บางขุนเทียน



เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน (1)

   บางขุนเทียนถิ่นบ้าน            นามมี
เทียนว่าเทียนแสงสี               สว่างเหย้า
เย็นยามพระสุริยลี-                ลาโลก ลงแม่
เทียนแม่จุดจักเข้า-               สู่ห้องหาใคร

คัดจาก นิราศนรินทร์  (2)» อ่าน ประวัตินายนรินทรธิเบศร์ ผู้แต่ง นิราศนรินทร์  

คำแปล
เดินทางถึงถิ่น หมู่บ้านอันมีนามว่า บางขุนเทียน
นึกถึงเทียนที่ใช้จุดในเหย้าในเรือนของตน
เวลาเย็นย่ำ ยามพระอาทิตย์ จรลี ลีลา คลาไคล หายลับจากแหล่งโลก (ตะวันตกลงดิน)
ค่ำนี้แม่น้องหน้า มลคนสวยกำลังจุดเทียนเข้าห้อง หาใครกัน (จุดเข้าห้อง ชู้ หรือไฉน ฮา) 


ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ได้แสดงทรรศนะเอาว่า พระยากลาโหม (ทองอินทร์) หรือ นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งนิราศนรินทร์ ไว้เมื่อปี พ.ศ.2336 เมื่อครั้งไปราชการงานสงคราม ในสมัยรัชกาลที่ 1  เหตุเพราะไทยคิดจะตีเมืองอังวะ จึงยกทัพบกไปทางเมืองกาญจนบุรี ด้านแม่น้ำน้อย รัชกาลที่ 1 ทรงเป็นจอมทัพ ส่วนทัพเรือ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงควบคุม (3.) 

จากตัวอย่างคำแปลโคลงนิราศนรินทร์ข้างต้นที่ผู้เขียนถอดความเอาไว้เป็นร้อยแก้วจะได้ ข้อสังเกตที่ ว่า นายนรินทรธิเบศร์ เมื่อครั้งเดินทางถึงยังบ้าน บางขุนเทียน ก็บังเกิดมีมโนภาพภายในจิตใจ โดยนึกถึง เทียน ที่ใช้จุดในยามค่ำคืน

ว่าแล้วก็แต่งโคลงประชันกับนายนรินทร์ดูสักบท

 บางขุนเทียนถิ่นบ้าน         ใครหนอ
เทียนหากมากมีขอ           สักแถ้ง
ส่องใจที่มืดท-                  รลักษณ์  เรียมเอย
เห็นเหตุทุกข์แจ่มแจ้ง        ดับเชื้อกิเลสกษัย

บางขุนเทียน ในปัจจุบัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตสนามชัย ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่ (4.)

ที่มาของชื่อบางขุนเทียนที่สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "บางขุนเกวียน" เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนเกวียน ซึ่งแต่ละกองเกวียนจะมีผู้นำคอยอารักขาที่เรียกว่าขุน (5)

เมื่อสันนิษฐานว่า คำว่า บางขุนเกวียน เกิดจากการเพี้ยนเสียง ก็ต้องใช้ ทฤษฎีว่าด้วยการเพี้ยนเสียงมาอธิบาย ศาสตราจารย์ สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ ได้นำเสนอ กฎการกลายเสียงของพยัญชนะตามกฎของกริมส์ โดยประยุกต์ใช้กับภาษาไทย ไว้ในหนังสือ บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย(6)  หน้า 196-198 ความว่า กริมส์สรุปกฎการกลายเสียงจาก ภาษาอินโด-ยุโรปโบราณ มาเป็นภาษาเยอรมันนิก เป็นรูปวงกลม ดังนี้ 





หากนำกฎของกริมม์ นี้มาประยุกต์ใช้กับภาษาไทย เสียงกลุ่มต่างๆ อาจะเทียบกับเสียงในภาษาไทยได้ดังต่อไปนี้ 

ตรงกับเสียง [ป, ต, ] และถ้ารวมเสียงพยัญชนะครึ่งระเบิด ครึ่งเสียดแทรก เข้าด้วย ก็จะรวมถึงเสียง จ ด้วย

A ตรงกับเสียง [ซ, ฮ, ฟ] พวกหนึ่ง และเสียง [พ, , ค, ช] อีกพวกหนึ่ง แต่เสียงพวกหลังนี้ในภาษาไทยเกิดเป็นเสียงระเบิดอโฆษะ

พึงเข้าใจว่าเสียง

เสียง ซ รวมถึงตัว เสียง [ซ, ศ, ษ, ส] ด้วย
เสียง พ รวมถึงตัว เสียง [พ, ภ, ผ]  ด้วย
เสียง ท รวมถึงตัว เสียง [ท, ธ, ฑ, ฒ, ถ, ฐ] ด้วย
เสียง ช รวมถึงตัว เสียง [ช, ฌ, ฉ] ด้วย


M ตรงกับเสียง [บ, ด] ของภาษาไทย

เมื่อนำกลุ่มเสียงของกริมม์มาเทียบกับหน่วยเสียงของไทยตามตารางนี้จะช่วยให้เรามองเห็นแนวการกลายเสียงของคำที่ใช้ในไทย ว่ามีทั้งที่เป็นไปตามกฎของกริมม์และที่เป็นตรงกันข้าม พวกที่เป็นไปตามกฎของกริมม์ คือ (ดูจากลูกศรในวงกลม)

กลุ่มเสียง T กลายเป็นกลุ่มเสียง A
กลุ่มเสียง A กลายเป็นกลุ่มเสียง M
กลุ่มเสียง M กลายเป็นกลุ่มเสียง T


พวกที่กลายเสียงเป็นตรงข้ามกับกฎของกริมม์ คือ

กลุ่มเสียง A กลายเป็นกลุ่มเสียง T
กลุ่มเสียง T กลายเป็นกลุ่มเสียง M
กลุ่มเสียง M กลายเป็นกลุ่มเสียง A

การกลายเสียงตามทฤษฎีนี้มีพบมากระหว่างภาษาไทยต่างสมัย และต่างถิ่นกัน สำหรับคำบาลีสันสกฤตที่ไทยรับมาจะกลายเสียงตามทฤษฎีนี้มักพบในภาษาถิ่นและในวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาถิ่น

การที่สันนิษฐานว่า คำว่า บางขุนเทียน นั้น เพี้ยนมาจากคำว่า "บางขุนเกวียน" โดยเชื่อว่า บริเวณนี้เคยที่ชุมชนเกวียน ซึ่งแต่ละกองเกวียนจะมีผู้นำคอยอารักขาที่เรียกว่าขุนนั้น แม้นว่า เมื่อดูผิวเผิน การเพี้ยนเสียงอาจจะเป็นไปตามกฎของกริมม์ (ตามข้อสันนิษฐานที่ว่าเกิดจาการเพี้ยนเสียงจากคำว่า เกวียน เป็น เทียน) ทว่า การเพี้ยนเสียงตามกฎของกริมม์นี้หากสังเกต จะไม่เพี้ยน จาก กว เป็น อย่างแน่นอน เพราะ กลุ่มเสียง T ที่กลายเป็นกลุ่มเสียง A  นั้นมีลักษณะการเพี้ยนเสียงอย่างมีนัยสำคัญ นั่นคือ จะเพี้ยน อยู่ในกลุ่มที่มีแหล่งกำเนิดเสียงเดียวกัน ตามตารางสรุปความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงของบาลีและสันสกฤต



ตัวอย่างเช่น การเพี้ยนเสียงของ กลุ่มเสียง T เพี้ยนเป็น A
 

- เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ โอฏฐชะ(ริมฝีปาก) ได้แก่

ปฺราสาท เพี้ยนเป็น าสาท (ภาษาอีสาน)
ปฺรชฺญา  เพี้ยนเป็น ญา

- เพี้ยนเป็น ซ (ส,ษ,ศ) หรือกลับกัน  ซ (ส,ษ,ศ) เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ทันตชะ(ฟัน) ได้แก่
กุล เพี้ยนเป็น ตระกูล
ภิกษุ เพี้ยนเป็น ตุ๊ (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ตาลุชะ (เพดาน) ได้แก่
ฎฺฐา เพี้ยนเป็น เษฎา
ายา เพี้ยนเป็น าญา (มโนหรานิบาต ฉบับสงขลา)
าติ เพี้ยนเป็น จ้าด (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น  หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ กัณฐชะ (ลำคอ)
กุณฺโฑ เพี้ยนเป็น นโท
กุณฺฑี  เพี้ยนเป็น นที
กฺษีร (เกษียร) เพี้ยน เป็น เษียร 


ฉะนั้น คำว่า เกวียน {เสียง กว แต่เน้นที่เสียง ก ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณ กัณฐชะ (ลำคอ} จะเพี้ยนเป็น คำว่า เทียน {เสียง ท ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณทันตชะ (ฟัน)}  นั้นเป็นไปได้ยากมาก  อนึ่งในปีที่ นายนรินทรธิเบศร์ แต่ง นิราศนรินทร์ (ประมาณปี พ.ศ.2336) ได้เดินทางผ่านบริเวณเขต บางขุนเทียน และได้เอ่ยนาม บางขุนเทียน ไว้ในโคลงนิราศ ทว่านายนรินทร์กลับมิได้บรรยายถึง กองคาราวานเกวียน ที่น่าจะมีอยู่คับคั่งบริเวณนั้น จากโคลงนิราศนรินทร์เราจึงพอที่จะอนุมานได้ว่า ในปี พ.ศ.2336 ลงมา คนไทยในสมัยนั้นใช้คำว่า บางขุนเทียน เป็นที่แพร่หลายแล้ว

คำว่า ขุนเกวียน นี้ มีความหมายพ้องกับ คำว่า นายฮ้อย ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน คำว่า นายฮ้อย ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการค้าขาย และมักเรียกตามชื่อประเภทสินค้า ดังนั้นกลุ่มคนที่ค้าขาย วัว-ควาย จะถูกเรียกขานว่า นายฮ้อยวัว-ควาย 
'ตลาดวัว-ควาย' ในขณะนั้นอยู่ในถิ่นภาคกลาง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางยาวนานรอนแรมหลายเดือน ดังนั้นการจะนำวัว-ควาย ไปขายจึงต้องอาศัยการรวมตัวเดินทางกันเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัย (7)

บริเวณที่มีขบวนเกวียนมาพักอาศัยบ่อยๆ จนเกิดความคุ้นเคยกับชาวบ้านในละแวกนั้น ชาวบ้านละแวกนั้นก็น่าที่จะเรียก สถานที่นั้น ว่า บางนายฮ้อย ตามภาษาอีสาน มากกว่าที่จะเรียกว่า บางขุนเกวียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาคกลาง
 และที่สำคัญที่สุด คำว่า เกวียน และ เทียน นั้น ไม่น่าที่จะเพี้ยนได้ในระยะเวลาแค่ 200 กว่าปี เพราะเป็นคำที่คนไทย รู้จักดี ทั้งคำว่า เกวียน และเทียน ฉะนั้นตาม ทรรศนะของผู้เขียนคำว่าบางขุนเทียนนี้ มิได้เกิดจากการเพี้ยนเสียง และมิได้เรียกชื่อตามกองคาราวานเกวียน หากแต่คำว่า เทียน นี้น่าจะเป็นคำที่ใช้เรียก ชื่อเต่า ซึ่งมีอยู่มากมายบริเวณเขตชายทะเล  ซึ่งเนื้อหาจะอธิบายในย่อหน้าถัดๆ ไป ในลำดับนี้จะขอวิเคราะห์ศัพท์ ที่ปรากฎในคำว่า บางขุนเทียน ดังต่อไปนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (ออนไลน์) ให้คำจำกัดความ คำว่า บาง ไว้ความว่า

 บาง 1  น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า
 ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน
 บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น 
 ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง.
 
  ให้คำจำกัดคำว่า ขุน ไว้ความว่า

 ขุน 1  น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา 
 เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสําคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น 
 ขุนเขา.ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร 
 ตามปรกติต้องมีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป. 
 
 ขุน 2  ก. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง, โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี.
 ขุนไม่ขึ้น, ขุนไม่เชื่อง (สํา) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.

ให้คำจำกัดความคำว่า เทียน ไว้ความว่า

 เทียน 1 น. เครื่องตามไฟที่ฟั่นที่หล่อด้วยขี้ผึ้งหรือไขเป็นต้น มีไส้อยู่ตรง
 ใจกลาง, ลักษณนามว่า เล่ม. 
 
 เทียน 2, เทียนบ้าน  น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Impatiens balsamina L. ในวงศ์ Balsaminaceae   ลําต้นอวบ ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น ขาว ชมพู ม่วง. 
  
เทียน 3  น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้ง
 ของไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง 5 ได้แก่ เทียนขาว เทียน
 ข้าวเปลือก เทียนดํา เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง 7 เพิ่ม
 เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง 9 เพิ่ม เทียนตากบ 
 เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด 
 เทียนขม เทียนแกลบ. 
 
 เทียน 4 ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า 1.

 ให้คำจำกัดความคำว่า เธียร ไว้ความว่า

เธียร  น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, มั่นคง. (ป. ธีร).

  ให้คำจำกัดความคำว่า เต่าเหลืองไว้ความว่า
 
 เต่าเหลือง  น. ชื่อเต่าบกชนิด Indotestudo elongata ในวงศ์ 
 Testudinidae กระดองสีเหลืองคล้ายสีขี้ผึ้ง ตัว
 ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร กินพืช, ขี้ผึ้ง เทียน 
 หรือ แขนง ก็เรียก.
(8)

   
 วิเคราะห์
  สำหรับชื่อเขต บางขุนเทียน ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า เนื่องจากในสมัยโบราณนิยมตั้งชื่อหมู่บ้าน ตาม ชื่อของ  ต้นไม้ สัตว์ หรือบุคคล ที่พบเห็นในละแวกนั้น

1.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนี้มีต้น เทียนบ้าน  หรือไม่ก็ต้น เทียนทอง ขนาดใหญ่โต ผิดธรรมดา จึงเรียก บึงบาง ละแวกนี้ว่า บางขุนเทียน อันหมายถึง บึงบางที่มีต้นเทียนขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ โดยเปรียบเทียบกับ

บางจาก เพราะพื้นที่  บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น จาก ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ 
บางรัก    เพราะพื้นที่ บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น รัก ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ
บางบอน  เพราะพื้นที่ บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น บอน ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ

2.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนั้น มีนาย เทียน/เธียร ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็น ท่านขุน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น ผู้คนในสมัยนั้นจึงขานนามบ้านย่านนั้นว่า บางขุนเทียน

คำว่า
ขุนนาง คำนี้ผู้เขียนไม่ขออ้างอิงถึง
พจนานุกรม แต่ผู้เขียนจะขอวิเคราะห์ความหมายของคำในเชิงลึก กล่าวคือ ข้าราชการกรุงสยามสมัยก่อน (ครอบคลุมถึงยุคปัจจุบันด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ) นิยมมีเมียหลายคน การเลี้ยงเมีย ก็คงอุปมาเหมือนกับการ ขุนหมู ขุนหมา ซึ่งดูเป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีอันจะกินเหล่านั้น พฤติกรรมการขุน บรรดาเหล่านางงาม นี้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้เป็นนามเรียกขาน ข้าราชการแห่งกรุงสยาม ว่า ขุนนาง (ถ้าจะแปลให้ดูดี คำว่าขุนนาง ควรหมายถึง ผู้เป็นใหญ่เหนือนางทั้งหลาย ถ้าแปลให้ดูไม่ดี คำว่าขุนนาง ก็น่าจะหมายถึง การขุนบรรดาเหล่านางงามทั้งหลายไว้ในเรือนชานบ้านตน ซึ่งทำได้เฉพาะผู้มีอำนาจราชศักดิ์ เท่านั้น ถ้าไม่มีอำนาจราชศักดิ์ก็ย่อมไม่มีปัญญาที่จะขุน นาง นางสาว ได้คราวละมากๆ..) ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สิทธิสตรีทัดเทียมและเทียบเท่ากับสิทธิบุรุษ หากแม้นว่าบรรดาเหล่า ข้าราชการหญิง บังเกิดมีพฤติกรรม ขุน บรรดาเหล่าชายหนุ่มรูปงาม ขึ้นมาบ้าง ในอนาคตอันใกล้นี้ วงการภาษาไทยก็คงจะบังเกิดมีคำใหม่ไว้ใช้สอยพูดจา ซึ่งนั่นก็คือ คำว่า ขุนนาย ละกระมัง.. 

 3.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนั้น มี เต่าเทียน ตัวใหญ่ อาศัยอยู่ ผู้คนในสมัยนั้นจึงขานนามบ้านย่านนั้นว่า บางขุนเทียน

4.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนั้น มีเต่าเทียนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวบ้านนิยมนำอาหารมาขุน เต่าเทียน คล้ายกับสมัยนี้ที่ผู้คน นิยมนำอาหารปลา ไปขุน ปลาสวายตามท่าน้ำ เป็นต้น  ผู้คนในสมัยนั้นจึงขานนามบ้านย่านนั้นว่า บางขุนเทียน

5. ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เต่าเทียน คนโบราณอาจจะเรียกรวมๆ กันทั้งเต่าบก และเต่าน้ำ เต่าน้ำก็มีทั้งเต่าที่อาศัยในน้ำจืด และเต่าที่อาศัยในน้ำทะเล อีกด้วย  ยกตัวอย่างเช่น ที่ จังหวัดชลบุรี มีชายหาดชื่อ หาดจอมเทียน (จอม แปลว่า ยอดที่สูงสุดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ปลายเรียวเล็กขึ้นไป เช่น จอมเขา; ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ เช่น จอมโจร ดังนั้น จอมเทียน จึงควรหมายถึง ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ (เต่า) เทียน /เต่าตัวใหญ่/ขุนเทียน) ที่ อำเภอสัตหีบ มีชายหาดชื่อ หาดเทียนทะเล (สมัยก่อนนั้นอาจจะมีเต่าเทียน มาอาศัยอยู่ที่บริเวณนั้นเพื่อวางไข่ : เต่าสีเหลืองๆ เหมือนเทียน) ที่จังหวัด กรุงเทพ เขตท่าข้าม แขวงบางขุนเทียน มีชื่อซอยเทียนทะเล และมีชื่อ ถนนเทียนทะเล อีกทั้งมีชื่อ สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล แต่ทว่าในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กลับอรรถาธิบายเอาไว้ว่า  เต่าเทียน เป็นเต่าบก  ซึ่งหากวิเคราะห์จากชื่อบ้านนามเมืองในสมัยปัจจุบัน+ในอดีต ก็พอจะอนุมานได้ว่า เต่าเทียน นี้เป็นเต่าทะเล (เต่าน้ำ) ได้อีกด้วย

 
ภาพ เต่าเทียน/เต่าเหลือง : Indotestudo elongata (9)

  6.  นอกจากนี้แล้วคำว่า เทียน นี้ยังเป็นชื่อ ขนมไทยชนิดหนึ่งอีกด้วย คำว่า ขนมเทียน ผู้เขียน สันนิษฐานว่าชื่อ  ขนมเทียน นั้นตั้งตามรูปร่างของขนม ซึ่งมีลักษณ์คล้ายๆ กระดองเต่า 
(คนโบราณ เรียกเต่า ว่า เทียน) 
 วิธีทำขนมเทียน : ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม (10)คราวนี้ก็มาถึงกรรมวิธีในการทำเทียนที่เรียกว่าการฟั่นเทียน การฟั่นเทียนนับเป็นงานฝีมือสำคัญของหญิงไทยโบราณ แน่นอนว่าขั้นตอนในการทำย่อมแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในสมัยก่อนเขาจะนำรังผึ้งมากวนด้วยพายไม้ในกระทะทองเหลืองแล้วกรองเอาเฉพาะขี้ผึ้งที่เป็นของเหลวสีเหลือง จากนั้นก็โรยกำยานลงในขี้ผึ้ง แล้วเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน เสร็จแล้วก็นำไปตากแดด นำมาแผ่เป็นแผ่น วางไส้ไว้ตรงกลาง แล้วขดเทียนเป็นรูปกิ้งกือ การอบควันเทียนเริ่มด้วยการจุดไฟที่เทียนอบแล้วนำไปวางระหว่างขนมที่อยู่ในขวดโหล เมื่อไฟลามไปถึงขี้ผึ้งแล้วก็ดับไฟให้เหลือแต่ควัน จากนั้นก็ปิดฝาขวดโหลทันที ทิ้งไว้ค้างคืน 1 คืน จะได้ขนมไทยกลิ่นหอมกรุ่นละมุนละไม ในขั้นตอนการอบควันเทียนนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เถ้าดำ ๆ รอบเนื้อเทียนหล่นหรือปลิวไปถูกขนมขนมที่ต้องผ่านกรรมวิธีการอบเทียนนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาทิ สำปันนี ทองเอก กลีบลำดวน ปุยฝ้าย โสมนัส ข้าวตู ฯลฯ อย่างน้ำกะทิที่นำมาราด ซ่าหริ่ม ลอดช่อง แดงไทย ฯลฯ ก็ล้วนต้องการผ่านการอบร่ำด้วยเทียนอบทั้งสิ้น  (11)

H2635378-9 
ภาพขนมเทียน (12)

สำหรับข้อสนับสนุน สมมุติฐานที่ว่า ชื่อ ขนมเทียน นั้นตั้งชื่อตามรูปร่างของขนม ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กระดองเต่า  ข้อสนับสนุนนั้น ก็คือปริศนาคำทายที่ว่า 

 ถาม : อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง ?
 ตอบ : เต่า

ตาม มโนภาพ ของคนไทยโบราณ ที่แสดงออกผ่านปริศนาคำทายทำให้เราทราบได้ว่าคนโบราณ มองเห็น กระดองเต่า (มีรูปร่าง/อรรถประโยชน์) คล้ายหลังคา ขนมเทียน ซึ่งมีรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายจั่วหลังคา และจั่วหลังคา ตามมโนภาพของโบราณ มองเห็น จั่วหลังคาคล้ายกระดองเต่า ด้วยเหตุนี้เอง คนโบราณจึงเรียก ขนม ที่มีลักษณะคล้ายกระดองเต่านี้ว่า ขนม (เต่า) เทียน  

House_south2

รูป เรือนไทยมุสลิมมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ดังนี้ หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้ (13)

7.นอกจากนี้ ชื่อ ขนมเทียน อาจตั้งชื่อ ตามกรรมวิธี การอบควันเทียน หรือไม่ก็อาจจะตั้งชื่อตามลักษณะสีของใบตอง เมื่อถูกนึ่งจนมีสีเหลือง คล้ายสีของ แท่งเทียน หรือ สีและลวดลายของใบตองคล้าย สีและลวดลายของกระดองเต่าเทียน ก็เป็นได้ นอกจากนี้แล้ว ขนมเทียน  ยังมีอีกชื่อหนึ่งก็คือชื่อ ขนมนมสาว (คนโบราณท่านมีจินตนาการกว้างไกลจริงๆ) ด้วยเหตุเพราะคนโบราณ มีมโนภาพเกิดขึ้นภายในจิตใจโดยมองว่าขนมชนิดนี้มี รูปทรงสัณฐาน คล้ายหน้าอกของผู้หญิงสาว จะเห็นได้ ในกรณีการตั้งชื่อขนมชนิดนี้ว่า ขนมนมสาว นั้น คนโบราณมีมโนภาพภายในจิตใจโดยให้ความสำคัญกับ รูปทรงสัณฐาน ของขนมนั่นเอง

 โองการแช่งน้ำ วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย ร่ายนำบทท่อนสรรเสริญ พระพรหม มีการกล่าวถึง ขุนห่าน (พญาหงส์) ซึ่งเป็นพาหนะของพระพรหม ไว้ความว่า โอมชัยชัย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทยมิตรดา มหากฤตราไตร (ไกร) อมรรตัยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิ์ฯ (14)

  เป็นที่น่าสังเกตุว่า พราหมณ์ผู้แต่งโองการแช่งน้ำ  ใช้คำว่า ขุน กับสัตว์จำพวก ห่าน ด้วย โคลงนิราศนรินทร์ วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พบว่ามีการใช้คำว่า ขุน ในโคลงบทที่ 77  ความว่า

 ขุนพาฬพยัคฆ์เคล้า        พยัคฆี
สารสู่สาวคชลี                แหล่งเหล้น
ปวงสัตว์เพรียกไพรศรี     สังวาส
สังเวชสมรมาเว้น            พี่เว้นวายชม

คัดจาก นิราศนรินทร์   (15)

เสือตัวผู้(พาฬ/พาล=หนุ่ม) คลอเคล้ากับเสือตัวเมีย
ช้างตัวผู้ สมสู่/ไปมาหาสู่  กับช้าง(สาว)ตัวเมีย เล่นสนุกกันอยู่
สัตว์ต่างๆ ร้องเรียก กระทำสมัครสังวาสกันอยู่
พี่นี้นึกสังเวชใจ ที่ไม่ได้สังวาสกับ เมีย นึกอิจฉาสัตว์

เป็นที่น่าสังเกตุว่า คนโบราณ ใช้คำว่า ขุน กับสัตว์ประเภทเสือ และห่าน  ฉะนั้น คำว่าขุน นี้ ก็น่าจะใช้เรียกสัตว์จำพวก เต่า(เทียน) ได้ด้วยเช่นกัน ใน กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก  ซึ่งนิพนธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก็ได้กล่าวถึงคำว่า เทียน ไว้ความว่า 

นิ้วนางพี่พิศเพี้ยน       เล็บย้อมเทียนแสงเฉิดฉัน
นิ้วแดงแสงมีพรรณ     กลมคือปั้นฟั่นเทียนกลึง ฯ 


<p> นิ้วนางเรียวรูปต้อง            ตาเรียม

เล็บแดงทับทิมเทียม           ก่ำแก้ว
นิ้วแดงใคร่และเลียม          โลมลูบ
งามเปรียบเทียนฟั่นแล้ว     ช่างซ้ำเกลากลึง ฯ

ประชุมกาพย์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ฉบับโรงพิมพ์โสภณฯ พ.ศ.2464 หน้า 67  เล็บย้อมเทียนนั้นคือเล็บที่ย้อมให้เป็นสีแดงด้วยใบเทียนตามวิธีของคนโบราณ (16)
</p>
<h4> เทียน ในสมัยก่อน แสดงถึงฐานะทางสังคม เพราะเทียน นั้นจะมีใช้เฉพาะตามละแวกบ้านของเจ้านายชั้นสูง รวมถึงบ้านของขุนนาง และบ้านของบรรดาเหล่าเศรษฐีและคหบดี  ถ้าเป็นคนธรรมดา  นิยมจุดคบ จุดไต้ ในเวลายามค่ำคืนเท่านั้นทว่าในยุคสมัยปัจจุบัน เทียน ถือเป็นสิ่งที่บุคคลธรรมดาสามัญ สามารถซื้อหามาใช้สอยได้ จนถือเป็นเรื่องปกติ   อุทธาหรณ์เรื่อง เทียน นี้ จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ ถึงสัจธรรมที่ว่า  ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ย่อมดับไป ตามแต่เหตุและปัจจัย
 เปลวเทียนมอดไหม้ตนเองเพื่อให้แสงสว่าง ส่วนสังขารและอายุของคนเรานั้นเล่า ก็มีแต่จะเสื่อมโทรมสั้นลงอุปมาเหมือนแท่งเทียนที่ถูกเขาจุดไฟ ทุกวันนี้เราทำประโยชน์แก่สังคมและคนรอบข้างได้มากน้อยเพียงใด ถ้ายังทำไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อมองเห็นแท่งเทียนแล้ว นึกละอายแก่ใจตนเองบ้างหรือไม่ อย่างไร วานเฉลย นาท่าน???  </h4>

คำสำคัญ (Tags): #ขุน#เทียน
หมายเลขบันทึก: 173513เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่านเพราะเป็นคนพื้นที่เขตบางขุนเทียนค่ะ :)

กำลัง คิดๆ อยู่ครับว่าจะเขียนอะไร สวัสดีครับ คุณ jaewjingjing ช่วยเสนอ ไอเดีย หน่อย ครับ ในฐานะคนเขต บางขุนเทียน ฮา...

ไม่ทราบจะเสนอให้เขียนอะไรดีค่ะ

รู้แต่ว่าอดีตของบางขุนเทียนต่างจากปัจจุบันมากมาย

เมื่อก่อนที่นี่ก็คล้ายกับอัมพวา มีลำคลอง มีวิถีชีวิตสุขสงบ

ปัจจุบันสวนผลไม้หมดไปกลายเป็นโรงงาน และห้างสรรพสินค้ามากมาย

น่าเสียดายจังเลยนะครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่กวิน

เพลงเพราะมากๆเลยเจ้าค่ะ คิคิ ชอบๆๆๆๆ 5555++..เดี๋ยวหนูร้องเพลงให้ฟัง..อกหักแค่เรื่องขำๆ ไม่เจ็บสักเท่าไหร่..555++ สู้ต่อไป ทาเคชิ คิคิ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---> น้องจิ ^_^

บางขุนเทียนถิ่นโน้น เขามี

เทียนใหญ่น้อยหลากสี จุดได้

คราวค่ำสว่างทุกที ทั่วถิ่น

ลมพัดเปลวเลาะไล้ จับจ้องมองเพลินฯ

สวัสดีครับน้องจิ

สวัสดีครับอาจารย์ธวัชชัย เขียนต่อโคลงไว้ข้างบนนะครับ ผม

สวัสดีค่ะ

* ลองฉีก ๆ แนวหน่อยซิเหว่...แสงเทียนมันวับแวม...ความร้อนก็น้อย....ลนให้ร้อนพอทุรนทุราย....หาสิ่งใหม่ให้ร้อนจนเผาไหม้มอดเกรียมเลย...เช่นกล่าวถึงดอนไฟไหม้..ต. ท่าไชย อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี....๕๕๕๕๕ ข้าน้อยมิบังอาจไม่ได้แล้ว...แปลว่าไรเหว่

  • เพลงที่นำมาทำเป็นแนว blues ฟังกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ  เพราะดีค่ะ

 

สวัสดี่ครับอาจารย์พรรณา น่าสนใจนะครับ เหอๆๆๆ

สวัสดีครับอาจารย์ศิริพร ชอบเพลงพระราชนิพนธ์เหมือนกันเลยนะครับ

ไชโยเขียนเสร็จแล้ว..อาจมีแก้ไขเพิ่มเติมตอนนี้ยังคิดไม่ออก เดี๋ยวไปงานปัจฉิมนิเทศ นศพ. ก่อนนะครับ

1.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนี้มีต้น เทียนบ้าน  หรือไม่ก็ต้น เทียนทอง ขนาดใหญ่โต ผิดธรรมดา จึงเรียก บึงบาง ละแวกนี้ว่า บางขุนเทียน อันหมายถึง บึงบางที่มีต้นเทียนขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ โดยเปรียบเทียบกับ

บางจาก เพราะพื้นที่  บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น จาก ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ (กระมัง)
บางรัก    เพราะพื้นที่ บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น รัก ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ (กระมัง)
บางบอน  เพราะพื้นที่ บึงบาง ละแวกแถวนั้น มีต้น บอน ขึ้นอยู่ริมฝั่งน้ำ (กระมัง)



2.มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยก่อนบึงบางละแวกนั้น มีนาย เทียน/เธียร ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็น ท่านขุน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น ผู้คนในสมัยนั้นจึงขานนามบ้านย่านนั้นว่า
บางขุนเทียน

เทียน ในสมัยก่อน แสดงถึงฐานะทางสังคม เพราะเทียน นั้นจะมีใช้เฉพาะตามละแวกบ้านของเจ้านายชั้นสูง รวมถึงบ้านของขุนนาง และบ้านของบรรดาเหล่าเศรษฐีและคหบดี  ถ้าเป็นคนธรรมดา  นิยมจุดคบ จุดไต้ ในเวลายามค่ำคืนเท่านั้น

ท้ายที่สุดชอบบทสรุปค่ะ...ชอบวิธีการเขียนของคุณนะคะ  เพราะจากคำคำนึงทำให้คิดต่อไปได้หลายประเด็นทีเดียว

 

เมื่อครู่เขียนความคิดเห็นไปยาวมาก แต่พอกดบันทึกแล้ว ความคิดเห็นหายไปหมด มาแค่ตอนท้ายบรรทัดเดียว ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นค่ะ

ขออนุญาตแสดงความเห็นใหม่อีกครั้ง(ฉบับย่อนะคะเดี๋ยวบันทึกไม่ได้อีกค่ะ)

ข้อวิเคราะห์ที่ 1 ก็มีความเป็นไปได้สูงค่ะ เพราะบางรัก บางจาก บางบอน ในอดีตก็เป็นเช่นชื่อที่ตั้งมานั้นจริงๆ ในระแวกบ้านของดิฉันในเขตบางขุนเทียนนี้ยังมี วัดกก ซึ่งในอดีตก็เต็มไปด้วยต้นกก แล้วในเขตนี้ยังมี สน.เทียนทะเล อีกด้วย

แต่โดยส่วนตัวดิฉันเทใจให้ข้อวิเคราะห์ที่ 2 ค่ะ เพราะว่า บางขุนเทียน มีคำว่า ขุน คั่นกลาง หากเป็นตามข้อวิเคราะห์ที่ 1 ก็น่าจะมีแค่ บางเทียน แต่ทั้งนี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะคะ

ชอบบทสรุปตอนท้ายค่ะ

และชอบวิธีการเขียนของคุณนะคะ เพราะจากคำคำนึง ทำให้คิดแตกไปได้หลายประเด็นทีเดียว

ขอบคุณค่ะ

แย่จัง อยากอ่านความคิดเห็นคนบางขุนเทียน

ตามความคิดของผมนะครับ บางขุนเทียน น่าจะ มาจากชื่อเต่าเทียน ไม่ก็ ชื่อท่านขุน ขอบคุณที่แวะมาแสดงความคิดเห็นครับผม

ขอบคุณครับ

จริงๆ ต้องพึ่งนักประวัติศาสตร์ครับเรื่องชื่อบ้านนามเมือง พวกนี้หรือไม่ก็ต้องเข้าหอสมุดแห่งชาติ ไปค้นๆ คว้าๆๆ บทความนี้เขียนจากความทรงจำ เดี๋ญวนี้หาข้อมูลจากเนตเร็วดี ขอบคุณมากๆๆๆ ค้าบ

แทรกเพลงแสงเทียน 30-9-2551

 ขอบคุณ ท่าน นาวาเอกอนุวัต (จักรีนฤเบศร) ครับ ที่มาอ่านตามคำเชิญชวน :) 

เพิ่มข้อสันนิษฐานข้อที่ 5
วันที่ 2 ตุลาคม 2551

เพิ่มเติมข้อสันนิษฐานว่าด้วยชื่อ ของ ขนมเทียน 3 ตุลาคม 2551

แก้ไขคำผิด 4 ตุลาคม 2551

บรรณานุกรม และ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

 

(1) เพลงพระราชนิพนธ์ แสงเทียน.โดยชาวคณะสุนทราภรณ์. [cited  2008 October 5]. Available from: URL; http://www.imeem.com/glaibarn/music/2CvQFGyD//

 

(2) นิราศนรินทร์ บทที่ 25-36 แสงเทียน. [cited 2008 March 27]. Available from: URL; http://www.geocities.com/thailiterature/25-36.htm

(3) นิยะดา เหล่าสุนทร. ศาสตราจารย์ ดร. เอกสารเพื่อการประกอบการบรรยายเรื่อง "แนวคิดใหม่ในการศึกษาวรรณคดีโบราณ"  ในการประชุมวิชาการเรื่อง มิติใหม่ของวรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา ซึ่งภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิมพ์เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532

(4.) บางขุนเทียน-วิกิพีเดีย. [cited 2008 March 27]. Available from: URL; http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 

(5) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)  [cited 2009 january 20]. Available from: http://www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=01-141&word=%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81

(6) สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช , 2523.

(7) พลิกตำนาน 'นายฮ้อย' นักเลงโตแห่งทุ่งกุลาฯ [cited 2009 january 20]. Available from: http://www.thaiwisdom.org/p_pum/move/move_news/move_pum11.htm

(8) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. [cited 2008 March 27]. Available from: URL;  http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp 

 

(9) ภาพเต่าเทียน-tortoise. [cited 2008 March 27]. Available from: URL; http://www.tortoise.org/images/elong2.jpg
  

(10) ขนมไทยหายาก [cited 2008 October 2]. Available from: URL; http://pakkadteam.212cafe.com/archive/2008-09-06/8207

 

 (11) เทียนอบร่ำขนม. [cited 2008 October 2]. Available from: URL; http://www.blog.eduzones.com/froze/4319

(12) ภาพขนมเทียน. [cited 2008 October 2]. Available from: URL; http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/H2635378/H2635378-9.jpg
 
(13) เรือนไทย 4 ภาค เรือนไทยใต้. [cited 2008 October 2]. Available from: URL; http://www.geocities.com/banthai_varity/rean_south_1.htm 

 

(14) โองการแช่งน้ำ-วิกิซอร์ซ. [cited 2008 March 28]. Available from: URL;
[ http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 

 

(15) อ้างแล้ว โปรดดูข้อ (2.)

 

(16) ประชุมกาพย์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ฉบับโรงพิมพ์โสภณฯ พ.ศ.2464 หน้า 67 ใน จิตร ภูมิศักดิ์ .ภาษาและนิรุกติศาสตร์.--กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล. 2522. หน้า 48  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท