ร่วมปฏิบัติภารกิจกับ สพช. (7) บูรณาการงานที่ลำปลายมาศ


เมื่อผมได้เริ่มเข้าไปรับอาสาต่อยอดโครงการผู้สูงอายุของจังหวัด ตอนนั้นก็ยอมรับว่า ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มีอย่างเดียวคือ "ใจอยากจะทำ"

 

ทพ.เริงสิทธิ์ ก็คือ หมอแอ๊ดนั่นเอง หมอแอ๊ดเป็นทันตแพทย์ ที่ปัจจุบันทำงานลงชุมชนให้กับ รพ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ไปเสียแล้ว เพราะเธอไปรับงานเรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพละค่ะ เรื่องเล่ากิจกรรมผู้สูงอายุของหมอแอ๊ดที่ลำปลายมาศก็คือ

ช่วงเวลาแห่งการบุกเบิก

ก่อนหน้าการทำงานนี้นั้น ผมเคยไปอบรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่เชียงใหม่ สถาบันทันตกรรมเป็นคนพาไป และจริงๆ ก็ได้ทำงานผู้สูงอายุมาก่อน ตั้งแต่ปี 2546-2547 ในโครงการคืนรอยยิ้มให้กับผู้สูงวัยของสถาบันทันตกรรม

และเมื่อปี 2549 จังหวัดบุรีรัมย์ไม่ได้เลือกลำปลายมาศ แต่เลือกพุทไธสง ประโคนชัย เป็นพื้นที่ดำเนินการเรื่องผู้สูงอายุ พอปี 2550 ผมเสนอตัวเข้าไป เพราะว่า สสจ. ต้องการ รพ.สมัคร สมัคร 2 อำเภอ มีลำปลายมาศ และหนองกี่

เมื่อผมได้เริ่มเข้าไปรับอาสาต่อยอดโครงการผู้สูงอายุของจังหวัด ตอนนั้นก็ยอมรับว่า ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มีอย่างเดียวคือ "ใจอยากจะทำ" ทำโดยถือว่า เรามีความเชื่อมั่นในตัวเองระดับหนึ่ง เพราะได้ไปอบรมมาจากเชียงใหม่ตั้ง 2 รอบ ที่ชลบุรีทีหนึ่ง

วันที่ 14 กพ.50 ได้ไปฟังที่อื่นทำ ลำปลายมาศไปเสนอ ก็เขียนขึ้นมาตามตัวชี้วัดของ รพ.

พอเอามาใช้จริงๆ ต้องปรับค่อนข้างเยอะ ปรับไปตามบริบทจริงๆ โครงการตอนนั้นใช้ชื่อว่า "ส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุ" ตรงๆ ไปเลย ในใจตัวเอง ขีดเส้นแบ่งเลยว่า ผู้สูงอายุต้อง 60 ปีขึ้นไป และเข้าไปในหมู่บ้าน บวกกับทำตามของพุทไธสง ที่เข้าไปที่วัด ปรากฎว่า ที่ลำปลายมาศ วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางของชุมชนจริงๆ และพอเราไปขีดเส้นแบ่งว่า ต้องเป็นผู้สูงอายุ ใครต่ำกว่า 60 ปี เราก็ไม่ไปยุ่งกับเขา เราก็ถือว่า เราเป็นหมอที่เก่าแก่ที่ตรงนั้น ตอนนั้นคิดว่า ทุกคนจะต้องฟังเรา ... แต่ในหมู่บ้าน ไม่ใช่อย่างนั้น ใน รพ. เขาฟังเราจริง แต่พออกชุมชน เขาไม่ได้ฟังเรา เขารับปากเรา แต่เขาไม่ได้ออกมาจากบ้าน เขาไม่ได้มาที่วัด ไม่ได้มาตามนัด

ตอนนั้น เราก็กลับไปที่ สสจ. ใหม่ และไปคุยกับฝ่ายส่งเสริมใหม่

ต่อจากนั้นมา ก็เริ่มรู้ว่า อสม. ช่วยเราได้ จึงเริ่มขยายกลุ่มอายุ จากผู้สูงอายุลงมาเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่สูงอายุ คือ ไม่ใช่ 60 ปีแล้วตอนนี้ ชื่อโครงการของผมได้เปลี่ยนไป เป็น "รวมพลังสร้างนโยบายชุมชน"

หลังจากนั้น ผมมาปรับกลยุทธ์ใหม่ ศึกษาใหม่ จะเข้าไปใหม่ มาศึกษาถึง อสม. ที่เขาจะช่วยเราได้ อสม. เขาก็จะเป็นคนช่วย ปรากฎว่า แกนนำของผู้สูงอายุจริงๆ ก็คือ อสม. ในหมู่บ้าน คือ คุณสังเวียน ตุ้ยตะคุ เขาเป็นประธาน อสม.

หลังจากนั้น ผมเกิดความคิดว่า ผู้สูงอายุที่ไปเจอ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้สูงอายุที่แข็งแรง มีโรค และไม่ใช่ผู้สูงอายุที่ฉลาดเหมือนชมรมในกรุงเทพฯ เป็นผู้สูงอายุที่เป็นชนบทจริงๆ อยู่แต่ในบ้าน และอยู่แบบคนป่วย เพราะฉะนั้น ผมจึงต้องคัดเลือกผู้สูงอายุที่แข็งแรง ผมเลยตั้งให้เขาเป็น "ผู้สูงอายุแกนนำ" เลือกได้แค่ 20 คน ผมก็เลยมาดู อสม. มี 10 คน ก็เลยจับคู่กัน อสม. 1 คน ต่อผู้สูงอายุ 2 คน และให้เขาไปหากันมาเป็นเครือข่าย ให้เขาไปเลือกกันเอง เพราะว่า ถ้าผมเลือกให้ ก็ไม่รู้ว่าจะสนิทสนมกันแค่ไหน ให้เขาไปเลือกคนที่เป็นญาติกันก็ได้ แต่ขอให้เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงรองลงมา คือไม่เอาเป็นอัมพฤกต์ อัมพาต ให้มีศักยภาพที่จะออกมาทำงานกับเราในชุมชนได้

ผมให้ อสม. เป็นแกน และให้ผู้สูงอายุที่แข็งแรง 2 คน ไปหาเครือข่าย คนละ 2 ครัวเรือน และ 1 อสม. ก็จะต้องไปหา 2 ครัวเรือน เพราะฉะนั้น 1 อสม. จะต้องดูแลผู้สูงอายุ 6 ครัวเรือน เรื่องนี้ผมทำที่หมู่ 4

โครงสร้างนี้ ผม copy ลงอีก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 6 กับหมู่ 8 ปรากฎว่า มันใช้ได้ดีระดับหนึ่ง สำหรับโมเดลอันนี้ แต่มันไม่ใช่แบบที่เราคิด เพราะว่า พอเปลี่ยนหมู่บ้านไป ก็จะแตกต่างกันไป อยู่ที่ความเข้มแข็งของ อสม.

ตอนนี้ ผมเริ่มรู้สึกว่า หมู่บ้านที่ผมเลือก คือ หมู่ 4 กับหมู่ 6 จะมีโรงเรียนๆ หนึ่ง คือ จันทราวาส ลูกหลานของผู้สูงอายุมาเรียนในโรงเรียนจันทราวาส ผมก็เลยแยกดูว่า นักเรียนมาจากหมู่ 4 กี่คน หมู่ 6 กี่คน ที่ทำให้โครงสร้างผู้สูงอายุของเราคงอยู่ ผมเกรงว่า ระยะเวลาที่นานไป โครงสร้างที่ตั้งขึ้นจะล้ม เพราะฉะนั้น ผมจึงต้องหาอะไรสักอย่างมาหนุนไว้ เลยเข้าไปในโรงเรียน

ในปี 2550 กิจกรรมที่ผมคิดเสมอ คือ "การประกวด" จะทำให้เกิดการกระตุ้นทั้งในครู และนักเรียน เพราะถ้าไม่มีการประกวด ย่อมไม่มีการตื่นตัว เพราะว่าไม่รู้ว่า ทำไปทำไม ตรงนี้ ผมเข้าไปในปี 2550 พร้อมกับเครือข่ายตรงนี้กำลังโต

ปรากฎว่า รอบแรกไม่ผ่าน เพราะว่าครูไม่เข้าใจโมเดล นักเรียนก็ไม่เข้าใจ ก็คือ เราเองก็ไม่รู้ว่าจะไปกระตุ้นต่อยังไงเหมือนกัน เพราะว่า ดึง อสม. ดึงผู้สูงอายุเข้าโรงเรียนก็แล้ว ไม่ได้ผล

แต่ ... ผมคิดขึ้นมาใหม่ คือ ต้องเข้าไปศึกษามากขึ้นว่า โรงเรียนเขาทำอะไรอยู่ คือ ถ้าเราจะเอาแบบเราเข้าไป ว่า คุณต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ เขาไม่ได้ทำตาม เขาจะมาแบ่งกลุ่มอะไร เขาก็ไม่ทำ รับปากแล้วก็ไม่ได้ทำ

ผมก็เข้าไปใหม่ ... ไปดูเขาทำ ถามเขา เขาจะเสนอเองว่า โรงเรียนของเขามีการแบ่งนักเรียน ทำความสะอาดตรงนั้น ตรงนี้ ถูส้วม ทำความสะอาด เขาแบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม บวกกับช่วงนั้นมีโครงการไม่กินหวาน มีมด น้อยหน่อย ที่เอามา

ผมก็เลยตั้งชื่อให้นักเรียนกลุ่มนี้เป็น "มดงาน 10 สี อ่อนหวาน" ให้เก๋ๆ แล้วก็ให้แบ่งกลุ่มทั้ง 10 สี โดยที่กลุ่มทุกอย่างเหมือนเดิมหมด ไม่ไปขยับเขยื้อนสมาชิก สีแดง ก็กลุ่มสีแดง เขาจะมีสีของเขาอยู่แล้ว แต่เอาคำว่า "มดงาน" เข้าไปเสริม แล้วบวกกับ ตั้งชื่อให้ตรงวัตถุประสงค์ว่า "ขนน้ำตาลออกจากโรงเรียน" ให้เขารู้กันจริงๆ และมอบกิจกรรมให้เขาใน 10 กลุ่มมดงาน ... เมื่อเขาดำเนินการไประยะหนึ่ง ผมจะให้เขานำเสนองานบ่อยๆ

การทำงานชุมชน ผมจะเอาทีมงาน ... ซึ่งเกิดมาจาก เมื่อผมได้เป็นทีมงานส่งเสริมสุขภาพ ก็จะมีศักยภาพในการที่หาคนมาช่วยเหลือ ตอนแรกผมใช้ชื่อทีมงานผมว่า "ฑูตสุขภาพ" ตอนหลัง ผอ. ให้ผมเขียน spect ว่า ฑูตสุขภาพของผมจะเป็นอย่างไร ผมก็เลยกำหนดให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ (สาขาการกีฬา) แล้วก็สอบถามจังหวัดว่า ถ้านักวิทยาศาสตร์การกีฬา ไม่มีตำแหน่งรองรับในโรงพยาบาล จะต้องทำอย่างไร เขาบอกว่า ให้เขียนโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กำหนดบุคลากร คุณสมบัติ บวก job งานเข้าไปที่จังหวัด เขาก็อนุมติให้เราจ้างมาเป็น job ไป

ผมก็กำหนดไป และให้มีการสอบ โดยให้เขามาสอบใน รร.จันทราวาส ที่ รร. นี้เสนองานให้ 10 มดงาน เล่าให้คนที่มาสอบแข่งขันกัน ฟังว่า รร. ทำอะไรอยู่ แล้วบวกกับให้เขาเสนองานว่า ถ้าเขาจะทำงานใน รพ. เรื่องของการขนน้ำตาลออกจาก รพ. เขาจะทำอะไร

กิจกรรมเหล่านี้ ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้มีการหมุนเวียนการทำงาน บวกกับครูก็ตื่นตัวตลอดเวลา เพราะว่า เราเอาองค์กรภายนอก เข้าไปดูงานเขาตลอดเวลา เดี๋ยวคนนั้น เดี๋ยวคนนี้ และผมเป็นประธานสอบบุคลากรด้วย เพราะฉะนั้น เวลาสอบภาคปฏิบัติ เขาก็จะให้ผมกำหนด job เองด้วย ก็ไปใช้ที่ รร.จันทราวาสเป็นพื้นที่สอบ

ผมบอกทีมอยู่เสมอว่า คุณจะต้องดูทั้งหมด 4 มิติ ได้แก่ ส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยและญาติ ส่งเสริมสุขภาพชุมชน และองค์กร เพราะฉะนั้น พอพูดถึง part ชุมชน จะมีที่หมู่ 4 หมู่ 6 เกิดการกระตุ้นงาน และทำงานกัน เพราะว่าเป้าหมายที่ผมเขียนใน รพ.ส่งเสริมสุขภาพ คือ ส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยและญาติ ส่งเสริมสุขภาพชุมชน และส่งเสริมดูแลองค์กรโดยผ่านกิจกรรม 5 ส

กลุ่มมดงานจะมี 10 สี ก็คือ

  • สีน้ำตาล - ดูเรื่องพืชผักสวนครัวเพื่อสุขภาพ สมุนไพร
  • สีขาว - การแปรงฟัน จะมีสมาชิก 3 คน
  • สีม่วง - การออกกำลังกาย
  • สีเขียว - ดูเรื่องสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
  • สีชมพู - การเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จะมีครูอนามัยเป็นคนดูแลฃ
  • สีเหลือง - เป็นเรื่องงานสุขศึกษา จะรับองค์ความรู้จากทุกสีมาทำเป็นงาน และสอนอีกทีหนึ่ง
  • สีฟ้า - ทำเรื่องฉลากโภชนาการ จะคำนวณน้ำตาล
  • สีน้ำเงิน - ดูเรื่องของตรวจสุขภาพช่องปาก ซึ่งงานเฝ้าระวัง นอกจากครูแล้ว จะมีมดงานสีน้ำเงินไปดูการตรวจด้วยว่า ฟันผุเป็นยังไง ก ข ค ง จ เป็นยังไง และจะแบ่งกลุ่มแปรงฟัน ก็จะส่งผลให้มดแปรงฟัน คือ มดสีขาว ก็จะไปจัดกลุ่มการแปรงฟัน ในงานเฝ้าระวัง
  • สีแดง - มดชุมชน มี ผอ. เป็นคนดูแล ก็จะกำหนดในเรื่องของนโยบาย มีประชุม อสม. ขยายงานผู้สูงอายุ ประชาสัมพันธ์ เดินรณรงค์ และเครือข่ายผู้ปกครองในหมู่บ้าน
  • สีส้ม - เรื่องของสำรวจร้านค้า และธนาคารปลอดหวาน

ในแต่ละกลุ่มมดงาน จะต้องมีเครือข่ายโมเดลมาจับ คือ 1 สี จะต้องมี รูประจำกลุ่ม อสม. 1 คน ประจำกลุ่ม ผู้สูงอายุที่แข็งแรง หมู่ 6 ประจำกลุ่ม ผู้สูงอายุหมู่ 4 ประจำกลุ่ม แล้วมดงานจะเป็นคนเชื่อมโยงเข้าชุมชน

เช่น มดงานสีแดง มี ผอ. เป็นคนดูแล จะมีหน้าที่ที่เห็นชัดๆ คือ หนึ่ง เดินรณรงค์ในหมู่บ้าน หมู่ 4 และ หมู่ 6 สอง รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้นักเรียนที่เป็นลูกหลานในแต่ละหมู่ เอาองค์ความรู้ จากมดงานสีชมพู มดงานสุขศึกษา ทำแผ่นพับ แผ่นพลิก ที่ รพ. ทำให้ เข้าไปแจกในหมู่บ้าน และมดงานสีแดง มีการจัดประชุมผู้สูงอายุในโรงเรียน ก็จะพยายามให้โรงเรียนเป็นแหล่งประชุม เพื่อให้ผู้สูงอายุ และ อสม. เดินเข้ามาในโรงเรียน แล้วคนที่จะนำการสอน ก็จะเป็นครูใหญ่ เพราะว่าเป็นครูประจำสีแดง

และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาต้องเข้าไปในโรงเรียน ไปพาออกกำลังกาย ไปสอนผู้สูงอายุ ทีมงานของผมที่ตั้งไว้ จะมี 4 คน คือ ผม นักกายภาพบำบัดที่มาใหม่ เรื่องแพทย์แผนไทย และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา และอีกคนหนึ่งมาจากห้องยา ก็จะช่วยพาคนออกกำลังกายใน รพ. 4 คนนี้ ผมถือว่า ต้องเป็นเครือข่ายที่ต้องเข้มแข็ง

ทีมเราประกาศ 3 งานหลัก คือ หนึ่ง รพ. อ่อนหวาน สอง คนไทยไร้พุง สาม งานข่าวประชาสัมพันธ์ งานปีหน้าต้องเด่นสามงาน และเราขอรับประกวด การประเมินจาก สสจ. ก็จะมีการเชิญคนข้างนอกมาอธิบาย 4 คนนี้ต้องเข้า และจะมีบอร์ดประชาสัมพันธ์ และการจัดองค์ประกอบงานสุขศึกษา เพราะเราเจอว่า งาน HA/HPH เมื่อถึงจุดหนึ่ง ต้องใช้งานสุขศึกษา เป็นตัวกระตุ้น

ตอนนี้ผมรู้สึกว่า หลังจากที่โรงเรียนได้ประกวดในกลุ่มงานเฝ้าระวังหมวดที่ 2 หมวดอาหารได้ที่ 1 แล้วก็บวกกับที่ผมอาศัยว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล ที่จะ run งานต่างๆ มดงานจะดูเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จากกิจกรรมที่น้อยๆ ก็จะมีน้ำมีเนื้อขึ้น จะมีแผ่นพับแผ่นพลิกผ่านเข้ามา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเข้ามาป้อนโรงพยาบาล และเราแจกจ่ายไปทุกฝ่าย งาน HPH จะจัดหาให้ โดยจะมีบอร์ดเคลื่อนที่ เพราะฉะนั้น หน้าที่หนึ่งของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ก็คือ ต้องไปดูการเปลี่ยนแปลงของบอร์ดให้มีการเคลื่อนไหว ต้องเปลี่ยน และบันทึกว่าเปลี่ยนเรื่องอะไรด้วย

ผมก็เลยคิดว่า ปีหน้าเราจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ตอนนี้ก็เห็นผลชัดๆ ว่า รพ. มีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ จาก รพ. ที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ รพ.ที่ดูเหมือนกับคนจะไม่สบายไปหมด เขาก็มาออกกำลังกาย เต้นแอโรบิคกัน และพูดง่ายๆ คือ เราก็พยายามบอก job คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่า ถ้าคุณอยากได้ OT คุณต้องทำชมรมให้เข้มแข็ง และตอนนี้มีชมรมที่ไม่เข้มแข็งเลย เช่น ชมรมจักรยาน ชขมรมเต้นแอโรบิค ไปทำให้เข้มแข็ง เช่น บอกเวลาไปเลยว่า ช่วงนี้ถึงช่วงนี้จะวิ่ง ช่วงนี้จะทำโยคะ ช่วงนี้จะทำอะไรให้ครบทุกชมรม และจะมีเต้นแอโรบิค บวกกับสวดมนต์ตอน 2 ทุ่มครึ่ง ที่ตึกสงฆ์ ใครสนใจก็ไปสวดตรงนั้น ตรงนี้

โรงเรียนที่ลำปลายมาศ จะรับผิดชอบ 3 โรง คือ จันทราวาส อนุบาล และบำรุง ปีนี้ รร.อนุบาลเปิดตัว ก็เลยส่งเข้าประกวดในโรงเรียนเด็กไทยทำได้ ได้ที่ 1 เขาก็เลยเกิดแรงกระตุ้นตัวให้มาทำงาน เหลือ รร.บำรุง ก็คิดว่า ปีหน้าคงจะขยายงานเข้าหมู่ 2 สวนแตง กับหมู่ 4 ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกัน และเขาก็บอกว่า 2 หมู่บ้านนี้ใช้วัดร่วมกัน ... ผมก็นำเสนองานที่ จว. ว่า ถ้าคุณจะทำงานชุมชนให้ดี ตรงนั้นควรจะมีวัด มีโรงเรียนอยู่เป็นแกน เพราะว่า เราเคยทำในหมู่ 8 ปรากฎว่า หมู่ 8 มีแต่วัด รร. ไม่มี ศูนย์เด็กไม่มี และปรากฎว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็จะเป็นแต่ครูเกษียณ เมื่อทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงดี งานที่เราไปนำเสนอ ก็ไม่มีงานอะไรที่จะไปนำเสนอ ประกวด อสม.ดีเด่น ลำปลายมาศก็เลยตกไป ทั้งๆ ที่เราเลือกหมู่ 8 เป็นหมู่บ้านที่เล็ก แต่ด้วยความเล็กของเขา ก็เลยค่อนข้างที่สมบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้ว ก็เลยไม่มีงานที่จะไปนำเสนอ

กิจกรรมที่ผมเริ่มต้น เมื่อปี 2550 คือ ข้อตกลงของหมู่บ้าน 5 ข้อ 1. สอนเด็นแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง 2. แนะนำเด็กไม่ให้กินอาหารหวาน 3. ระดมทุน 2 บาท เพื่อที่จะทำชมรมต่อไป 4. ขอร้องร้านค้าไม่ให้จำหน่ายน้ำอัดลม 5. จัดงานเลี้ยงงานบุญไม่ให้ใช้น้ำอัดลม ... เราก็ไปตามทีละงาน มันก็จะเริ่ม Down ลงๆ ทำเมื่อ 24 พค.50 พอธันวา ก็รู้สึกว่าจะลีบไป ก็รีบเข้า รร. อีก

ตอนนี้เรียกได้ว่า กิจกรรมย้อนกลับ "นักเรียนสอนผู้ใหญ่แปรงฟันครับ" คือ สอนตั้งแต่พ่อแม่ ในเครือข่ายของตัวเอง แต่ก่อนเราทำผู้สูงอายุจับกลุ่ม ตอนนี้เด็กไปแตกออก เด็ก 1 คน ต้องไปหาเพื่อนบ้าน 2 คน และส่งรายชื่อมาให้หมอ ทำกิจกรรมอันนี้ ย้อนกลับไปในชุมชน

ตอนนี้ผู้สูงอายุ ผมกำลังจะจับกลุ่ม และการที่จะไป treat แต่ละคน แต่ละกลุ่มก็จะไม่เหมือนกันแล้ว กลุ่มป่วยจะเอายังไง จะเอาทีมพยาบาลลงไปช่วยไหม เพราะว่าผมดูงาน Home Health Care ด้วย และกลุ่มแข็งแรง จะเอามาทำอะไรต่อ ก็จะหากิจกรรมลงไปเรื่อยๆ

กิจกรรมที่เพิ่มเติม ผมจะพยายามทวนว่า ข้อที่ 1 ทำไปถึงไหน ข้อที่ 2 ทำไปถึงไหน เขาก็จะนึกว่า เขาเคยตกลงอะไรกันไว้ในหมู่บ้าน เราก็จะถามว่า เยอะไปไหม 5 ข้อ ถามเขา ถ้าเขาบอกว่า ทำไหวก็ไหว ... เขาบอกว่า เขาเสริมผักสวนครัว รั้วกินได้ หมู่ 6 นี่ เขาปลูกผักเต็มบ้าน ผักกระถินก็เอามากินกัน ก็จะตามกัน พอหมู่ 8 เขาก็ลดเหลือ 3 ข้อ เพราะว่าร้านค้าในหมู่บ้านเขาไม่มี ก็ตัดทิ้งไป และสอนลูกหลานแปรงฟัน เขาไม่กินน้ำอัดลม และอีกอันหนึ่งก็คือ เขาไม่ระดมทุน เขาก็จะเหลือ 3 ข้อ คือ เข้าไปในวัด สอนพระแปรงฟัน เวลาที่เสนองานแข่งกัน เพราะเขาจะมีการประกวดหมู่บ้าน เวลาที่จังหวัดจัด เลยไปแพ้อำเภอเมือง เพราะกิจกรรมเขาจะหลากหลายกว่า นักเรียนมีทั้งศูนย์เด็ก และอื่นๆ เพราะเขาจับจุดได้ว่า ลำปลายมาศตกไปไม่ใช่เพราะว่าไม่เก่ง แต่เป็นเพราะว่า เราหากิจกรรมไม่มี ถ้าคุณจะทำงานกับชุมชน ขอให้เลือกหมู่บ้าน มีนักเรียน มีศูนย์เด็ก

สร้างความนับถือด้วยใจ

การที่เขาทำตามนั้น ผมรู้สึกว่า สิ่งต่างๆ ตรงนี้ได้จากการที่ผมคิดว่า เราต้องไปศึกษาในระดับที่ว่า สร้างความนับถือกัน เช่น ที่บอกว่า คุณเป็นคนมีคุณค่านะ ปากเราก็ว่า แต่ใจของเราว่าเขามีคุณค่าหรือเปล่า แต่ถ้าเราพูดว่าเขามีคุณค่านี่ เราต้องไปแสดงให้เขาได้รู้ว่า งานของเราจะสำเร็จได้ ก็เพราะเขาจริงๆ

ยกตัวอย่างเช่น เราต้องไปหาคนที่เป็นแกนนำ ตรงนี้ ผมคิดว่า ก็คือ คนที่มีใจที่จะทำงานกับเราจริงๆ ไม่ต้องหาทีละเยอะๆ ค่อยๆ หา ค่อยๆ สร้าง เหมือนกับที่ผมสร้างทีมสุขภาพ 4 คน ตอนแรกจะมี แค่ 2 คน ขณะที่ผมอยากจะเลิกแล้ว อีกคนเขาก็กระตุ้นให้ผมทำต่อ บอกว่า "ถ้าไม่มีหมอ ผมก็แย่นะซี" แบบนี้ก็เหมือนกัน

ผมคิดว่า เขาไม่ได้คิดจะยอมผม แต่ "ผมต้องพยายามไปหาคนที่เอาบริบทของ รพ. มา 1 คนให้ได้" และเราต้องขยายงานออกไป 2 เป็น 3 (ในขณะที่ต่างจากตอนปี 50 ผมไปบอกว่า ไปสำรวจผู้สูงอายุ 100 คน ก็เอา 100 คนเลย คุณคือสมาชิกของผมหมด และก็แบ่งงานไปหมด และจริงๆ ก็พบว่า มันไม่ใช่ คือ เราออกมาจากหมู่บ้านแล้ว ไปตาม มันไม่ใช่อย่างที่เราไปทำ) ตอนนี้ ชุดใน รร.ต่างกันที่ว่า ตอนนี้ ผมคิดเอา รร. เป็นโมเดล รร. ทำอะไร เราจะทำตาม รร. แล้ว copy เข้าหมู่บ้าน

ยกตัวอย่าง รร. เขาต้องถูกบังคับทำ เพราะว่า เขาประกวดงานเฝ้าระวัง และในปีที่ผ่านมา งานเฝ้าระวังประกวดเป็น 3 ระดับ ระดับอำเภอ ระดับ zone ระดับจังหวัด ซึ่งต่างกับ ปี 2550 เพราะว่า ปี 2550 ประกวดโรงเรียนแล้วแต่หมอจะส่งประกวด ผมส่งจันทราวาส ปรากฎว่า เขามาประเมินทีเดียวจบ ตกก็คือตก ได้ก็คือได้ ... 3 ระดับ เป็นอะไรที่ดีมากๆ เพราะช่วงมิถุนายน ผมมีการประชุมครู ตั้งแต่ครูผู้บริหาร ครูอนามัย และครูอนุบาล ให้เขาไปถ่ายทอดกัน เสร็จแล้ว เราเข้าไปตามงาน พอเขาประกวดรอบแรก เราเป็นกรรมการ ก็เข้าไปบอกว่า กรรมการจะมาดูอะไรบ้าง สิ่งที่คุณทำครั้งที่แล้ว คุณตกเพราะว่าอะไร ถามนักเรียนสิว่า เข้าใจไหม นร. ก็ไม่เข้าใจ ทำยังไง นร. จะเข้าใจ ครูคิดดูซิ ครูก็คิด แต่ที่จริงครูเขาก็ไม่อยากทำ ... จันทราวาสนี่เข้ายากมาก ผมเข้าไปตั้งกี่รอบ เข้าไปจนผมไม่อยากเข้า ผมอยากจะเลิกทีหนึ่งแล้ว แต่มามีงานตรงนี้ คือ ประกวด รร. ตรงนี้อีกหน่อย ผมก็เลยเอาประกวด รร. ตรงนี้ไปจุดประกายอีกทีหนึ่ง

ตอนนี้พอรอบแรก ผมบอกว่า ถ้าไม่ได้ที่หนึ่งนะ งานผมล้มเลยนะพี่ จังหวัดเขาก็มาตรวจเข้มขึ้น ต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ ครูก็เริ่มขับเคลื่อน บวกกับคำชมของเราเรื่อยๆ เขาก็เก่งขึ้นจริงๆ ผมถึงบอกว่า "มันต้องชมทั้งใจเข้าไปเลย" ตอนเย็นเราต้องเข้าไป ไปช่วยเขาทำบอร์ด ไปทำอันนั้น อันนี้ จนครูมีความรู้สึกว่า เราทำจริง และเชียร์เขาจริง ... กรรมการในระดับ zone ยังบอกว่า หมอแอ็ด นี่เป็นกรรมการนะ ไม่ใช่เป็นครู รร.จันทราวาส เพราะเราเชียร์มาก พูดเป็นครูไปเลย งานก็เริ่มดำเนินต่อ ตอนนี้ครูก็เริ่มรู้สึกว่า เรารักเขาจริง "หมอแอ็ดนี่ เขาเต็มที่กับจันทราวาสนะ" ตอนนี้เราพูดอะไร ก็เริ่มเป็นตามที่พูด พอมาระดับจังหวัด พี่อ๋อยแกช่างรู้ใจด้วย ใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี เพราะปี 2550 ชมเชยก็ไม่ได้ ทั้งตำหนิจันทราวาส ทำไมอย่างนี้

เขาพยายามทำตามเราบอก ตอน Asian games เขาบอกว่า "การต้อนรับของทุกคน ของคนจีนทุกคนทำให้กรรมการยินดี" ผมเอาคำนี้มาพูดเลย อย่างขนนักเรียนมากองเต็มหน้า รร. กรรมการมาถาม นร. คนไหนก็ตอบไม่ได้ ... ตอนหลังเปลี่ยนไหม คนไหนไม่ฉลาดไม่เอา กลยุทธ์มันก็จะมาต่างๆ เราก็เลือกคนที่ฉลาดมา 5 คน แต่ละกลุ่มสี นร. ก็จะถูกซ่อนหมด ก็จะเหลือคนที่ออกมาท่องกัน 5 คนนี่ ตอนนี้เด็กก็เริ่มเก่ง ผมก็เลยบอกว่า ตอนนี้ก็ต้องถ่ายเลือดกันใหม่ ป. 6 ก็ถ่ายให้กับ ป.5 ไม่อย่างนี้ เดี๋ยวงานเราสะดุด เพราะฉะนั้น จริงๆ ชุมชนไม่ได้ตามใจผม แต่ว่าผมอาศัยเชิงรุก คุยกับ สสจ. และ ค่อยๆ ดันเข้าไป

มองอนาคต

ผมเน้นผู้สูงอายุ ตรงที่เราจะประกาศการจัดประกวดต่างๆ เช่น ประกวดชมรมฯ และผมพยายามพูดคุยในเรื่องของคนที่จะมาดูแลร่วมกัน เกี่ยวกับผู้สูงอายุในฝ่ายส่งเสริม และฝ่ายการพยาบาล ใจผมคิดว่า น่าจะมีการจัดกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สบาย ผู้สูงอายุที่เป็นแกนนำในแต่ละหมู่ ผู้สูงอายุที่มีความรู้ เช่น เกษียณ ผู้สุงอายุที่ทำยังไงก็ไม่ออกมา เราจะเข้าไปดูแลเขาอย่างไร ซึ่งเป็นแผนที่คิดไว้จะทำต่อไป

รวมเรื่อง ร่วมปฏิบัติภารกิจกับ สพช.

   

หมายเลขบันทึก: 224549เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาอ่าน และทักทายค่ะ

มีความสุขในการทำงานนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ P
  • ได้เห็นทั้ง สายธาร และดอกไม้ ทำให้สดชื่น และมีความสุข
  • ขอบคุณค่ะ
  • แวะมาดูการถ่ายเลือดจากพี่สู่น้อง
  • ชมรมเข้มแข็ง
  • ผู้สูงอายุในพื้นที่ก็อบอุ่น
  • แต่ยังไงๆๆ  
  • ก็อย่าหมกหมุ่นคิดแต่เรื่องงานมาก
  • เดี๋ยวหน้าจะแก่ก่อนวัย   อิอิ
  • เดี๋ยวจะไปบอกลูกชายคุณหมออีกคน
  • อาเจ๊ P
  • ใช่เลยค่ะ ฟังเรื่องเล่าจากคนที่ทำงานชุมชน เขาเต็มที่ เต็มใจ และมีความรัก ความอบอุ่น ให้กันและกันอยากมายมายจริงๆ นะ
  • วัยนี้แล้วนะ อาเจ๊ ถึงระวัง หน้าก็มีโอกาสแก่แล้วละจ้ะ
  • เดี๋ยวจะตามไปเม้าท์ต่อ อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท