หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เรือนลาหู่ : เรือนที่เป็นมากกว่าเรือน (๒)


        “ผมอยากจัดตั้งเครือข่ายชาวบ้าน มาช่วยหน่อยสิ !”

        คำร้องขอจากต้นเสียงบนดอยสูงแถบดอยมูเซอ รอยต่อระหว่าง อ.แม่สอดและ อ.เมือง จ.ตาก ขณะที่ปลายสายอยู่ที่อาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง แถวบางกระปิ กรุงเทพฯ หลังจากพูดจาทักทายกันพอหอมปากหอมคอ

        “จะให้ผมช่วยอย่างไร ?” วีระพงษ์ กังวานนวกุล หน่วยประสานงานองค์กรภาคีและประชาสังคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เอ่ยปากขึ้น

        “ผมนัดเพื่อน ๆ และพ่อเฒ่าชาวลาหู่เกือบยี่สิบคนจากสามหมู่บ้านมาช่วยปลูกบ้าน ผมอยากใช้โอกาสนี้สร้างเครือข่ายชาวลาหู่ในพื้นที่ดอยมูเซอ อยากใช้โอกาสนี้ให้พี่น้องลาหู่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวของตัวเอง อยากให้มาช่วยจัดเวทีให้หน่อย เอาแบบสบาย ๆ ไม่เป็นทางการ...”

        อะเบะผะร่ายความยืดยาว ตอบคำถามและให้เหตุผลที่เชื้อเชิญให้ปลายสายมาร่วมงาน

        “ทำไมไม่ทำเอง...”

        วีระพงษ์ ถามต่อ

        “ผมเป็นคนใน ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งในวง อยากฟัง อยากคุยมากกว่า !!! เอาเหอะน่า มาช่วยหน่อย...ต้องให้ส่งหนังสือเชิญหรือเปล่า ?”

        อะเบะผะยืนยันความตั้งใจ

        “ไม่ต้องก็ได้ ที่ไหน เมื่อไร ?” วีระพงษ์ ถามต่อเมื่อเห็นว่าปฏิเสธลำบาก


เบิ้ม - วีระพงษ์ กังวานนวกุล 

...

 

        เรือนลาหู่ มีสองแบบ แบบแรกเป็นเรือนขนาดเล็ก อีกแบบเป็นเรือนขนาดใหญ่

        เรือนขนาดเล็ก มีเสา ๙ ต้น ปลูกเสา ๓ แถว ๆ ละ ๓ ต้น ตัวบ้านกว้าง ๖ ศอก ยาว ๘ ศอก เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขนดเล็กที่เพิ่งแยกออกมาจากเรือนใหญ่

        สำหรับเรือนขนาดใหญ่ มีเสา ๒๕ ต้น ปลูกเสา ๕ แถว ๆ ละ ๕ ต้น ตัวบ้านกว้าง ๑๕ ศอก ยาว ๒๐ ศอก เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ ที่ลูก ๆ เริ่มโตเป็นหนุ่มสาว ภายในเรือนกั้นเป็นห้องเล็ก ๆ ให้ลูกสาว

        เรือนลาหู่สร้างจำไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัสดุหาได้ในท้องถิ่น

        เครื่องเคราต่าง ๆ เช่น เสา ตง คาน จันทัน แป ฯลฯ ทำมาจากไม้ยืนต้น ส่วนพื้นและฝาใช้ไม้ไผ่สับ (ไม้ฟาก) สำหรับหลังคาใช้หญ้าคา วัสดุยึดใช้ตอกไม่ไผ่

        ตามธรรมเนียมลาหู่ การปลูกสร้างบ้านเรือนจะต้องดำเนินการให้สิ้นสุดภายในหนึ่งวัน เกินกว่านั้นมิได้

        ก่อนจะทำการปลูกสร้างเจ้าของบ้านต้องตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้ครบครัน

        บรรดาไม้เครื่องต่าง ๆ พ่อบ้านจะขอแรงเพื่อนบ้านในหมู่บ้านไปหาตัดไม้ในป่าและขนมากองไว้ ที่ต้องเราแรงเพื่อนบ้านเพราะการตัดไม้จำนวนไม่น้อยนี้ ต้องใช้แรงงานมาก ลำพังพ่อบ้านเพียงลำพังมิอาจดำเนินการให้สำเร็จได้โดยง่าย เนื่องจากในวิถีปกติ ยังมีงานการอื่น ๆ ที่ต้องทำอีก

        สำหรับไม้ฟาก ซึ่งทำจากไม้ไผ่นั้น งานไม่หนักมากนัก พ่อบ้านอาจจะดำเนินการตัดไม้ไผ่ใกล้หมู่บ้านแบกกลับมาบ้านแล้วค่อยสับ ทั้งนี้อาจจะมีเพื่อนบ้านบางคนมาช่วยตัด แบกหรือสับให้

        ส่วนหญ้าคา แม่บ้านจะเป็นผู้ออกไปเกี่ยวหญ้าคาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านมากองเก็บไว้ อาจจะมีการเอาแรงหรือไม่มีก็ได้ เนื่องจากเป็นงานที่ไม่หนักหนามากนัก

        กรณีที่เป็นเรือนหลังใหม่ เจ้าบ้านจะต้องตระเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เพียบพร้อม โดยเฉพาะเหล็กสามขาที่จะใช้เป็นเตาไฟ รวมทั้งเครื่องครัว เครื่องนอนต่าง ๆ

        ก่อนจะปลูกเรือน เจ้าของบ้านต้องไปหารือกับปู่จารย์ เพื่อดูวันที่เหมาะสม เมื่อได้วันแล้วก็ต้องไปไหว้วานเชื่อเชิญเพื่อนบ้านให้มาช่วย ทั้งนี้ต้องมีแรงงานที่มากพอ เนื่องจากเรือนที่จะปลูกใหม่นี้จะต้องให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว

...

หมายเลขบันทึก: 340032เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 05:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตอน ๒ มาแล้วนะครับ

รออ่านตอน ๓ ช่วงสาย ๆ นะครับ

สวัสดีครับย้องหนาน

เห็นเรือน ล่าหู่ แล้ว อยากไปนอนชมจันทร์ จิบชา เสวนาเรื่องราวชีวิต ครับ

คารวะท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

เรือนลาหู่หลังนี้รอการมาเยือนของท่านผู้เฒ่าเสมอครับ
ผมได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการปลูกเรือนหลังนี้ครับ
เรียนรู้ทั้งเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมและน้ำใจผู้คนครับ

วันศุกร์ สุข กับ การเรียนรู้ ครับ

  • มาเยี่ยมชมเรือนลาหู่
  • วิถีชีวิตที่เรียบง่ายล้วนงดงามเสมอ
  • ขอชื่นชมความคิดในเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีแห่งตนที่ทรงคุณค่า

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ JJ 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
แวะไปชมเมฆมาแล้วครับ

 

สวัสดีครับ คุณครูธรรมทิพย์ 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
เรือนลาหู่ให้แง่คิดสอนใจเยอะเลยครับ

รอตามอ่านตอนต่อไปนะครับ

สวัสดีค่ะ

ภูมิปัญญาชาวบ้านหลายๆอย่างกำลังจะสูญไปพร้อมกับอายุขัย

เรียนรู้ไว้ ดีมากๆค่ะ

สืบสานต่อให้ลูกหลานค่ะ

เรือนรัก ลาหู่

สวัสดีค่ะ

  • มีความสงสัย  การสร้างเรือนมากกว่า ๑ วันไม่ได้
  • ตามอ่านอย่างละเอียด  ยังไม่เคยได้รับความรู้นี้ค่ะ

"เตรียมความพร้อมความแกร่งแห่งดวงใจ ไปชมดงดอกไม้ที่ปลายทาง"

สร้างบ้าน สร้างคน สร้างชีวิต

การขนวัสดุบนทางลาดชัน เสมือนเป้าหมายชีวิตที่อุปสรรครอคอยแต่ภาระกิจที่ยิ่งใหญ่กว่านั่นคือ"บ้าน"

ความเชื่อด้วยพลังศรัทธาแม้เส้นทางชันสูงลำบากเพียงใดส่วนประกอบทุกส่วนคือ"บ้าน"

(ถ้าซื้อแล้วผ่อนอย่างเดียว คงไม่ได้อารมณ์นี้นะว่ามั้ย)

ลองหาโอกาสไปช่วยคนงานที่สร้างบ้านให้เราอยู่สักวันสองวันบ้างนะจะได้ผูกจิตผูกพันกับบ้านของเราบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท