ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ (13) เรื่องเล่า กลุ่ม 2


ดึงศักยภาพของแกนนำ เช่น ของทุ่งหว้า ถ้าเป็นงานสาธารณสุข จะมีป้าภาเป็นดีเจ ถ้าเป็นงานสาธารณสุข ป้าภาจะอ่านข่าว ถ้าวันไหนป้าภาไม่มาอ่าน คนในทุ่งหว้าจะรู้สึกเลยว่า ขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ให้เขานำหน้า เรามีอะไรก็สนับสนุน

 

กลุ่มนี้ มีหนุ่มเดียวที่มาเป็น presentor ค่ะ คือ คุณเฉลิมชนม์ ค่ะ บอกว่า

กิจกรรมก็จะคล้ายๆ กัน ตั้งแต่ การตรวจร่างกาย การส่งต่อ การเฝ้าระวัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการรับประทานอาหาร หรือจิตอาสา ที่โดดเด่นของกลุ่มนี้ที่มอง ก็คือ กิจกรรมโต้วาที

จุดมุ่งหมายของการโต้วาทีของสงขลา (รพ.สิงหนคร) เขาบอกว่า ครั้งก่อนๆ ที่มีโครงการเรื่องกิจกรรมส่งเสริมฯ ในผู้สูงอายุ มันเป็นความต้องการของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้เป็นความต้องการที่แท้จริงจากผู้สูงอายุ ทำให้ผลงานไม่สำเร็จ ... ในการจัดเวทีโต้วาที เรื่อง ฟันแท้กับฟันเทียม จึงเป็นจุดเริ่มต้น เกิดประกายทำให้เกิดการอยากที่จะเรียนรู้ อยากที่จะทำในเรื่องของฟัน กับผู้สูงอายุ จึงเป็นจุดเด่นที่เกิดขึ้น จากเดิมคิดว่า ไม่น่าเป็นจุดขายในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากกับผู้สูงอายุได้ แต่มันก็เป็นไปได้ ซึ่งเราก็น่าจะไปจัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ในผู้สูงอายุ

มีเรื่องการขับเคลื่อน ที่ทำให้เกิดความสำเร็จของโครงการ คือ

  • การขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุ หรือสาขาสภาผู้สูงอายุ ให้มีบทบาท มีส่วนร่วมกับเรา เพราะว่าทางสาขาสภาฯ จะมีผู้ทรงคุณวุฒิสูง เขามีความน่าเชื่อถือมากกว่าเจ้าหน้าที่ ก็คือ ให้ชมรม แกนนำ ค้นหากิจกรรมของเขาเอง ในรูปแบบของที่เขาต้องการ และเราเป็นผู้ดูแล ติดตาม เป็นแรงใจให้เขาทำ
  • ใช้เวที ลปรร. เรียนรู้ การบูรณาการกับภาคีเครือข่าย
  • การบูรณาการกับ อบต. เทศบาล และหัวใจหลักของเราก็คือ อสม. และแกนนำต่างๆ
  • ยังมีโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ที่จะทำงานร่วมกันไปได้

กิจกรรมหลัก คือ

  • ผ่านผู้นำศาสนา เพื่อชักนำให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้ง พระ โต๊ะอิหม่าม
  • ดึงศักยภาพของแกนนำ เช่น ของทุ่งหว้า ถ้าเป็นงานสาธารณสุข จะมีป้าภาเป็นดีเจ ถ้าเป็นงานสาธารณสุข ป้าภาจะอ่านข่าว ถ้าวันไหนป้าภาไม่มาอ่าน คนในทุ่งหว้าจะรู้สึกเลยว่า ขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ให้เขานำหน้า เรามีอะไรก็สนับสนุน
  • ปัจจัยเอื้อในการส่งผลให้เกิดผลสำเร็จ คือ เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ละส่วนไป เช่น ใน รพ. การเยี่ยมพื้นที่ ส่วนใหญ่จะให้ฝ่ายเวชฯ หรือฝ่ายส่งเสริมฯ สิ่งแวดล้อม เพราะเขาเป็นผู้ที่สัมผัสประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่อนามัย เขาเป็นคนในพื้นที่ รู้จักประชากรทั้งหมดในพื้นที่ เข้าถึง ส่วนนี้เป็นการผลักดัน เป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
  • ปัจจัยอีกอันหนึ่ง คือ การคัดเลือกชมรมที่มีศักยภาพ ชมรมที่มีศักยภาพจะมีผู้นำที่ดี
  • การมีผู้นำที่ดี ล้วนแต่มีศักยภาพ ทำได้

สิ่งที่จะทำต่อไป คือ จัดเวทียกย่องชมรมที่เขาทำได้ ทำให้เกิดความอยากที่จะทำ ไปขยายเครือข่าย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดในเรื่อง อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

 

รวมเรื่อง ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้

  

หมายเลขบันทึก: 216137เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท