เกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (6) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุที่ลำปลายมาศ


หมู่ 4 บ้านผักกาดหญ้า มี 202 หลังคาเรือน ผู้สูงอายุ 200 คน สำหรับหมู่ 6 ผู้สูงอายุ 76 คน น้อยกว่า แต่ว่าข้อดีคือ มี รร.ประถมแห่งหนึ่ง อยู่ในหมู่ 6 คือ รร.จันทราวาส และก็เป็น รร. ที่หมู่ 4 กับหมู่ 6 ใช้ร่วมกัน ผมคิดตั้งแต่เริ่มแรกว่า โครงการของผมน่าจะให้ผู้สูงอายุทำในเรื่อง การเฝ้าระวัง พอเปิดเทอม เดือน พค. จึงเอางานมาใน รร. และจะขยายงานย้อนกลับจาก รร. เข้าหมู่ 6 ก็คิดไปอย่างนี้

 

หมอแอ๊ดมาหนนี้ เปลี่ยนไป๋ อีกแล้วละค่ะ จากครั้งที่แล้ว เมื่อปี 2550 เธอทำเรื่องนี้ ไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ที่ลำปลายมาศ และบ้านเขว้า (3) รพ.ลำปลายมาศ เปลี่ยนไป๋ วันนี้ ก็เหมือนกัน

ในส่วนของ รพ.ลำปลายมาศ หมอแอ๊ด หรือหมอเริงสิทธิ์ของเรา มาเล่าว่า ...

ลำปลายมาศไม่ได้มีต้นทุนเหมือนของลำปาง จากตอนที่ผมเคยไปอบรมผู้สูงอายุ ม.เชียงใหม่จัด ที่สถาบันทันตกรรมไปทำเรื่อง คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ก็ไปดูต้นแบบของเชียงใหม่ ลำปาง ทำให้ผมเกิด "ใจอยากจะทำ" อย่างเดียวเลยว่า เราไปอบรมมาแล้ว ถ้าได้โอกาส เราก็อยากจะทำบ้าง

และของบุรีรัมย์ เมื่อปี 2549 จังหวัดได้คัดเลือกพุทไธสง กับประโคนชัย ทำ 2 อำเภอ ก็มีความคิดลึกๆ ว่า อยากมาทำในอำเภอของเราบ้าง พอปี 2550 จังหวัดถามความต้องการทำกิจกรรมเพิ่ม ผมก็ได้เสนอตัวไป พร้อมหนองกี่ ตอนเสนอไป ก็ยังไม่ได้คิดว่า จะเริ่มต้นอย่างไร จะทำแบบไหน จนกระทั่ง พอแผนงานโครงการออกมา ก็คิดจะคืนเงินสนับสนุน เพราะผมได้รู้แล้วว่า ผู้สูงอายุของผมขอบอยู่ในบ้านมากกว่า

แต่พี่อ๋อย ให้กำลังใจดีมาก มองข้ามส่วนที่เราไม่อยากจะทำ มองว่าเราประสบความสำเร็จ ก็ให้นำโครงการต่างๆ ไปนำเสนอ ที่ศูนย์อนามัย วันที่ 14 เมย.50 ผมทำตามแผนที่ประชุม สสจ. หมอยักษ์จะให้ทำอะไร เกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ ก็คัดขึ้นมานำเสนอทั้งหมด แล้วก็ได้รับข้อเสนอแนะ จากทางศูนย์ฯ และกองทันตฯ ก็กลับมาเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่หมดเหมือนกัน (ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนไป๋ ครั้งที่ 1 ละค่ะ)

หมอแอ๊ด ก็เริ่มต้นเล่า พร้อมทั้งแถมว่า ผลพลอยได้ของการทำกิจกรรมนี้ ทำให้ทำคอมฯ เป็นละค่ะ แถมบอกอีกว่า "แต่ก่อนจ้างเขาตลอดละครับ" ... เล่าต่อ

ผมได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อนามัย โดยที่พี่รุ่งนภา จัดหาให้ขยายเข้าหมู่ 6 โดยผมเริ่มต้นจากหมู่ 4 บ้านผักกาดหญ้า และผมได้นำเสนอเข้าหมู่ 6 บ้านประชาสรรค์ เพราะฉะนั้นในปี 2550 ผมทำได้ 2 หมู่ โดย copy งานจากตรงนี้ (หมู่ 4) เข้าไป และตรงนี้เอง ทำให้ผมเกิดการเรียนรู้หลายๆ อย่างว่า 2 หมู่บ้านนี้ต่างกัน

อำเภอลำปลายมาศ ติดกับโคราช และ อ.เมือง บุรีรัมย์ มี 16 ตำบล 2 เทศบาล คือ เทศบาลลำปลายมาศ และเทศบาลทะเมนชัย มี 216 หมู่บ้าน ประชากรแสนกว่าคน รับผิดชอบ รร.ประถม 76 แห่ง แต่ที่ผมรับผิดชอบในตัวอำเภอ 3 แห่ง มัธยม 16 แห่ง อยู่ในตัวอำเภอ 1 แห่ง

กิจกรรมทันตสาธารณสุขนี้ ผู้สนับสนุนคือ คุณหมอจีรศักดิ์ เป็นทั้งกำลังใจ และตู้ ATM และพี่เผ่าพันธุ์ หรือพี่อ๋อย จาก สสจ.บุรีรัมย์ งานนี้เป็นงบฯ ก้อนแรกที่เข้ามา และที่เราทำงานตรงนี้เป็นอะไรที่สร้างคุณค่าให้กับผมมาก

อำเภอลำปลายมาศมี 10 หมู่บ้าน ผมเริ่มที่หมู่ 4 บ้านผักกาดหญ้า และพอปี 2550 ก็ได้งบฯ จากศูนย์อนามัยที่ 5 จึงเข้าหมู่ 6 บ้านประชาสรรค์ ผมรับผิดชอบ รร.ประถม 3 แห่ง มัธยม 1 แห่ง โรงเรียนนี้เป็นเครื่องมือของผม ในการทำงานผู้สูงอายุต่อต่อ (นี่ละค่ะ จุดเปลี่ยนที่ 2 คิดได้ไง เอา รร. มาทำงานกับผู้สูงอายุ)

หมู่ 4 บ้านผักกาดหญ้า มี 202 หลังคาเรือน ผู้สูงอายุ 200 คน สำหรับหมู่ 6 ผู้สูงอายุ 76 คน น้อยกว่า แต่ว่าข้อดีคือ มี รร.ประถมแห่งหนึ่ง อยู่ในหมู่ 6 คือ รร.จันทราวาส และก็เป็น รร. ที่หมู่ 4 กับหมู่ 6 ใช้ร่วมกัน ผมคิดตั้งแต่เริ่มแรกว่า โครงการของผมน่าจะให้ผู้สูงอายุทำในเรื่อง การเฝ้าระวัง พอเปิดเทอม เดือน พค. จึงเอางานมาใน รร. และจะขยายงานย้อนกลับจาก รร. เข้าหมู่ 6 ก็คิดไปอย่างนี้

ตัวชี้วัดที่ลอกมาจากรายงานการประชุมในครั้งนั้น คือ จะต้องทำได้ตามนี้ ในปี 2550 จะมีข้อหนึ่งก็คือ ชมรมผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างน้อย 1 รูปแบบ และร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุมีฟันแท้ และฟันเทียมสำหรับใช้เคี้ยวอาหารได้ ผมเอาตัวนี้ขึ้นมาเป็นเป้าหมาย

หลังจากที่ผมเข้าไปทำกิจกรรมในระยะหนึ่ง ผมได้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมาเยอะมาก อาศัยว่า ผมเป็นคนลำปลายมาศ ส่วนหนึ่งผมก็คิดว่า ผมรู้จักค่อนข้างเยอะ น่าจะไปขอความร่วมมือจากผู้สูงอายุแต่ละคนได้ เราก็อาศัย เข้าไปเหมือนบ้านพี่บ้านน้อง แต่ปรากฎว่า เราไม่สามารถที่จะไปทำให้เขาทำอย่างที่เราคิดได้ เขาเรียกเราว่า คุณหมอ แต่พอจริงๆ เขาก็ไม่ได้ทำตามที่บอกเรา ไม่ได้มาตามนัด

ผมก็กลับมาคิดถึงผู้ร่วมงาน ส่วนหนึ่งก็คืองานส่งเสริม แต่ก่อนการทำงาน ผมไม่ได้ประสานกับงานส่งเสริมฯ ผมโทรไปถามจังหวัดก่อน จังหวัดก็บอกว่า ถามส่งเสริมฯ สิ ว่า ผู้สูงอายุเดิมเขามีอะไร แบบไหน

ตรงนี้ ผมก็เลยดึง อสม. เข้ามา แล้วโดยพี่อ๋อยกระตุ้นว่า ถึงเวลาใช้เงินแล้วนะ ให้ทำอะไรสักอย่าง ผมก็ไปเล่าให้จังหวัดฟังว่า ผมทำไปถึงไหนแล้ว ผมบอกว่า ผู้สูงอายุ 100 คนนี่ ผมไม่ได้สามารถจะเอาไปได้ 100 คน ผมจะเอามาได้แค่ กี่คนที่เขาจะเชื่อเรา ก็ปรากฎว่าได้ 36 คน ผมก็ไปเอา อสม. มาเพิ่มให้ครบ ตามที่เขียนไว้ และให้เขาจับคู่กัน (ตอนนั้น ผมเพิ่งได้รู้บทบาท อบต. ว่า จริงๆ แล้ว จะช่วยอะไรผมได้บ้าง)

นี่เป็นแนวคิดใหม่ทั้งหมดว่า ต้องเอากลุ่มอื่นเข้ามา ผมจะมาขีดแค่คน 60 ปี ทำงานไม่ได้ เลยต้องขยายมาในกลุ่มที่ไม่ถึง 60 และเริ่มเข้าไปตามวันที่เขาอยากให้เราเข้าไป ไม่ได้เข้าไปในวันราชการ

ช่วง พค.-มิย. ถึงเวลา รร. เปิด พอดีมีเงินเกี่ยวกับโครงการไม่กินหวานเข้ามา ผมก็บูรณาการ เพราะผมคิดว่าจะเอา รร. เข้าหมู่ 6 ผมก็ไปเอาผู้สูงอายุของหมู่ 4 ผู้สูงอายุของหมู่ 6 อสม. ของหมู่ 4 และ อสม. หมู่ 6 และนักเรียน เป็นคณะทำงาน จัดตั้งเป็นชมรม "จันทราวาสรวมใจไม่กินหวาน" ประชุมครู แล้วก็ขยายงาน

ตอนนั้นผมมัวแต่ทำงานผู้สูงอายุ เขาก็มีการประกวด รร. งานเฝ้าระวัง ผมส่งประกวดก็ตก ผมส่ง รร.จันทราวาสเข้าไปในหมวดไม่กินหวาน หมวด 2 พอตก กิจกรรมผมฟุบเลยครับ เข้าหน้าครูก็ไม่กล้าเข้า พอเปลี่ยนปีงบประมาณใหม่ ผมก็มาตั้งหลัก กระซิบบอกพี่อ๋อยว่า เข้า รร. ไม่ได้เลย ทำไงดี ตอนหลังมีกิจกรรมที่เปิดทางเข้าไปใหม่ ผมก็ไปถาม รร. ว่า พี่ครับ โชคดีที่ปีที่ผ่านมา จังหวัดได้กันเงินเกี่ยวกับเฝ้าระวังไว้ ให้มีอบรมครู มีประกวดแต่ละรอบๆ ประกวดทั้ง 3 หมวด ทั้งหลักสูตร หมวดอาหาร การแปรงฟัน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต ตรงนั้นทำให้ผมรู้ว่า ... เราเริ่มเป็นแกนในการประกวด คือ ดึงฝ่ายส่งเสริมฯ เป็นคณะกรรมการกับเรา ทำให้พูดอะไรก็มีน้ำหนัก รู้สึกว่าเหมือนกับเราไปวาดรูป ร่วมกำหนดได้เลยว่า ใน รร. เขาต้องมีอะไร และกรรมการไปดู เขาก็จะยอมรับเรา และที่ 1 ต้องเป็นของจันทราวาสให้ได้

พูดง่ายๆ ว่า เราต้องเข้าไปช่วยเขาเตรียม เตรียมเด็ก อย่างเช่น ดูว่าที่จันทราวาส เด็กเขาทำอะไรอยู่ เขาบอกว่า เขาแบ่งเป็น 10 สี ทำความสะอาด รร. ทำความสะอาดพระ ทำความสะอาดห้องน้ำ ผมก็เลย ... เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ผมใช้ "มดงาน 10 สีอ่อนหวาน" คือ "จันทราวาสไม่กินหวาน" ผมเข้าไปช่วยแบ่งกลุ่ม 10 สีอ่อนหวาน เป็น สีแดง มดชุมชนนะ หน้าที่ของคุณคือ ต้องออกไปชุมชน ไปรณรงค์ไม่กินหวาน ในหมู่ 4 หมู่ 6 คือ ก็เอางานผู้สูงอายุของเรา ขึ้นมาพูดเป็นกิจกรรมร่วมด้วย โดยจัดให้แต่ละกลุ่มสี 10 กลุ่ม มี อสม. ทั้งหมู่ 4 หมู่ 6 มาร่วมกัน และผู้สูงอายุ หมู่ 4 หมู่ 6 มาร่วมกัน พูดง่ายๆ ว่า แนวคิดเปลี่ยนไปหมด

หลังจากที่ผมได้ทำงานไประยะหนึ่ง ผมรู้สึกว่า

  • สิ่งที่เป็นอะไรใหม่ๆ สำหรับเราคนทำงาน ผมรู้สึกว่า กิจกรรมตรงนี้จะอยู่กับตัวเราแล้วก็เวลาทำงาน ผลงานที่ออกมาไม่ได้มีคุณค่ามากกว่า ที่เราทำงานแล้วไปเจอปัญหาในพื้นที่ แล้วแก้ไปแต่ละจุดๆ ยกตัวอย่างที่ผ่านมา ปี 2551
    ... ผมได้ทำโครงการ ที่ทำหมู่ 4 หมู่ 6 มาแล้ง ก็มาคิดทำหมู่ 8 ผมของบฯ เงินบำรุงเข้าหมู่ 8 อีกหมู่หนึ่ง ปี 2551 ผมก็จะมีทั้ง 3 หมู่ คือ หมู่ 4, 6 และ 8
    ... ได้เขียนโครงการขอไปจังหวัด คือ ชมรมผู้สูงอายุลดการบริโภคน้ำอัดลม เพราะคิดว่า เราอยากปลอดน้ำอัดลม แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ ก็เลยใช้คำว่า ลดการบริโภคน้ำอัดลม
    ... โดยใช้เกณฑ์เมื่อเรามาทำในหมู่บ้าน ใช้เกณฑ์ที่เราประกวดโรงเรียนเป็นตัววัด ว่าชมรมไหนควรได้รับรางวัล
    ... จังหวัดสนับสนุนเงิน รางวัลที่ 1, 2 และ 3
    ... เอาเกณฑ์ของเฝ้าระวังมาเทียบเคียง ในเรื่องของสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชมรมฯ และในหมวดการเรียนรู้ ก็เอาเรื่องชมรมฯ ให้ความรู้ในหมู่บ้านได้มากน้อยแค่ไหน และเรื่องการบริโภคอาหาร ทางชมรมฯ ได้ลดการบริโภคได้จริงไหม ที่เป็นรูปธรรม และร้านค้าเขามีส่วนร่วมขนาดไหนที่ไปพร้อมกับเด็ก และในหมวดการแปรงฟัน เขาได้แสดงการแปรงฟันประจำขนาดไหน และดูแลความสะอาดช่องปากขนาดไหน ในชมรม
    ... และส่วนของชมรมที่เขามาทำ กิจกรรมของชมรมได้ไปช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพื่อนบ้านของเขา ในหมู่บ้านที่ไม่ได้เข้าชมรมฯ ขนาดไหน
    ... ชมรมของเขามีความเข้มแข็งขนาดไหน มีส่วนร่วมสะท้อนปัญหาของตัวเอง ขึ้นมาให้เราช่วยเป็นตัวหนึ่งที่จะกำหนดนโยบายให้เราว่า เราควรจะจัดทำงาน 52 อย่างไร
    ... และในส่วนของนโยบายของจังหวัด ที่เรานำไปเสนอเขา อะไรที่จะเป็นอุปสรรคในตัวของเขาเอง ในหมู่บ้าน
    ... ถ้าเขาสะท้อนให้เราเห็น หรือเขาทำแล้วไม่ได้ มันก็จะเป็นคะแนนที่ต่างกันไป
    ... และในเรื่อง การรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าขนาดไหน หลังจากที่ตัวเองดำเนินกิจกรรมไปแล้ว ดูความสามัคคีในชมรมฯ ว่า เขาทำไปแล้ว มีอะไรที่ดีขึ้นอย่างไร โดยจะออกติดตามเป็นระยะๆ
  • เราได้ให้ รร. จันทราวาส กลุ่มมดงานสีน้ำเงินทำ
  • ในมดงานทั้ง 10 สี เราแบ่งกันว่า มดงานเฝ้าระวัง ต้องไปช่วยครูตรวจฟัน มดงานสีเขียว ไปทำงานชุมชนเกี่ยวกับการปลูกผัก หาอาหารที่เป็นประโยชน์ มดงานสีน้ำตาลช่วยตรวจกระเป๋าเด็กด้วยกัน เพื่อนฝูง ไม่ให้เอาขนมหวานมากิน แต่มีมดงานอยู่กลุ่มหนึ่ง คือ ทำธนาคารขนม เขาจะมาเป็นตุ๊กตานำเสนอก่อน เราก็จะพยายามหาเวทีให้แต่ละมดงานได้มานำเสนอ เพื่อที่เขาเอา ชมรมทั้ง 3 ชมรม มาเห็นแบบ

ปี 2552 เราต้องเขียนของบฯ เอง ที่ผ่านมาเหมือนกับว่า ทางศูนย์ฯ และจังหวัด ทำให้ผมเห็นรูปแบบ ฉีดภูมิคุ้มกันให้ผมระดับหนึ่ง ที่จะทำโครงการขึ้นไปขอ ไม่ว่าเทศบาล หรืออื่นๆ

ตอนนี้ขับเคลื่อนไป ในที่ที่ผมตั้งว่า หมู่ 2 หรือ หมู่ 10 ที่ใช้วัดร่วมกัน ก็อยากจะดูว่า มันจะต่างกันยังไง กำลังคิด และจะเขียนโครงการมาให้ครอบคลุมตามที่ จว. ให้ไปเขียนขอในแต่ละตำบล แต่ละเทศบาล หรือเงินบำรุงที่เกี่ยวข้อง ... ผมคิดว่า ปี 2552 จะเป็นปีที่วัดฝีมือจริงๆ

หมอแอ๊ดทำงานในลักษณะของ การเผชิญปัญหา และคิดหาทางเอาชนะปัญหามาโดยตลอดละค่ะ เพราะเธอได้เล่าต่อว่า

  • ปี 2551 ที่ผ่านมา ผอ. ไม่ได้ส่ง รพ.ผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH) ท่านเห็นว่า คนส่วนใหญ่ให้ส่งเฉพาะ HA แต่ผมคิดว่า ถ้าไม่ส่ง HPH คุณค่าของผมจะหายไป ผมก็ต้องผลักดันทุกรูปแบบให้ส่ง HPH ท่านจึงส่ง HPH และโชคดีผ่านแบบไม่มีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น เวลาเราขออะไรไป ตอนนี้ก็ค่อนข้างจะได้รับการสนับสุน
  • ผมเคยขอนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตำแหน่งนี้ไม่มีในกระทรวงฯ เขาก็ให้เราไปเขียนขึ้นมา ไปเขียนโครงการ พอได้ตำแหน่ง ก็มอบไปว่า โครงการ HPH ต้องส่งเสริม ทั้งบุคลากร ผู้ป่วย ญาติ ชุมชน และองค์กร เพราะฉะนั้น คนที่มาทำงานตรงนี้ ต้องดูทั้ง 5 ส. คือ พัฒนาองค์กร และชุมชน ต้องออกไปรณรงค์ผู้สูงอายุ ไปดูงานเฝ้าระวังใน รร. ตอนสอบคัดเลือกก็จะเอาคนกลุ่มนี้ ไปฟังเด็กนำเสนอ 10 องค์ประกอบ และให้โจทย์ว่า คุณต้องมาทำในโรงพยาบาล ให้มีการผสมผสานกับ รร. ต้องเตรียมตัวรับตลอดเวลา
  • พองาน HPH เริ่มซบเซา ผมก็จะรับงานสุขศึกษาของ รพ. ขึ้นมากระตุ้นทีม ผมจะให้เขาเอางานมาใส่แฟ้มผม จะให้เขาเอางานที่ประสบผลสำเร็จ เขาก็จะมาใส่แฟ้ม ถ้าเขาทำไม่ชัด ก็จะรีบเขียนขึ้นไปตาม ก็จะมีงานเกิดขึ้นมาใหม่

นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งของลำปลายมาศ ที่ก็น่าสนใจไม่น้อยละนะคะ

รวมเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

 

หมายเลขบันทึก: 235433เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท