พระวันวิวาห์ อภิญฺญาโณ ( ไชยปัญหา ) : คนเชื้อสายลาวที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยจนได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรไทย


พระวันวิวาห์ถือเป็นเป็นตัวแทนของอดีตคนไร้รัฐไร้สัญชาติเชื้อสายลาวซึ่งเกิดในประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการขจัดความไร้รัฐโดยรัฐไทยยอมรับบันทึกในทะเบียนราษฎรในฐานะคนต่างด้าวไร้สัญชาติ นอกจากนี้ยังถือเป็นกรณีศึกษาต้นแบบเพื่อการยกร่าง บทบัญญัติมาตรา 23 แห่งพรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

 

----------

บทนำ

----------

กรณีศึกษาของพระวันวิวาห์เป็นกรณีที่ร้องขอความช่วยเหลือมาที่“ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เมื่อต้นปี พ.ศ.2549  และได้เข้ามาเป็นนักเรียนในโครงการห้องเรียนกฎหมายเพื่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติ[1]ภายใต้การดูแลของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์  กาญจนะจิตรา สายสุนทร 

และถือเป็นเป็นตัวแทนของอดีตคนไร้รัฐไร้สัญชาติเชื้อสายลาวซึ่งเกิดในประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการขจัดความไร้รัฐโดยรัฐไทยยอมรับบันทึกในทะเบียนราษฎรในฐานะคนต่างด้าวไร้สัญชาติ นอกจากนี้ยังถือเป็นกรณีศึกษาต้นแบบเพื่อการยกร่าง บทบัญญัติมาตรา 23 แห่งพรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551[2] โดยคณะกรรมาธิการ........แห่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2549

 

----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อเท็จจริงของ พระวันวิวาห์  อภิญฺญาโณ ( ไชยปัญหา ) และครอบครัว

----------------------------------------------------------------------------------------------

พระวันวิวาห์ หรือชื่อตามทะเบียนประวัติลาวอพยพ คือ “นายวันวิวาห์ ไชยปัญหา” เกิดที่บ้านห้วยห้อม ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อ พ.ศ. 2527 เป็นบุตรของนายลำพวน และนางวิไล ไชยปัญหา คนเชื้อสายลาวที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในประเทศไทยนานแล้ว

นายลำพวน เกิดที่บ้านโพธิ์ค้ำ เมืองหินบูน แขวงท่าแขก ประเทศลาว อพยพเข้ามายังประเทศไทยทางอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ.2519 ส่วนนางวิไล เกิดที่บ้านหนองบก เมืองหนองบก แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อ พ.ศ.2509 ต่อมาในปีพ.ศ.2522 เกิดสงครามกลางเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ครอบครัวของนางวิไล จึงได้อพยพเข้ามายังประเทศไทย ทางบ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และได้มาแต่งงานอยู่กินและลงหลักปักฐานกันที่ บ้านเลขที่ 7ล หมู่ที่ ๑ (บ้านห้อม) ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จนกระทั่งมีบุตรชายด้วยกันสองคน คือ พระวันวิวาห์ในปี พ.ศ.2527 และนายสัญญาในปี พ.ศ.2532[3]

เนื่องจากครอบครัวของนายลำพวน และนางวิไล อพยพออกมาจากประเทศลาวในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงไม่มีเอกสารแสดงตนที่ออกให้โดยรัฐบาลลาว และไม่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรลาว ทำให้ทั้งคู่ตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติเชื้อสายลาว ที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศลาวโดยการเกิด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2534 ในช่วงที่รัฐไทยโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองทัพภาคที่ 2 ได้มีนโยบายสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวลาวอพยพเพื่อเยียวยาความไร้รัฐให้แก่คนเชื้อสายลาว ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี เลย นครพนม มุกดาหาร พะเยา อุตรดิตถ์ เชียงราย และน่าน ทำให้ครอบครัวของนายลำพวน และนางวิไล ได้ไปแสดงตนเพื่อรับการสำรวจเช่นเดียวกับคนเชื้อสายลาวคนอื่นๆ และได้รับการบันทึกชื่อในแบบพิมพ์ทะเบียนประวัติลาวอพยพ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๔ นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ครอบครัวไชยปัญญาได้ปรากฎตัวในทะเบียนราษฎรไทย อันเป็นการรับรองว่าบุคคลในครอบครัวมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย เนื่องจากมีภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชนอยู่ในประเทศไทย

ตั้งแต่เด็กพระวันวิวาห์ได้รับการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยมาตลอด จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (เมื่อ พ.ศ.???) จากโรงเรียนบ้านสำราญ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม  แต่ไม่ได้รับหลักฐานแสดงผลการเรียน(ป.05) เนื่องจากทางโรงเรียนให้เหตุผลว่าผู้ปกครองไม่ได้นำเอกสารหลักฐานมาแจ้งเข้าเรียน หลังจากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรและย้ายมาจำพรรษาที่วัด......จ.สกลนคร และขวนขวายส่งตัวเองเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสกลนคร ในปี พ.ศ. 2546

หลังจากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาที่ จ.นครพนม และศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2550 และในปีถัดมาก็ได้สมัครเข้าศึกษาต่อเพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ควบคู่ไปกับการเป็นอาจารย์สอนที่.....

และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พระวันวิวาห์ได้ยื่นแบบคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทยพร้อมด้วยพยานหลักฐาน.......และต่อมาในวันที่ 17 กันยายน 2551 ........(สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม)

--------------------------------------------

ประเด็นการรับการสำรวจโดยรัฐไทย

--------------------------------------------

เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๔ พระวันวิวาห์ได้ปรากฎชื่อในเอกสารทางทะเบียนราษฎรชิ้นแรก ในแบบพิมพ์ทะเบียนประวัติลาวอพยพ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และได้รับการกำหนดเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นด้วย “6” และมีเลขกลุ่มบุคคลเป็นประเภท “90” หรือกลุ่มลาวอพยพ พร้อมทั้งได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านสำหรับคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราว(ท.ร.13) ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา....[4].แห่งพรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 โดยในขณะนั้นยังไม่ได้ถ่ายบัตรประจำตัว เนื่องจากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กฎมายกำหนด????

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

สถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของพระวันวิวาห์  อภิญฺญาโณ ( ไชยปัญหา ) 

---------------------------------------------------------------------------------------------------

ประการแรก ในขณะเกิดพระวันวิวาห์มีสถานะเป็นคนต่างด้าวแต่ด้วยความเป็นมนุษย์จึงได้รับการรับรองศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร[5] ดังนั้น จึงถือได้ว่า พระวันวิวาห์มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ซึ่งความไร้รัฐส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานบางประการได้ เช่น สิทธิในหลักประกันสุขภาพ สิทธิในการเดินทาง(จะต้องขออนุญาตออกนอกพื้นที่) สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน (ไม่อาจเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์, ) สิทธิในการมีใบอนุญาตขับขี่  

ประการที่สอง   มีสถานะเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทย ตามปว.337[6] จึงมีสถานะเป็นคนต่างด้าว

ประการที่สาม   มีสถานะเป็นคนไร้รัฐ เพราะไม่ได้รับการบันทึกตัวบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย

ประการที่สี่   มีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติเพราะไม่ปรากฎว่ามีสัญชาติของรัฐใดเลยเช่นกัน ดังนั้น จึงประสบปัญหาความไร้สัญชาติตั้งแต่เกิดถึงปัจจุบัน

ประการที่ห้า  นับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2534 เป็นต้นมา พระวันวิวาห์มีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎร กล่าวคือ แบบพิมพ์ทะเบียนประวัติลาวอพยพ และมีสิทธิอาศัยชั่วคราวโดยได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.13 ตามมาตรา....แห่งพรบ.ทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 จากเดิมที่มีภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชน ก็ได้รับการรับรองภูมิลำเนาตามกฎหมายเอกชนจากรัฐไทยดังปรากฎชื่อในแบบพิมพ์ทะเบียนประวัติลาวอพยพ และได้รับการรับรองภูมิลำเนาตามกฎหมายมหาชนดังปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.13

ประการที่หก  นับตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา พระวันวิวาห์ถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535  เพราะเกิดในประเทศไทยและไม่มีสัญชาติไทย จึงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งที่เกิดในประเทศไทยเรื่อยมาจนถึง 27/2/2551 วันที่ พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2และ 3) พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ

ประการที่เจ็ด   นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2548 เป็นต้นมา พระวันวิวาห์มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติครม. 18 มกราคม 2548 เพราะเป็นบุตรของชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว(เกินกว่า 10 ปี) จนมีความกลืนกับสังคมไทย(socialization) นอกจากนี้ยังถือเป็นกลุ่มเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติที่เรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้น พระวันวิวาห์ จึงมีสิทธิร้องขอสัญชาติไทย ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.วันที่ 18 มกราคม 2548 นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2548 เป็นต้นมา

ประการที่แปด   นับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551  อันเป็นวันที่ พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา พระวันวิวาห์มีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย ดังนี้

1.  ถึงแม้ว่ายังไม่มีสัญชาติไทย พระวันวิวาห์ก็จะพ้นจากสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยผลของบทบัญญัติมาตรา 22[7] ประกอบกับ มาตรา 7ทวิ วรรคสาม[8]แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 ซึ่งวางหลักไว้ว่าฐานะการอยู่ของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศจะต้องไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงแห่งรัฐ ดังนั้น พระวันวิวาห์จึงไม่อาจถูกส่งออกนอกประเทศ เพราะไม่สามารถพิสูจน์สายสัมพันธ์กับประเทศลาวอันเป็นประเทศต้นทางของบุพการีรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย ได้ และเพราะมีจุดเกาะเกี่ยวกับไทยทั้งฐานะการอยู่ในประเทศไทยก็จะต้องสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและไม่อาจขัดต่อหลักความมั่นคงแห่งรัฐ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ  บุพการรีเป็นคนไร้รัฐ ทำให้พระวันวิวาห์ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทีเกิดในประเทศไทยจีงไม่อาจถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่าจะลงโทษบุคคลในความผิดที่บุคคลนั้นมิได้กระทำไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมากำหนดฐานะการอยู่ในประเทศไทย คนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวจึงยังคงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งที่เกิดในประเทศไทย

ซึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฎว่านับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมากำหนดสถานะการอยู่ในประเทศไทยสำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้พระวันวิวาห์ ซึ่งมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ยังคงถูกถือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายจนถึงทุกวันนี้

2. หากมีพยานหลักฐานมายืนยันจนเชื่อได้ว่าพระวันวิวาห์เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย และไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337  พระวันวิวาห์ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 แห่งแห่งพรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ.2551

(มีต่อ.....การพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย คลิก)

หมายเลขบันทึก: 251000เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.ตั้งชื่อบันทึกนี้ให้ไหมใหม่ค่ะ

อ่านดูนะคะว่า พอใจไหม

และ อ.แหววจะอ้างในงานวิจัยของ อ.แหววด้วย

ถ้าขอแก้ไขอย่างไร บอกมาด้วยนะคะ

            กิติวรญา รัตนมณี, พระวันวิวาห์ อภิญฺญาโณ ( ไชยปัญหา ) : คนเชื้อสายลาวที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยจนได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรไทย, บันทึกภายใต้โครงการศึกษาแนวคิดและวิธีการจัดการประชากรในประเทศไทย, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/kitiwaraya6/251000

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท