การส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก (15) บทสรุป การ ลปรร.


บริบท เงื่อนไขพื้นที่ มีความจำเป็นที่พื้นที่จะต้องมีบริบทของตนเอง สามารถที่จะปรับได้ตามบริบทของเขา ... การไปจับให้ได้ว่า บริบทตรงนั้นจะต้องใช้การบริการอย่างไร เพราะว่าบริบทที่ทำแล้วเหมาะสม ส่วนกลางก็มีหน้าที่ไปเก็บ เพื่อที่จะบอกว่า อะไรคือ ปัจจัยความสำเร็จ

 

บทสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ... สรุปโดยคุณพวง ที่สละเวลามาช่วยงานผู้สูงอายุละค่ะ เพราะว่าวัยสูงอายุพอพอกัน เธอได้สรุปไว้ว่า

  • ที่มาของโครงการมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ที่จะมีปัญหาไปในอนาคต ซึ่งเป็นกลุ่มที่เราต้องดูแล เพราะฉะนั้นนโยบายในภาพกว้างจะเป็นเรื่องที่ต้องมองที่จะมีการเสริมสร้างการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  • สิ่งที่มองก็คือ ต้องมองไปที่ Home Health Care (HHC) และ HHC จะถูกมองเป็น Long Term Care (LTC) ด้วย เพราะว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ต้องดูแลตลอดในช่วงวัยของท่าน การส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากนี้ จะต้องเข้าไปพัฒนา แล้วเข้าไปภายใต้การจัดระบบการดำเนินการ คือ ภายใต้สิทธิประโยชน์ของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • เรื่องฟันของเราจะอยู่ที่ ... เป็นส่วนหนึ่งของการมองในเรื่องของผู้สูงอายุ โดยสิ่งที่พวกเราพยายามในประเด็นสุขภาพช่องปาก คือ อย่างน้อยที่สุด ในปี 2551 จะพัฒนารูปแบบ หรือระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก โดยการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ องค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน
  • เราก็มาทำการ ลปรร. เพื่อให้เกิดกำลังใจในการทำงานต่อ ก็คือ
    - หาตัวอย่างกิจกรรมดีดี จากประสบการณ์จริง
    - การเลือกทำในกิจกรรม ที่เหมาะกับพื้นที่ของตนเอง
    - การเลือกผสมผสานกิจกรรม เพื่อทำต่อยอด

สิ่งที่เรียนรู้ก็คือ

  • กลุ่มเป้าหมาย จังหวัด พื้นที่กำหนด มีความแตกต่างกัน
  • วิเคราะห์ลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย
    - ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หาความต้องการ
    - ชมรม/เครือข่าย หา Key performance ของกลุ่มย่อยๆ พัฒนางาน/โครงการ ตามความต้องการของชมรม
    - ผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรัง เป็นบริการของวิชาชีพ ตามชุดสิทธิประโยชน์
  • รูปแบบระบบบริการ มีทั้งรับ รุก ร่วมมือหลายภาคส่วน
    - เห็นระบบบริการขยับออกนอกกรอบห้องสี่เหลี่ยม คือในส่วนคลินิก เป็นเชิงรุกเข้าไปในชุมชนมากขึ้น
    - จากเรื่องของฟันเทียม มีการขยายต่อไปในเรื่องของชมรม และเรื่องของชมรมก็ขยายเข้าสู่การส่งเสริมป้องกัน
    - ระบบบริการจะเคลื่อนย้ายจากทันตบุคลากร ไปสู่บุคลากรสาธารณสุข แม้ว่าจะมีทันตาภิบาล หรือไม่มีก็ตาม จะเกิดลักษณะของ package ที่มีการทำงานร่วมกันกับสหวิชาชีพมากขึ้น
    การพัฒนาศักยภาพ พัฒนาทักษะ พัฒนาความรู้ การส่งต่อ
  • บริบท เงื่อนไขพื้นที่ มีความจำเป็นที่พื้นที่จะต้องมีบริบทของตนเอง สามารถที่จะปรับได้ตามบริบทของเขา ... การไปจับให้ได้ว่า บริบทตรงนั้นจะต้องใช้การบริการอย่างไร เพราะว่าบริบทที่ทำแล้วเหมาะสม ส่วนกลางก็มีหน้าที่ไปเก็บ เพื่อที่จะบอกว่า อะไรคือ ปัจจัยความสำเร็จ
  • ข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ เช่น ลำปางได้บอกว่าจะนำข้อมูลมาใช้ในภาพรวมของงานผู้สูงอายุ นำมาเชื่อมการทำงานกัน

สรุป

  • งานดูแลผู้สูงอายุ ต้องมองภาพกว้าง เพราะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้มีส่วนร่วมหลายคน คนที่ทำงานกับผู้สูงอายุ มักจะเกิดความผูกพัน และมีใจที่จะทำงานกันต่อไป จึงเห็นภาพที่เราทำแล้วสบายใจ
  • ทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ
  • งานส่งเสริมในผู้สูงอายุเป็นการดูแลตลอดชีวิตไม่ใช่แค่ใส่ฟันเทียม ต้องมีการดูแลต่อเนื่อง

รวมเรื่อง การส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก 7-8 สค.51

  

หมายเลขบันทึก: 203220เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาดู
  • สนใจเรื่องการทำงานแบบสหอาชีพครับคุณหมอ
  • คุณหมอสบายดีไหม
  • ใจไปถึงอุบลฯแล้วนะเนี่ย
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
  • อ้าว เห็น อ.ขจิต ฝอยทอง ยังเลี้ยงวัวอยู่เลย (คนเลี้ยงวัว) ... ใจไปถึงอุบลฯ แล้วหรือคะ
  • ยังไม่เห็นจำนวนผู้สมัครเรียน KM on Weblog เลยค่ะ สงสัยจะได้ไปเปิดสอนกันเอง ... อิอิ ... กับเจ๊เขี้ยว อีกคน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท