์) เข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้ดีในระดับหนึ่ง ก็เนื่องมาจากเริ่มมองเห็นธรรม สัมผัสธรรมได้

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย...หากแต่เป็นปัญญาญาณที่เกิดขึ้น...

อันมาจากการเรียนรู้ ที่มาจากสภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง

บารมี คือ กำลังใจอันงดงาม says:

ด้วยความไม่เข้าใจ..คนจึงวิ่งไปนำเรื่อง จิตวิทยาตะวันตกมาแก้เรื่องความขัดแย้ง เพื่อให้เกิดสันติ

ตามทฤษฎีต่างๆ

 

หวัดดีคะ..นึกว่าใคร..คนเก่งจากยโส..นีเองเคยฟังพูดที่R2Rที่กรุงเทพ..

คนเรานี่นะ ถ้าหากปล่อยใจไปกับอารมณ์ เขาเรียกว่าเป็นคนหลง

ยิ่งปล่อยอารมณ์ไปมากก็ยิ่งหลงมาก

หลงทั้งสุข หลงทั้งทุกข์

แล้วการหลงสุขนี่แก้ยากกว่าหลงทุกข์เสียอีก

ของหวาน ๆ นี่พาโรคร้ายมาให้มาก

ของหวาน ๆ ทำให้คนอ้วน คนที่อ้วนย่อมมีโรคมากตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้น

ของหวาน ของอร่อยที่กินตามใจอยาก เมื่อครั้นหลุดเข้าไปในปากย่อมเป็นการ "เบียดเบียนตนเอง..."

ยิ่งกิน ยิ่งอร่อย ก็ต้องยิ่งใช้สอยและจับจ่าย

รูป รส กลิ่น เสียง และโผฐฐัพพะนั้น เป็นเครื่องจูงใจให้สัตว์ทั้งหลาย "หลง" อยู่ในโลก

ยิ่งหลงมากก็ยิ่งเบียดเบียนตนเองมาก

เบียดเบียนจิตนี้ เบียดเบียนร่างกายนี้ ให้ทำงาน ให้หาเงิน ให้ก้าวเข้าไปสู่วังวนแห่งความวุ่นวาย เพราะหาเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

หากเราละซึ่งสุขก็เท่ากับการปล่อยวางซึ่งทุกข์

สันติภาพของใจก็จะเกิดขึ้น

สันติภาพของใจนั้นคือ "ความสงบ"

ความสงบคือความสุขแท้ของกายและใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท