ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ (9) ชมรมผู้สูงอายุ รพ.ทุ่งหว้า


และมาคิดกันว่า จะตั้งเป็นนโยบายขึ้นมา ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ คิดมาเป็นสโลแกนว่า "ผู้สูงวัยไม่กินหวาน" เพื่อทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ... โดยเราถือเป็นนโยบายว่า การรับประทานอาหารนี้ เริ่มจากอาหารว่างที่เราจัดให้ผู้สูงอายุ จะเน้นเป็นผลไม้ เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ไม่มีรสหวาน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ แทนขนม หรือน้ำหวานซึ่งเราเคยจัดเป็นประจำ

 

ช่วงนี้ คุณดาลิซา จาก รพ.ทุ่งหว้า มาเล่ากิจกรรมของการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุให้ฟังต่อค่ะ เป็นเรื่องของ โครงการเครือข่ายผู้สูงวัย ร่วมใจดูแลสุขภาพช่องปาก รพ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เธอได้เล่าว่า

โครงการของเรารวม 2 โครงการเข้าด้วยกัน คือ ชุดสิทธิประโยชน์ และโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ รวมกันเป็น โครงการเครือข่ายผู้สูงวัย ร่วมใจดูแลสุขภาพช่องปาก

โรงพยาบาลทุ่งหว้า เป็น รพ. ขนาด 30 เตียง มีแพทย์ 3 ท่าน ทันตแพทย์ 2 เภสัช 2 รวมสมาชิกทั้งหมดประมาณ 98 คน เป็น รพ. ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 ชม. ห่างจากตัวเมือง 78 กม. เป็น รพ. ที่อยู่ติดกับ อ.ประเหลียน จ.ตรัง อ.ทุ่งหว้า มี 5 ตำบล 35 หมู่บ้าน มีสถานีอนามัย 7 แห่ง แต่ไม่มีทันตาภิบาลอยู่

ชมรมผู้สูงอายุมีการก่อตั้งมาประมาณ 15 ปี ล้มลุกคลุกคลานมากันมาเยอะ ช่วงหลังมีกิจกรรมมากขึ้น มีการรวมกลุ่มมากขึ้น สมาชิกทั้งหมด 200 คน แต่มาทำกิจกรรมประมาณ 70-80 คน เวียนกันมาบ้าง

หลังจากที่เรานำทั้งประธาน และแกนนำไปประชุมที่จังหวัด เพื่อรับทราบโครงการของทางจังหวัดมาแล้ว

  • เราก็มีการประชุมกลุ่ม ทั้งที่ รพ. โดยเชิญ อสม. หรือทันตบุคลากรมาประชุมกลุ่มกัน และคิดกันว่า จะเอาเรื่องใดเป็นพฤติกรรมสุขภาพในส่วนนี้ ... ก็คิดว่า น่าจะเป็นเรื่องการแปรงฟัน และการรับประทานอาหาร
  • จากนั้น ก็มีการประชุมให้สมาชิกทราบอีกครั้ง โดยประธานชี้แจงให้สมาชิกทราบ
  • และมาคิดกันว่า จะตั้งเป็นนโยบายขึ้นมา ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ คิดมาเป็นสโลแกนว่า "ผู้สูงวัยไม่กินหวาน" เพื่อทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ... โดยเราถือเป็นนโยบายว่า การรับประทานอาหารนี้ เริ่มจากอาหารว่างที่เราจัดให้ผู้สูงอายุ จะเน้นเป็นผลไม้ เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ไม่มีรสหวาน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ แทนขนม หรือน้ำหวานซึ่งเราเคยจัดเป็นประจำ
  • สองคือ การรณรงค์การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารว่าง ที่โรงพยาบาล เมื่อมีการนัดมาประชุมเดือนละครั้ง แกนนำหลังจากไปอบรมมาแล้ว จะมาถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกทราบ สาธิตการแปรงฟัน และมีจุดแปรงฟันที่คลินิก
  • สามคือ จัดทำแผ่นป้ายรณรงค์ โดยวิธีการฝากแผ่นป้ายรณรงค์ไป เวลาที่อำเภอจัด เช่น การแข่งกีฬาสีต่างๆ หรือรณรงค์ต่างๆ
  • สี่คือ การให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว ซึ่งปกติผู้สูงอายุมีการให้ความรู้ ผ่านหอกระจายข่าว ทางเทศบาล หรือหมู่บ้าน จะให้ความรู้ โดยเจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลไป
  • ห้าคือ การตรวจฟัน ขูดหินปูน ทาฟลูออไรด์ ตามชุดสิทธิประโยชน์ และจะมีช่องทางด่วนในจุดนี้ ซึ่งจะนัดผู้สูงอายุมาทำในช่วงบ่ายจน complete case บางคนไม่ได้มา ก็มีการนัดหมายใหม่ เพราะว่าผู้สูงอายุบางครั้งอาจหลงลืม ไม่สามารถจะมาได้ บางคนกลัว ก็จะนัดกันใหม่

ในการตรวจสุขภาพช่องปากของเราบางครั้งเรานัดผู้สูงอายุมาที่ รพ. บางครั้งเราออกไปชุมชน โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ในฝ่าย และพยาบาลที่ให้ความรู้ในเรื่องอาหารของผู้สูงอายุ จะมีการรวมกับทีมอื่นไปด้วย

หลังจากที่มีกิจกรรมตรงนี้เสร็จ เราก็ได้มีการออกกำลังกายกันเล็กน้อย ทำให้ผู้สูงอายุได้ยืดเส้นยืดสาย

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

  • ผู้สูงอายุมีความตระหนักและเห็นความสำคัญ เวลาพูดเขาเข้าใจ และเห็นความสำคัญ ทำให้งานของเราสามารถดำเนินการไปได้
  • แกนนำมีศักยภาพ เพราะแกนนำจะถ่ายทอดความรู้ที่เขาได้รับไป ให้กับสมาชิกทราบได้
  • การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ให้ความร่วมมือดี
  • ทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภายในฝ่าย หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุ แม้กระทั่ง อสม. ที่เราประสานงาน ก็มีความสำคัญมาก
  • การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงาน หรือบุคลากรอื่น ผลออกมาจะได้รับผลดีที่เราทำไป
  • งบประมาณ การทำงานทุกโครงการน่าจะมีงบประมาณให้

ปัญหาอุปสรรค

  • โรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ถ้าผู้สูงอายุป่วย ก็จะไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมของเราได้
  • การเดินทาง ปกติทาง รพ. เราจะมีรถรับส่งในวันที่มีกิจกรรม บางท่านก็ไม่สามารถจะมาได้ เพราะว่าเส้นทางเราไม่ผ่านบ้านของผู้สูงอายุ บางครั้งหลานไม่ว่าง ก็ไม่สามารถมาได้
  • การสื่อสารก็สำคัญ เพราะว่าผู้สูงอายุต้องใช้ภาษาที่เรียบง่าย ฟังแล้วเข้าใจ ถ้าใช้ภาษาราชการ จะมีปัญหา ต้องใช้ภาษาท้องถิ่น

สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป ที่คุยกับผู้สูงอายุมาแล้วก็คือ

  • ขยายเครือข่ายโครงการผู้สูงวัย ไม่กินหวาน ไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ อีก 5 ตำบล
  • คัดเลือกผู้สูงวัยตัวอย่างด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • ผู้สูงวัยสอนลูกหลานให้แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • รณรงค์กิจกรรมลดการกินหวานและการแปรงฟันอย่างต่อเนื่อง (แผ่นป้ายผ้า / ถุงผ้ารณรงค์)
  • ศึกษาดูงาน เพื่อการ ลปรร. ในกิจกรรมผู้สูงอายุ ระหว่างจังหวัด หรืออำเภอ
  • สิ่งสนับสนุน/อุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์การแปรงฟัน ยาสีฟัน เวลาที่ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมของเราในแต่ละครั้ง 

สุดท้ายคุณดาลิซาได้แสดงความรู้สึกไว้ว่า

"ดีใจที่ได้ทำกิจกรรมในตรงนี้ เป็นการได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าในด้านการรักษา ส่งเสริมป้องกัน และฟื้นฟู ซึ่งโครงการนี้สามารถต่อยอดไปยังโครงการฟันเทียมได้ และเมื่อถามความรู้สึกของผู้สูงอายุ เขาก็บอกว่า ดีใจที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมในตรงนี้ คิดว่า อยากให้มีโครงการต่อไปอีก"

รวมเรื่อง ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้

 

หมายเลขบันทึก: 215682เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2008 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาดูปรากฎว่าโรงพยาบาลมีกิจกรรมดีๆๆเต็มเลย ขอชื่นชมโรงพยาบาลทุ่งหว้าครับ

  • เผยตัวออกมาแล้วหรือคะ อ.ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee
  • พี่ๆ ร่วมวงนินทากันมานาน ว่าหายตัวไปไหน
  • อ้อ ไปโผล่ที่โน่น ที่นี่ นี่เอง
  • สุดยอด อ.ขจิต จริงๆ ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท