กระบวนการเรียนรู้ R2R ที่ได้เกิดขึ้น ณ รพ.สุวรรณคูหา หนองบัวลำภู


สองวันกับการใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และการขับเคลื่อนเรื่อง R2R ของโรงพยาบาลสุวรรณคูหา ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู แต่นัดหมายมาเจอมาพบมาพูดคุยกันที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 1-2  ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ข้าพเจ้าเดินทางไปจากวังน้ำเขียวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็เดินทางกลับมาที่บนผืนแผ่นดินในค่ำคืนของวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เป็นการเดินทางที่เกิดปิติสุขอย่างยิ่ง สองวันกับการไปทำงานขับเคลื่อนให้คนหน้างานได้เกิดการมองในมิติที่ลึกซึ้งต่อการทำ R2R ที่เป็นไปมากกว่าการทำวิจัยหรือผลิตวิจัย หากแต่ มีมุมมองต่อทัศนะของการเสียสละตน และนำพาตนไปสู่การงานแห่งการพัฒนา ที่เป็นการพัฒนาทั้งภายในและภายนอก

เมื่อกระบวนการเรียนรู้ผ่านไป...

สองวันกับการที่ผู้เรียนรู้ยังนั่งอยู่เต็มห้อง...ไม่มีการลุกหนีไปไหน บรรยากาศแห่งความสุข และแรงใจที่มีเกิด “แรงใจ” เป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้คนคนหน้างานต่างมองว่า เป็นสิ่งเริ่มจะถูกกลืนหรือเลือนหายไปหรือเปล่า?

การงานที่เริ่มเร่งรีบเหมือนเครื่องจักร และการผลิตผลของงานตามกรอบอันเที่ยงตรง ทำให้ผู้คนหน้างานเริ่มไม่มีความสุข ? นี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่คนหน้างานต่างร่วมกันหันมามองและทบทวนตนเอง

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเราได้ร่วมการถอดบทเรียน ถ้อยความหนึ่งที่ได้มีการสะท้อนจากใจของผู้เรียน...

“ความคาดหวังก่อนมาคิดว่าจะมาเรียนเอาความรู้ที่จะไปทำวิจัยจากงานประจำที่ทำว่า เขาทำอย่างไร มีรูปแบบกระบวนการอย่างไร มีการวัดผลอย่างไร แล้วจะพัฒนางานของเรา/คนของเราอย่างไรให้สามารถร่วมทำวิจัยได้ คิดว่าคงเป็นการเรียนที่มีเนื้อหาเข้มข้น คงเรียนยากอาจารย์คงจะเข้มสอนเหมือน ป.โท แต่ก็คิดว่า สองวันคงจะไม่ได้อะไร

แต่พอได้มาอบรมแล้ว ก็ทำให้รู้ซึ้งแล้วว่าแท้จริงแล้ว R2R มาจากใครเป็นผู้นิยามขึ้นมา วัตถุประสงค์เป้าหมายสูงสุดคือ อะไร ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเหนือความคาดหมาย คือ พลังที่จะนำไปพัฒนางานของเรา แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะทำได้ตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ หรือว่าเรายังไม่มีความวิริยะพอ ความเห็นแก่ตัวในตนเองยังมากอยู่หรือ? เป็นการบ้านที่ต้องฝึกร่วมกับการขัดเกลาตนเองอีกมาก ...”

มีอีกหลายที่คนที่ร่วมกันถอดบทเรียนออกมาจากหัวใจ...ข้าพเจ้านั่นน่ะรู้สึกชื่นชมคนหน้างานแห่งผืนแผ่นดินสุวรรณคูหาอย่างมาก

“การมาเรียนรู้ R2R เหนือความคาดหวังทั้งหมด และสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ คือ การเพิ่มความเสียสละ เพียงแค่ลดความเห็นแก่ตัวสำหรับตนเองให้ลดลง ใส่ใจเข้าใจคนอื่นให้มากขึ้นเราจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและจุดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ R2R ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างพร้อมเพียงกัน...”

 

อีกหนึ่งคำบอกเล่า... “เหนือความคาดหวัง คือ ได้แรงพลัง/แรงบันดาลใจ/ความกล้าที่จะเปิดตัวเอง ให้โอกาสตนเองได้ทำในสิ่งที่ดีๆ ที่ตนเองตั้งใจไว้ ในการพัฒนางานของตนเองให้มีคุณค่าต่อคนอื่นๆ ที่ไม่ได้มาในวันนี้ สามารถเป็นผู้เรียนรู้และทำ R2R ได้อย่างมีความสุขเหมือนตนเอง ... เป็นไปตามความคาดหวัง คือ ทราบวิธีการทำ R2R อย่างมีขั้นตอนและทราบถึงเรื่องอะไรบ้างที่จะกลับไปทำ R2R เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรและผู้รับบริการ”...

“ก่อนมาเรียนคิดว่า จะต้องได้เรียน R2R ที่ยากและซับซ้อน องค์ประกอบของ R2R ว่ามีอะไรบ้าง นำความรู้ที่ไปพัฒนางานประจำ...แต่พอได้มาเรียนก็ได้รู้ว่า R2R คือ อะไร ได้ concept เกี่ยวกับ R2R แบบง่ายๆ ไปปรับปรุงใช้ในงานประจำ ” … “สิ่งที่เหนือความคาดหวัง คือ เรียนรู้เกี่ยวกับ R2R แบบง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ เข้าใจธรรมชาติ ธรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต การเข้าใจผู้อื่นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน... ซึ่งจริงๆ แล้วคิดว่า R2R จะยากแต่จริงๆ แล้วมันง่าย เป็นสิ่งที่ทำได้เลยไม่ต้องรอระยะเวลา โอกาสใดๆ”

การเรียนรู้ปิดฉากลงด้วยความรู้สึกที่ต่างศรัทธาในความดีความงามในหน้างานของตนเอง ก้าวที่กล้าต่อไป คือ กล้าก้าวออกจากวิถีแห่งชีวิตการงานแบบเดิน และเป็นการก้าวเดินด้วยหัวใจแห่งความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเสียสละนำพาตนเองไปสู่การทำเพื่อผู้อื่น เพื่อการเพื่องาน เพื่อสังคมและโลกต่อไป...

นี่เป็นการทำงานเพื่อถวายแผ่นดินแห่งแดนเกิดและการได้ดำรงอยู่

 

 

หมายเลขบันทึก: 302841เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 06:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แวะมาเรียนรู้ด้วยคนครับผม

มาเชียร์คนเก่งเเละคนขยัน R2R ค่ะเเละขอร่วมวงด้วยคน

มาเรียนรู้ค่ะน้องกะปุ้ม

แวะเข้ามาทักทายครับอาจารย์กระปุ๋ม

ขอบคุณอาจารย์มากครับสำหรับ 2 วันที่ได้ไปเรียนรู้กับอาจารย์ ครับ

ผมเป็นคนชอบคิดไปคิดมา เดี๋ยวคงจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ กับอาจารย์อีกเยอะครับ ขอรบกวนไว้ล่วงหน้าครับ

อื้ม... เมื่อดูจากเวลาแล้วแสดงว่ามีคนแอบใช้คอมพิวเตอร์แถวนี้

และถ้าดูให้ดี ๆ อีกที มีคนโดดงานไม่ยอมลงไปช่วยทำครัว 5555

เวลานี้น่าจะเป็นเวลาทำกิจวัตรนะ หรือไม่ก็ใกล้เวลาที่จะต้องออกไปใส่บาตร

แต่ว่าก็ว่าเน๊อะ ความคิดกำลังพุ่ง ตอนที่ความคิดมัน "เกิด" นั้น ก็ต้องรีบ "ถอด" เร่ง "บันทึก" เดี๋ยวจะงงงัน เพราะถ้าเลยเวลานั้นเดี๋ยวจะ "ไม่มีอารมณ์..."

Tacit Knowledge ต้องใช้สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อ "อารมณ์" เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

พอสภาพแวดล้อมได้ บริบทเหมาะ ความรู้ที่ฝังอยู่ก็ "ผุด" ขึ้นมาซะอย่างงั้น

ถ้าผุดขึ้นมาแล้วก็ต้องรีบเขียน รีบบันทึกอย่างนี้แหละเน๊อะ

หลาย ๆ ครั้งที่ความคิดมัน "พุ่ง" ขึ้นมาตอนที่เรา "ติดงาน"

พอตั้งใจว่าจะเข้ามาเขียนตอนที่ว่าง ก็เขียนไม่ได้ หรือเขียนได้ก็ไม่ได้ตามที่ใจหมาย

สิ่งนี้เป็นโจทย์ที่น่าคิด

เพราะความคิดที่ "พุ่ง" ขึ้นมานั้น ไม่ใช่ความรู้ที่ "คิด" หรือ "นึก" เอาได้

ความรู้ที่พุ่งขึ้นมานั้นเป็นความรู้ที่อยู่ดี ๆ มันก็ "โผล่" ขึ้นมาจาก "ดวงจิต"

จิตที่เก็บสะสมอะไรไว้มาก ๆ

และเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย

สภาพแวดล้อมนี้คือ "กายและจิต"

กายได้สัมผัส เย็น ร้อน อ่อนแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตที่ "สงบ" ความรู้มันก็ "ผุด" ขึ้นมาดื้อ ๆ ซะอย่างนั้น

หนึ่งในความรู้ที่ฝังลึกที่จะขุดออกมาได้นั้น ก็เกิดขึ้นได้จากกระบวนการของกายและจิตอย่างนี้...

ดังนั้น ก็ไม่ต้องสงสัยหากใครมาเจอคนที่ดูแปลก ๆ อยู่ดี ๆ ก็ต้องรีบคว้า รีบหากระดาษมาเขียน ถึงแม้นว่าจะอยู่บนโต๊ะอาหาร

เพราะอยู่ดี ๆ ความรู้มันก็เกิด มันก็มีขึ้นมาซะอย่างนั้น

ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จึงได้แก่ สิ่งที่ผุดขึ้นมาจากดวงจิต เป็นสรรพสิ่งที่ดวงจิตในเคยสัมผัสและเก็บไว้

ดวงจิตนี้เป็นจึง "ฮาร์ดดิสก์" ที่ใหญ่มาก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า เราจะสามารถดึงความรู้ต่าง ๆ ที่จิตเก็บไว้ขึ้นมาใช้ได้อย่างไร

คนที่ไม่เคยฝึกจิต ก็ต้องรอเวลา รอโอกาสที่สภาพแวดล้อมพร้อม คือ กายและใจพร้อม กายถูกกระทบ จิตพอที่จะมี "ความสงบ" ความรู้ที่ฝังอยู่นั้นก็จะได้พบ "รู" แยกที่แตกออกซึ่งสามารถจำทำให้ความรู้นั้นโผล่ขึ้นมาได้

แต่ทว่า เจ้ารู้นี้มันเป็นรู้ที่ "ยืดหยุ่น" คือ เมื่อโผล่ปุ๊บมันก็จะหุบปั๊บ ถ้าเราไม่รีบเด็ด รีบตัดความรู้ที่มันโผล่ขึ้นมา ความรู้นั้นก็จะ "ผลุบ" กลับคืนสู่หลุมลึก ณ จุดเดิม

ดังนั้นเมื่อความรู้ฝังลึกนั้นหลุด นั้นรั่วออกมาแล้วจึงต้องรีบดัก รีบตัด รีบตัก รีบตวง ความรู้ที่โผล่ขึ้นมา ณ เวลานั้นให้ได้

เพราะถ้าเราปล่อยให้เลยเวลานั้นแล้ว เป็นเรื่องที่ยากนักที่จะทำให้สิ่งที "ผลุบ" ลงไปแล้ว "โผล่" ขึ้นมาใหม่ได้

เทคนิคในการ "จัดการ" ความรู้ฝังลึกนั้นจึงต้อง "ว่องไว" ถ้าเจอตัวการณ์แล้วต้องรีบจับไว้ ไม่ปล่อยให้หลุดมือไป

ความรู้ฝังลึกโผล่มาเมื่อใดต้อง "พร้อม" ที่จะ "สแกน" ความรู้นั้นเก็บไว้ให้ทันท่วงที

ต้อง "เกี่ยว" ปลายที่โผล่ขึ้นมานั้นไว้ให้ได้

เมื่อ "เกี่ยว" แล้วต้องพยายาม "ดึง" ขึ้นมาจาก "หลุม" ให้ได้มากที่สุด

การทำจิตนิ่ง ๆ แล้วรีบเขียน รีบบันทึก สานต่อความรู้ ความคิด ณ ตรงนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง

ยิ่งคิดมาก ก็เปรียบได้กับการพยายามดึงความรู้ขึ้นจากหลุมให้มากเท่าที่จะมากได้

คิดมันตรงนั้น ณ เวลานั้น คิดไป เขียนไป ปล่อยไป ปล่อยให้ไหลไปเรื่อย ๆ

อะไรมันโผล่พ้นขึ้นมาจาก "หลุม" ให้รีบกัก รีบเก็บ

กักเก็บแล้ว อีกมือหนึ่งก็ดึงมันขึ้นมาอีก

มือหนึ่งดึง มือจับตัก จับให้มั่น คั้นให้ตาย

เมื่อความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) โผล่มาเมื่อใด ต้องรีบบันทึกไว้ในทันที...

เข้ามาเชียร์การปลุกระดมความดีค่ะ

 

ก่อนอ่านรู้สึกว่าอืมตัวหนังสือเยอะจังค่ะ

แต่พออ่านแล้วรู้วึกว่า

ได้เก็บเกี่ยวความรู้สึกดี ๆ จากพี่ปุ๋ม

และความสุขที่แย้มผลิในใจของผู้ร่วมประชุม R2R ค่ะ

เห็นรูปแล้วเบิกบานเจ้าค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท