เราต้องการให้เกิดอะไรในนักวิจัย R2R


คำถาม...ที่ปรากฏในห้วงความคิดของข้าพเจ้าในเช้านี้

เราต้องการให้เกิดอะไรในนักวิจัย R2R

หากย้อนกลับไปที่แนวคิดของท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช...ท่านเคยกล่าวว่า "การทำ R2R นั้นไม่ใช่การทำวิจัย...หากแต่เป็นการสร้างความรู้"...

ดังนั้น...หากเราต้องการให้เกิดการสร้างความรู้ในคนหน้างาน...โดยใช้เครื่องมือวิจัยมาเป็นตัวเดินเรื่อง...

เพราะอะไรจึงเป็น "วิจัย"

เพราะ...การวิจัย...นั้นเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมกระบวนการสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในบุคคล อันเป็นกระบวนการที่ประกอบให้โครงสร้างทางสมองได้เกิดการถักทอเป็นสายใยหรือ network เกิดขึ้น ทำให้...ผู้คนเกิดการคิดได้คิดเป็นในเหตุและผล สืบสาวที่มาที่ไป

ดังนั้น...การที่เราจะสนับสนุน...และส่งเสริมให้คนหน้างานได้เกิดการสร้างความรู้นั้น

ผู้ที่เป็นโค้ช ต้องพิจารณาก่อนว่า "ต้นทุนเดิมทางปัญญา" ของคนหน้างานนั้นคือ อะไร

และใช้ "คำถามหรือการกระตุ้นต่อมเอ๊ะ"...เป็นแผนที่นำทางให้คนหน้างานได้เริ่มสืบสาวราวเรื่องว่าจะเดินไปในทิศทางเช่นไร และแบบไหน

อะไร...คือ สิ่งปรารถนา หรือคำตอบที่น่าจะปรากฏขึ้น

หากว่า ต้นทุนเดิมยังไม่มากพอ ... เขาจะมีกระบวนการสะสมเสบียงแห่งต้นทุนนั้นเพิ่มเติมอย่างไร และในเรื่องไหนบ้าง (review leterature/ทบทวนวรรณกรรม)

กระบวนการต่างๆ ที่จะน้อมนำให้คนหน้างานเกิดการสร้างความรู้นั้น ต้องมีความเหมาะสมกับคนหน้างานในงานนั้นๆ ... เช่นหากเป็นงานสนับสนุน กระบวนการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความรู้ของเขาจะต้องเป็นบริบทที่สอดคล้องและเหมาะ ซึ่งไม่น่าจะใช้การไปสอนวิจัย...ที่ยากๆ ให้เขา หากแต่จะต้องเป็นวิถีที่เหมาะ สอดคล้อง และเอื้อต่อการที่เขาจะแสวงหาคำตอบนั้น...ได้ด้วยตัวเขาตามบริบทหน้างาน...ของเขา

 

Sati_resize 
๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓

 

หมายเลขบันทึก: 331652เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ตามมาเรียนรู้  จาก เจ้าแม่ R2R ตัว จริง ครับ

Zen_pics_007 
ระลึกถึง...อาจารย์ค่ะ

แต่เรียกกะปุ๋ม.."เจ้าแม่" เลยเหรอคะ...

ขอบพระคุณค่ะ

55 มา อีกรอบ เรียก เจ้าพี่ หรือ เจ้าน้อง ก็ ได้ อิอิ

ขอบคุณสำหรับเครื่องดีๆครับ ได้ข้อคิดมากครับ พูดถึงท่านอาจารย์หมอวิจารณื ท่านเป็นปูชนียะจริงๆ ในเรื่องความคิดครับ

วันนี้ทำให้ได้ทราบแง่มุมดีๆของการวิจัยครับ

แทนความขอบคุณที่มาแบ่งปันให้กับทีมป่าติ้ว

จากชาวป่าติ้ว

เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วประเมืนต้นทุนในตนเองค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

 

พี่✿อุ้มบุญ✿


อ่านแล้วรู้สึกประทับใจจังเลยค่ะ

(^_^)

ท่าน อ.หมอ JJ  ตกลงกะปุ๋มเป็นเจ้าน้อง ... น่าจะเหมาะกว่านะคะ

Zen_pics_007 

ขอบพระคุณค่ะดร. ภิญโญ รัตนาพันธุ์  ที่แวะมาทักทาย...กะปุ๋มไปตามอ่านเรื่อง AI สุดยอดเลยค่ะ

Zen_pics_007 

ขอบพระคุณเช่นกันค่ะพี่โอ...✿อุ้มบุญ✿

เมื่อวานเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ประทับใจและมีความสุขมาก

กะปุ๋มอยากให้บรรยากาศเป็นเช่นนี้แหละค่ะ เรานั้นไม่จำเป็นต้องให้มันเป็นวิชาการจนเกินไปเพราะจริงๆ แล้วความเป็นวิชาการนั้นมันแฝง...อยู่ในเนื้อนาแห่งใจคนหน้างานอยู่แล้ว...

เรามาจัดสิ่งแวดล้อม...ให้เกื้อหนุนต่อการใช้ปัญญาที่สบาย สบาย...ดีกว่า

Zen_pics_007 

แล้วต้นทุของเราคือ ล่ะติ๋ว...?

Zen_pics_007 

ในบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

เมื่อวานเป็นการเรียนรู้การนำเสนอโครงร่างวิจัยของแต่ละทีม  จากการประเมินการจัดสิ่งแวดล้อมแบบง่ายๆ สบายๆ  หลายคนบอกว่าชอบบรรยากาศเพราะไม่เครียด และยังได้พักจิตเป็นระยะๆ ที่อาจารย์ได้กรุณาแบ่งปัน   มีการแตกหน่อความคิดมากมาย  หลายคนก็ได้หัวข้อ ประเด็นการทำวิจัยเพิ่ม  ขยายทีมมากขึ้น   สนุกค่ะ และอยู่ร่วมอย่างมีความสุขโดยไม่มีการบังคับ  ด้วยการมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศกัน  น้องๆเวรดึก หอบเสื่อผืน หมอนใบ   อยากนอนพักบ้างก็ทำได้เลย  ทุกคนได้ร่วมเสนอความคิดเห็น แลกเปลี่ยน เรียนรู้ครั้งนี่ช่างเป็นบรรยากาศแห่งความสุขอย่างแท้จริง   นั่งล้อมวงโสเหร่กับอาหารเที่ยงแบบพื้นๆ  ของชาวป่าติ้ว  

ขอโอกาสเข้ามาตอบคำถามเจ้าค่ะ

แล้วต้นทุนของเราคือ ล่ะติ๋ว...?

ต้นทุนที่ติ๋วมี หนูขอโอกาสแบ่งออกเป็นสองส่วนค่ะ

  1. ต้นทุนขององค์ความรู้ภายนอก

     พื้นฐานองค์ความรู้ที่ได้เรียนมา เช่นทางด้านเภสัชศาสตร์ ด้านสมุนไพร และองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาตลอดชีวิตการทำงาน ทุกงาน ทุกตัวอย่าง ปัญหา ทุกปัญหาที่หนูได้เรียนรู้ในการเผชิญ ทุกอย่างถูกสั่งสมเป็นความรู้ แต่มีโอกาสน้อยครั้งที่ถูกดึงออกมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเจ้าค่ะ

2.  ต้นทุนการเรียนรู้ในตนเอง

     หนูไม่รู้จะให้ชื่อด้านนี้อย่างไร แต่เป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัวมาคือ อดทน บ้าบิ่น ในการเรียนรู้ พร้อมเผชิญทุกปัญหา หากใจเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำไม่เบียดเบียนผู้อื่นค่ะ หนูรู้สึกว่าในใจลึก ๆ ปรารถนาการให้ แม้อาจจะมีหลาย ๆ ครั้งที่ยังให้ไม่เป็น แต่เป็นความเชื่อมั่นใจตนเองว่า พร้อมที่จะให้ พร้อมที่จะเสียสละ พอสำรวจมาถึงตรงนี้ก็มีคำถามปรากฏว่า

"ให้ หรือ เสียสละ เพื่อสนับสนุนความเป็นตัวตน รึเปล่า" 

หนูยอมรับค่ะ ในตอนแรก ๆ ก็ใช่ คือ อยากให้เพราะอยากดูดี แต่พอทำไปเรื่อย ๆ เหมือนพบว่า มันมีการให้อีกอย่างที่ ไม่จำเป็นต้องดูดี คือ ให้อย่างจริงใจ และให้อย่างปรารถนาให้ผู้อื่นเจริญขึ้น

แล้วหนูก็พบว่า การที่จะให้ผู้อื่น อย่างปราศจากเงื่อนไขอย่างที่พี่ปุ๋ม เคยเอ่ยไว้ เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ที่หนู ตั้งใจฝึกฝนตนเอง เพื่อให้อย่างไร้เงื่อนไขให้เป็น

ตอนนี้การให้ของหนู ยังเป็นการให้ ที่ถูกเจือ ด้วยความคาดหวัง อยู่หลายครั้ง แต่หนูจะตั้งใจ ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้ถึง "การให้อย่างไร้เงื่อนไขเจ้าค่ะ"

3. ต้นทุนของสิ่งแวดล้อม

    หนูเป็นผู้โชคดี ที่ได้อยู่ในครอบครัวดี ๆ ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้และตัดสินใจใช้ชีวิตได้เอง มีโอกาสมีครูและอาจารย์ ดี ๆ คนนำทางมาตลอดเส้นทางแห่งการเรียนรู้ มีครูบาอาจารย์ ที่พร้อมสำหรับให้คำแนะนำปรึกษาและเป็นห่วงเป็นใยประหนึ่งผู้ให้กำเนิด สิ่งแวดล้อมดี ๆ ทั้งผู้คนและสถานที่ เป็นต้นทุนที่งดงามของการเรียนรู้ของหนูค่ะ

ครูสอนทั้งแนวทางการมองปัญหา การจัดการกับปัญหา การลงมือแก้ ที่สำคัญ ครูแต่ละคนของหนูทุกท่าน ลงมือปฏิบัติตัวให้เป็น ต้นแบบที่งดงาม ในเส้นทางที่ท่านเป็นผู้บอกให้ค่ะ

 

4. ต้นทุนแห่งโอกาส

    ตอนแรกคิดว่าจะไม่แยกย่อยข้อนี้ออกมาค่ะ แต่พอมานั่งมอง ๆ แล้วนึกย้อนถึง คำสอนของครูว่า "หนูเป็นคนที่มีโอกาสดีมากทั้งทางโลกและทางธรรม แต่หนูไม่เคยเห็นคุณค่าของโอกาสนี้" ซึ่งหนูทบทวนในตนเองใช่ หนูได้โอกาสในการเรียนรู้อย่างไม่จำกัด อยูใกล้ ๆ กูรู ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่ใจหนูเองบางทีเกิดความสับสน

อืม อีกส่วนหนึ่งหนูเป็นเด็กที่พร่ำบอกตนเองเสมอว่า "โอกาสไม่มาเค่ะประตูบ้านทุกวัน"

 

ณ เวลานี้ หนูทบทวนได้ประมาณนี้ เจ้าค่ะ ขอบพระคุณค่ะ  

 

ขออภัยเจ้าค่ะ ตอนแรกตั้งใจจะแบ่งเป็นสองส่วน แต่ไป ๆ มา ๆ งอกเป็น 4 ส่วนเจ้าค่ะ

(^_^)

 

" ในเมื่อมีต้นทุนที่ดี  จะจัดการอย่างไรให้ได้กำไร.....ที่งอกงาม ?" 

มีคนฝากอะไรมาให้ด้วย

                              บทประพันธ์  จาก " น้ำแข็งบูด " 

 

                     อุ้มบุญ

 

ขอบพระคุณค่ะพี่โอ✿อุ้มบุญ✿ P
สำหรับบทกลอนที่เมตตานำมาฝากและฝากขอบพระคุณผู้ประพันธ์ด้วยเช่นกัน

" ในเมื่อมีต้นทุนที่ดี  จะจัดการอย่างไรให้ได้กำไร.....ที่งอกงาม ?" 

 

นี่แหละค่ะ คือ ความท้าทาย ว่าเราจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทำให้นูระลึกถึงครูแล้วนึกย้อนถึง "สติ" ถ้ามีสติทำ ปัญญาก็จะนำพาแนวทางเจ๋ง ๆ ในการหาหนทาง พัฒนา ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสร้างพลังอันยิ่งใหญ่ ด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยปีติที่เต็มอิ่มในใจค่ะ

(^_^)

 

ความท้าทาย ว่าเราจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ในฐานะที่เราเป็นเภสัชกรที่เป็นนักวิจัยด้วย...

จากประสบการณ์ของใบไม้ร้องเพลง  ทำอย่างไร ... ช่วยแชร์ประสบการณ์ให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

Zen_pics_007 

ความท้าทาย ว่าเราจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ในฐานะที่เราเป็นเภสัชกรที่เป็นนักวิจัยด้วย...

จากประสบการณ์ของใบไม้ร้องเพลง  ทำอย่างไร ... ช่วยแชร์ประสบการณ์ให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

ในฐานะที่เป็นเภสัชกร ที่เป็นนักวิจัย

คำนี้ฟัง ๆ แล้วรู้สึกเขิน ๆ ค่ะพี่ปุ๋ม เพราะเคยมีคนแซวบ่อย ๆ ว่า เป็นเภสัชกรที่ดูไม่เหมือนเภสัชกรทั่วไปและคำว่านักวิจัยในความรู้สึกหนูคำนี้ยิ่งใหญ่มากค่ะ คือนักค้น นักคิด นักแก้ปัญหา

ด้วยใจที่ได้รับการปลูกฝังมาจากคณะเภสัชศาสตร์ โดยฐานความรู้เดิมที่มีเกี่ยวกับด้านสมุนไพร มุมที่มองโดยส่วนใหญ่ จึงไม่ค่อยพ้นความเป็นสมุนไพรและคนไข้นัก

หนูถามตนเองว่า “ทำอย่างไร คนจะรู้จักการใช้สมุนไพร อย่างถูกต้น ถูกส่วนและถูกวิธี” สมุนไพรหลายชนิด ปลูกใช้ได้เองในบ้าน โรคบางโรคไม่จำเป็นต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพรโดยส่วนใหญ่เป็นอาหาร ที่สามารถรับประทานได้

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาและเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ หนูเข้ามาเรียนรู้งานด้านเภสัชเวท

คำถามที่หนูถามตนเอง ถ้าหนูอยู่ ณ ตรงนี้หนูจะสร้างงานอะไรได้บ้าง ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง

มีสมุนไพรตัวไหน ที่น่าหยิบมาพัฒนา เติมเต็มส่วนที่ขาดไปของงานวิจัย เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้จักและนำไปใช้อย่างปลอดภัยค่ะ

หนูเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ คือ

หนึ่งหนูสนใจงานด้านนี้เป็นบางส่วนที่ขาดหายไปของงานด้านสมุนไพรที่หนูขาดโอกาสการเข้าถึงในเชิงลึก ครั้งนึ้จึงเป็นโอกาสและแรงบันดาลใจดี ๆ ในการลุยงานวิจัยก็คือ ต่อยอดงานเดิมของท่านอาจารย์

 ทรัพยากรที่หนูมีอยู่ก็คือ หนูมีโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ สารเคมี หรือทรัพยากรบุคคลที่มีในห้องปฏิบัติการเภสัชเวททั้งหมด ทำอะไรก็ได้ แต่ไม่มีเงินทุนให้ นี่คือ ทรัพยากรที่หนูมีตอนนี้

ระยะเวลาหนูมีเวลาเรียนรู้งานห้องนี้สามเดือน นั่นหมายถึงว่า งานหนูจะต้องเสร็จภายในสองเดือน เดือนสุดท้ายควรจะเป็นช่วงเติมเต็มของส่วนที่ขาดหรือสรุปประมวลผล

เล็งเป้าหมาย หนูมีเป้าหมายระยะสั้นคือ มีโอกาสได้เรียนรู้งาน เรียนรู้เทคนิคการผลิตงานวิจัยด้านนี้ ถ้าฟลุ๊ค ๆ หนูก็อาจจะสร้างงานวิจัยเล็ก ๆ ออกมาได้ในระยะเวลาจำกัดนี้

 

หนูพิจารณาข้อจำกัดของเวลา ทรัพยากร  และมองเป้าหมาย รวมถึงความเป็นไปได้

หนูระลึกว่า ถ้าเรามองเห็นข้อจำกัด นั้นแสดงว่าเราเห็นทางออก เราจะรู้ว่า อะไรเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อเราทราบว่าเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่นไม่ได้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือ เริ่มต้นที่ตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองก่อน

พอได้แนวทางต่าง ๆ ก็ลองพิจารณาความเป็นไปได้ค่ะ ช่องทางที่ดูไม่ค่อยโอเคจะค่อย ๆ ถูกตัดออกไป แล้วก็ตัดสินใจลงมือทำให้ดีที่สุด

ข้อสำคัญที่ต้องคำนึงคือ สุดยอดของการมีแผนคือไม่มีแผน นั่นหมายถึงว่า มีแผนคร่าว ๆ แต่ปรับได้ตลอดเวลา แต่ไม่ทิ้งเป้าหมายหลัก

ครั้งหนึ่งที่ไปเก็บตัวอย่าง พี่ ๆ เขาต้องรีบกลับแต่งานหนูยังไม่ได้ หนูจึงปรับแผนให้ท่านอื่น ๆ กลับไปกันก่อน หนูแวะเก็บตัวอย่าง แม้ต้องนั่งมอร์เตอไซด์รับจ้างเข้าไปเก็บก็ทำ เมื่อได้ตัวอย่างแล้ว ทุกอย่างก็ลงตัว

ต้นทุนในวันนั้นของหนูคือ มีรถไปจันทบุรีอยู่แล้วจึงขอติดรถท่านไปด้วย แต่เมื่อพี่ ๆ ต้องรีบกลับหนูก็ต้องปรับแผนตนเองให้พร้อมแก้ไขสถานการณ์ให้บรรลุเป้าหมายคือ เก็บตัวอย่างที่อ่าวคุ้งกระเบนเป็นต้นค่ะ

หรือถ้าแนวทางไหนลงมือแล้วพบว่า ไม่ใช่ ก็เพียงแค่เรียนรู้ไว้เป็นประสบการณ์แล้วก็ปรับใหม่ค่ะ อย่างการลอกผิวใบทีครั้งแรก ๆ หนูทำด้วยการฉีก แต่เมื่อพบว่า ไม่ใช่วิธีที่ดี หนูก็ปรับใหม่ปรับแก้โดยการขูด ก็เป็นการเรียนรู้และได้ข้อสรุปในการพัฒนางานในตนเองค่ะ

บางครั้งเราสามารถหยิบทางที่เราเคยตัดทิ้งมาพิจารณาใหม่ได้

ซึ่งเป้าหมายของงานคือ ทำอย่างไร จึงจะได้งานที่เป็นประโยชน์กับผู้คนมากที่สุด แต่ใช้เงินให้น้อยที่สุดเบียดเบียนผู้อื่นให้น้อยที่สุดค่ะ

ครูท่านสอนหนูเสมอว่า “เบียดเบียนผู้อื่นให้น้อยที่สุด แม่เราจะเหนื่อยก็ยอม” อาจารย์อีกค่ะว่า คนจะสามารถนำงานเราไปใช้ประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อเขารู้จัก หรือ ไม่ก็เข้าถึงทำยังไงก็ได้ให้ง่าย ๆ สร้างแนวทางของตนเอง สร้างวิธีการของตนเอง แล้วก็ลงมือพิสูจน์ ทำไปเรื่อย ๆ สังเกตไปด้วย แล้วเราจะได้อะไรอีกเยอะจากการทำงาน ถ้าหากรู้จักสังเกต

โดยสังเขปประสบการณ์ของหนูก็ประมาณนี้เจ้าค่ะ

เป็นเภสัชกรที่ดูไม่เหมือนเภสัชกรทั่วไปและคำว่านักวิจัยในความรู้สึกหนูคำนี้ยิ่งใหญ่มากค่ะ คือนักค้น นักคิด นักแก้ปัญหา

เภสัชกรทั่วไปนั่นน่ะเป็นเช่นไรหนอ...ทำไมถึงคิดว่าเราไม่เหมือน และทำไมจึงจะต้องเหมือน เราเอาอะไรมาตัดสิน?

ไม่ว่าจะเป็นเภสัชหรือนักวิจัย...ไม่ได้มีค่ามากหรือค่าน้อย

ในความหมายของพี่ที่เรียกเรา เช่นนั้นนะก็เพราะว่า "หน้าที่" ของเรา คือกำลังทำสิ่งนี้ หากเราเลิกทำแล้วพี่ก็คงไม่เรียก ...

หากว่า... นักวิจัย คือ ความยิ่งใหญ่ เป็นนักคิด นักค้น แล้วชาวนา คนสวน หรือผู้คนต่างๆ ไม่มีสิทธิ์เป็นนักวิจัยเลยเหรอ อืม...น่าคิดเน้อะ

พี่มีเรื่องเล่าจะเล่าให้ฟัง...

พี่ไปเจอครู (ต้องขอเรียกว่าครูน่ะนะ) ท่านหนึ่ง จริงๆ แล้วท่านก็เป็นเกษตรกรชาวสวนนี่เอง แต่ท่านน่ะ พลิกฟื้นผืนดินจากที่เป็นดินทราย จนกลับกลายมาเป็นดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ และปลูกพืชผักที่ปลอดสารพิษ... ให้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ท่านน่ะไม่ได้จบเกษตรระดับปริญญาเอก ไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ผลิตดอกเตอร์ทางการเกษตร ท่านเป็นเพียงชาวสวน และท่านก็มักตั้งคำถามต่อตนเองเสมอว่า

จะทำอย่างไรดีจึงจะปลูกพืชผักได้ผล?

และท่านก็คิดค้น...ของท่านไปจนถึงทุกวัน การคิดค้นและทดลองทำของท่านได้ผลในระดับที่ทำให้ดินทรายที่ปลูกอะไรไม่ขึ้นจนสามารถเป็นผืนดินที่ปลูกพืชผักได้ อย่างนี้เราสามารถเรียกท่านได้ไหมว่า เป็นนักวิจัย ...

ค่ะ เภสัชกรในความรู้สึกที่ผ่านมาหลายครั้งในใจหนู คือ คนส่งมอบยาให้อยู่ป่วย แต่พอพิจารณาโดยเส้นทางเเห่งหน้าที่ของเภสัชกร ในเส้นทางที่เกี่ยวเนื่องกับยา รวมถึงการนำส่งยาถึงผู้ป่วย และการตอบสนองยาในแบบต่าง ๆ ของผู้ป่วย ภารกิจเหล่านี้ก็คือ หน้าที่ของเภสัชกร อืมหนูเห็นใจตนเองที่รู้สึกผลักไสค่ะ พี่ปุ๋ม

ทำไมถึงผลักไสคำนี้นะ

เป็นความหวั่นเกรง เป็นความไม่แน่ใจ เป็นความรู้สึก ไม่ชอบให้ถูกเรียก ด้วยสรรพนามนี้ ดูเหมือนความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ทางด้านลบ เป็นหน่อเนื้อของความโกรธ หนูหาสาเหตุยังไม่เจอค่ะพี่ปุ๋ม

 

สำหรับคำว่านักวิจัย

เหมือนเป็นความปรารถนาที่หนู อยากจะไปให้ถึงแต่ใจหนูเอง คอยตอกย้ำตนเองเสมอ ๆ ว่า เธอไม่มีทางใช่

ดูเหมือนความรู้สึกที่ปรากฏขึ้น คือ "ความอยาก" อยากมี อยากเป็น

หนูชอบคำว่านักวิจัย แต่ทำไม ในใจหนู รู้สึกว่า "คำ ๆ นี้ เกินเอื้อม"

น่าแปลกใจ

แต่พออ่านความคิดเห็นที่ 18 ของพี่ปุ๋ม ทำให้เห็นว่า ความเป็นนักวิจัย ไม่ใช่การที่ใครมาตีตรา แต่เป็นพลังการคิดค้นแก้ปัญหาของทุก ๆ คน พลังการคิดค้นและพยายาม ที่มี แล้วลงมือทำ

ตอนที่ตอบความคิดเห็นของพี่ปุ๋ม เหมือนใจหนูวิ่งขึ้นวิ่งลง เดี๋ยวเศร้าเดี๋ยวสบาย เดี๋ยวจ๋อย เดี๋ยวรู้สึกดี มันเปลี่ยนไปแบบนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท