ศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนจริงและไม่ได้แต่ง(โคลง) กำสรวลศรีปราชญ์


บทความเรื่อง ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป?  ผู้เขียนได้ อ้างอิงถึงสำนวน คนดีผีคุ้ม ท่านอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ ผี ไว้ความว่า คำว่า "ผี"  นักมานุษยวิทยาบางคนตีความว่าหมายถึง กฎ ระเบียบ ค่านิยม วัตรปฏิบัติ ข้อห้าม (taboo)

จากทรรศนะดังกล่าว ทำให้ผู้เขียน นึกถึง โคลงที่เชื่อกันว่า ศรีปราชญ์ แต่งเอาไว้เมื่อครั้งต้องพระราชอาญา ถูกลงโทษให้ขุดดินโกยเลน พระสนมนางในพากันมาหัวเราะเยาะเย้ย ศรีปราชญ์ เกิดอาการหมั่นไส้ จึงเอาโคลนและเลนสาดใส่ ส่งผลให้ศรีปราชญ์ถูกคุมตัวไปศาล ศรีปราชญ์ ได้ให้การกับ ตุลาการ เป็นโคลง ไว้ความว่า

 

ผิดผีผียั้งละ                  ลาเพ
ผิดพระราชโปเร            จะล้าง
เหนื่อยนักพักพอเท-       ถูกแม่ กระมังนา
ในพระราชกฤษฎีกาอ้าง  ท่านไว้ ยังไฉน

 

ศรีปราชญ์ เปรียบเทียบการกระทำที่ผิดผี ว่าบางกรณี ผียังให้อภัย (เช่น ความเชื่อที่ว่า ผู้ชายหากล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงบริสุทธิ์ ถือว่าเป็นการกระทำที่ ผิดผี ต้องทำพิธีแต่งงานกันเพื่อขอขมาผีบรรพบุรุษ ผี (บรรพบุรุษ) จึงจะให้อภัย)

ศรีปราชญ์เผลอพลั้งกระทำผิด โดยการ(แกล้ง) สาดโคลนใส่เหล่าพระสนมนางใน ซึ่งเป็นการกระทำฐาน ผิดนางในต้องด้วยกฎมณเฑียรบาล (มีโทษถึงประหารชีวิต)

แต่ในพระราชกฤษฎีกา บัญญัติไว้ว่า (คนเดินให้หลีกคนคอน) คนคอนให้หลีกคนแบก คนแบกให้หลีกคนหาม เกวียนเบาให้หลีกเกวียนหนัก เรือขึ้นให้หลีกเรือล่อง  ศรีปราชญ์แบกหาม ถังใส่โคลน หนักอึ้งอยู่ แต่พวกพระสนมนางใน ไม่หลบหลีก ศรีปราชญ์ ซ้ำยืนหัวเราะเยาะเย้ย ศรีปราชญ์ซึ่งกำลังเดินแบกถังใส่โคลนอันหนักอึ้งมานั้น ด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงเผลอพลั้งทำโคลนในถังหก เทเลอะเทอะเปื้อนกายพระสนมนางใน เหล่านั้น

หากตุลาการ ยกกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยเรื่อง ผิดนางในต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต มาบังคับใช้กับศรีปราชญ์ ก็ย่อมถือว่าศรีปราชญ์มีความผิด แต่หากยึดตาม กฎหมายพระราชกฤษฎีกา ที่บัญญัติไว้ว่า (คนเดินให้หลีกคนคอน) คนคอนให้หลีกคนแบก คนแบกให้หลีกคนหาม เกวียนเบาให้หลีกเกวียนหนัก เรือขึ้นให้หลีกเรือล่อง  ย่อมถือว่าศรีปราชญ์ไม่มีความผิด

ด้วยเหตุนี้ ถ้าท่านตุลาการ ยึดตามกฎมณเฑียรบาล กระนั้นแล้วท่าน ตุลาการ จะนำกฎหมายพระราชกฤษฎีกา ไปบังคับใช้ที่ไหนได้  (ในพระราชกฤษฎีกาอ้าง  ท่านไว้ ยังไฉน) (สมัยก่อน ก็มีความขัดแย้งว่าด้วยเรื่องของกฎหมายเหมือนกัน ฮาๆเอิ๊กๆ)

เนื้อหาในโคลงสี่สุภาพข้างต้น ศรีปราชญ์เขียนเป็นคำให้การต่อ ตุลาการ ผู้ชำระคดี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ศรีปราชญ์ ได้ยก การกระทำที่ผิดผี และการกระทำที่ผิดกฎหมายมาเทียบกัน ได้อย่างคมคายยิ่งนัก ซึ่งสอดคล้องกับทรรศนะที่ท่านอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้เสนอไว้ว่า  คำว่า "ผี"  นักมานุษยวิทยาบางคนตีความว่าหมายถึง กฎ ระเบียบ ค่านิยม วัตรปฏิบัติ ข้อห้าม (taboo) ด้วยประการฉะนี้

ทว่าในปัจจุบันนักวิชาการทางภาษาเชื่อว่าศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนจริงและไม่ได้แต่ง(โคลง) กำสรวลศรีปราชญ์  นะครับฮาๆเอิ๊กๆ  

นักวิชาการอย่างจิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่า กำสรวลศรีปราชญ์ ใช้ภาษาที่เก่ากว่ายุค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะพบความแตกต่างนี้ เมื่อนำ คำ+อักขรวิธี ที่พบในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เทียบกับโคลงที่แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสียดายที่จิตร ภูมิศักดิ์ ด่วนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มิเช่นนั้น เราก็คงจะได้อ่านงานเขียนอันทรงคุณค่าของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าด้วยเรื่อง โคลงกำสรวลศรีปราชญ์

ในส่วนของ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี (นามปากกา พ.ณ ประมวลมารค) พระองค์ได้แสดงทรรศนะ ขึ้นเองแล้วมีคำตอบพร้อมคำอธิบายไว้เรียบร้อยในหนังสือกำสวรศรีปราชญ์-นิราศนรินทร์ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2502) มีเนื้อโดยสรุปดังนี้

1.ศรีปราชญ์ในสมัยพระนารายณ์แต่งกำสรวลหรือเปล่า?
   -ตอบว่า เปล่า เพราะศรีปราชญ์เป็นนิทานไม่มีตัวตนจริงๆ
2. ถ้าเปล่าใครแต่ง
   -ตอบว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงพระราชนิพนธ์
3.แต่งเมื่อไร?
   -ในช่วง 10 ปี ระหว่าง พ.ศ.2025-2034 อาจแต่งในปี 2031


กำสรวลสมุทรหรือกำสรวลศรีปราชญ์เป็นพระราชนิพนธ์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา.สุจิตต์ วงษ์เทศ.,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2549,พิมพ์ครั้งที่ 1 (หน้า 11)

เนื้อหาโดยสรุปของหนังสือ กำสรวลสมุทรหรือกำสรวลศรีปราชญ์เป็นพระราชนิพนธ์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่หน้า 32 ที่ว่า

นานมาแล้วเราเชื่อกันว่าโคลงกำสรวลสมุทรที่มีอยู่นั้น ศรีปราชญ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกวีในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นผู้แต่ง ต่อมาอาจารย์ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เสนอว่าแต่งในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา  พ.ณ ประมวลมารค ทรงคัดค้านทั้งหมดทั้งอ้างข้อพิสูจน์เส้นทางเดิน(เรือ) ของแม่น้ำเจ้าพระยาที่อาจารย์
มานิต วัลลิโภดม เป็นผู้จัดทำและสรุปว่ากำสรวลสมุทรจะต้องแต่งขึ้นก่อนแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชาธิราช

ในทรรศนะส่วนตัวหากพิจารณาตามหลักฐานทางพงศวดาร ที่หนังสือยกมาอ้างก็ชวนทำให้เชื่อได้ว่าในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นไม่ปรากฎว่ามีชื่อ ศรีปราชญ์ ปรากฎอยู่ แต่นักวิชาการบางท่านก็แย้งว่า พงศวดารอาจจะจดคลาดเคลื่อนเช่น

จดหมายเหตุของฝรั่ง Turpin เขียนไว้ใน Turpin’s History of Siam ว่า ”พระมารดาของพระเพทราชา และเป็นพระนมของพระเจ้าอยู่หัว มีลูกอีก 2 คน คือพระเพทราชาและลูกสาวอีกคนหนึ่ง สองคนได้รับการเลี้ยงดูภายในวัง และเป็นเพื่อนเล่นกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ความรู้สึกเกี่ยวกับทั้งการเป็นเพื่อนเล่นคงจะประทับใจ แม้ว่าเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเมตตาต่อเพื่อนเล่นในยามเยาว์วัยเสมอมา ทรงโปรดให้รับลูกสาวแม่นม ผู้มีโฉมงดงามและเป็นที่พอพระราชหฤทัยเข้าไปในวังและทรงรับเป็นพระมเหสีที่โปรดปราน แต่โชคร้าย เธอได้เกิดมีครรภ์กับพระอนุชา (Unfortunately she conceived a guilty pasation for the King’s brother) เมื่อมีการติต่อแบบชู้สาวที่เป็นความลับมานานถูกเปิดเผยขึ้น พระมเหสีผู้ไม่มีความซื่อสัตย์ก็ถูกตัดสินให้เสือกิน” (The faithless wife was condemned to be devoured by tigers) โปรดดูhttp://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=248&filename=country_infor_desc.html?topic_id=248&filename=rashinee7.htm&PHPSESSID=f

นักวิชาการฝ่ายที่เชื่อว่าศรีปราชญ์มีตัวตน ก็แย้งว่า Turpin อาจจะเข้าใจผิดว่า ศรีปราชญ์เป็นพระราชอนุชาของพระเพทราชา ด้วยเพราะตอนที่ศรีปราชญ์ถูกเนรเทศไปยังเมือง นครศรีธรรมราชนั้น กระบวนเรือ ที่คุมขังศรีปราชญ์  มีศักดิ์เทียบเท่ากับกระบวนเรือของพระอนุชาแห่งพระเจ้าแผ่นดินตามกฎมณเฑียรบาล อาจจเป็นเพราะพระเจ้าแผนดินทรงเมตตาศรีปราชญ์ท่านจึงทรงใช้กระบวนเรือเทียบเท่าระดับชั้นเจ้าฟ้า ก็เป็นได้


โดยสรุป

1.จากหลักฐานทางพงศาวดารในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฎชื่อศรีปราชญ์
2.แผนที่เส้นการเดินทาง ทางเรือ เทียบกับสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช พ.ศ.2025-2034  และสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2228-2230 พบว่าเส้นทาง การเดินทางเรือที่ปรากฎในโคลงกำสรวล เป็นเส้นทางการเดินเรือสายเก่า ซึ่งหากโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ ถูกแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจริง เหตุใดผู้แต่งโคลงกำสรวลจะต้องเดินทางอ้อม โดยใช้เส้นทางเก่า
3.
  ภาษาที่ใช้ในโคลงกำสรวลเก่ากว่าในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
4.นักวิชาการที่เห็นว่า โคลงกำสรวลไม่ได้แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีดังนี้
   -หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิวัฒน์
  
-หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี (นามปากกา พ.ณ ประมวลมารค)
   -
จิตร  ภูมิศักดิ์
   -ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์
   -สุจิตต์ วงศ์เทศ
   -มานิต วัลลิโภดม ฯลฯ
5. ถึง ศรีปราชญ์ จะไม่ได้แต่ง โคลงกำสรวล แต่ก็ใช่ว่า ศรีปราชญ์จะไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง ตามทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่า ศรีปราชญ์อาจจะมีชีวิตอยู่จริงในสมัยอยุธยา ในช่วงใดช่วงหนึ่งก็เป็นได้ จึงทำให้มีตำนานเล่าขานมาจนถึงยุคนี้สมัยนี้

หมายเลขบันทึก: 191768เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเยี่ยม คุณกวิน

แต่ทำไม มีล่องรอยของศรีปราชญ์ในเมืองนครศรีธรรมราชนะ ฮิ ฮิ ฮิ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ที่นครศรีฯ มีสระล้างดาบ ใช่มั้ยครับ

ใช่ค่ะ อยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชซึ่งเป็นโรงเรียนที่ดิฉันจบมาค่ะ

  • สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์
  • ขอบคุณครับผมก็รู้แต่ว่า สระล้างดาบอยู่ นครศรีฯ เพิ่งทราบข้อมูลเพิ่ม ขอบคุณครับ

+ หวัดดีค่ะน้องกวิน...

+ ช่วงนี้การจราจรของงานมีแต่ไฟแดงค่ะหาไฟเขียวยากมากค่ะ

+ เลยไม่ได้ชวนแอมแปร์มาเยี่ยมเลยค่ะ

+ แทนล้านความคิดถึงค่ะ

+ รักและคิดถึงค่ะ....แม่อ๋อยและแอมแปร์

  • สวัสดีครับคุณแม่น้องแอมแปร์ (พี่อ๋อย)
  • ช่วงนี้ผมไฟเขียว ไม่ค่อยมีไฟแดง เลยว่างๆ ครับ แต่เดี๋ยวก็ ไฟแดง เหมือนกัน
  • ขอบคุณครับพี่...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท