ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ (6) ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างระบบผู้สูงอายุสุขภาพช่องปากดี


มุมของช่องปาก ที่ไปสัมพันธ์กับสุขภาพ และคุณภาพชีวิต

 

วันนี้ ผอ.กองทันตฯ ทพ.สุธา ได้ให้เกียรติมาคุยให้กับกลุ่มฟัง ในเรื่องของงานทันตฯ ในกลุ่มผู้สูงอายุค่ะ มาชวนพวกเราให้ช่วยกันสร้างระบบการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุ รวมทั้งมองย้อนไปถึงวัยทำงานด้วย ... ก็เพื่อเตรียมการให้เมื่อถึงวัยสูงอายุ ก็จะได้มีสุขภาพ สุขภาพช่องปากที่ดี ละค่ะ ... ท่านได้ชวนพวกเราคุยในเรื่องต่างๆ ก็คือ

  • สิ่งที่เราจะมาคุยกันใน 2 วันนี้ ก็คือ
    ... ทำอย่างไรที่จะมีทำให้ การที่ผู้สูงอายุไม่มีฟันน้อยลงๆ เรื่อยๆ
    ... และทำอย่างไรที่จะมีฟันดีไปเรื่อยๆ
    ... การประชุมใน 2 วันนี้ก็คงทำให้การดำเนินการในผู้สูงอายุสามารถทำได้ดี และชัดเจนด้วย
  • มีคำถามว่า
    ... ทำไมเราต้องดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุด้วย
    ... ทำไมเราต้องทำโครงการนี้ คือ โครงการดูแลในเรื่องของผู้สูงอายุ
  • แต่เดิมทันตบุคลากรของเราก็ดูแลแต่ในเรื่องของเด็ก เขาบอกว่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กในประเทศไทย ก็คือ อนาคตของชาติไทย ถ้าเด็กฟันดี ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ฟันดี และเป็นผู้สูงอายุที่ฟันดีด้วย แต่ปัจจุบัน ฟันของผู้สูงอายุไม่ค่อยดี ซึ่งสะสมมาตั้งแต่เด็กๆ
  • และมามองคุณูปการของผู้สูงอายุ ก็พบว่ามีมากมาย
  • ใครที่ได้อยู่กับผู้สูงอายุทุกวันๆ ก็คงจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลง เขาก็จะช้าลงตลอด การที่จะลื่นหกล้มง่ายมาก และมีโรคต่างๆ เยอะมาก อาจเริ่มจำอะไรไม่ค่อยได้ ก็จะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง
  • ผู้สูงอายุทำประโยชน์ให้กับพวกเรามาเยอะ เป็นทรัพยากรบุคคลของชาติ ทั้งเรื่องการทำมาหากิน ประโยชน์ของประเทศชาติ
  • ก็จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เรา ทันตบุคลากร ก็เป็นวิชาชีพที่จะต้องเข้าไปโอบอุ้มดูแลผู้สูงอายุที่ทำคุณูปการกับประเทศมาตลอดชีวิตของเขาได้อย่างไรบ้าง เป็นภารกิจที่สำคัญ ในเมื่อเราเกิดมาเป็นทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุขต่างๆ ทำยังไงจึงจะดูแลกลุ่มผู้สูงอายุให้ maintenance ไม่ให้เขามีชีวิตที่เลวร้ายไปกว่านี้ หรือสุขภาพโดยองค์รวมที่ดีขึ้นได้อย่างไร ในท่ามกลางแนวโน้มของโลกที่จะเป็นสังคมของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ
  • สถานการณ์ของผู้สูงอายุนั้น มีการสำรวจทุกๆ 5 ปี และทุกปีก็จะมีการสำรวจระดับจังหวัด พบว่า
    ... ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน 1 ซี่ขึ้นไป มีถึง 92%
    ... ไม่มีฟันทั้งปากล่าสุด 18%
    ... ก็คือ ถ้ามีผู้สูงอายุประมาณ 7 ล้าน ก็ปาเข้าไป 7 แสนคน
    ... และฟันที่มีอยู่ ก็มีฟันผุจำนวนมาก รากฟันผุก็มากขึ้น โรคปริทันต์ก็กว่า 60%
    ... ผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มที่จะเสียฟันไปเรื่อยๆ
    ... และพฤติกรรมที่เราอยากได้ก็คือ การแปรงฟันเช้า ก่อนนอน ซึ่งก็มี 31% ประมาณ 1 ใน 3
  • ทำไมเราต้องมาดูเรื่องสุขภาพช่องปาก ... ในมุมของทันตบุคลากร มีแนวโน้มสากลที่จะพยายามที่จะเอาเรื่องของ Oral Health ไปสู่ General health เอาเรื่องของสุขภาพช่องปาก ไปสู่เรื่องของสุขภาพ และคุณภาพชีวิต
  • เรื่องของสุขภาพช่องปาก ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องของการติดเชื้อ จะไปสัมพันธ์กับการติดเชื้อของร่างกาย เป็นเรื่องของเบาหวาน เรื่องของปริทันต์ค่อนข้างชัดเจน หมอทางโรคหัวใจค่อนข้างที่จะยอมรับว่า เวลาที่มีเรื่องของหัวใจแล้วนี่ เขาบอกก่อนเลยว่า ให้ไปดูแลในเรื่องของ Prophylaxis ในช่องปากให้ดี ให้เรียบร้อยเสียก่อน ก่อนที่จะทำเรื่องของการผ่าตัด หรืออะไรกับคนไข้ เพราะเขาเห็นว่า เชื้อในช่องปากนั้น ไปสู่ลิ้นหัวใจอย่างชัดเจนแน่นอน
  • เรื่องของสุขภาพจิต เรื่องของฟัน เรื่องของเหงือก หรือเรื่องของสุขภาพช่องปาก ไปสัมพันธ์กับความสุข การเคี้ยวอาหาร การร่วมกิจกรรมในสังคม เขาบอกว่า
    ... เรื่องของฟัน จะมีเอกสารวิชาการยืนยันว่า เวลาเครียดบางคนจะกิน กินแล้วจะมีความสุข เขาบอกว่า การเคี้ยวแต่ละครั้ง จะไปกระตุ้นฐานสมอง ทำให้มีความสุข
    ... และในเด็ก การเคี้ยวเป็นการกระตุ้นการเจริญของสมองด้วย
    ... ก็คงไม่แปลกว่า เรื่องของฟัน ไปยึดโยงกับเรื่องของสุขภาพจิต ไปยึดโยงกับเรื่องของพัฒนาการ ของสมองด้วย
  • เรื่องการเจ็บป่วยจากฟัน เป็นผลกับการพักผ่อนนอนหลับ การทำงาน การสูญเสียฟันมีผลต่อการเคี้ยว เรื่องของอาหารส่งผลต่อโภชนาการ และมีเรื่องของ Underweight เป็น 3 เท่าของผู้ที่ไม่มีปัญหา
  • นี่เป็นมุมมองของช่องปาก ที่ไปสัมพันธ์กับสุขภาพ และคุณภาพชีวิต
  • ในมุมของสุขภาพร่างกาย ที่มีผลต่อเรื่องของช่องปาก
    ... ผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ไขมัน อัมพาต อัมพฤกษ์
    ... เรื่องของความเสื่อม มีปัญหาเรื่องของกล้ามเนื้อ
    ... เมื่อพูดถึงเรื่องกล้ามเนื้อ จะเห็นว่า มีความสัมพันธ์กับการทำความสะอาดฟัน จะทำความสะอาดฟันได้อย่างไร ถ้ากล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็ทำความสะอาดไม่ได้ดี หรือถ้าได้ ก็ต้องดัดแปลงเป็นแปรงสีฟันด้ามใหญ่ เพราะว่าเขากำได้ไม่สุด ด้ามสีฟันจึงจะต้องใหญ่ทีเดียว
    ... เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดี ก็ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากแน่นอน
  • เรื่องของมะเร็งต่างๆ ก็สัมพันธ์กับช่องปากแน่นอน เพราะว่าเมื่อฉายแสงรักษา ก็ต้องมีกระดูกตาย จะเห็นคนไข้ที่เป็นมะเร็งสุขภาพช่องปากก็จะมีสภาพที่เสื่อมไปด้วย
  • เรื่องของสายตาที่ไม่ดี ก็ส่งผลต่อเรื่องของโรคในช่องปากแน่นอน
  • และในเรื่องผู้สูงอายุเองมีธรรมชาติเป็นอย่างไรกันบ้าง
    ... ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีเปอร์เซนต์สูงขึ้นเรื่อยๆ เขาทำนายว่า ในปี 2563 คือ อีก 12 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุในเมืองไทย 16.8% ขณะนี้เราอยู่ที่ 10% เป็น Aging society เป็นสังคมของผู้สูงอายุแล้ว
    ... ของญี่ปุ่น เขาจะนับที่อายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ เขามีอายุคาดเฉลี่ยผู้สูงอายุประมาณ 82 ปี ซึ่งสูงที่สุดในโลก
    ... พอเป็นผู้สูงอายุแล้ว เมื่อ 2549 พอพ้นจาก 60 ปีขึ้นไปแล้ว ผู้สูงอายุก็จะอยู่ไปได้อีกไม่กี่ปี ก็จะเสียชีวิตไป ปี 2549 ชายกับหญิงมีแนวโน้มไปอีก 17 ปี ในอนาคต 2563 ก็จะมีแนวโน้มไปถึง 20 ปี ตรง 20 ปี ก็จะเป็นส่วนที่เราจะต้องดูแลมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในสังคมก็จะมากขึ้นด้วย
    ... ในกลุ่มผู้สูงอายุตอนนี้ประมาณ 10 กว่าเปอร์เซนต์ ขณะที่วัยทำงาน ก็จะมี 50-60% ซึ่งก็จะทยอยมาเป็นผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้มีประมาณ 88% และประมาณ 10% จะต้องมีผู้ดูแล และพบว่า คนที่ดูแลก็จะเป็นญาติพี่น้อง ลูก เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสังคมขยายที่ยังดูแลผู้สูงอายุกันอยู่
  • ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุก็จะจบประถมศึกษา 74% เกือบ 1 ใน 4 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
  • การรับรู้ข่าวสารของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการฟังโทรทัศน์ พูดคุย 60% คือ ผู้นำชุมชน ญาติ เพื่อน ก็คือ ผ่านการพูด การคุย และรับฟังจากโทรทัศน์ ... ตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะบอกให้เรารู้ว่า เราจะทำกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุในรูปแบบไหนบ้าง
  • ส่วนที่เราได้ดำเนินการในเรื่องของทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ ในปี 2548 ถึงปัจจุบัน
    ... เราได้ดำเนินการในเรื่องของการสูญเสียฟันในเรื่องของ ฟันเทียมพระราชทาน
    ... ซึ่งได้รับการดูแลจากทันตบุคลากรอย่างดี ทำให้ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก 3 ปีที่ผ่านมา คือ 94,756 ราย และในปี 2551 ตอนนี้ 29,000 ราย
    ... จากที่เราดำเนินการมา 3 ปี ผลการสำรวจรายปีก็พบว่า ปี 2548 มีฟันใช้งาน 4 คู่สบร้อยละ 44 และปี 2550 พบว่ามีมากขึ้น
    ... เรามีการจัดประกวด 10 ยอดฟันดีวัย 80 ปี ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548-2550 ปี 2551 จะเป็นปีที่ 4 ซึ่งมีผู้สูงอายุเยอะมาก ตอนนี้จังหวัดที่มีผู้สูงวัยฟันดีที่ส่งมาประกวด พบว่ามีครึ่งประเทศเข้าไปแล้ว ก็จะเป็นเรื่องของการส่งเสริมที่จะดูแลภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุ เพราะว่าที่ไหนมีผู้สูงอายุฟันดี เขาก็จะมีความภูมิใจ และมีความสุขกันมากทั้งชุมชน
  • ปี 2549 ถึงปัจจุบัน เราทำเรื่องชมรมผู้สูงอายุที่ทำกันในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ผลใน 3 ภาค เราทำได้ 87 ชมรม และ 30 จังหวัด
  • ในตัวผู้สูงอายุนี้
    ... ทำอย่างไรให้เกิดกิจกรรมในเรื่องสุขภาพช่องปาก
    ... ทำอย่างไรที่จะเพิ่มความตระหนัก เพิ่มความรู้ ให้กับชมรมผู้สูงอายุ
    ... และให้ชมรมผู้สูงอายุไปขยายผลต่อ ในกลุ่มเพื่อนๆ ในหมู่บ้าน ในกลุ่มที่เขามีอิทธิพลอยู่
    ... ผมไปเยี่ยมที่สุราษฎร์เมื่อเดือน สิงหาคม พบชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมาก เขาสามารถที่จะไปอยู่ในสภาจังหวัด ใน อบต. อบจ. สามารถดึงงบประมาณมา support โครงสร้าง มาทำศาลาต่างๆ เยอะแยะ และตัวผู้สูงอายุเองก็มี power เมื่อเขาขับเคลื่อนอะไรก็จะมีผลกระทบในภาพรวม PCU หรือ CUP ก็จะเป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับชมรมผู้สูงอายุ บทที่จะเล่น จึงน่าจะเป็นบทของการ support หรือเปล่า ทำอย่างไรที่จะให้เขาได้คุยกันเอง เราไปอำนวยความสะดวก เป็น Facilitator อย่างไร ตรงนี้ก็จะเป็นบทของ PCU หรือ  CUP บทของ สสจ. หรือศูนย์อนามัย ก็จะเป็นส่วนที่จะ support CUP หรือ PCU อีกชั้นหนึ่ง
  • กิจกรรมของทางภาคเหนือ อีสาน และภาคกลางที่ทำกัน เช่น
    ... ที่ลำปางมีการย้อม plaque และฝึกแปรงฟัน โดยผู้สูงอายุทำกันเอง
    ... ภาพการตรวจฟัน โดยผู้สูงอายุกันเอง
    ... มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นที่ภาคอีสาน เป็นไม้คณฑา
    ... ผู้สูงอายุก็จะมีการจัดกิจกรรมเป็นบอร์ดของเขาเอง
    ... และก็จะมีการสอนเรื่องสุขภาพฟันให้กับนักเรียน
    ... ซึ่งเป็นผลพวงจากผู้สูงอายุที่ได้รับความรู้จากพวกเรา ไปสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ในชมรม ต่อยอดจากพวกเราไปสู่เรื่องของเด็ก ต่อยอดไปถึงเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน ให้กินหวานน้อยลง
  • ทางใต้ก็จะมีการรณรงค์เรื่องเด็กไม่กินหวาน ก็ลองดูในผู้สูงอายุดูบ้าง เพราะว่า เขาจะมี power ต่างๆ เยอะ ที่จะไปบอกผู้นำในชุมชน ในเรื่องการไม่กินหวาน การกระตุ้นให้เกิดการแปรงฟันที่วัด ก็เป็นไปได้ รวมทั้งในศูนย์เด็กเล็ก
  • ผลจากการทำงานตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา เรามีการสำรวจของจังหวัด มีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สะท้อนกลับมา บอกว่า
    ... จากการที่ไม่เคยทำในผู้สูงอายุนี่ มันยาก ไม่คุ้นเคย ความไม่คุ้นเคยก็เลยเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะเป็นอุปสรรค เหมือนเราทำอะไรใหม่ๆ จะรู้สึกว่ามันยาก แต่ก็พบว่าหลังๆ ก็ทำได้ดีทีเดียว
    ... มีความในใจของทันตบุคลากรที่ได้ใส่ฟันให้กับผู้สูงอายุ ที่ผู้สูงอายุน้ำตาร่วงเลย หมอตกใจ คิดว่าไปทำอะไรให้กับผู้สูงอายุหรือเปล่า ร้องไห้ ปรากฎว่า ทำให้ผู้สูงอายุดีใจ พอทำเสร็จ ผู้สูงอายุก็จะมีการรวมกลุ่มกัน ทำให้การทำงานง่ายขึ้น
    ... การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของผู้สูงอายุได้แล้ว ก็จะสามารถทำให้ผู้สูงอายุไปทำงานกับกลุ่มอื่นได้ด้วย
    ... ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ไม่ต้องทำงานแล้ว เราเรียกมาประชุมกันเมื่อไรก็มีความพร้อม ที่ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช เขาจะมีตึก 1 แห่งเลยที่ยกให้กับชมรมผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมกันเยอะมาก
    ... ธรรมชาติของผู้สูงอายุเขาชอบคุยกัน ถ้าเราสามารถทำให้คนที่มาใส่ฟัน หรือคนที่ดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี มาพูดในเรื่องของการส่งเสริมได้ ก็จะดีมาก
    ... และมีหลายจังหวัดบอกว่า ทำงานตรงนี้ ต้องบูรณาการกับวิชาชีพอื่นด้วย ทั้งสาธารณสุข พยาบาล งานส่งเสริมฯ
    ... ความสุขของคนทำงาน ก็คือ ได้มอบสิ่งดีดี ให้กับผู้สูงอายุ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเองได้ทำสิ่งที่ดีดีไปด้วย และสร้างเครือข่ายกับท้องถิ่นได้มากขึ้น
  • ปี 2551 เราเริ่มโครงการใหม่ ซึ่งที่จริงเป็นโครงการที่อยู่ในสิทธิประโยชน์อยู่แล้ว แต่จังหวัดยังไม่ค่อยคุ้นเคย เราก็ได้จัดเป็นรูปของโครงการที่ชัดเจน เป็นเรื่องของการส่งเสริมป้องกันในโรงพยาบาล ในเรื่องของกลุ่มเสี่ยงโรคฟันผุ ปริทันต์ นำร่องไปแล้ว 21 จังหวัด 120 หน่วยบริการ
  • ภาคใต้ ปี 2551 ก็จะเป็นการจัดในเรื่องของสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ
    ... เพื่อที่จะทำอย่างไรที่จะทำในเรื่องของการบริการในโรงพยาบาล รักษาฟื้นฟูแล้ว ส่งเสริมป้องกันแล้ว
    ... แต่ผู้สูงอายุมีจำนวนสักเท่าไรที่จะมาถึงสถานบริการ ผมเชื่อว่าไม่น่าจะเกิน 20% ที่ผู้สูงอายุในชุมชนจะมาที่โรงพยาบาล หรือ 30% แต่ที่เหลือยังไม่ได้มาที่โรงพยาบาล
    ... ทำอย่างไร "ถ้าเขาไม่มา เราก็ไปหา" ตอบโจทย์ง่ายๆ แต่ "ไปหาด้วยวิธีอะไร ไปด้วยความรู้สึกอย่างไร" ทำด้วยความที่เราอยากจะไปทำงานกับชุมชน มันจะมีความรู้สึกหลายอย่าง ... ทำไปเพราะว่าเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำ ... ทำไปเพราะว่า เขาไม่มาโรงพยาบาล เราก็เลยต้องไป ... ทำไปเพราะว่า ผู้อำนวยการกองทันตสาธารณสุขบอก อะไรอย่างนี้
    ... แต่ถ้าเราไปวิเคราะห์พิจารณาเอง ในชุมชนของเราเอง มีตัวเลขข้อมูลชัดเจนว่ามีผู้สูงอายุเท่านั้นเท่านี้ อยู่กับบ้านเท่านั้นเท่านี้ มาโรงพยาบาลเท่านี้นเท่านี้ และมีปัญหาขนาดเท่าไร มีจำนวนเท่าไร ลองวิเคราะห์ แล้วจัดกิจกรรมให้เหมาะสม ก็จะน่ารักมากๆ
  • จังหวัดที่มาในวันนี้ ก็จะมี นครฯ สุราษฎร์ กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต สงขลา และสตูล
  • สองวันนี้เราจะมา ลปรร. กัน จะสรุปบทเรียนกันอย่างไร ดำเนินการไปแล้วเท่าไร มีอุปสรรคอะไรบ้าง
  • ผมไปเยี่ยมที่คีรีรัฐก็เห็นว่า ชมรมผู้สูงอายุของเขามีต้นทุนดีมาก เขามีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นในชมรมฯ เขาอาสาสมัครด้วยใจ ผมถามว่า เขาทำอาชีพอะไร เขาบอกว่า ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว แต่ว่ามีสวนยาง ให้ลูกๆ ทำแล้ว และแม่อายุ 40 กว่าๆ ขออนุญาติลูกบอกว่า ขอมาทำสาธารณประโยชน์ ให้ลูกทำงานไป และแม่มาดูแลผู้สูงอายุโดยไม่รับเงินเดือน
  • เราก็จะมาคุยกัน และมาดูกันว่า ปี 2552 เราจะทำอะไรกันต่อไป
  • โดยหลักๆ ก็คงจะเป็นว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็น เรื่องของในชมรมผู้สูงอายุ สร้างความเข้มแข็งกันอย่างไร จัดกิจกรรมในชมรมอย่างไร จะมีกิจกรรมเรื่องของการตรวจสุขภาพช่องปาก ให้คำแนะนำไหม PCU จะไปเสริมเขาได้อย่างไร สสจ.จะเสริมอย่างไร และศูนย์ฯ จะช่วยส่งเสริมได้อย่างไรบ้างด้วย
  • ก็คงจะเป็นการเชื่อมต่อกันตั้งแต่เรื่องของการรักษาฟื้นฟู การส่งเสริมป้องกัน และการทำในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุ จะร้อยเรียงกันทั้งหมดได้อย่างไรบ้าง เราก็คงจะได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องกันต่อไป ... พวกเราก็จะรู้ในบริบทของตัวเอง และวันนี้เราก็คงจะได้ดึงศักยภาพ ความรู้ ออกมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจน และก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

รวมเรื่อง ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้

  

หมายเลขบันทึก: 215104เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหมอนนท์ คนขยันของครูอ้อย

  • คิดถึงมากค่ะ 
  • คุณพ่อคุณแม่ของครูอ้อย รู้จักการดุแล ช่องปากได้ดีมาก  เวลาท่านไปทำฟันมา  ท่านจะเล่าอย่างละเอียด  และมีความสุขที่ได้ไปหาหมอมาค่ะ

ขอบคุณค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีเจ้าค่ะ

น้องจิแวะมาเยี่ยมยามเช้าค่ะ สบายดีหรือเปล่าเจ้าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ อิอิ ...น้องจิ

  • สวัสดีค่ะ ครูอ้อย แซ่เฮ
  • อยากฟังเรื่องเล่าของคุณพ่อคุณแม่จัง เพราะจะได้รู้มุมมองของคนไข้ไงคะ ว่า เมื่อรับการทำฟันจะรู้สึกพอใจ ไม่พอใจอย่างไร
  • แล้วครูอ้อยละคะ นัดกันไว้ว่า จะมาทำฟัน ยังไม่มาเลย
  • ช่วงนี้งานต่อๆ กันเยอะมากค่ะ วันที่ 14-17 ตค. นี้ก็จะมีงานทันตสาธารณสุข ในกรมอนามัย จะมีประกวดผู้สูงอายุ 80 ปีฟันดี ปีที่ 4 แล้วละค่ะเนี่ยะ
  • เป้าหมายน่าจะเป็น มีผู้สูงอายุ 80 ปีฟันดี ให้ครบ ทุกจังหวัดในประเทศไทยเลยละค่ะ
  • สวัสดียามเช้าคะ น้องโก๊ะจิจัง แซ่เฮ~natadee ที่สุดในแก๊ง
  • ป้าสบายดีอยู่จ้ะ หลาน
  • น้องจิตื่นเช้าจัง ตอนนี้เรียนอยู่ หรือปิดเทอมแล้วละค่ะ
  • ลูกๆ ที่บ้าน ปิดเทอม แต่ก็ไปคณะฯ อยู่ เหมือนไม่ได้ปิดเลยจ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท