เสวนา R2R Facilitator


ปีนี้ทางคณะกรรมการขับเคลื่อน R2R ประเทศไทยนำโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายมอบหมายให้ข้าพเจ้าในการนำเสวนาในห้วงเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งหรือประมาณเก้าสิบนาที สำหรับชวนกันพูดชวนกันคุย... "ความสุขของคุณอำนวยในการสนับสนุนการทำ R2R" ในงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3

เป็นโจทย์สำหรับเก้าสิบนาทีที่ข้าพเจ้าจะต้องนำพา...กันดึงความรู้ฝังลึกของคุณอำนวยแต่ละท่านออกมา งานนี้คิดว่าคงได้เพียงแค่ "การชิมรส"เท่านั้น คงไม่ได้อะไรที่ลุ่มลึกแห่งความรุ่มรวยที่เป็นคุณค่าของคุณอำนวยแต่ละท่านเท่าไรนัก...

การที่เราจะช่วยกันนำพาให้ "ความรู้ฝังลึกหรือ tacit knowledge" ของแต่ละท่านให้ไหลเลื่อนออกมานั้น ไม่ใช่กดสวิทช์ปุ๊บแล้วจะออกมาปั๊บ...มันคือ ความเป็นศิลปะแห่งความเป็นชีวิต ข้าพเจ้านั้นค่อนข้างไม่ชอบกระบวนการที่เป็น step แล้วให้วิทยากรมาย่างแผ่นใสเท่าไรนัก ข้าพเจ้าชอบในกระบวนการที่ผ่อนคลาย สบาย และเป็นอิสระจากเงื่อนไขต่างๆ ให้น้อยที่สุด แล้วสิ่งที่มีอยู่อันเป็นคุณค่าในกระบวนการทางปัญญาและจิตวิญญาณของบุคคลนั้นจะเลื่อนไหลออกมาอย่างงดงาม...

สำหรับเก้าสิบนาทีนี้...คุณอำนวยที่ข้าพเจ้าได้สัมผัสและเรียนรู้ร่วมในการขับเคลื่อน R2R อย่างเป็นผู้มีศิลปะและเข้าใจในความงดงามของการนำกระบวนการทางปัญญาที่เป็นรากฐานมาจากการวิจัยนำมาใช้ในการพัฒนางานประจำ... และที่สำคัญมีความคิดความรู้สึกที่เป็นเชิงบวกอย่างมากจนเกิดเป็นความซาบซึ้งในการทำ R2R นั้นมีมากมายหลายท่าน แต่จะเชิญมาหมด ก็คงจะเป็นไปไม่ได้... จึงได้แต่ทาบทามบางท่านเท่านั้น

http://gotoknow.org/profile/uboljuangpanich

พี่แก้ว... อุบล จ๋วงพานิช (โรงพยาบาลศรีนครินทน์ มข.)

เป็นพยาบาลที่ทำงานที่โรงพยาบาลสัดกัดคณะแพทย์ และมีความต่อเนื่องอันยาวนานต่อการนำวิจัยมาใช้ในการพัฒนางานประจำ และที่สำคัญนำกระบวนการจัดการความรู้มาผสมผสานการขับเคลื่อน R2R ได้อย่างลงตัวและขยายผลไปในเครือข่ายพยาบาล การทำงานของพี่แก้วนั้นเป็นทั้งภาพของความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ...

 

Dsc07002

http://gotoknow.org/profile/somying-o

พี่โอ...คุณสมหญิง อุ้มบุญ (โรงพยาบาลป่าติ้ว)

พี่โอ...มีลักษณะเด่นของการ empowerment คนหน้างานตัวเล็กๆ ให้ลุกขึ้นมาทำ R2R และเกิดเป็นความรู้สึกรักการทำ R2R จนเกิดเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มฝ่ายสนับสนุน ที่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ของหน่วยงาน แต่กลับได้รับการส่งเสริมให้ใช้ศักยภาพของตนเองให้เต็มเปี่ยมต่อการลุกมาคิด ลุกมาทำงานประจำของตนเอง จนเกิดเป็นภาพการเปลี่ยนแปลง

 

http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/348629

คุณนุช...จิราวรรณ พรหมเพชร (โรงพยาบาลตากใบ)

เธอเป็นหญิงแกร่งในแวดวงคุณอำนวย R2R ทีเดียวเลยค่ะ เพราะครั้งแรกที่ได้เจอคือ การมาเป็นตัวแทนของผู้บริหารที่เกิดการเชียรกันทำ R2R ในโรงพยาบาลตากใบ จากนั้นเธอก็ไปเชียร์ต่อ และขยายแนวคิดจนเกิดเป็นประกายการทำ R2R ในพื้นที่ทั้งจังหวัดนราธิวาส เธอทำได้อย่างไรที่ทำให้ผู้ใหญ่ในจังหวัดได้คิดที่จะลุกขึ้นมาช่วยกันนำกระบวนการ R2R มาใช้ในการพัฒนาคนหน้างานแวดวงสาธารณสุขแห่งเมืองนราธิวาส จนเกิดเป็นกระแสแห่งความคึกครื้น คึกคักเกิดขึ้น

 

http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/314869

น้องโย๋...ชลภัสสร วิวรรณพงศ์ (โรงพยาบาลยโสธร)

เป็นคุณอำนวย R2R ที่กัดไม่ปล่อย เริ่มต้นชีวิตบนเส้นทางนี้ด้วยการเป็นคนหน้างานตัวเล็กๆ...และลุกขึ้นมาทำวิจัยแบบไม่เคยทำและทำไม่เป็นมาก่อน เธอใช้วิธีการ learning by doing แสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง และมีผลงานวิจัยเกิดขึ้นและกลับนำมาใช้ในงานประจำหลายเรื่องด้วยกัน จากที่เธอได้สัมผัสการทำ R2R ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาเชียร์คนนั้นคนนี้ในโรงพยาบาลทั้งแพทย์ พยาบาล และฝ่ายสนับสนุน และร่วมเดินทางไปกับข้าพเจ้าในที่ต่างๆ ในบางครั้งไปร่วมกันเชียร์ R2R จนปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าของเธอทำให้เธอขยับเข้าไปเป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์ มข. เป็นคนที่คิดบวกต่อการทำ R2R อีกคนหนึ่งที่มีเส้นทางการเดินทางยาวนานหลายปี

 

P1120250

http://gotoknow.org/blog/qualityresearch

พี่โต๋..คุณลำพาส

ถือว่าเป็นกัลยาณมิตรของการทำ R2R สำหรับข้าพเจ้ามานานเป็นระยะสามปี ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของพี่โต๋นั้นเป็น R2R ไปเสียแล้ว เพราะไม่ว่าพี่โต๋ จะเดินทางไปที่ไหน เธอจะไปจุดประกายฝันสำหรับคนหน้างานให้ลุกขึ้นมาทำ R2R แม้ว่างานประจำหลักๆ ของพี่โต๋จะไม่ใช่การเป็นนักวิจัยหรือรับผิดชอบการทำ R2R โดยคำสั่ง แต่หัวใจและจิตวิญญาณของพี่โต๋ต่อการนำพาคนหน้างานให้นำกระบวนการ R2R ที่มุ่งไปสู่การเกิดการพัฒนางานประจำของตนเอง เวลานึกถึงพี่โต๋ จะนึกกาวเชื่อมใจให้ผู้คนได้มาเจอ มารู้จัก R2R...

ใจจริงแล้วมีมากมายเลยใน list คุณอำนวย R2R ที่น่านำมาถอดบทเรียนไปสู่การเรียนรู้การขับเคลื่อน R2R ด้วยหัวใจด้วยจิตวิญญาณ ตามปัญญาที่มีในแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นท่านสมคบ (ผอ.โรงพยาบาลปาย) พี่ต๊อด (รพ.แม่แจ่ม) พี่แกะ (โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว) คุณสุทัศน์ (นราธิวาส) พี่ตุ่น (สัตหีบ) และอีกหลายๆ ท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม ในห้วงเวลาเก้าสิบนาที เราจะได้คุยกันแบบอิ่มอกอิ่มใจเป็นแน่แท้ เพราะเชื่อว่าในแต่ละท่านที่มาเจอกันนี้เพียงแค่ได้สบตากันเขาก็รู้แล้วล่ะว่า "จิตวิญญาณ" เดียวกัน...

วันที่คาดว่าเราจะได้ "สุนทรียโสเหร่ R2R" นี่คือ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ถือว่าเป็นการชิม "ความรู้" แล้วกันนะคะ...

 

๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

 

หมายเลขบันทึก: 352746เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2010 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แวะมาเยี่ยม และ มาอ่านบทความดีดีครับ...

อาจารย์กะปุ๋มที่รัก

พี่สำราญ/กัลยาณ์ร อฟังนะคะ เพราะเป็น Fa แบบกระด็อกกระแด็กมาก็ จะ 3 ปี แล้วเนี่ย

คิดถึงอาจารย์ จะรอไปฟังด้วยค่ะ

ขอบคุณในความกรุณาครั้งนี้....ค่ะ

 

ตามมาดู การบ้าน และ การอนาคต พบกันที่ มหกรรม R2R ครั้งที่ สามครับ

๙๙๙ เลยค่ะท่าน ....เยี่ยมเลย

เชื่อว่า "ห้อง Jupeter 6-7" ปีนี้คึกคักแน่นอนเลยค่ะ เมื่อสักครู่เพิ่งจีบคุณอำนวย R2R รพ.บ้านบึงไปร่วมกันแชร์กันเล่า พี่นิภาเธอเล่าเส้นทางการเชียร์ R2R ได้อย่างถึงใจมากเลยค่ะ... "ทำอย่างไรให้คนมาบอกเล่าเรื่องการทำ R2R เกินเป้าจากเพียงจำนวนไม่เท่าไร แต่ทะลุเป้าถึง 42 เรื่อง" ไหนๆ พี่เธอก็จะไปด้วยอยู่แล้ว กะปุ๋มก็รีบคว้าตัวเป็นๆ ไปแจมด้วย...

Zen_pics_007 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท