หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๓ (จบ) : คนจิตอาสาผู้ขับเคลื่อนชมรมฯ


...อยากเห็นนักศึกษามีบทบาท มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสา อยากให้เขาเรียนรู้ชีวิตจริง เรียนรู้การทำงานจริง ชมรมจะทำให้เขาทำงานเป็น รู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปัญหา รู้จักการแก้ปัญหา ทุกอย่างมันเป็นการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง...”

     อ.ป้อม ที่ พัฒนพงษ์ พูดถึง คือ ผศ.อัศวิณีย์ หวานจริง อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ผู้อยู่เบื้องหลัง คอยให้คำปรึกษาและผลักดันกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม เสมอมา ที่สำคัญเป็นผู้ริ่เริ่มและรับผิดชอบโครงการเรียนรู้ชีวิต ที่เป็นที่มาของการจัดตั้งชมรมเพื่อนผู้พิการ ของคณะวิจิตรศิลป์ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗

     แรงจูงใจสำคัญ ที่ทำให้ ผศ.อัศวิณีย์ หวานจริง อยู่เบื้องหลังและผลักดันกิจกรรมชมรม สืบเนื่องมาจากประสบการณ์นักกิจกรรมเมื่อยังเป็นนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งในช่วงนั้นเคยมีสภาพที่ไม่ต่างกันนักกับเดียวกันกับนักกิจกรรมที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาในยุคปัจจุบัน อยากทำโน่นทำนี่เพื่อประโยชน์แก่สังคมแต่ก็ติดขัดด้วยปัญหามากมาย ทั้งเงื่อนไขภายนอกรวมทั้งขีดความสามารถของตนเอง แต่ก็เชื่อมั่นว่าการทำกิจกรรมจะช่วยเติมเต็มให้กับชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการเรียนรู้ชีวิตและสังคม การเพิ่มพูนประสบการณ์ที่จำเป็นก่อนจะก้าวออกจากมหาวิทยาลัยไปต่อสู้ชีวิต

     “...เมื่อก่อนตอนเป็นนักศึกษาก็เป็นนักกิจกรรม เลยรู้ว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไร อยากจะสนับสนุน  ส่งเสริมให้นักศึกษาที่จะทำกิจกรรมโดยไม่ติดขัด...

     ...การเล่าเรียนอย่างเดียวในมหาวิทยาลัย ไม่ได้ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจชีวิต เพราะการศึกษามุ่งเน้นแต่ความรู้ทางด้านวิชาการ ละเลยความรู้ด้านชีวิต ด้านสุนทรียะ ด้านศาสนา การกระทำหลายอย่างไปทำลายความพากเพียร ความอดทนของนักศึกษา ชีวิตง่ายเกินไปจนแทบไม่ต้องทำอะไร...

     ...อยากเห็นนักศึกษามีบทบาท มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสา อยากให้เขาเรียนรู้ชีวิตจริง เรียนรู้การทำงานจริง ชมรมจะทำให้เขาทำงานเป็น รู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปัญหา รู้จักการแก้ปัญหา ทุกอย่างมันเป็นการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง...”

     แม้ว่าจะผูกพันและมีความคาดหวังกับชมรมเป็นอย่างมาก        แต่เป้าหมายปลายทางหรือความสำเร็จของชมรมก็ไม่สำคัญมากไปกว่ากระบวนการเรียนรู้ในระหว่างทางขณะที่ชมรมฯ ค่อยขับเคลื่อนไป แท้ที่จริงแล้ว ชมรมฯ ที่จัดตั้งขึ้นมานั้น ลึก ๆ แล้วใช้เป็นเงื่อนไขการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาบรรดาสมาชิกชมรม และเพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ผศ.อัศวิณีย์ จึงมีระยะห่างจากชมรมฯ พอสมควร

     “...จะไม่เข้าไปยุ่งทุกเรื่อง โดยมากจะคอยดูอยู่ห่าง ๆ การคิดตัดสินใจทุกอย่างขึ้นอยู่กับพวกเขา เราทำหน้าที่เพียงให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา อยากให้เขาได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน...”

     และได้พูดถึงประธานชมรมฯ ทั้งคนปัจจุบันและอดีตว่า

     “...ป่าน เป็นคนที่มีมุมานะ มีความตั้งใจสูง เด็ดเดี่ยว มีความเป็นตัวของตัวเองสูง...

     ...ส่วน ดอย จะมีลักษณะความเป็นผู้นำสูง มีความเป็นกันเองกับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ มีความสามารถในการจัดการ การประสานงาน การเตรียมงานต่าง ๆ ทำได้ดี...

    

     ดอย – สักก์สีห์  พลสันติกุล เป็นประธานชมรมเพื่อนผู้พิการคนแรก เป็นผู้ผลักดันให้ชมรมฯ เข้าไปสังกัดมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีบทบาทอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการค่ายเพื่อนผู้พิการ จนได้รับการการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านเครือข่ายพุทธิกา ซึ่งเป็นที่มาในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม

     สักก์สีห์ เป็นชาวจังหวัดน่าน ซึมซับงานพัฒนาสังคมและอาสาสมัครมาตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก็เป็นรองประธานนักเรียน เมื่อครั้งมาศึกษาต่อในคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เป็นอาสาสมัครช่วยงานในคณะมาตลอด เข้าไปทำงานในสโมสรนักศึกษาของคณะ ได้รับเลือกเป็นรองนายกสโมสร จนกระทั่งก้าวเข้าไปทำงานในองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัย

     สักก์สีห์ ไม่เพียงได้รับรางวัลนักศึกษายอดเยี่ยมจากคณะวิจิตรศิลป์ และมหาวิทยาลัยแล้ว ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักศึกษารางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อีกด้วย

     แม้ว่าเขาจะสำเร็จการศึกษา และหมดวาระประธานชมรมฯ แล้ว แต่ก็ยังคอยดูแลช่วยเหลือน้อง ๆ ในการทำกิจกรรมอยู่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับ พัฒนพงษ์ ประธานชมรมฯ คนปัจจุบัน ที่จะคอยให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่เป็นไปได้ ในวันที่สมาชิกชมรมและอาสาสมัครทำทางลาด สักก์สีห์ ก็ยังวนเวียนไปช่วยงาน วัสดุก่อสร้างหมด ชมรมไม่มีเงินซื้อ ก็เป็นผู้ไปออกปากขอซื้อเงินเชื่อจากร้านค้า ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 298326เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ค่ายเพื่อนผู้พิการ คอนจบมาแล้วครับ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมนั่งรอเด็กมาเข้าห้องเรียนค่ะ
  • วันนี้ข้าหน่อยเพราะฝนตกหนักค่ะ
  • มีบันทึกข้อมูลเกียวกับเด็กมาฝากค่ะ
  • http://www.krukimpbmind.com/
  • ขอขอบพระคุณสำหรับ..บันทึกนี้ค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้กับ..คนจิตสาธารณะด้วยจริงใจ

สวัสดีครับ พี่ หนานเกียรติ

มาอ่านตอนจบครับ

ชื่นชมและขอเป็นกำลังใจให้ครับ

พี่ ครูคิม ครับ

เข้าไปเยี่ยมบ้านพี่มาแล้ว

พระเจ้าจอร์จ.... มันยอดมาก

พี่อย่าลืม SMS เบอร์โทรศัพท์ให้ผมนะ นะ นะ

did ครับ

ขอบคุณที่ตามมาอ่านจนจบครับ

ผมมีเรื่องเล่าทำนองนี้อีก ติดตามนะครับ

น้องกอครับ สุดสายป่าน

ขอบคุณที่ติดตามอ่าน

ดีใจมากที่ชอบ

มีคนชอบอย่างนี้ เขียนให้ตายยยยยยยเลยยยยยย...

พี่หนานค่ะตามให้ทันนะบ้านครูคิมไปเยี่ยมมานานแล้ว..มีทั้งของสวย ..สาระดี..ผลงานเด่น..อยากมีบ้านแบบนั่นจังนะ..(แต่คงไม่มีเวลาเพิ่มข้อมูลเพราะขยันน้อย)

ครู rinda ครับ

ไม่เป็นไรหรอก ให้แกนำไปก่อน เรื่องการตกแต่ง เอาอะไรวางตรงไหน อย่างไร ผมนี่ไม่เป็นซะเลย ไม่รู้จะมีโอกาสได้ทำบ้างเมื่อไร

 

ภานุวัฒน์ ชมรมเพื่อนผู้พิการ

เมื่อลองอ่านดูแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่

เป็นกิจกรรมที่่ยิ่งใหญ่จริงๆครับ

อ่านแล้วน้ำตาจะไหล

ซาบซึ้งๆ

ภานุวัฒน์ ชมรมเพื่อนผู้พิการ

เมื่อลองอ่านดูแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่

เป็นกิจกรรมที่่ยิ่งใหญ่จริงๆครับ

อ่านแล้วน้ำตาจะไหล

ซาบซึ้งๆ

ขอบคุณคุณภานุวัฒน์ ชมรมเพื่อนผู้พิการ [IP: 222.123.28.76] นะครับ

ที่มาแวะเวียนเยี่ยมชม

ดีใจมากที่ชอบครับ

ก่อนอื่นขอขอบคุณพี่ หนานเกียรติมากเลยนะครับที่เขียนบทความดีๆอย่างนี้ และให้เกียรติเขียนถึงพวกเราอย่างน่าดีใจอย่างยิ่ง ผมพึ่งได้อ่านครับ ไม่นึกว่าจะมีบทความที่เขียนถึงด้วย ดีใจและขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมจบแล้ว มาทำงานที่น่านครับ มีอะไรให้ช่วยเหลือกันก็บอกได้นะครับ ยินดีอย่างยิ่งครับ ขอบคุณอีกครั้งนะครับ อ่ออ เปอร์ผม 0892660458 โทรมาได้เลยคร้าบบ ^^

สวัสดีครับ น้องสักก์สีห์...

30
สักก์สีห์ครับ [IP: 122.154.226.35] 
เมื่อ อ. 20 เม.ย. 2553 @ 16:26 
#1962358 [ ลบ ] 

   
ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านนะครับ 
ผมตั้งใจจะส่งงานเขียนฉบับเต็มของชมให้ด้วย แต่ยังหาจังหวะไม่ได้
ขอบคุณเช่นกันนะครับ ที่ให้โอกาสเข้าไปเรียนรู้งานด้วย...

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท