ลานหมู่เฮาแข่วดี ที่ขอนแก่น (47) เล่าเรื่อง ฟัน ฟัน ในชมรมผู้สูงอายุ ตอนที่ 2 ที่บ้านผักกาดหญ้า


กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่นี่ ที่บ้านผักกาดหญ้า ต.ลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ไม่เหมือนใคร และยังไม่มีใครเหมือนค่ะ

 

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่นี่ ที่บ้านผักกาดหญ้า ต.ลำปลายมาศ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ไม่เหมือนใคร และยังไม่มีใครเหมือนค่ะ

พี่สังวียน ตุ้ยตะคุ พี่เป็น อสม. มาเล่าสู่กันฟัง ว่า พี่ได้นำผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมเรื่องฟัน อะไรกันบ้าง

  • ดิฉันเป็นตัวแทนของชมรมผู้สูงอายุบ้านผักกาดหญ้า เป็น อสม. มา 20 ปี รู้สึกว่า ภาคภูมิใจมากที่ได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุในชมรม ... ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในชุมชนไม่ค่อยแข็งแรงทุกท่าน มีผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมฯ ครั้งแรก 60 คน ปัจจุบันนี้ 80 คน
  • ดิฉันมีเพื่อน อสม. ทั้งหมด 14 คน วิธีการทำงานของ อสม. ที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จะแบ่งเป็นโซน 1 คน ดูผู้สูงอายุ 15 หลังคาเรือน
  • อสม. ทุกท่านต้องรู้ว่า ผู้สูงอายุในเขตที่รับผิดชอบ มีกี่คน มีเด็กกี่คน และมีคนท้องกี่คน ผู้สูงอายุมีความดัน เป็นเบาหวานกี่คน และมีเรื่องช่องปาก มีฟันปลอมเท่าไร
  • อสม. ต้องไปดูแล ทุกต้นเดือนค่ะ ต้องไปดูคุณตาคุณยายว่า ได้รับยาทุกเดือนมั๊ย
  • อสม.ได้ทำบุญกับผู้สูงอายุ รู้สึกว่าดีเป็นพิเศษค่ะ

ในเรื่องของการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก พี่สังเวียนได้เล่าไว้ค่ะ ว่า ทำอย่างไรจึงเกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากนี้ขึ้นมา ก็คือ

  • เมื่อได้เห็นผู้สูงอายุไม่ค่อยแข็งแรงในชุมชน จึงได้ปรึกษากับทีมงาน อสม. ว่า เราจะแก้ไขแบบไหนดี ผู้สูงอายุเราถึงจะแข็งแรง
  • เลยไปคุยกับผู้ใหญ่บ้าน เรื่อง ปัญหาในชุมชนของเรา ว่า ผู้สูงอายุไม่แข็งแรง เบาหวาน 13 ท่าน และความดันอีก ส่วนที่เหลือก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหมด
  • ผู้ใหญ่บ้านก็บอกว่า อสม. มีความสามารถไหม ที่จะไปคุยกับหน่วยงานฝ่ายส่งเสริม
  • ดิฉันจึงไปปรึกษา ฝ่ายส่งเสริม ของโรงพยาบาลลำปลายมาศ
  • ทางฝ่ายส่งเสริมฯ ก็ได้ออกมาคัดกรอง โรคหลอดเลือดให้กับผู้สูงอายุ วัดความดัน ทำมาเรื่อยๆ จนมาดูแลช่องปากผู้สูงอายุในชุมชน
  • พอดี คุณหมอเริงสิทธิ์ ทันตแพทย์ ที่ รพ.ลำปลายมาศ ท่านเข้ามาหา ดิฉันก็เลยบอก คุณหมอ ช่วงนี้จะเป็นช่วงรณรงค์ ผู้สูงวัยไม่กินหวาน และดูแลช่องปากผู้สูงวัย
  • คุณหมอบอก พี่ทำสิ พี่ทำได้มั๊ย ก็บอกว่า ทำได้ ก็พยายามทำจนได้
  • ดิฉันก็เลยได้ร่วมกับคุณหมอเริงสิทธิ์ ประชุมประชาคมในตำบลขึ้น เชิญผู้สูงอายุทุกหลังคาเรือน ถ้าหากท่านมาไม่ได้ ก็ให้ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุให้มารับฟัง ชุมชนของเราปรึกษาหารือกัน เรามารณรงค์ผู้สูงวัยไม่กินหวาน ไม่กินน้ำอัดลมกันดีมั๊ย ลูกหลานเราจะได้เป็นตัวอย่างของชุมชนของเรา
  • ผลจากการประชุม มีข้อตกลงกันทั้งหมด 5 ข้อ ค่ะ
    ข้อ 1 ... ผู้สูงวัยสอนลูกหลานให้แปรงฟันที่ถูกวิธีวันละ 2 ครั้ง
    ข้อ 2 ... ผู้สูงวัยสอนลูกหลานไม่ให้ดื่มน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ
    ข้อ 3 ... มีงานเลี้ยงในชุมชน ให้งดน้ำอัดลม เปลี่ยนเป็นน้ำสมุนไพรแทน
    ข้อ 4 ... ข้อร้องร้านค้าให้งดการจำหน่ายน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบให้กับเด็ก ไม่ใช่ขอร้องไม่ให้ขาย แต่ข้อร้องให้ลดลง ไม่ขายให้กับเด็ก เพื่อลูกหลานและชุมชนของเราเอง ก็ได้ความร่วมมือจากร้านค้าอย่างดีที่สุด
    ข้อ 5 ... ระดมทุนหลังคาเรือนละ 2 บาท เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้สูงอายุ
  • ดิฉันเป็นแม่ค้าขายน้ำเต้าหู้ ตอนเย็น ตอนเช้า ก็ทำแบบรสจืด ให้มาทุกคนทุกหลังคาเรือน คนไหนมาไม่ได้ ดิฉันก็ใส่ถุงไปส่งถึงบ้าน หลังคาละ 2 บาท ก็เป็นผลสำเร็จ
  • เดี๋ยวนี้ดิฉันบอกว่า ถ้าขายก็ไม่ให้ขายโชว์น้ำอัดลม ไม่ให้เด็กเจอ ... พอไม่มี เด็กก็ไม่ซื้อค่ะ เด็กจะไปซื้ออย่างอื่น
  • ตื่นเช้ามาตี 5 ครึ่ง ดิฉันจะนัดคุณตาคุณยาย มาเดินคุยกัน ... วันๆ คุณยายทำอะไรบ้าง มีกิจกรรมอะไร คุณยายมีความสุข ไม่มีความกลุ้มใจ เพราะได้พูดคุย
  • ผู้สูงอายุทุกท่าน ตอนเช้าจะอาบน้ำมาใส่บาตร
  • เวลาเจ็บป่วยก็เก็บปีละ 20 บาท ค่ะ ในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ มาเป็นธนาคารของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
  • ใครป่วยต้องไปเยี่ยม ครั้งละ 100 บาท เสียชีวิตก็ครั้งละ 200 บาท เป็นกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรม
  • ดิฉันจะขยายโครงการนี้ ไปให้ถึง 10 หมู่ ตอนนี้ขยายไปที่ รร.จันทราวาส และขยายไปหมู่ 6 ร่วมกัน จะขยายเครือข่ายผู้สูงวัยไม่กินหวาน ปลอดน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบด้วยค่ะ

อสม. อีกท่านหนึ่งค่ะ คุณอุไร ชัยปัญญา ซึ่งทำกิจกรรมนี้ร่วมกับพี่สังเวียน ก็มาเล่าถึงสิ่งที่ตัวเองได้ทำในชมรมด้วยว่า

ตั้งแต่มีชมรมผู้สูงอายุบ้านผักกาดหญ้า มา ก็เป็นชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมาก ตั้งมาตั้งแต่ 2540 โดยการรับสมาชิกตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าครั้งแรกก็จะมีการระดมทุนโดยการเก็บคนละ 20 บาท เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมเยียน เวลาเจ็บป่วย และเวลาเสียชีวิต จะได้ช่วยเหลือ

ต่อมาหมอเริงสิทธิ์ได้มองเห็นความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุบ้านผักกาดหญ้า ท่านก็เลยได้เลือกเอาบ้านผักกาดหญ้าเป็นแกนนำ ในการรณรงค์ตั้งเป็นชมรมผู้สูงวัยไม่กินหวาน และได้ข้อปฏิบัติมา 5 ข้อ

หลังจากที่ประชุมกันแล้ว ก็ให้ อสม. และผู้สูงอายุเป็นแกนนำ อสม. 1 คน ก็จะไปหาผู้สูงอายุอีก 2 คน เพื่อมารับผิดชอบในการดูแลและถ่ายทอดความรู้ที่เราได้มา และข้อปฏิบัติ 5 ข้อ ก็จะได้เป็นผลสำเร็จ และจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป อสม. กับผู้สูงอายุ 3 คน เมื่อกลับบ้านก็ต้องไปหาญาติพี่น้อง บ้านใกล้เคียงกัน และหาสมาชิกที่เราจะต้องไปขยายเครือข่ายกันอีก คนละ 2 ครอบครัว รวมทั้งครอบครัวตัวเองด้วย อสม. ก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด เป็น 9 ครอบครัว

เราได้ทำงานในหมู่บ้านของเรา และได้ขยายไปทั่วทั้งหมดหมู่บ้านแล้ว เราก็ได้ขยายไปยัง รร.จันทรวาส ซึ่งเป็น รร. ที่อยู่ในหมู่ 6 และเป็นหมู่บ้านใกล้ชิดติดกัน ก็เกิดความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ในการขยายเครือข่าย ที่หมู่ 6 เราจะให้ นร. มาเป็นแกนนำ เพราะว่าหมู่ 6 ส่วนมากผู้สูงอายุเขาก็ทำงานราชการ และไม่มีเวลา ก็ต้องอาศัย นร. ไปในการขยายเครือข่ายร่วมกัน ตั้งชมรมจันทรวาสรวมใจไม่กินหวาน ก็มีการปฏิบัติตามข้อตกลงของหมู่บ้าน

ในปีนี้ จะมีโครงการจะขยายไปที่หมู่ 8 และ ให้ครบทั้งหมด 18 ชุมชน ในเขตตำบลลำปลายมาศ

ที่บ้านผักกาดหญ้า เป็นชุมชนชนบทค่ะ ชาวบ้านอยู่กับด้วยความใกล้ชิด สนิทสนม เห็นเป็นธรรมชาตของชนบทจริงๆ เลย

รวมเรื่อง "ลานหมู่เฮาแข่วดี" ที่ขอนแก่น

 

หมายเลขบันทึก: 176286เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2008 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ศิริรักษ์ ปรัชญากุล

ได้อ่านแล้วก็ได้ความรู้มากมาย

ศิริรักษ์ ปรัชญากุล

ได้อ่านแล้วก็ได้ความรู้มากมาย

  • สวัสดีค่ะ คุณศิริรักษ์
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท