ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค ตอนที่ฉอง เอ้ย สอง


สืบเนื่องอนุสนธ์จากบันทึก » ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค

ในหนังสือ บาลีสยามอภิธาน หน้าที่ 102 ของ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคประทีป) อรรถาธิบายคำว่า โค เอาไว้ความว่า โค ปรากฎอยู่ในอยู่ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกาฉบับสิงหล คาถาที่ 181 มีลักษณะเป็น ปุงลึงค์ แปลว่า วัวตัวผู้  ถ้าเป็น อิตถีลึงค์ แปลว่า แผ่นดิน  (1)  (คนไทย เชื่อว่าแผ่นดินเป็นเพศหญิง จึงเรียกเทพเจ้าประจำแผ่นดินว่า แม่ธรณี)

สมมุติฐาน : คร่าวๆ (2)

คำว่า วัว มาจาก   โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว เทียบกับ คำที่ออกเสียง คอ ซึ่งมีความหมาย พ้องกับคำที่ออกเสียง งอ โดยพจนานุกรมไทยฉบับ มานิต มานิตเจริญ,  (3) อาทิเช่น

โค้ง » โง้ง (หน้า 242) 

ไค้ »  ไง้ (หน้า 242) 

เคอะ »เงอะ (หน้า 240) 

คว่ำ/ขว้ำ » ง้ำ (หน้า 239) 

ค้อม » ง้อม (หน้า 237) 

แคะ » แงะ (หน้า ?) 
    
ศาสตราจารย์ ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ได้นำเสนอ หลัก การเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (Internal change) ซึ่งรวมถึงเสียงพยัญชนะด้วย ไว้ในหนังสือ ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น  หน้า 148 ความว่า  เป็นการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะเช่น เข้ามาเถอะ เป็น เข้ามาเหอะ เป็นการจาก ถ มาเป็น ห คึก กลายเป็น ฮึก เป็นการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะจาก ค เป็น ฮ ข้างนอก เป็น หั้งนอก เป็นการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ข มาเป็น ห ทั้งสามกรณีเป็นการลดส่วนของเสียงพยัญชนะเหลือไว้แต่เสียง ธนิต (4)

ฉะนั้น
 คำว่า โค(ว)  เมื่อเกิดการเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (Internal change) ซึ่งรวมถึงเสียงพยัญชนะด้วย จึงอาจจะเพี้ยนเสียงเป็น โง(ว)  ก็เป็นไปได้ ทว่าถ้าคำว่า โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)  ก็แล้ว งู(ว) ก็ต้องมาจาก โค(ว) ด้วย???

คนโบราณเรียกงูว่าอะไร? เรียกว่า เงี้ยว/เงือก ในลิลิต โองการแช่งน้ำ (สมัยอุยธยา) ใช้คำว่าเงือกในความหมายของงู ความว่า
 
" โอมพระ บรเมศวราย :โอมพระอิศวร
ผาย ผาหลวง อะคร้าว : ผู้ผึ่งผายอยู่ ณ เขา ไกรลาศ (ผาหลวง) อันงดงาม
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก :ขี่วัวเผือกเป็นพาหนะ วัวเผือกนี้ชื่อ อศุภราช
เอาเงือกเกี้ยวข้าง :เอางู ทำเป็นสร้อยสังวาล เกี่ยวกระหวัดที่สีข้าง (5)


และในโคลงโลกนิติ ใช้คำว่า เงี้ยว ในความหมายของ งู ความว่า

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว                 ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม        ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม                พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า                 หว่าดิ้นโดดตาม

 คำแปลของโคลงในบาทแรก
แม่น้ำคดเคี้ยว นกยูงบินอยู่บนฟ้าหลงคิดว่าแม่น้ำเป็น "งูเงี้ยว(เขี้ยวขอ)" ก็เลยบินลงไปจะจิกกิน (นกยูงกินงูเป็นอาหาร) นกยูงจึงจมน้ำตาย (6)
 
อุทธาหรณ์ เสียง งอ (เสียงนาสิก) เช่นคำว่า เงิน โบราณ ออกเสียง ว่า เงือน/เง็น (3) ฯลฯ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 1 ที่เผยแพร่โดยสำนักงานสารนิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง(7) ปรากฎคำว่า เงือน   ที่ว่า 

เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้า เงือน ค้าทองค้า





<p>จะสังเกตได้ว่า เสียง งอ นี้ มีการเพี้ยนเสียงในหลายๆ คำ เช่นคำว่า เงิน เพี้ยนเป็น เง็น/เงือน เป็นไปได้ว่า คำว่า งัว ก็ต้องมาจาก การเพี้ยนเสียง และมีแนวโน้มที่จะเพี้ยนเสียงไปเป็นเสียงอื่น ตามลำดับ
</p>
<p>ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 1 ที่เผยแพร่โดยสำนักงานสารนิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งกล่าวถึงคำวัว (ววว) นี้ สอดคล้องกับ ศาสตราจารย์ สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์  ซึ่งอรรถาธิบายไว้ในหนังสือ บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย ว่า คำว่า  วัว เขียน ตามอักขรวิธี สมัยโบราณว่า ววว   (8)  
</p>


จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เราจึงพอที่จะอนุมานได้ว่า คำว่า วัว นี้มีใช้มาตั้งแต่สมัย สุโขไทย และถ้าเขียนว่า งัว ก็ย่อมเขียนว่า งวว อนึ่ง คำว่า เงือน ได้เพี้ยนเป็น เงิน ไปเรียบร้อยแล้วในสมัยปัจจุบัน

คำว่า งัว/วัว นี้ ในด้าน คติชนวิทยา (folklore studies) นั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน คติชนวิทยา  แห่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร ไอ้อรรถธิบายเกี่ยวกับเรื่องคติชนวิทยาไว้ความว่า เฒ่าหัวงู แยกได้เป็น เฒ่า และหัวงู คำว่าเฒ่า ไม่จำเป็นต้องหาความหมาย ส่วนคำว่า หัวงู เป็นคำที่ชวนสงสัย หัวงู เป็นคำผวนมาจาก หูงัว ถึงตอนนี้จำจะต้องย้อนกลับไปถึงปริศนาของศรีธนญชัยที่ว่า อะไรเอ่ย รีรีเหมือนใบพลูมีรูตรงกลางข้าง ๆ มีขน  คำตอบ ของปริศนานี้ คือ หูงัว แต่ความหมายเทียบเคียงของ หูงัว คืออะไรก็พอจะทราบกันอยู่ ถ้าไม่ทราบก็คงไม่ใช่ผู้มีธุรกิจทางคติชนวิทยา เฒ่าหูงัว ผวนแล้วเป็น  เฒ่าหัวงู   ถูกใช้ในเชิงความหมายเทียบเคียง (9)จะเห็นได้ว่าในด้าน คติชานวิทยา  ชาวบ้าน นิยมออกเสียงคำว่า วัว เป็น งัว


<p>สำหรับในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 เริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (10)

Oxthaisamkokos2 
รูปโคยนต์ที่ประดิษฐ์โดยจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ตามจินตนาการของชาวเกาหลี (11)
</p>



ในยุคต่อมา จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) สร้าง

โคยนต์ม้ากล ขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5 (12) 


<p>จากประวัติศาสตร์สามก๊ก ทำให้เราทราบว่า คนจีนรู้จัก วัว/โค มาอย่างน้อยๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 และคำว่า วัว (Cow/Ox) ในภาษาจีน ออกเสียงดังนี้ (13) 
</p>
<p>สืบค้นด้วยคำว่า Cow</p> <table border="0" cellpadding="5"><tbody> <tr bgcolor="#87CEEB">

Trad. Simp. Pinyin English

</tr> <tr bgcolor="#ADD8E6">

牯   bullock; cow

</tr> <tr bgcolor="#87CEEB">

母牛   niú cow

</tr> <tr bgcolor="#ADD8E6">

牛   niú ox; cow; bull

</tr> </tbody></table>
<p>สืบค้นด้วยคำว่า Ox
</p> <table border="0" cellpadding="5"><tbody> <tr bgcolor="#87CEEB">

Trad. Simp. Pinyin English

</tr> <tr bgcolor="#ADD8E6">

牛   niú ox; cow; bull

</tr> <tr bgcolor="#87CEEB">

犉   rún ox

</tr> </tbody></table><p> 
แต่เดิมเชื่อว่า ชนชาติลาวกับชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาตั้งแต่โบราณกาล กล่าวคือชนชาติลาวก็เริ่มอธิบายความเป็นมาเริ่มต้นบรรพบุรุษอยู่แถบเทือกเขาอันไต (ประเทศมองโกเลีย) เหมือนกัน (14)

ทว่าจาก รายงานเสวนา : คนไทยเป็นใคร มาจากไหน ในแผนที่ประวัติศาสตร์ (สยาม) ประเทศไทย รองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุ คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวว่า ‘คน (ไทย) อาจจะอยู่ที่นี่ เริ่มต้นที่นี่ไม่ได้มาจากเขาอัลไต’ เพราะ พบส่วนกระโหลก ของออสตราโลพิเธคัส ที่เกาะคา จ.ลำปาง อายุนับแสนปี หรือ พบโฮโมซาเปียนที่ถ้ำลอด จ.แม่ฮ่องสอนอายุ 12,000 ปี และพบอารยธรรมอื่นๆ กระจายไปทั่วในหลายพื้นที่ (15)</p>

ไม่ว่า ไทยจะมาหรือไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต ก็ตาม แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ  ไทยและจีนนั้นมีความสัมพันธ์ กันมาอย่างยาวนาน ฉะนั้น ไทยจึงได้รับ อิทธิพลทางภาษาจีน เข้ามาใช้ในหน่วยคำไทย หลายคำต่อหลายคำ อนึ่งคำว่า งัว/วัว/โค นี้ ไทยก็อาจจะ รับมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้น สมมุติฐานข้อที่สอง (ที่คิดไว้ในใจ) ผู้เขียนเชื่อว่า คำว่า 牛(niú) เสียง น เป็นเสียงในกลุ่มเสียง นาสิก อันได้แก่ ง ญ ณ น ม และคำว่า  牯 ()  ซึ่งแปลว่า วัว  ทั้งจีน และไทย อาจจะรับมาจาก ภาษาบาลี ว่า โค อีกทอดหนึ่ง แล้วต่างคนก็ต่างออกเสียงเพี้ยนไปตามๆ กัน 

อ้างอิง

(1) สารประเสริฐ,พระ (ตรี นาคะประทีป) . บาลีสยามอภิธาน. เอกสารกรมการฝึกหัดครู สำหรับปีหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.2515

(2) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2552 ดูรายการ คนชอบกล ทางช่อง 3 เวลาประมาณ 00.15 แม่ของ คริส แองเจิล (criss angel) พูดว่า "ฉันทนดูไม่ได้ที่จะ เห็น วัวเขาโง้ง ขวิดลูกชาย" ก็จึงมาคิดว่า โง้ง แปลว่าอะไร ถ้า โง้ง แปลว่า โค้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่ ค จะเพี้ยนเป็น ง (เสียงนาสิก) ได้ ฉะนั้นถ้า โค ก็ต้อง เพี้ยนเป็น โง เนื่องจาก เสียง โอ เสมือนมี ว สะกด (โอว) โค จึง ต้องเขียนว่า  โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)

(3) มานิต มานิตเจริญ, พจนานุกรมไทย.--พิมพ์ครั้งที่ 9.--กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2528. ในหน้าที่ 240 แปลคำว่า เง็นว่า เงิน ในหน้าที่ 241 แปลว่าคำ เงือน ว่า เงิน

(4)  อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ต้นธรรม ; 2537.

(5) กวิน (นามแฝง). ดอกทอง  [cited 2009 january 24]. Available from: http://gotoknow.org/blog/kelvin/168214

(6) กวิน (นามแฝง). น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยวยูงตาม [cited 2009 january 24]. Available from: http://gotoknow.org/blog/kelvin/171136

(7) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง   ด้านที่ 1 [cited 2009 january 24]. Available from: http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/srjsd11.htm

(8) สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช , 2523.

(9)  ประจักษ์ สายแสง. แนวคิดบางประการในการศึกษาคติชนวิทยา.เอกสารประกอบการสัมนาวิชาการเรื่อง วัฒนธรรมพื่นบ้านเพชรบุรี วันที่ 10  กันยายน 2533 ณ วิทยาลัยครูเพชรบุรี อ้างใน ชวนกันเป็นขชาวคติชน  [cited 2009 january 24].  Available from: http://www.thai-folksy.com/PSArticle/PS-1-30/a4.html

(10) สามก๊ก
[cited 2009 january 19]. Available from: http://th.wikipedia.org/wiki/สามก๊ก

(11) โคยนต์ของขงเบ้ง [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=7558

(12)  จูกัดเหลียง [cited 2009 january 19]. Available from:  http://th.wikipedia.org/wiki/จูกัดเหลียง

(13) Chinese-English Dictionary. Query Result for "ox" & "cow" [cited 2009 january 21]. Available from: http://www.mandarintools.com/worddict.html

(14) รายงานเสวนา : ‘คนไทยเป็นใคร มาจากไหน ในแผนที่ประวัติศาสตร์ (สยาม) ประเทศไทย’ [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2_print.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9670&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

 (15) ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านช้าง [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=buddha_story&topic=200

คำสำคัญ (Tags): #งัว#วัว#โค
หมายเลขบันทึก: 237029เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2009 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ซินเจียยู่อี่  ซินนี้ฮวดไช้    ครับ

                   

สวัสดีค่ะคุณกวิน

มาอ่านช้าไปหน่อยค่ะ อ่านแล้วทำให้ได้ความรู้ที่คนไม่มีรากไม่ค่อยจะมีเลย....เก่งภาษาไทยจัด...ก็งี้แหละ ..^_^..

ได้ความรู้ไว้อ้างอิงมากมาย ขอคัดลอกไว้นะคะ

แล้วค่อยมาละเลียด นำออกมาใช้ตามกาละเทศะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

มาบอกว่า ได้รับหนังสือ "หิโตปเทศ"และเอกสารแล้ว ด้วยความขอบคุณยิ่งค่ะ

จะพยายามอ่านและทำความเข้าใจกับศัพท์ยาก ๆ ค่ะ ...

  • สวัสดีปีใหม่จีนครับคุณ สิทธิรักษ์
  • ขอบคุณครับคนไม่มีราก คือเป็นสมมติฐานที่ เกิดจากการจินตนาการนะครับ คิดมั่วๆ แล้วก็เอาทฤษฎีมาอธิบายมั่วๆ ถ้าเดาถูกก็ถือว่าฟลุ๊ค นะครับ คนอ่านก็ต้องมีวิจารณญาณพอสมควร ขอบคุณครับ
  • หนังสือ หิโตปเทศ ได้รับแล้วนะครับ ขอให้สนุกกับการอ่านนะครับ

สวัสดีค่ะ

* ครูพรรณา เล็งเห็นแล้วว่าท่านเป็นอาจารย์

* ขอคารวะ มื้อนี้ข้าขอดื่มให้ท่าน ๓ จอก

* เฮง เฮง เฮง  และสุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีครับคุณกวิน

แวะมาทักทายและรายงานตัวว่าขณะนี้สบายดีครับ

ใกล้จะค้นพบโลกของตัวเองแล้ว ตอนนี้ผมไม่ค่อยได้เข้าเน็ตครับ การบ้านเยอะมาก ๆ กิจกรรมที่ไปร่วมก็หลายกิจกรรม ทำให้เวลาหมดไปเร็วมาก ๆ  ๆ  เลยครับ

คุณกวินคงสบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท