เรียมร่ำโหยไห้ช้าง ช่ำงือ?


โคลงทวาทศมาศ แต่งเมื่อสมัยอยุธยา

(ทวา=2 ทศ=10 มาศ=เดือน รวมความ ทวาทศมาศ แปลว่า 12 เดือน กวีเขียน โคลงนิราศ ไว้ในลักษณะ Diary ในห้วงเวลา 12 เดือน/1 ปี)

โคลงบทที่ 136.
เดือนดลกรรดึกหล้า         ชลาชล
ชลชลานองเนย               น่านกว้าง
ท่วม มารค นทีจน           ตาฝั่ง
นึกรำฦกไห้ช้าง              ที่หั้นใครเห็น ฯ

-ถึงเดือน กรรดึก [กัน-ดึก] (สก. กฤตฺติกา) น. ชื่อเดือนที่ 12 ตามจันทรคติ เมื่อเดือนเพ็ญใกล้กฤตติกานักษัตรตกในเดือนพฤศจิกายน; ชื่อพระขันทกุมาร. (1) ท้องฟ้าเต็มไปด้วย น้ำ
-น้ำนองเต็มน่านน้ำอันกว้าง
-(นที) น้ำ ท่วม (ชล)มารค จนเต็มถึง ตาฝั่ง/ฝั่ง/ตาหลิ่ง/ตลิ่ง
-รำลึก นึกถึง ใครคนหนึ่ง (นางอันเป็นที่รัก) ร้องไห้คร่ำครวญ เพราะคิดถึงช้าง?/เหมือนช้างร้องไห้?  ณ ที่แห่งนั้น (หั้น) โดยที่ไม่มีใครสังเกตเห็น 

โคลงบทที่ 229.
พระนุชเพ็ญภาคโอ้         เภาพักตร์
มาละฤาไทยเปน               ปั่นคว้าง
นึกในตลาลักษณ์              สุทธโภคย์
แสนกำเดาไห้ช้าง            ช่ำงือ

-(สมเด็จ) พระน้องนางเธอฯ มีพักตร์ อันลำเภา (งาม) โสภาค (งาม)
-มาละทิ้งจากกันไป ดวง ฤาไทย/ฤาทัย/ฤทัย/หฤทัย รู้สึกปั่นป่วนเคว้งคว้าง
-นึกถึงใน ลักษณะอันงดงามของ นางอันเป็นที่รัก
-แสน รุ่มร้อน (กำเดา) ในใจ จนร้องไห้ เพราะคิดถึงช้าง?/เหมือนช้างร้องไห้?  เพราะเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้(ใจ), เป็นโรค(ทางใจ)



กำสรวลสมุทร โคลงดั้น (กำสรวลศรีปราชญ์/นิราศนครศรีธรรมราช) แต่งเมื่อสมัยอยุธยา

โคลงบทที่ 17 
สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง     ควิวแด
สํดอกแดโหยหล                เพื่อให้
จากบางกระจะแล               ลิวโลด
ลิวโลดขวนนน้องไข้           ข่าวตรอม ฯ

-น้ำไหลเสนาะ(ไหลเอื่อยๆ) รู้สึก ควั่งคว้าง (คว่งงคว้งง)  ควิวๆ (หวิวๆ) ในดวงแด
-สํ/(สม) (น้ำหน้า) อยู่ดอกหนา ที่ ดวงแด โหยไห้ โหยหน/หล เพื่อที่จะร่ำไห้/ให้
-จากนางอันเป็นที่รักมาถึง บางกระจะ แลๆ ไป เรือมันก็ล่องไปในน้ำอย่าง ลิ่วๆ โลดๆ
-การลิ่วโลด/ลิวโลด จากนางอันเป็นที่รักมาในครั้งนี้  ทำให้น้อง ขวัญ (ขวัน/ขวนน)  หนีดีฝ่อ (ขวัญเสีย/ขวัญเป็นไข้) รอฟังข่าวคราวของพี่อย่างตรอมตรม
 
โคลงบทที่ 18
จากมาให้ส่งงโกฎ             เกาะรยน
รยมร่ำทั่วเกาะขอม            ช่วยอ้าง
จากมามืดตา วยน             วองว่อง
วองว่องโหยไห้ช้าง-          ชำงือ

-จากมาร่ำไห้ สั่ง (ส่งง) กันเป็นแสนโกฎคำพูด จนถึง เกาะเรียน (รยน)
-เรียม (รยม) (คือตัวฉัน) ร่ำ(ไห้) ไปทั่ว แม้นจะเดินเรือมาถึง เกาะขอม (เกาะขอมช่วยอ้างอิงยืนยันได้)
-จากมา รู้สึก หน้ามืดตาเวียน (วยน) อย่าง วองว่อง/วะว่อง/ว่องไว
-ว่องไว เหลือเกินกับ การโหยหวนร่ำไห้  เพราะ คิดถึงช้าง?/เหมือนช้างร้องไห้?  เพราะเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้(ใจ), เป็นโรค(ทางใจ)


ศัพท์วินิจฉัย

1. ชำงือ/ช่ำงือ ?
2.โหยไห้+ช้าง=โหยไห้ช้าง?



1.ชำงือ (ภาษาโบราณ) เป็นคำกริยาหมายถึง คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น   ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (จาก มหาชาติคําหลวง กัณฐ์ ฉกษัตริย์). (คำเขมร. ชํงื ว่า   ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้). (2)

 




ช้างที่ทรัพย์ไพรวัลย์รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก ด้วยกล้อง สุนีย์ (Sony DSLR-A100) @ สุนทรียสนทนา 1-3 เมษายน 2551 



2.โหยไห้ช้าง?

ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง  น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ช้างมัน ตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆ เรียกว่างวง
มีเขี้ยวใต้งวง เรียกว่างา มีหูมีตา หางยาว

วัดช้างไห้=วัดที่ช้างร้องไห้
ทำไมช้างต้องร้องไห้?

เพราะโดนแมลงหวี่ตอมตาช้าง คนเข้าใจผิดว่าช้างร้องไห้เพราะเสียใจอะไรบางอย่าง ร้องอยู่ได้ทั้งวัน คนเห็นน้ำตาช้างไหลอยู่ตลอดทั้งวัน (ก็แมลงหวีตอมตาช้างอยู่ทั้งวันเหมือนกัน) คนโบราณ จึงเรียกกริยาที่ช้างน้ำตาไหล เพราะแมลงหวีตอมตานี้ เป็นสำนวนว่า
ช้างไห้/ไห้ช้าง คล้ายๆ กรณีที่พูดว่า ร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า (ร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด/ร้องไห้ทั้งวัน)

ไม่ก็สำนวน ไห้ช้าง/ช้างไห้ นี้อาจจะนำมาจาก เหตุการณ์ใดเหตการณ์หนึ่งในชาดก? เพราะคนไทยผูกพันธ์อยู่กับนิทานชาดก หรือเทพปกรณัม ยกตัวอย่างเช่นสำนวน 18 มงกุฏ (หมายถึง มีความเก่งกาจกล้าหาญ) (ลิง 18 ตน ซึ่งเป็นทหารของพระราม ในรามเกียรติ์  ผู้ที่มีความเก่งกาจ มีอิทธิฤทธิ์มาก (ต่อมานักเลงในบ่อน ใช้ภาพ 18 มงกฎ สักเป็นยันต์ บางคนก็สัก หนุมาน (คลุกฝุ่น) ต่อมาคำว่า 18 มงกุฎ ซึ่งถูกนักเลงในบ่อนนำไปใช้เป็นโลโก้ ก็มีความหมายในเชิงลบ หมายถึง กลุ่มคนที่มีอาชีพต้มตุ๋นหลอกลวงผู้อื่น)

สำหรับชาดกซึ่งเกี่ยวกับช้างร้องไห้ นี้ก็ได้แก่ ฉัททันตชาดก ความว่า ในสมัยดึกดำบรรพ์นานมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง กว้างยาว 52 โยชน์ ลึกราว 12 โยชน์ สระแห่งนี้มีชื่อว่าฉัททันต์ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสระนี้มีต้นไทรใหญ่อยู่ด้านหนึ่ง และทางด้านตะวันตกมีถ้ำทองที่มีชื่อว่า กาญจนคูหา ในครั้งนั้น มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง ชื่อว่า พญาฉัททันต์ ได้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ สระแห่งนี้ เว้นแต่ในฤดูฝนอันเป็นเวลาที่พญาฉัททันต์ หลบฝนเข้าไปอยู่ในกาญจนคูหา ลักษณะของพญาฉัททันต์กล่าวว่า สูงถึง 88 ศอก ยาว 120 ศอก งวงยาว 58 ศอก งาวัดโดยรอบโต50 กำ และมีรัศมี 6 อย่าง จึงได้นามว่า ฉัททันต์ ผิวกายมีสีขาวดั่งสีเงิน งาขาวดั่งเงินยวง งวง หาง และ เล็บแดง สันหลังแดง มีพละกำลัง เดินตั้งแต่เช้าไปไม่ทันสายได้ระยะทางถึง 3,610,350 โยชน์ นับว่าเดินเร็วมากทีเดียว พญาช้างฉัททันต์มีบริวารถึง 8,000 เชือก มีมเหสีชื่อ จุลสุภัททาและมหาสุภัททา เป็นช้างเผือกเหมือนกัน เรื่องราวของพญาช้างฉัททันต์นี้ พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นมาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ในขณะที่เสด็จประทับอยู่ที่เชตุวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี พระองค์ได้ทรงปรารภถึงภิกษุณีสาวรูปหนึ่งซึ่งมาฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง แล้วมีอาการหัวเราะแล้วร้องไห้ พระองค์จึงแย้มพระโอษฐ์ ให้ปรากฏแก่ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นทูลถามถึงสาเหตุ พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าเรื่องราว ดังต่อไปนี้ ภิกษุณีรูปนี้เป็นธิดาของผู้มีตระกูลในเมืองสาวัตถี เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาแล้วได้มาฟังธรรมเทศนาพร้อมภิกษุณีทั้งหลาย สาเหตุที่ภิกษุณีแสดงอาการเช่นนั้นเนื่องจากในขณะที่นางฟังธรรมเทศนา อยู่นั้น นางได้เพ่งดูความสง่างามผุดผ่องของพระพุทธองค์ แล้วระลึกไปถึงชาติก่อนๆ ว่านางเคยเป็น บาทบริจาริกาของมหาบุรุษนี้หรือไม่ ก็ระลึกได้ว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เป็นช้างฉัททันต์ นางเคยเป็นคู่ครองของพญาช้าง ก็บังเกิดความปิติยินดียิ่งจนไม่อาจสะกดไว้ได้ ถึงกับหัวเราะออกมาดังๆ แต่ครั้นมาหวนคิดได้ว่าอีกชาติหนึ่งนางเคยใช้ให้นายพรานโสณุดร ยิงพญาช้างด้วยลูกศรอาบยาพิษ พร้อมทั้งให้ตัดงาอันมีรัศมี 6 สี ทั้งคู่มาให้นางจนเป็นเหตุให้พญาช้างสิ้นชีวิตลง เพราะความอาฆาตของนาง นางจึงบังเกิดความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ไม่อาจกลั้นความเศร้าโศกไว้ได้ ถึงกับสะอื้นไห้ออกมาดังๆ (3)


ในสมัยก่อนคนโบราณใช้ช้างเป็นพาหนะ (ในหมู่เจ้านาย) คนธรรมดา ไม่นิยมเลี้ยงช้าง คงมีในบางพื้นที่ที่มีความจำเป็นเช่น เลี้ยงช้างไว้ใช้ลากซุง ในที่สุดเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป คนกับ ช้าง จึงค่อยๆ เหินห่างกัน สำนวนที่ว่า โหยไห้ช้าง/ไห้ช้าง/ช้างไห้ นี้ก็จึงค่อยๆ เลือนหายไปด้วยในที่สุด จะมีเหลือเค้าไว้บ้างก็ใน วรรณคดีเก่าอย่างเช่น โคลงทวาทศมาศ โคลงกำสรวลสมุทร เป็นต้น  (มั่วนิ่มสิ้นดี)

พุทธองค์ทรงตรัสว่า

ปิยโต  ชายเต  โสโก        ปิยโต  ชายเต  ภยํ
ปิยโต  วิปฺปมุตฺตสฺส           นตฺถิ  โสโก  กุโต  ภยํ ฯ

ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีความเศร้าโศก (โหยไห้ช้าง) ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีภัย
เมือไม่มีความรักเสียแล้ว          ความเศร้าโศก (โหยไห้ช้าง) และภัยก็ไม่มี.

From the beloved springs grief
From he beloved springs  fear
For him who is free from the beloved
There is neither grief nor fear
(4)
 

ปล.อ่านมาตั้งนาน จริงๆ แล้วคำว่า โหมไห้ช้าง แปลว่า ร้องไห้แบบไม่มีเสียง (มีแต่น้ำตาที่ไหลพรากๆ แบบช้างร้องไห้เพราะแมลงหวีตอมตานั่นเอง)

อ้างอิง

(1) พจนานุกรม ไทย-ไทย [cited 2008 November 28]. Available from: http://guru.sanook.com/dictionary/dict_tt/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%81/

(2) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 [cited 2008 November 28]. Available from: http://rirs3.royin.go.th/word8/word-8-a2.asp

(3) ช้างในพุทธศาสนา.  [cited 2008 December 1]. Available from: http://www.dmc.tv/forum/lofiversion/index.php/t3724.html

(4) พุทธพจน์หมวดความรัก AFFECTIONS [cited 2008 November 28]. Available from: http://www.geocities.com/moralcamp/d16.html

หมายเลขบันทึก: 226016เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

เพลงประกอบน่ารักมากๆ ค่ะ

ขอบคุณๆ แจ๋ว jaewjingjing ครับ วันนี้ดีใจที่ได้เห็นคุณแจ๋วมาเยี่ยม ทีแรกว่าจะไม่เขียนอะไรต่อ แต่พอดี นึกถึง ช้าง นึกถึง โคลงสมัยอยุธา ก็เลยมาเขียนสักหน่อย ไม่เห็นค่อยมีใครเขียน หรือเราไม่รู้ว่ามีคนเขาเขียนเกี่ยวกับเรื่อง ช้างไห้ เอาไว้

สวัสดีครับคุณกวีเทวดา นามว่ากวิน

ไปบ้านท่านศิวกานต์ อ่านดอกสร้อย

แล้วแวะมาเติมกับโคลงทวา ทศมาศครับท่าน

(อารมย์ประมาณนักดี่มยามดึกดื่น เมาจากร้านเหล้า มาเข้าคาราโอเกะ)ต่อครับ

สวัสดีคะ

  • ไม่อยากโหยไห้เลยคะ โหยหา ก็ดูเดียวดายจัง
  • โหยไห้ โหยหา ในหน้าหนาว .... หว๊า
  • บ่นอะไรนี่ ^^"

ขอบคุณ บังหีม--ผู้เฒ่าnatachoei-- ที่เข้ามาเสพย์ซร้องวรรณศิลป์ ครับ

ขอบคุณคุณ nattapach เดี๋ยวส่งช้างในภาพไปให้เลี้ยงหนึ่งเชือก นะครับจะได้ไม่เดียวดาย

พี่นุสกำลังชำงือ(หวัด)งอมแงม...ปวดกระบอกตา ตาแฉะรึเปล่าไม่รู้..

เพลงช้าง...เคยฟังเมื่อครั้งกระโน้น..

แถวบ้านจะพบเห็นช้างเล็กๆไม่มีงาน่าสงสารมาเดินเร่ร่อนไปมาตามถนนร้อนๆไม่อยากเห็นค่ะ...ทำใจไม่ได้เหมือนเห็นคนใช้แรงงานเด็กยังไง..ยังงั้น....

ขอให้หายป่วยไวๆ นะครับพี่นุส สมัยก่อนช้างเป็นสัตว์ที่ใช้ในการรบ เป็นพาหนะของพระราชา สมัยนี้ช้างมีไว้ใช้รากซุง ไม่ก็อยู่ตามสวนสัตว์ หากพิจารณาดีๆ ก็จะเห็น หลักไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างมันไม่เที่ยงจริงๆ หนอๆ สมัยก่อน ช้างทรง ของพระเจ้าแผ่นดิน เช่นช้างทรงของ พระบาทสมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช (นเรศวร)ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ให้เป็นถึง เจ้าพระยาไชยานุภาพ รบเคียงบ่าเคียงไหล่ กะพระเจ้าแผ่นดินกอบกู้อิสรภาพให้ประเทศไทยสำเร็จ ดูซิดู อนุชนรุ่นหลังตอบแทนสัตว์ผู้มีพระคุณของประเทศเยี่ยงนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท