เสียงในความทรงจำ


หนังสือรวบรวมบทสัมภาษณ์ และการถามไถ่ จากการสังเกต ศึกษา เฝ้ามอง ด้วยความละเอียดอ่อน สู่การถ่ายทอดเรียบเรียงวิธีคิดของผู้คน มาสู่คำตอบในหน้ากระดาษ

แนะนำหนังสือ 

เสียงในความทรงจำ 

 

วรพจน์ พันธุ์พงศ์

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : OPENBOOKS

พิมพ์ครั้งแรก

กุมภาพันธ์ 2547  

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

หนังสือที่รวบรวมการพูดคุย

ในแต่ละถามไถ่และสัมภาษณ์

ผ่านบทสัมภาษณ์และการเรียบเรียงวิธีคิดของผู้คน

สู่ข้อเขียนเรียบเรียงเรื่องราวของผู้คน   

 

 

รวมบทสัมภาษณ์คัดสรร

ว่าด้วยการแสวงหาความงดงามของชีวิต   

 

 

คุยกันก่อนเปิดแผ่นเสียงในความทรงจำ  

สารบัญ 

ตามรอยช่างภาพสัตว์ป่า ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ

ปรัชญาชีวิตและความรัก ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

ระหว่างความงามและความตาย พ.ญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์

เดชา ศิริภัทร คืนชีวิตสู่ความง่าย

คมมีดผ่าตัดและศาสตร์ชี่กง น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์

Song & soul พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ศุ บุญเลี้ยง Realistic   

ตามรอยช่างภาพสัตว์ป่า ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ 

คำว่า On location ของเพื่อนรัก - - ศุภชัย เกศการุณกุล มีผลต่อการทำงานของผมอย่างยิ่ง คือถ้าคิดทำเรื่องนางแบบ ก็ต้องไปดูถึงแคตวอล์กในงานแฟชั่นวีก ทำเรื่องหมอผ่าศพ ต้องเข้าไปดูถึงขั้นตอนการชำแหละชันสูตร ทำเรื่องนักดนตรี ต้องลุยถึงห้องซ้อมหรือหลังเวทีคอนเสิร์ต ทำเรื่องผู้กำกับ อย่างน้อยก็น่าจะเคยไปกองถ่าย... ถ้ามีเวลา มีโอกาส แต่ไม่ได้ทำอย่างนี้ ก็ดูเหมือนจะนั่งอ่านนิทานอยู่บ้านดีกว่า

เพราะฟังคำบอกเล่ามันได้แค่เสียง ซึ่งไม่มีภาพ ไม่รับรู้กลิ่นอายบรรยากาศ

งานสัมภาษณ์ ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ ชิ้นนี้ เราจึงเดินตามหลังเขาเข้าไปถึงห้วยขาแข้ง จากซุ้มบังไพรแคบและอ้าว ถึงสายน้ำ ความรกทึบของป่าที่กำลังเปลี่ยนสี

ณ ที่แห่งนั้นมีเรื่องราว...

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Open ฉบับที่ 25 ปี 2545 ภาพ: ศุภชัย เกศการุณกุล   

 

 

ปรัชญาชีวิตและความรัก ศักดิ์สิริ มีสมสืบ 

วัฒนธรรมหนึ่งของคนทำหนังสือคือการเล่นกับ Timing

แน่นอน, ถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆปี ความรักหลากหลายรูปแบบมักถูกกล่าวขาน นำเสนอ ในมิติที่กว้างและลึกเท่าที่จะเป็นไปได้

ในนามของหน่วยหนึ่งในนั้น และเลี่ยงไม่พ้น ผมเลือกที่จะไปสนทนากับ กวีสีขาว ตั้งชื่อตั้งแต่ก่อนไปไว้แล้วว่า ปรัชญาชีวิตและความรัก ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ 

ปกติเราจะเห็นทรรศนะกวีคนนี้จากข้อเขียนและบทเพลง นี่เป็นครั้งแรกๆ ที่เขาบอกเล่าความคิดความเชื่อผ่านบทสัมภาษณ์ยาวเหยียด           

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร GM กุมภาพันธ์ 2545 ภาพลายเส้น: ศักดิ์สิริ มีสมสืบ   

 

 

ระหว่างความงามและความตาย พ.ญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์ 

เป็นงาน Assignment จากคุณปกรณ์ พงศ์วราภา เพื่อตีพิมพ์ใน M Magazine พ.ศ. นั้น มือมีดหมื่นศพยังไม่มีคำว่า คุณหญิง นำหน้าชื่ออย่างตอนนี้ แต่ชื่อชั้นและการยอมรับจากมวลชนก็ไม่ด้อยกว่า

งานสัมภาษณ์เริ่มต้นที่บ้านและขยายผลสู่ที่ทำงาน ซึ่งก็หมายถึงห้องผ่าศพโรงพยาบาลรามาธิบดี ความจริง... ปล่อยให้เพื่อนช่างภาพ (ใจถึง) บุกเดี่ยวในห้องนิติเวชศาสตร์ก็ได้ แต่ไหนๆก็ไหนๆ ก็ขอทำใจดีสู้เสือเข้าไปดูให้เห็นกับตาสักครั้ง (ความจริง 2 ครั้ง) แม้คมมีด คาวเลือด และภาพอันน่าสยดสยองจะอยู่ในความทรงจำแรมปี แต่ผมก็ดีใจที่ไม่ปอดแหก เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้เห็นเนื้องานจริงๆ ของ แพทย์พังก์ คนกล้า

ผลของมันทำให้ผมแตะเนื้อสัตว์ไม่ลงไปราว 2 สัปดาห์ และหย่าขาดกับอาหารประเภทเครื่องในมาจนนาทีนี้           

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร M เดือนพฤศจิกายน 2543 ภาพ: ศุภชัย เกศการุณกุล   

 

 

เดชา ศิริภัทร คืนชีวิตสู่ความง่าย 

ในรถเพื่อนช่างภาพ สมิทธิ ธนานิธิโชติ ผมมองถนนหลวงและต้นไม้ของข้างทางไปสุพรรณบุรี แล้วก็นึกถึงเหตุการณ์หลายวันก่อน

ลงเรือข้ามฝากที่สี่พระยาแล้วผมนั่งมินิบัสสาย 1 รถสีเขียว สภาพเหมือนกระป๋องบุบๆ มุ่งหน้าไปยังป๋วยเสวนาคาร ใจหนึ่งก็เหนื่อยหน่าย เซ็งตัวเองว่า วันนี้วันเสาร์ เราควรจะนอน (กระดิกเท้า) อยู่บ้านไม่ใช่หรือ...

รายการเสวนาว่าด้วยเกษตรกรรมธรรมชาติดึงดูดให้ผมรีบกินข้าว อาบน้ำ แล้วคลำทางไปมั่วๆ ในที่สุดก็ถึงได้เหมือนกัน

งานเริ่ม.. ให้ตายเถอะ ทั้งผู้พูดและผู้ฟังนับรวมกันไม่ถึงสิบชีวิต

บ่ายอ่อนๆ ในห้องโถงโปร่ง พัดลมโบกวีเบาๆ ผมพานจะฟุบหลับเสียให้ได้ พยายามนึกเรื่องขำขันที่สุดมาปลุกกระแทกอารมณ์ตัวเอง ต่อสู้และทรมานอยู่นาน จนเมื่อ เดชา ศิริภัทร ถึงคิวพูด หูตาของผมพลันตื่นและเบิกบาน ทรรศนะของเขาเต็มไปด้วยเรื่องน่าสนใจ

ผมวางปากกาที่จดได้ไม่ทันใจ แล้วกดเครื่องบันทึกเสียง

จบรายการ ผมเข้าไปแนะนำตัวเองและขอเบอร์ติดต่อเขาไว้ นึกในใจว่า แล้วเจอกัน

ต้นไม้เมืองสุพรรณบุรีเป็นแถวเป็นแนวเรียบร้อยเหมือนทำจากพลาสติกเดชา ศิริภัทร รออยู่พร้อมแล้ว

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Open ฉบับที่ 37 ปี 2546 ภาพ: สมิทธิ ธนานิธิโชติ   

 

 

คมมีดผ่าตัดและศาสตร์ชี่กง น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์            

คุณกล้วย ทิชากร ชาติอนันต์ แห่งสายส่งศึกษิต บริษัท เคล็ดไทย จำกัด ส่งหนังสือเล่มหนาปึ้กมาให้ ผมเห็นชื่อ หัวใจใหม่ ชีวิตใหม่ ความหนาและเนื้อหาหนักๆ แล้วก็ถอดใจ ขอวางไว้ก่อนเถอะ           

ต่อเมื่อวันหนึ่งได้พลิกอ่าน จึงรู้ว่านี่เป็นงานของนักคิดรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง น.พ. วิธาน ฐานะวุฑฒ์ งานเขียนอันว่าด้วยเรื่องสุขภาพกายสุขภาพในในมิติวิเคราะห์เจาะลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชีพศัลยกรรมแพทย์ของเขาเป็นแรงดึงดูดให้ผมปรารถนาจะหาเวลาไปจับเข่าคุย           

และสัปดาห์ถัดมา ผมก็พบตัวเองเดินอยู่ในตัวเมืองเชียงราย คืนนั้นผมกับเพื่อนช่างภาพพักในโรงแรมเก่าๆ ที่น่ารักแห่งหนึ่ง และรุ่งเช้าเราก็นั่งสามล้อตรงไปยังคลินิกของเขา           

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร GM เดือนกรกฎาคม 2546 ภาพ: สมิทธิ ธนานิธิโชติ   

 

 

Song & soul พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 

มันเป็นบ่ายวันหนึ่งที่อากาศร้อนเป็นปกติ ผมกับเพื่อนช่างภาพนัดกันแถวๆ ถนนกรุงเทพกรีฑา ก่อนจะเข้าไปหา พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ถึงที่บ้าน           

หน้าตางัวเงียของเขาค่อยสดใสขึ้นหลังกาแฟถ้วยแรกของวัน           

เรานั่งพูดคุยกันในห้องทำงานที่แวดล้อมด้วยกีตาร์ คีย์บอร์ด และ คอมพิวเตอร์คู่ใจ

จากบ่ายสอง สาม สี่ หกโมง หนึ่งทุ่ม เลยไปถึงสามทุ่ม

รอยยิ้มสวยๆของกลุ่มคนดนตรี มิสเตอร์ทีม ค่อยเปลี่ยนเป็นเศร้าๆ ตอนเรากดปุ่ม stop เครื่องบันทึกเสียงและเดินออกมาจากห้องตอนสี่ทุ่ม แม้มันทำให้ผมรู้สึกผิดบาปอยู่ไม่น้อย ที่ทำให้พวกเข้าต้องคอยอยู่นาน แค่ใจหนึ่งก็เป็นสุขเหลือกเกินที่ทำงานได้ดั่งใจ โดยเฉพาะคำตอบแบบไม่มีกั๊กของนักดนตรีที่ถึงลูกถึงคนมากที่สุดคนหนึ่ง           

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร GM เดือนกันยายน 2544 ภาพ: สมิทธิ ธนานิธิโชติ   

ศุ บุญเลี้ยง Realistic 

มากกว่าการเป็นนักร้อง

มากกว่าบทบาทงานเขียน

ศุ บุญเลี้ยง เป็นนักคิด ไม่ใช่คิดแบบเคร่งขรึม วิชาการ

เขาคิดสนุก พยายามทำให้เป็นรูปธรรม สามารถจับต้องและใช้งานได้จริง           

พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Open ฉบับที่ 24 ปี 2544 ภาพ: ศุภชัย เกศการุณกุล   

 

 

เก็บเรื่องราวสู่เรียบเรียง 

 

งานของการลำดับความ จากการสังเกต พูดคุย สัมภาษณ์ นำพาเรื่องจากคำถามสู่คำตอบ ด้วยความเข้าใจในตัวตน ของผู้ถูกสัมภาษณ์ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ คือหนึ่งในนักเขียน- สื่อมวลชน ที่ได้รับการยอมรับฝีไม้ลายมือ ในการจัดทำบทสัมภาษณ์ และถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนได้ดีเยี่ยมคนหนึ่งของยุคสมัย  นำห้วงความคิด และชีวิตของผู้คนออกมา ผ่านหน้ากระดาษ

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทุกเสียงในความทรงจำ คือ หนึ่งในผลงานรวบรวมบทสัมภาษณ์ จากผู้คนมากมายหลายเสียง จากมากมายหลายคำถาม จากหลายชั่วโมงของการสังเกต จากการเก็บร้อยเรียงเรื่องราวของคน ให้โลดแล่นออกมา เหมือนการบรรยายบทนวนิยายให้ผู้อ่านได้โลดแล่นตามไป เพียงท่อนเรื่องของเนื้อความ คือชีวิต และห้วงความคิดของผู้คน ที่เขาพูดคุยและถ่ายทอดออกมา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สาระสำคัญของการเอาจริงเอาจัง และใส่ใจในเรื่องราวจากปากคำของผู้คน คือเสน่ห์ที่อยู่ในงานเขียนชิ้นนี้ บทสัมภาษณ์ ที่ประกอบรายละเอียดจากแง่มุมอันงดงามของคน คือพลังที่นำพาเราให้ก้าวผ่านไปในแต่ละย่อหน้า </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ไม่เพียงเสน่ห์จากข้อเขียนในฝีมือเขา ความเป็นมืออาชีพ แม้ไม่ใช่คำตอบเพียงเล่นไปวันๆ ก็ล้วนได้รับการพิสูจน์ผ่านผลงานตลอดหลายปีที่ผ่านมา น่าจะช่วยนำพาเรา ในแต่ละเนื้อประโยค ให้เข้าใจตัวตนของมนุษย์ในแต่ละผู้คน เรียนรู้และเก็บเสน่ห์ของชีวิตอันงดงาม ไม่ใช่เพราะคนที่ถูกเขาสัมภาษณ์มีชื่อเสียง ไม่ใช่เพราะคนที่เขาสัมภาษณ์มีชื่อเสียง แต่เพราะคนที่เค้าสัมภาษณ์มีรอยหยักของเรื่องราวอยู่มากมาย แต่เพราะเขาเหล่านั้น มีคุณค่าในแต่ละชั่วโมงบินของความเป็นมนุษย์ มีเรื่องราวจากความมุ่งมั่น มีฝันในเรื่องธรรมดาของชีวิต ด้วยความตั้งใจ และอีกมากมายของความเรียบง่าย ซึ่ง วรพจน์ ต้องการถ่ายทอดออกมา  ผลงานของการเรียบเรียงบทสัมภาษณ์ จากเสียงในความทรงจำ ได้จารึกเรื่องราวมากมาย ในห้วงความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ จนนำพาพลังมาสู่ตัวอักษร  เรื่องราวทั้งหมดจึงเริ่มต้นโลดแล่นอีกครั้ง</p><p>  </p><p></p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           กุมภาพันธ์ 2547 - พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           เสียงในความทรงจำ </p><p>ประเภท             :           รวมบทสัมภาษณ์</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           วรพจน์ พันธุ์พงศ์ </p><p>บรรณาธิการ       :           ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา    </p><p> </p><p>เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ</p><p>ISBN 974 91929 6 6 </p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 105018เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท