ลานหมู่เฮาแข่วดี ที่ขอนแก่น (7) พิธีเปิด ตอนที่ 1 ... เชิญมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ


"เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง"

 

ท่านประธานในพิธีค่ะ นพ.โสภณ เมฆธน กล่าวในช่วงของการเปิดประชุม ซึ่งได้เนื้อหาใจความเยอะมาก ซึ่งดิฉันขอนำมาเผยแพร่ เป็นเรื่อง เป็นตอน สำหรับส่วนที่น่าสนใจนะคะ

ท่านได้กล่าวถึงเรื่องราวที่เตรียมไว้สำหรับการประชุมครั้งนี้ก็คือ

  • วันนี้ เป็นการประชุมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ซึ่งท่านทั้งหลายในที่นี้ก็ล้วนเป็นแกนนำที่เข้มแข็งของการร่วมกันสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ
  • สิ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญที่สุดตลอดมา ก็คือ ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพดี ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ที่จะมีสุขภาพดี แข็งแรง โดยเราได้กำหนดให้มีการส่งเสริมในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของกรมอนามัย ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดี
  • สำหรับวันนี้ จะเน้นเรื่อง สุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นฐานของสุขภาพของผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปากจะมีผลต่อการเคี้ยวอาหาร การพูด การยิ้ม การหัวเราะ ความสุข และการเข้าสังคม จึงเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้วย
  • ผมขออนุญาตอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเคยทรงตรัสไว้ มีความว่า "เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง" แสดงให้เห็นผลกระทบของการสูญเสียฟัน ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างชัดเจน ซึ่งทางกรมอนามัยเราได้นำมายึดถือเป็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ
  • ในกลุ่มผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันจนเคี้ยวอาหารไม่ได้นี้ กรมอนามัยได้จัดโครงการฟันเทียมพระราชทาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา เรามีโครงการตั้งแต่ปี 2547 2548 และ 2550 3 ปี ที่เราทำฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ประมาณ 90,000 กว่าราย
  • นอกจากนี้เราก็ยังมีโครงการที่จะทำ เพื่อที่จะลดการสูญเสียฟัน คือ การที่จะทำให้มีการเคี้ยวอาหารได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากการใส่ฟันสำหรับคนที่หลุดไปแล้ว ทางที่ดีที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ มีฟันที่จะใช้เคี้ยวอาหารได้โดยฟันแท้ของเราเอง
  • ถ้าไปดูสถิติแล้ว ตอนที่เป็นวัยทำงาน หรือก่อนอายุ 60 เรามีฟันที่จะใช้เคี้ยวอาหารกันได้ดี 90 กว่าเปอร์เซนต์ แต่พอเป็นวัยสูงอายุ เหลือฟันเคี้ยวอาหารได้ดีแค่ 44-48 เปอร์เซนต์ หมายความว่าคน 100 คนนี่ ผู้สูงอายุเหลือฟันซึ่งเคี้ยวอาหารได้ดีแค่ 48 คนเท่านั้นเอง ...
  • สิ่งนี้ กรมอนามัยพยายามหาวิธี แก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร ???
  • ในรอบ 2 ปีนี้ ก็เป็นการจัดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ 11 จังหวัด 32 ชมรม
  • วันนี้ ทีมกรมอนามัยมาทางภาคอีสานค่ะ ที่จะให้ชาวอีสาน มา ลปรร. กัน ... "ร่วมกันคิดร่วมกันทำ"

ติดตามบันทึกตอนต่อไปได้นะคะ จะเป็นตอนที่ 2 ละค่ะ

รวมเรื่อง "ลานหมู่เฮาแข่วดี" ที่ขอนแก่น

 

หมายเลขบันทึก: 174260เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2008 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท