ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค


สืบเนื่องจากบันทึก กลอนสวัสดีปีฉลู โดยลุงเวทย์ พี่ชิว  (ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ) ได้สอบถามเอาไว้ว่า

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ  : สวัสดีครับ กวิน แวะมาอ่านกลอนวัวครับ เคยอ่านเจอในหนังสือของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ว่า โค = cow รากศัพท์เดียวกัน (Proto-Indo-European) ส่วน วัว = .... (ภาษาอะไร?)

 

คำว่า โค แผลง โอ เป็น อุ จะได้ว่า คุ
คุ แผลง อุ เป็น ว จะได้ว่า คว(ะ)
คว(ะ) แผลง อะ เป็น อา จะได้ว่า คาว(ะ)=Cow
คาว(ะ)=Cow  ทำให้เป็น อิตถีลึงค์ (แสดงสถานะของคำว่าเป็นเพศหญิง ในทางไวยากรณ์) จะได้ว่า คาวี

ยกตัวอย่างเช่นนิทานเรื่อง (พ)หลวิชัยคาวี (และแต่งไว้เป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์โดย พ่อของศรีปราชญ์? (ถ้าศรีปราชญ์มีตัวตนจริง) พ่อของศรีปราช์ก็คือ พระมหาราชครู (พรหมณ์ปุโรหิต ประจำราชสำนัก) โดยใช้ชื่อคำประพันธ์ว่า เสือโคคำฉันท์ แต่งขึ้นในสมัยอยุธยา) จากชื่อเรื่อง เรื่อง (พ)หลวิชัยคาวี ก็น่าจะเดาได้ว่า พหลวิชัย คือ เสือ และคาวี ก็คือ โค นิทานเรื่อง เสือโคคำฉันท์/(พ)หลวิชัยคาวี  เรื่องย่อมีอยู่ว่า


มีเสือแม่ลูกอ่อนออกไปหากินในป่าเพลินจนลืมลูกเสือที่อยู่ในถ้ำ ลูกเสือหิวมากออกเดินตามหาแม่แต่ก็ไม่พบ ลูกเสือเจอแม่วัวจึงขอนมแม่วัวกิน แม่วัวสงสารให้กินนมแล้วพาไปที่อยู่ เลี้ยงลูกเสือคู่กับลูกวัวของตน ลูกเสือกับลูกวัวก็รักกันเหมือนพี่น้อง   วันหนึ่งแม่เสือกลับมาตามหาลูก พบลูกเสืออยู่กับแม่วัว ลูกเสือชวนแม่เสืออยู่ด้วยกันกับแม่วัว แม่เสือแสร้งทำเป็นใจดีอยู่กับแม่วัว แต่เวลาออกไปหากินจะไปกันคนละทิศ   วันหนึ่งแม่เสือแอบไปดักกินแม่วัว ลูกวัวไม่เห็นแม่กลับมาก็ออกตามหา ลูกเสือก็ตามลูกวัามา แม่เสือเห็นลูกวัวก็ตรงเข้ากัดกิน ลูกเสือโกรธมากที่แม่จะกินลูกวัว จึงโดดเข้าไปกัดแม่เสือจนแม่เสือตาย (1) ลูกเสือกับลูกวัวจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปในป่า วันหนึ่งไปถึงอาศรมฤษี ฤษีแปลกใจมากที่สัตว์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน จึงมีจิตเมตตาชุบชีวิตลูกเสือลูกวัวให้เป็นคน และตั้งชื่อลูกเสือว่า (พ)หลวิชัย ลูกวัวชื่อ คาวี หลวิชัยกับคาวีก็เรียนศิลปวิทยากับฤษีจนเติบโต เมื่อมีอายูพอสมควรแล้ว หลวิชัยกับคาวีก็ขอลาพระฤษีไปเผชิญโชค ฤษีให้พระขรรค์วิเศษที่บรรจุหัวใจของหลวิชัยกับคาวี
          หลวิชัย คาวี เดินทางไปได้พักหนึ่งถึงทางแยก หลวิชัยจึงบอกกับคาวีว่า " เราแยกทางกันตรงนี้ เจ้าไปทิศเหนือ พี่ไปทิศใต้ แล้วอีกสามเดือนเรามาพบกันที่นี่ "    คาวีเดินทางไปถึงเมืองร้างแห่งหนึ่ง ร้านรวงต่าง ๆ ยังมีข้าวของแต่ไม่มีผู้คน คาวีเข้าไปในพระราชวังก็ไม่เห็นคนสักคนเดียว จึงเข้าไปในครัวแล้วก่อไฟขึ้นเพื่อจะหุงหาอาหาร ทันใดนั้นมีกลุ่มนกอินทรียักษ์บินมาจนท้องฟ้ามืดมิด กลุ่มนกอินทรีบินจะมาจิกกินคาวี คาวีใช้พระขรรค์ต่อสู้และฆ่านกอินทรียักษ์ตายเกือบหมด นกที่เหลือก็บินหนีไป คาวีจึกเดินสำรวจพระราชวัง เห็นกลองใบใหญ่ พอเดินเข้าไปใกล้ได้ยินเสียงหญิงสาวร้องว่า " ช่วยเราด้วย ช่วยเราด้วย " คาวีใช้พระขรรค์กรีดหนังกลองก็พบพระราชธิดาชื่อ พระนางจันทร์สุดา คาวีจึงอภิเษกกับนางจันทร์สุดา ผู้คนที่หลบหนีไปเพราะกลัวนกก็อพยพกลับมาอยู่ที่เมือง บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม
          วันหนึ่งพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำ ผมของนางซึ่งมีกลิ่นหอมร่วง พระนางจึงใส่ ผอบ (อ่านว่า ผะ-อบ) ลอยน้ำไป ต่อมามีคนนำผอบผมหอมไปถวาย ท้าวสัณนุราช ท้าวสัณนุราชก็อยากทราบว่าผมนี้เป็นของผู้ใด จึงมีประกาศป่าวร้องว่าถ้าใครรู้จักจะให้รางวัล ยายเฒ่าทัดประสาด ซึ่งเคยเป็นพี่เลี้ยงของนางจันทร์สุดาก็รีบไปเข้าเฝ้าท้าวสัณนุราช แล้วบอกว่าเป็นเส้นผมของพระนางจันทร์สุดา ท้าวสัณนุราชจึงบอกให้ยายเฒ่าทัดประสาดหาทางนำนางมา แล้วก็ให้เงินทองแก่ยายเฒ่าเป็นอันมาก ยายเฒ่ารีบกลับไปที่เมือง แล้วทำทีเป็นขออยู่กับพระนางจันทร์สุดา แล้วก็ยุยงพระนางว่าคาวีคงมิได้ไว้ใจพระนางจันทร์สุดาจึงได้พกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา พระนางจันทร์สุดาก็มีจิตใจไหวหวั่นหลงเชื่อ จึงถามคาวีว่าทำไมคาวีจึงต้องพกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา ควีจึงบอกความลับว่า เพราะหัวใจคาวีอยู่ที่พระขรรค์ ถ้าใครนำพระขรรค์ไปเผาไฟ คาวีก็จะตาย ด้วยเหตุนี้จึงต้องพกพระขรรค์ติดตัวตลอดเวลา พระนางจันทร์สุดาเมื่อได้ทราบเช่นนั้นก็หายแคลงใจ และได้นำความไปเล่าให้ยายเฒ่าฟัง ลืมไปว่าเรื่องนี้เป็นความลับยิ่ง ยายเฒ่าได้ฟังจึงเกิดความคิด และชวนให้คาวีกับพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำที่ชายทะเล คาวีและพระนางจันทร์สุดาถอดเครื่องทรงรวมทั้งพระขรรค์ให้ยายเฒ่าเก็บรักษา ยายเฒ่าได้ทีนำพระขรรค์ไปเผาไฟ คาวีกำลังว่ายน้ำเล่นก็รู้สึกร้อนจึงรีบชวนนางจันทร์สุดาว่ายกลับเข้าฝั่ง พอถึงชายหาดคาวีเห็นยายเฒ่ากำลังเผาพระขรรค์อยู่ ก็นึกโกรธที่พระนางจันทร์สุดาไม่รักษาความลับ แต่ยังไม่ทันพูดคาวีก็ล้มลงสิ้นสติ พระนางจันทร์สุดาตกพระทัยมากได้แต่ร่ำไห้กอดร่างคาวี ยายเฒ่าจึงรีบให้ทหารของท้าวสัณนุราชนำพระนางจันทร์สุดาไปถวายท้าวสัณนุราช
          ฝ่าย (พ)หลวิชัย เมื่อครบกำหนดวันนัดก็มาพบคาวีที่ทางแยก คอยอยู่ทั้งวันไม่เห็นคาวีมาจึงตัดสินใจเดินทางมาที่เมืองพระนางจันทร์สุดา ระหว่างทางเห็นกองไฟและพระขรรค์ของคาวีอยู่ในกองไฟก็รีบนำพระขรรค์ออกมา และพบคาวีนอนสิ้นสติก็ช่วยแก้ไขจนฟื้น เมื่อทราบเรื่องราวทั้งหมดหลวิชัยก็ชวนคาวีไปตามพระนางจันทร์สุดาที่เมืองท้าวสัณนุราช
          ที่เมืองท้าวสัณนุราชกำลังมีประกาศให้คนที่มีวิชาอาคมไปช่วยชุบท้าวสัณนุราชให้เป็นหนุ่ม (เพื่อจะได้มีเมียสาว) เพราะพระนางจันทร์สุดาไม่ยอมรับรักท้าวสัณนุราช (พ)หลวิชัย จึงแต่งกายปลอมเป็น ฤษี เข้ารับอาสาจะชุบท้าวสัณนุราชให้เป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชดีใจมาก (พ)หลวิชัย จึงสั่งให้ขุดหลุมลึกแล้วกั้นม่านเจ็ดชั้น ที่หลุมนั้นสุมไฟไว้ หลวิชัยให้ท้าวสัณนุราชโดดลงไปที่กองไฟนั้น ด้วยความที่อยากเป็นหนุ่ม ท้าวสัณนุราชก็กระโดดลงไปในกองไฟสิ้นชีวิต (พ)หลวิชัย ก็นำคาวีออกมา ทุกคนก็เข้าใจว่าเป็นท้าวสัณนุราชชุบตัวกลายเป็นคนหนุ่มแล้วก็โห่ร้องดีใจ และจัดอภิเษกท้าวสัณนุราชหรือคาวีกับพระนางจันทร์สุดา ส่วนยายเฒ่าเมื่อเห็นดังนั้นก็เกิดความกลัวรีบหลบหนีไป (พ)หลวิชัย เมื่อเห็นคาวีปลอดภัยแล้วก็ลาคาวีและพระนางจันทร์สุดาเดินทางต่อไป คาวีและพระนางจันทร์สุดาก็อยู่ครองเมืองทั้งสองด้วยความสุข (2)


โปรดติดตามตอนต่อไป  » ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค ตอนที่ฉอง เอ้ย สอง


อ้างอิง

(1) ในนิทาน (พ)หลวิชัยคาวี มี ปมเอดิปัส (Oedipus complex) ปรากฎอยู่ด้วย โปรดอ่านเพิ่มเติมใน กวิน (นามแฝง).  จุดจบของ คุณแม่ใจยักษ์ แต่แสนที่จะรักลูก  [cited 2009 january 23]. Available from: http://gotoknow.org/blog/kelvin/232392
 
 

(2) นิทานสยาม (เรื่อง หลวิชัยคาวี). [cited 2009 january 7]. Available from:
http://www.siamtower.com/tale/kavee.html

หมายเลขบันทึก: 233982เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณกวิน.. สนุกดีครับ อ่านจบแล้ว รออ่านตอนต่อไปครับ

สวัสดีครับอาจารย์ เอกราช เข้ามาแก้ไขนิดนึงว่า เสือโคคำฉันท์ พระมหาราชครูเป็นคนแต่ง ครับ

 สวัสดีค่ะ

* ฝากกลองมาร่วมจินตนาการถึงนางจันทร์สุดาค่ะ

* เสียงใครร้องให้ช่วยอยู่ในนี้นะ

Sdc17981

                    เร็วช่วยกันค่ะ....                Sdc17982

ขอบพระคุณมากๆ ครับ คุณพี่อาจารย์พรรณา กลองขนาดนี้นางจันทรสุดา เข้าไปอยู่ได้จริงๆ

สวัสดีคุณกวิน

ยาวจัง อ่านแล้วตาลายหน่อย ๆ อิ อิ...

แวะมาเยี่ยม สบายดีนะครับ

อากาศเย็น ๆ ระวังเป็นหวัด   หนาวใจ...

บายครับ

เก็บดอกนี้มาฝาก ไม่เป็นสีแดง แต่คล้าย ๆ นะครับ

Nakornpatom20081010399

สวัสดีค่ะคุณกวิน

อ้าว...คุณต้องเพื่อนรัก แอบเอาดอกไม้ของคนไม่มีรากมาแจกหนุ่ม ๆ อีกล่ะ...^_^... ขออนุญาตเจ้าขอยังเนี่ย!!!

คุณกวินสบายดีหรือเปล่าหายไปเลย....ไปเห็นกลอนน่ารัก ของคุณกุหลาบเขียวเลยเอาแซวคุณกวินค่ะ

ขนมชิ้นหนึ่ง 5 บาท

จะไปตลาดเพื่อซื้อขนม

แต่ก็เปลี่ยนใจไปซื้อยาดม

กลัวจะเป็นลม เพราะ...คิดถึงเธอ....

55555 .... เป็นไง...คมไหมค่ะ...^_^...

สวัสดีค่ะ ชอบบันทึกนี้ค่ะ เพราะเคยได้ยินประวัติแต่ลืมรายละเอียด...มีความสุขมาก ๆ นะคะ...เคยอ่านอนุทินของคุณกวินด้วยค่ะ..มีความหมายกินใจมาก...กว่าจะได้คำหนึ่งต้องตกผลึกมาแล้วหลายชั้น...ขอบพระคุณค่ะ แล้วจะแวะมาอ่านเรื่อย ๆ ค่ะ

  • สวัสดีคุณ ต้อง (Must) ยังมีต่อยาวกว่านี้แต่กำลังหาข้อมูลอยู่ครับขอบคุณที่แวะมาอ่าน และนำภาพดอกไม้ มาฝากนะครับ
  • สวัสดีครับ คนไม่มีราก ขอบคุณกลอนจากคุณ กุหลาบเขียว ที่ว่า
  • ขนมชิ้นหนึ่ง 5 บาท           จะไปตลาดเพื่อซื้อขนม
    แต่ก็เปลี่ยนใจไปซื้อยาดม   กลัวจะเป็นลม เพราะคิดถึงเธอ

  • เป็นกลอนที่มีโวหารภาพพจน์ดีอ่านแล้ว อมยิ้ม ขอบคุณมากๆ ครับ

  • สวัสดีครับคุณ Sila Phu-Chaya ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ อย่าอ่านมากนะครับ อนุทินของกวิน เพราะจะเสียสุขภาพจิตได้ :)

คุณกวิน

ส่งภาพปริศนาธรรมมาให้ค่ะ....ดูแล้วเห็นอะไร..^_^..

เห็นต้นหูกวาง มีใบแก่ กับใบอ่อน ครับ คนไม่มีราก   หมายถึงอะไร..

ความเหมือนที่แตกต่าง?

สรรพสิ่ง ล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป? สังขาร

ความสวยงามของธรรมชาติ

ใบไม้ เวลาแก่ คนชอบ

คน เวลาแก่ ทำไมคนด้วยกันไม่ค่อยชอบละครับ?

ลืมไปว่ามา ทักทายคุณกวิน ดันไปตอบคำถาม คนไม่มีราก

ครับ

สวัสดีครับ

"งัว" เป็นคำไทยลาวหลายถิ่นครับ น่าจะเป็นคำร่วมโบราณ

ในโองการแช่งน้ำฉบับตัวเฉียงพราหมณ์ ก็เขียน "งัว"

  •  ขอบคุณคุณ PASSAKORN TUAPRAKHON ครับ ใบหูกวาง ตอนแก่ คนที่ไม่ชอบคือ คนกวาดถนน นะครับ :)
  •  ขอบคุณ อาจารย์ ธ.วั ช ชั ย ครับ กำลังหาข้อมูลพอดี เรื่องคำว่า งัว ส่วนตัวกำลัง คิดว่า งัว เพี้ยน เป็น วัว
  • และ งัว เพี้ยนมาจาก โค ถ้าอาจารย์มี เอกสาร อ้างถึงคำว่า งัว ก็นำมาบอกกันบ้างนะครับ 

ส่วนตัวผมคิดว่า "งัว" เป็นภาษาเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท(Tai)นะครับ หลายเผ่าออกเสียงเป็น "งัว" หลายเผ่าออกเสียงเป็น "โง" ส่วนในชั้นหลังจึงจะอ่านว่า "วัว" นั้นมีที่มาอย่างไรไม่ทราบแน่ มีคนเขียนในบล็อกผมบอกว่าคนสุพรรณออกเสียงเป็น "งัว" ภาษาเดิมซึ่งปัจจุบันพบในภาษาเหนือ ภาษาอีสานและภาษาพายับนั้นมักเก็บคำไทยโบราณไว้และใช้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นในภาคภาษาถิ่นดังกล่าวมักออกเสียงเป็น "งัว" ซึ่งอากเพี้ยนเป็นวัวในปัจจุบันก็ย่อมเป็นได้ แต่ทางที่ดีผมว่าควรให้

นักภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อธิบายจะได้เข้าใจมากกว่าแน่ครับ

ขอบคุณอาจารย์ พิมล ครับ มีประโยชน์มากๆ

อ่านแล้วสนุกมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มันจบแล้วหรือค่ะ

ทำไมไม่เขียนให้จบล่ะ

หลวิชัยไม่มีภรรยาเหรอ

เซ็ง

จริง

จริง

ขอบคุณคุณ ไข้มุก(ราณี) และคุณ ศศิ ครับ

คุณศศิ คิดเหมือนกวิน แต่นิทานจบแค่นี้ครับ

หลวิชัย คาวี ดครเป็นคนแสดงหรือค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท