ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ (16) สรุปเรื่องเล่า ลปรร. และต่อยอดงาน 2552


ตัวนี้นำไปสู่อะไร นำไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่า "ทำจริงแล้วจะรู้เอง" รู้อะไร ก็ คือ "ทำความเข้าใจชมรม?" เราก็จะเกาะกุมเอาตัวความรู้จากสิ่งที่เราทำ แต่รู้แล้วมันแม่นตรงนั้นไหม ก็ไม่แน่ เพราะบางที่ทำไป ก็มีความรู้ที่เปลี่ยนอีก แต่อย่างน้อยตอนนี้มันก็แน่ เพราะทำเองมากับมือ

 

งานนี้ ก็ได้รับเกียรติจากมือเก๋า ของกองทันตฯ เช่นเคย คุณพวงทอง และคุณหมอสุรัตน์ มาเพิ่มอรรถรสของการมองงานส่งเสริมสุขภาพ โดยชมรมผู้สูงอายุ ที่ทำกันโดยพื้นที่ละค่ะ

เธอเก็บตกจากประเด็นต่างๆ ของการประชุม เรื่องเล่า ทั้งในกลุ่ม นอกกลุ่ม มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นทั้งหลายมารวบยอดเล่าสู่ให้พวกเราได้ฟัง ก็คงจะเป็นประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กันได้ในชีวิตการทำงานจริงๆ นะคะ

ทั้งหลายทั้งปวง คณุพวงเธอได้ประมวลได้ว่า ... สิ่งที่เราจะสรุปในวันนี้ ก็คือ สิ่งที่เราได้พูดคุยกันเมื่อวาน ... เท่าที่ฟังก็คือ เกือบทั้งหมดมีเวลาการทำงานแค่ 2 เดือน ... เก่งมาก เพราะต่างก็พยายามที่จะผลักดันงาน และสามารถเอาอะไรหลายๆ อย่างมาแลกกันได้ ถ้าพวกเรานั่งมองกันดีดี ก็จะเห็นทิศของงานที่จะทำ

จากโครงการประชุมครั้งนี้ เขามุ่งหวังว่า พอเราทำงานแล้ว ก็มาแลกกัน เราก็จะได้อะไรกลับไป เพื่อที่จะได้กลับไปเตรียมทำงานต่อในปีหน้า ในลักษณะเช่นนี้ ตัวการออกแบบ ของโครงการนำร่องอันนี้ เขาเริ่มมองตั้งแต่ ศูนย์ฯ ภาคใต้ของเราก็คือ ศูนย์ฯ 11 และ 12 ก็แปลงไป ได้จังหวัดนำร่อง 8 จังหวัด เป็น 16 CUP และ 22 PCU ซึ่งทั้งหมดนี้ มุ่งหวังที่จะลงไปผ่านช่องทางสำคัญ ก็คือ เรื่องของชมรมผู้สูงอายุ

ตัว Hi-light ของการแลกเปลี่ยน จะอยู่ที่การประชุมกลุ่ม เอามาแลกกัน ในลักษณะของการจัดกลุ่มให้แลกเปลี่ยน แบบคละจังหวัด คละพื้นที่ เพื่อที่จะให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร ที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน ในแต่ละกลุ่มจึงมีการเฉลี่ยกระจายจังหวัด แบ่งเป็น 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1

สตูล ทำตามนโยบายของกรม ให้ร่วมเรียนร่วมรู้ ตัวสำคัญคือ ผู้สูงวัยไม่กินหวาน มีโครงการฟันดีที่บั้นปลาย มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน แปรงฟันก่อนละหมาด จัดเวทีให้แลกเปลี่ยน

สุราษฎร์ธานี มีคีรีรัฐ และกาญจนดิษฐ์ ซึ่งตั้งต้นจากโครงการสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมให้กับผู้สูงอายุ มีการคัดกรองจากกลุ่มเบาหวาน โดยการบูรณาการ

สงขลา ใช้สภาพฟันแยกกลุ่มเป็น ฟันแท้ ฟันเทียม กลุ่มผสม มีแกนนำกลุ่มจิตอาสา มีการจัดเมนูชูสุขภาพ

เทศบาลหาดใหญ่ ชมรมใหญ่มาก ให้ความรู้ ผู้สูงอายุอยากได้สื่อความรู้

พังงา ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง ขอให้ สสจ. ไปทำกิจกรรมให้ความรู้ ผู้สูงอายุช่วยทำสื่อ พัฒนาแกนนำ 30 คน ระดมสมองในการแก้โจทย์ ยังไม่มีกิจกรรม

ระนอง บูรณาการกับงานอื่น ตรวจคัดกรอง ขึ้นทะเบียนฟันเทียม ประเมินฟันเทียม

ภูเก็ต บูรณาการในผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน 

โอกาสการขยายงาน เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ในการบูรณาการ ในเชิงของชุดสิทธิประโยชน์ และการขยายงานต่อไปในเรือง ผู้สูงอายุดูแลเด็ก

และอยากให้สนับสนุน เรื่อง งบฯ ของการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ และอยากได้สื่อ และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะ (คือ ทีวี)

กลุ่มที่สอง

เป็นเรื่องกิจกรรม โต้วาทีของสิงหนคร การจัดเวทีแลกเปลี่ยน

ปัจจัยความสำเร็จ การขับเคลื่อนของหัวหน้าสาขาฯ บูรณาการกับภาคีเครือข่าย (อบต/เทศบาล/ ผู้นำศาสนา)

ปัจจัยเอื้อ เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ฝ่ายส่งเสริมฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อม แผน จนท.อนามัย มึผู้นำที่มีศักยภาพ

สิ่งที่จะทำต่อ จัดเวที/ยกย่องชมรมที่ทำดี ขยายเครือข่าย

กลุ่มที่สาม

กิจกรรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยน โต้วาที เพลงกล่อมเด็กที่มีทำนองเดิม และเนื้อเรื่องฟันเข้าไป ฐานความรู้ ตรวจฟัน ส่งต่ออุดฟัน/ถอน/ขูดหินน้ำลาย ปรับลดอาหาร ประกวดผู้สูงอายุฟันสวย เล่านิทานในศูนย์เด็ก แปรงฟันก่อนละหมาด โต้วาที/เพลงกล่อมเด็ก (สิงหนคร) แต่งเพลงการดูแลฟัน ผู้สูงวัยไม่กินหวาน (ทุ่งหว้า) จัดอาหารว่างเป็นผลไม้ น้ำสมุนไพร (รพ.ทุ่งหว้าสมัครเป็นองค์กรไร้พุง) เน้นเรื่องการแปรงฟัน 

กลุ่มที่สี่

กิจกรรมเด่น ให้บริการรักษาทางด่วนที่ควนกาหลง การให้บริการเชิงรุกให้บริการที่ชมรม (รพ. สงขลา)

ปัจจัยความสำเร็จ การนำเอารักษานำไปสู่การดูแล ใช้แกนนำ อสม./ผส. เยี่ยมบ้าน

ปัญหาอุปสรรค สสจ.ไม่ทราบโครงการ ระยะเวลาสั้น (2 เดือน) ยังไม่เห็นผลสำเร็จและความภูมิใจ

กลุ่มที่ห้า

ปัจจัย ทีมงานในชมรมที่เป็นทีม การมีส่วนร่วมของเครือข่าย อปท. ชมรมผู้สูงอายุ งบประมาณจากอบต/อบจ/ชมรม/บริจาค

กิจกรรม 3 แบบ

  • ชุดสิทธิประโยชน์ ตรวจรักษา ติดตามผล ทำได้ในรพ / PCU
  • ควบคู่กับงานอื่น ให้ความรู้ เช่นเบาหวาน ออกหน่วยร่วมกับผู้อื่น
  • งานเดี่ยวๆ เช่นพังงา
    1. ชี้ให้เห็นปัญหาแล้วจึงเห็นความสำคัญทำที่ชมรม
    2. อบรมแกนนำเพื่อให้ไปทำต่อเอง
    3. ติดตามผล (ยังไม่ได้ทำ)

กิจกรรมจังหวัดอื่น พัฒนาสุขภาพผู้สูงวัยร่วมกับกลุ่มพยาบาล จิตอาสา ฟันดีที่บั้นปลาย

ถามว่า สิ่งที่เราแลกเปลี่ยนกันนี้ ผ่านระบบบันทึกจากการฟัง ประเด็นก็คือ ต่อโครงการนี้เป็นอย่างไร ... มองว่า ตัวโครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง เรื่องของการศึกษารูปแบบของการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประเด็นก็เป็นเรื่องของการสร้างเสริม แต่ไม่ได้สร้างเสริมอย่างเดียว เพราะว่า เรา lock ไปในเรื่องของสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ แล้วเราก็ Lock spect ลงไปอีกว่า ไม่ใช่เฉพาะ สุขภาพ และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ เท่านั้น แต่จะต้องผ่านไปโดยกลไกที่เรียกว่า ชมรมผู้สูงอายุ

ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นภาคีภายในของเรา ในด้านสาธารณสุข มีตั้งแต่กองทันตฯ ศูนย์อนามัยเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และสถานีอนามัย ก่อนที่จะไปถึงชมรมฯ ในการถอดตรงนี้ ถามว่า เราได้รูปแบบ ได้อะไรบ้าง ภายใต้ Keyword พวกนี้ การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก สุขภาพ คุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร และคำว่าชมรม เป็นอย่างไร

ถามว่า ประโยชน์มันอยู่ตรงไหน ... อยู่ตรงที่ โครงการนี้ เรื่องของผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่เป็นกลุ่มหลักในอนาคต และก็เริ่มเป็นแล้ว เพราะว่าโดยเนื้อหา เราพบว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับการเอาใจใส่ และดูแล รวมทั้งเป็นกลุ่มที่พวกเราเองก็จะไปอยู่ด้วย ในกลุ่มนี้ จะถูกจำแนกไว้ว่า ประมาณร้อยละ 8 ที่ดูแลตนเองได้ และอีก 2% ก็ต้องมาสร้างการจัดการ

การทำงานของเราใน 2 เดือน ตัวนี้นำไปสู่อะไรบ้าง ... สิ่งที่คิดว่า พวกเราได้ค้นพบ

ในคำเล่าของผู้สูงอายุ จากที่พวกเราได้บอกมา ทั้งการเล่าบนเวที และพูดคุยกันในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะพบว่า คำว่า ชมรมผู้สูงอายุ มีอยู่ 2 ความหมาย คือ
... คำว่า เลือกชมรมที่เข้มแข็ง หมายถึง ชมรมนี้มีกำเนิดอยู่แล้ว แล้วเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขา
... มีอีกคำที่ว่า ชมรมที่เราเลือกที่จะทำ เราก็บอกว่า เป็นชมรม No name
... หรือบางจังหวัด จะพูดถึง ชมรมของโรงพยาบาล เป็นชมรมที่อยู่ที่ที่ตั้งของโรงพยาบาล เช่น ชมรม รพ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นชมรมใหญ่ หรืออีกหลายชมรมที่รู้จักก็จะเป็นชมรมขนาดเล็ก

นี่ก็คือ ลักษณะของชมรมที่เราลงไปทำงานจริง จะเห็นความต่างตอนที่มาแลกกัน

ข้อค้นพบของพวกเราใน 8 จังหวัด เที่ยวนี้ มันคืออะไร

  • คือ ในตัวชมรม ข้างในเป็นเรื่องของผู้นำ เป็นเรื่องของทีมงาน ลักษณะของสมาชิก เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วม ซึ่งพวกเราก็จะมีลักษณะของการบอกเล่าออกมา เช่น ในหลายชมรมอาจจะมีข้าราชการเก่าที่เกษียณมาอยู่หลายๆ ที่ และตัวของบุคคลเหล่านั้น เขาก็จะพาเอาประสบการณ์เดิมของเขามา และนำไปสู่การวางหลักวิธีการทำงานของชมรม บางชมรมก็จะมีปราชญ์ชาวบ้าน ก็จะมีลักษณะบางอย่าง
  • ตัวพวกนี้จะนำไปสู่อะไร ถ้าเรารู้ เราเห็น ที่มันจะเก็บเข้าไปภายใต้ของผู้ที่ทำงาน เราก็จะรู้แล้วว่า ต่อไป สมมติว่า กระบี่ หรือสงขลา หรือสตูล จะขยายพื้นที่ลงไปในชมรมเพิ่ม เราพอจะประมาณการได้แล้วว่า ที่เราทำมานั้น ชมรมแบบไหนที่พอจะเจาะเข้า หรือไม่เข้า หรือชมรมแบบนี้ต้องใช้สูตรแบบนี้
  • อาจจะไหลต่อไปว่า การจับจุดสำคัญของผู้นำ ของแกนนำ ของลักษณะสมาชิกตรงนั้น จะเป็นอย่างไร

ข้อค้นพบอีกอันหนึ่งจากการทำงานจริงของพวกเรา ก็คือ ข้อค้นพบเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานของเรา ตรงนี้มันสะท้อนมาจากอะไร ที่เก็บมานี้จากภาษาที่พวกเราได้เล่า จากบุคลากรสาธารณสุขทั้งหมด เช่น

  • "ดีใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม รับอย่างเต็มใจ" (ทุ่งหว้า)
  • "ยากมากทำในผู้สูงอายุ (ส่วนมากเราทำในเด็ก เหมือนหมูในอวย) ได้ความรู้สึกที่ดี
    - ตอนแรกไม่รู้โครงการจะไปทิศไหน
    - แกนนำผู้สูงอายุเป็นผู้ทำงานเอง
    - เราเป็นผู้อยู่ข้างๆ ชมรมจะไปรอดหรือ" (สตูล)
  • "ไม่ใส่ข้อมูลว่าเขาต้องทำอะไร ชมรมมีกิจกรรมเยอะ" (เพราะว่า กระบี่ เขาไปเลือกชมรมที่เข้มแข็ง)

ตัวนี้นำไปสู่อะไร นำไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่า "ทำจริงแล้วจะรู้เอง" รู้อะไร ก็ คือ "ทำความเข้าใจชมรม?" เราก็จะเกาะกุมเอาตัวความรู้จากสิ่งที่เราทำ แต่รู้แล้วมันแม่นตรงนั้นไหม ก็ไม่แน่ เพราะบางที่ทำไป ก็มีความรู้ที่เปลี่ยนอีก แต่อย่างน้อยตอนนี้มันก็แน่ เพราะทำเองมากับมือ

ข้อค้นพบเกี่ยวกับผู้สูงอายุ นี่คือ สิ่งที่ผู้สูงอายุเขาพูด

  • "อยากให้ทำทุกชุมชน"
  • "อยากให้มีหมอมาตรวจบ่อยๆ จะได้ไม่ต้องไปโรงพยาบาลลำบาก"
  • "หมอเปิดทางพิเศษให้ไม่ต้องไปรอตรวจที่โรงพยาบาลนาน หมอนัดขูดหินปูน พอไปห้องฟันก็ได้เข้าห้องเลยไม่ต้องรอนาน ชอบมากเลย"
  • "กระเป๋าถูกใจมาก จะได้พาไปวัด ไปตลาด"
  • "จะเอากระเป๋าให้ลูกสาวพาไปตลาด จะได้ใส่ของไม่ต้องใช้ถุงกรอบแกรบ"
  • "สะดวกมีรถรับส่งไม่ต้องรบกวนลูก" "สะดวกเพราะอยู่ใกล้บ้าน"
  • "บริการเร็ว และได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ดีมาก"
  • "ได้รับรู้ว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง ข้อไหนติดบ้างจะแก้ไขได้ยังไง"
  • "ได้มาพูดคุยกัน สนุกดี"
  • "อยากให้มีการตรวจแบบนี้ ปีละ 2-3 หน"
  • บางที่ก็บอกว่า ถ้าส่งเสริมสุขภาพใจแล้ว สุขภาพกายของเราก็จะดีนะ

และจากการแลกกันภายในกลุ่ม ก็ได้ฟังเรื่องเล่าว่า

  • ตัวผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า - (กระบี่)
  • ได้เปิดโลกกว้างขึ้น
  • ผู้สูงอายุจะมีอาชีพรับจ้างอยู่บ้าน เลี้ยงหลาน - (สตูล)
  • พอเจ้าหน้าที่ไปทำน้ำหวาน ผู้สูงอายุก็บอกว่าแสบอก  ทำให้ตัวผู้ทำได้ประสบการณ์ขึ้นมา - (ทุ่งหว้า)
  • โครงการช่วยให้เกิดกิจกรรม - (สตูล)
  • อยากให้ทุกโครงการของภาครัฐมีความต่อเนื่อง อย่าทำแล้วหยุด - (สงขลา)

ตัวนี้นำไปสู่อะไร ... การที่เราจะเข้าใจผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เราทำงานด้วยนี้ พอเราเข้าใจ และเรารู้บางประการ เราก็จะมองเขา ตัวของฐานของความคิดจะไม่เกิดจากเราอย่างเดียว มันต้องเกิดจากตัวกลุ่ม หรือตัวลูกค้าของเรา เราก็จะเห็นอะไร เห็นว่า พอไปสัมผัส ทำเองจริงนี่ ศักยภาพของเขาอยู่ตรงไหน ถ้าศักยภาพของเขา กับศักยภาพที่เราต้องการ ยังไม่ประสานกลมกลืนกัน ก็อาจจะเกิดระบบของการพัฒนาขึ้นมาตรงนั้น

หรือระบบศักยภาพของเขาสูงกว่าเรา ก็อาจจะเป็นการเลื่อนจากเขาไปสู่เรา เป็นเรื่องของการทำ ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน

นำไปสู่ เรื่องของการออกแบบกิจกรรม หรือการให้ความรู้ที่ตรงกับตัวผู้รับ นำไปสู่การมีส่วนร่วมที่มีส่วนร่วมที่เป็นจริง และเต็มใจ อันนี้เป็นเรื่องของการรู้ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย จากข้อค้นพบ ในสิ่งที่เราได้ลองทำใน 2 เดือน ... อย่างที่กลุ่มผู้สูงอายุที่สงขลาท่านหนึ่งบอกว่า "คนเราทุกคนควรแก่อย่างมีศักดิ์ศรี ชราอย่างมีบุญ"

ข้อค้นพบอีกประการหนึ่งของเราคืออะไร เพราะว่า ตัวโครงการของส่วนกลาง เขาก็ลงมาเป็น Guideline บางที่ก็รับเอาไปทำ บางที่ก็รับเอาไปดู และปรับเปลี่ยน ข้อค้นพบจากเรื่องของกิจกรรมที่เราไปทำ เราจะพบว่า ตัวกิจกรรมเอง หลายที่ที่เป็นกิจกรรมมาตรฐาน จะเป็นเรื่องของ ... การให้ความรู้ให้เกิดความตระหนัก การตรวจฟัน บริการเชิงรุก ในชุมชนที่ร้องขอ ก็จะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีโครงการนี้ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเดิมก็ได้ อาจจะเป็นกิจกรรมที่เอามาจัดรูปแบบใหม่ จัด package ใหม่

ลักษณะอะไรอีก ที่เราเห็นจากการแลกกัน ก็คือ วิธีในการทำงาน วิธีในการนำกิจกรรมลงไป อาจจะเป็นไปได้ว่า เราทำควบคู่กันไปกับงานอื่น เป็นการบูรณาการว่า สุขภาพช่องปาก กับสุขภาพของร่างกาย หรือบูรณาการไปในโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือบางที่ก็อาจเริ่มต้นจากทันตฯ ก็เป็นเรื่องของโครงการเดี่ยวๆ

แต่ในท้ายที่สุด มันก็ต้องไหลไปรวมกัน ภายใต้ 3 ตัวนี้ละ คือ สุขภาพช่องปาก สุขภาพร่างกาย คุณภาพชีวิต มันจะต้องเกิดสิ่งสุดท้ายนี้ได้ในที่สุด มันจะเริ่มเกิดตรงไหนไม่ว่า ท้ายที่สุดมันก็ต้องกลมกลืน เป็นบูรณาการ เป็นองค์รวมตรงนั้น

อะไรอีกที่เราเห็นจากการทำงานของพวกเราที่มาแลกกัน ก็คือ เรื่องของการบูรณาการกันของทีมงาน เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า มีมีบูรณาการของทั้งเจ้าหน้าที่ในแต่ละระดับ ทั้งสหสาขา ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นทิศทางที่ดีของระบบสุขภาพของเรา

นอกจากนี้เราค้นพบอะไรอีก

  • เราค้นพบเรื่อง การขยายบทบาท เช่น บอกว่า เป็นเรื่องของภายใต้จิตอาสา ซึ่งสมัครใจมาทำ ทำภายใต้รูปแบบนี้ หลายๆ ที่อาจเหมือนกับจัดตั้ง คำว่าจัดตั้งไม่ได้หมายถึงไม่ดี บางทีก็จำเป็นในตอนต้น แต่หลังจากจัดตั้งแล้ว
  • ประเด็นต่อไปก็คือ โครงการนั้น ถ้าจะให้อยู่ต่อ ก็ต้องมีการกระจายโดยธรรมชาติ จะต้องมีการไหลจากสมาชิก สู่สมาชิก ตรงนั้นก็จะเหมือนกับออกดอกออกผล ไม่งั้นก็จะได้ตอนเงินฝากครั้งแรกไม่มีดอกเบี้ย ไม่งอกไม่งาม
  • ตัวนี้นำไปสู่ในเรื่องของ ข้อค้นพบของพวกเราตรงนี้ นำไปสู่ในเรื่องของการที่เราคิดจะขยายงานต่อ หรือการทำงานต่อเนื่องในระยะยาว
  • จะมีข้อดีข้อจำกัด ในชีวิตจริงเราไม่สามารถที่จะเลือกตัดสินใจว่า เอาอย่างนี้ไม่เอาอีกอย่าง บางทีเราต้องเอาทั้งหมด อุดรูรั่วมันเท่านั้นเอง เรือทุกลำมีรอยรั่วหมด อยู่ที่ เราจะอุดรอยรั่วตรงไหนที่เหมาะสม กับความสามารถ สมรรถนะของเรา อันนี้ก็คือ การที่เราค้นพบรูปแบบกิจกรรม

ในส่วนตรงนี้ทั่วๆ ไป ในกลุ่มจะค่อนข้างที่จะเห็นพ้องต้องกันว่า ในเรื่องของกลุ่มผู้สูงอายุนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคพื้นฐาน ด้วยลักษณะ ด้วยวัยของเขา ก็คือ เรื่องของการเดินทาง เรื่องของสุขภาพอื่นๆ ที่มาเกี่ยวพันแน่ๆ เพราะว่าอยู่ในช่วงวัย ที่โลกมีการบูรณาการแล้ว หรือว่าอีกอันก็คือ เรื่องของการสื่อสาร

ในเรื่องของการสื่อสาร จริงๆ มันไม่ใช่จากภาษากลาง เป็นภาคใต้ด้วยซ้ำไป บางทีแม้แต่วัย ในการสื่อสาร เราฟังผู้สูงอายุ เราฟังท่านไม่เข้าใจ หรือบางทีท่านฟังเรา ท่านไม่ได้ยิน มันมีหลายประการ มันจึงเป็นเรื่องของการสื่อสารที่ต้องมีการคำนึงถึง

ตัวการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญ ตอนแลกเปลี่ยนผู้สูงอายุที่สงขลา ก็มีผู้สูงอายุท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า เป็นคนใต้ ต้องแล่งใต้ ... ตัวนี้สะท้อนอะไรบางอย่าง ซึ่งประเด็นนี้ มันเป็นความในใจ เพราะว่าเป็นคนสงขลา สมัยที่อยู่ รร.มัธยม อ.จะห้ามไม่ให้พูดใต้กับเพื่อน ใน รร. ต้องพูดภาษาภาคกลาง ถ้าพูดใต้จะโดนปรับ ซึ่งตรงนี้ กว่าที่ตัวเองจะมารู้ จนโตแล้ว เข้าใจในคำว่า วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง มันเกิดจากวัฒนธรรมของท้องถิ่น ก็จะดีใจมาก อาทิตย์ที่แล้วที่ท่านประธานองคมนตรีไปบรรยาย ท่านบอกว่า ต้องพยายามสนับสนุนให้วัฒนธรรมท้องถิ่นเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นภาษาถิ่นก็ให้พยายามพูด

ในทำนองเดียวกัน ถ้าจะเชื่อมกับผู้สูงอายุ ก็คือ เรื่องการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญ มันทำให้โลกเราแคบขึ้น ความเข้าใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรามีวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ ต้องสนับสนุนให้เข้มแข็ง

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะนำไปสู่เรื่องของการพยายามที่จะลด แก้ปัญหา เช่น เรื่องของการเดินทางบางที่เมื่อวานก็บอก ขามาคนหนึ่งพามา ขากลับคนหนึ่งพากลับ หรืออาจจะต้องจัดรถให้ หรือการเพิ่มทักษะการสื่อสาร ก็อาจจะต้องปรับเรา หรือในเรื่องงบประมาณ ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาจริงๆ ก็จะนำไปสู่การวางแผนการทำงาน

นี่ก็คือข้อค้นพบที่ได้จากสิ่งที่พวกเรามาเล่า แค่ 2 ชม.ครึ่ง และทำงานแค่ 2 เดือน

สิ่งที่เป็นความรู้ที่เราให้กัน ก็จะเป็นสิ่งที่เป็นความรู้จริง ที่จะต้องผ่านการพิสูจน์อีกยาวนาน เพราะฉะนั้น ข้อเสนอแนะที่พวกเรากันเองให้นี้ เป็นความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากส่วนกลางอีกต่อไปแล้ว ก็คือเสนอแนะกันว่า

  • ต้องทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง
  • ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยน จากมุมมองของผู้สูงอายุ
  • ขยายกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ให้มีหลากหลาย เพื่อที่จะช่วยเอื้อกันในกลุ่ม
  • จัดกิจกรรมตามปฏิทินชุมชน เพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุ
  • ประชาสัมพันธ์ผ่านทางชมรมผู้สูงอายุให้มากกว่านี้
  • มีการเชื่อมโยงกิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากกับกิจกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุให้มากขึ้น
  • นิเทศติดตาม เสนอแนะ สม่ำเสมอ
  • สนับสนุนงบฯศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สูงอายุ
  • ประชุมสัมมนาแกนนำผู้สูงอายุ

เพราะว่ากว่าที่พวกเราจะมาถึงตรงนี้ 2 เดือนนี้ หลายจังหวัดก็มีการแลกกันมา 2-3 ครั้งก็มี ก็จะได้ขึ้นมาเป็นชั้นๆ และมีการประชุม ผลักดัน เคลื่อนต่อ

ทั้งหมด ทั้งนี้ ทั้งนั้น คงจะเป็นสิ่งที่เก็บมาได้ในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งตัวนี้เอง ภายใต้ CUP, PCU, สสจ. ซึ่งมีการเอื้ออำนวยจาก ศูนย์อนามัยเขต 11 และ 12 ของเรา ประเด็นทั้งหมดที่เราแลกกันมา และได้ข้อค้นพบกันมา ทั้งจากกลุ่ม และอื่นๆ ถามว่า ตัวเป้าหมายที่เราจะไหลเคลื่อนไปจากชมรมผู้สูงอายุ เราต้องการอะไร ... เราต้องการให้เขาดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองใช่หรือไม่

แต่ภายใต้ฐานของ 3 คำ คือ สุขภาพช่องปาก สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต คุณภาพชีวิต ตัวนี้ไปถึงแล้วหรือยัง 2 เดือนนี้อาจยังไม่ถึง ตัวชมรมผู้สูงอายุ เราคงไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้เท่านั้น ถ้าตัวเองลองมอง และฟัง และจับ ก็คิดว่า สิ่งที่อยากได้ต่อไปก็คือ พอตัวเอง แล้วก็ต้องช่วยเหลือเหล่าสมาชิก เพราะว่าไม่งั้นจะขึ้นมาเป็นชมรมทำไม ... บทบาทหน้าที่ในเรื่องของการกระจายตรงนี้ ก็ยังเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญ ที่จะต้องดำเนินการในการช่วยเหลือเหล่าสมาชิก ไม่ใช่แต่ตัวผู้นำ หรือสมาชิกบางคน

มากไปกว่านั้น สิ่งที่มุ่งหวังในเชิงสังคม ก็คือ ชมรมผู้สูงอายุอาจจะขยับไปจนถึงการช่วยเหลือชุมชน เพราะฉะนั้น ทั้งตนเอง สมาชิก และชุมชน ยังเป็นปลายทางของงานสุขภาพเรา ที่เรายังต้องการเห็น เพราะฉะนั้น การลงกิจกรรม 2 เดือน มันก็ยังอาจทำไปไม่ถึง หรือถึงก็ยังไม่ครอบคลุม ก็ยังคงจะมีงานอีกมหาศาล

นี่ก็คือ สิ่งที่ตัวเองมองว่า มันมีเป้าหมายหลายทางที่ชัดว่า เราจะไปกันถึงไหน และสิ่งที่เราได้ทำ 2 เดือน และมาแลกกัน ก็จะเห็นอะไรบางอย่างที่น่าจะเป็นทาง หรือถนน ที่ทำให้เราเดินไปได้ แต่เส้นชัยจะไปถึงที่ไหนก็ค่อยว่ากัน

ทั้งหมดนี้เพื่อการ ลปรร. ร่วมกันละค่ะ

รวมเรื่อง ลปรร. กิจกรรมทันตฯ ชมรมผู้สูงอายุภาคใต้

   

หมายเลขบันทึก: 216374เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณ เพื่อนร่วมทาง

"เป้าหมายเราต้องการให้เขาดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองใช่หรือไม่"

สั้นๆตามนิสสัยคนบ้านเราว่า

ทำปรือให้เขา "วังปากเองงั้น" ขอบคุณที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี

  • ได้ศัพท์ใหม่ ทำปรือให้เขา "วังปากเองงั้น"
  • ขอบคุณค่ะ คุณ บังหีม
  • คนใต้ น้องๆ เขาบอกว่า ถ้าเข้าถึงได้ ก็ไปโลด เลยค่ะ ... อิอิ ไม่รู้เอาภาษาอีสานมาปนหรือเปล่านะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท