เติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิต ;ประธานชุมชนผู้แข็งนอกแต่เข้าใจภายใน


R2R เรื่อง "การเติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิตแบบบูรณาการโดยเครือข่ายชุมชน"... โจทย์หรือคำถามหน้างาน คือ "เอ๊ะ! การสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งจะช่วยให้การทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยทางจิตได้ดีขึ้นไหม ได้ผลจริงไหม และได้ความยั่งยืนไหม

ขณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่นั้น ประธานสมพงษ์ ซึ่งชุมชมโรงพยาบาลแพทย์หาญซึ่งเดินเข้ามาได้สักพักแล้ว ได้นั่งฟังเรื่องเล่าจากพ่อกำนัน คุณสมพงษ์บอกว่า "ผมไม่เหมือนพ่อกำนันหรอกนะ พ่อกำนันนั่นนะพูดดี แต่ผมน่ะดุ มีคนไข้คนหนึ่งมาบ้านผมทุกวันนะ ชอบมา ผมก็ดุทุกวัน"

และได้เล่าถึงการทำงานสุขภาพจิตในชุมชนว่า "มีผู้ป่วยคนหนึ่งที่มาเฝ้าผมทุกวันเลย เขาป่วยจากการติดยาเสพติด พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เดิมทีทานยาทีเดียวรวดหมดถุงเลย บอกว่าอยากหายเร็วๆ "...

"แม่คนไข้ก็เลยเอายามาฝาก เอายามาฝากผมไว้ ให้ผมเอายาให้ทานทุกวัน เขาก็มาขอยาจากผมทุกวัน"

"บางวันนะ มาล้างถ้วยด้วย เห็นถ้วยที่บ้านกองไว้เต็มก็มานั่งล้าง ผมก็เดินไปดู เอ๊ะ! ใครวะมาล้างถ้วย อ้าวก็เป็นเจ้าคนนี้นี่ แต่ผมไม่ได้ให้เงินนะ เพราะชอบเอาไปซื้อเหล้าดื่ม..."

อะไร คือ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยวนเวียนมาหาคุณสมพงษ์ และอีกหลายๆ รายที่คนอื่นๆ ในชุมชนเล่าให้ฟังว่า คุณสมพงษ์นั้นเอาคนไข้อยู่ บอกได้ แนะนำได้

(คุณสมพงษ์ - นั่งกอดอก)

ความเห็นอกเห็นใจ

ความเข้าใจ

ให้โอกาส ให้เขารู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

"คนเหล่านี้เดิมทีไม่มีใครพูดด้วย มีแต่คุณสมพงษ์นี่แหละที่คุยด้วย คนไข้พวกนี้จึงชอบมาหา เพราะเขารู้สึกดี จริงแล้วเขาก็เป็นคนเหมือนเรา มีส่วนดีเหมือนเรานี่แหละ คุณสมพงษ์ให้โอกาส" เป็นคำบอกจาก อสม. ท่านหนึ่งพูดแทรกขึ้นมา ขณะที่เรามาชวนกันมองว่า ในความแตกต่างภายนอกของคุณสมพงษ์และพ่อกำนันนั้น มีจุดร่วมเหมือนกันอะไรบ้าง

"ความสงสาร และเข้าใจในผู้ป่วย" นี่เป็นหน่อเนื้อที่มีอยู่ในคนต้นแบบสองท่านนี้ และมีอยู่ในอีกหลายๆ ท่านที่มานั่งล้อมวงคุยกันในวันนี้ เพราะทุกคนต่างมาด้วยจิตอาสา

จากนั้นทางวง ก็ต่างแลกเปลี่ยนและบอกเล่าประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยทางจิตในชุมชนให้กันฟัง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่คือ จากเดิมทีทุกครั้งที่มา อสม. และผู้นำชุมชน ต่างมา จะเจอแต่รูปแบบของการเป็นผู้มาฟัง โอกาสได้พูดมีน้อยแต่มาวันนี้ พระเอกนางเอกแห่งการผูกขาดการพูด คืนกลับไปหา ผู้มาเข้าร่วม...

ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจในปรากฏที่เกิดที่ว่า...

สุนทรียสนทนา นั้นมีอยู่ในพวกเขาเหล่านี้ มีทักษะการฟัง โดยที่เราไม่ต้องเตรียมตรงนี้ก่อนเลย เวลาที่มีท่านใดพูด เขาเหล่านี้จะหยุดฟังกันและกัน ค่อนข้างจะแตกต่างจากกลุ่มบุคลากรที่มักคุยกัน ฟังกันน้อย กว่ากลุ่ม อสม. และผู้นำชุมชน บรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมีเกิดได้เร็วกว่า เพราะการฟัง ทำให้เขาได้ยินทั้งเสียงและเรื่องราว เชื่อมโยง ความรู้ผ่านข้อมูลที่ได้รับได้ และประมวลผลออกมาจนสามารถมาต่อยอดมาแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเกิดบรรยากาศ

 

ประเด็นหนึ่งที่ทุกคนมามองร่วมกันว่า ... "หากมีผู้ป่วยในชุมชนของเรา เรามีการช่วยเหลือหรือดูแลพวกเขาเหล่านี้อย่างไร" เป็นการนำประสบการณ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มาบอกเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พี่อู๊ดบอกว่า "พี่ชอบนะ บรรยากาศอย่างนี้ทุกครั้งที่เรามาเจอกัน อสม. เขาจะนั่งเงียบ นั่งเกร็งกัน แต่วันนี้พี่ได้เห็นเขาได้พูด ได้ผ่อนคลาย ได้สบายๆ..."

ป้านิว อสม. บอกว่า "ดีมากเลยนะ ได้เปิดสมอง ได้คิด รู้สึกว่าตนเองกระฉับกระเฉง" อสม. และผู้นำชุมชนที่มาวันนี้ค่อนข้างเป็นผู้สูงอายุด้วย อยู่ในวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ

มิติแห่งการเริ่มต้น คืนอำนาจแห่งความรับผิดชอบต่อคน ต่อชุมชม ด้วยชุมชนเอง เป็นโจทย์แห่งความท้าทายสำหรับเราในการทำงานครั้งนี้ ทำงานกับความเป็นรูปแบบสังคมเมือง

 

หมายเลขบันทึก: 269163เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่าน Dr.KaPoom ฅ ฅน หน้างานน่าชื่นชมครับ

ขอบพระคุณค่ะ ท่าน อ.หมอ JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท