1 ปี โครงการฯ สิทธิประโยชน์ ผส. (6) แผนงาน/โครงการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


ท่านได้ให้คาถามา 2 ประโยค บอกว่า "ทุกข์ อยู่ที่คิด คิดให้ดี ก็ไม่มีทุกข์"

 

เรื่องนี้ ผอ.กองทันตฯ คุณหมอสุธา เจียรมณีโชติชัย ได้มาเล่าให้ฟังเลยนะคะ นั่นก็คือ

ตอนนี้ แนวโน้มที่กองทันตฯ พยายามที่จะผลักดันงานทันตสาธารณสุขของเราให้กับผู้บริหารกระทรวงฯ เราใช้ concept อะไรบ้าง ... ที่ผ่านมาเราทำหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแม่และเด็ก ในสายใยรัก เรื่องของโรงเรียนที่ integrate เข้าไปใน รร.ส่งเสริมสุขภาพ หรือผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็พยายามที่จะ integrate เข้าไป

เรื่อง ทันตสุขภาพ เราใช้ประโยคเดียวง่ายๆ "ปาก คือ ประตูสุขภาพ" ... เรื่องปาก เป็นเรื่องสุขภาพองค์รวม เพราะว่า เรื่องของปากไป link กับสุขภาพในภาพรวมได้อย่างชัดเจน

ผมมีรุ่นน้องเป็น ผอ.รพ.โรคทรวงอก เขาพูดชัดเจนว่า เวลามีอะไรต้องส่งทันตกรรมก่อน ส่งหมอฟันให้ clean ให้เรียบร้อย เพราะว่ามีโอกาสที่จะติดไปที่หัวใจ ... เรื่องของเด็ก ก็จะมีการ join กันในเรื่องของเด็กค่อนข้างเยอะ และจะมีช่วงหนึ่งที่เราทำเรื่องของ องค์ที บ๊าย บาย ขวดนม ก็เป็นเรื่องที่เราไป integrate กับเขา และเรื่องขวดนมก็จะเกี่ยวกับทันตฯ เราด้วย

เพราะฉะนั้น เรื่อง ปากคือประตูสุขภาพ จึงจะเป็นเรื่องที่เราขายให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข อื่นๆ ได้เห็นความสำคัญตรงนี้

แพทย์ท่านหนึ่งไปฝึกอบรมที่ญี่ปุ่นกลับมาเล่าว่า ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นเขาใช้ตัวชี้วัดหนึ่ง สำหรับผู้สูงอายุที่อายุ 100 ปีขึ้นไป คุณภาพชีวิตของเขา ปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่องของฟัน ก็คือ มีฟันครบใช้งานได้ นี่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ถ้าจะมีอายุยืน ฟันจะต้องดี ซึ่งญี่ปุ่นเขามีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 100 ปี น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 คน ทั่วประเทศ และเป็นตัวชี้วัดอันหนึ่ง

นอกเหนือจากปากคือประตูสุขภาพแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่เราขาย ก็คือ เรื่องงานทันตสาธารณสุข เป็น Entry point เป็นจุดที่จะเริ่มเชิงรุกเข้าไป ถ้าหยิบงานทันตฯ เข้ามาก่อน ในเชิงของการพัฒนาระบบ แต่ว่าเอาตัวเนื้องานเป็นงานทันตฯ ตัวอย่างเช่น รร. ส่งเสริมสุขภาพ เราทำเรื่องของทันตฯ ใน รร. และพยายามขายว่า ถ้าทำเนื้อทันตฯ ใน รร. แล้ว รร. หรือ ครู หรือ นร. มีประสบการณ์ในเรื่องทันตฯ สามารถทำงานทันตฯ ได้ดีแล้ว จะสามารถไปทำงานอื่นๆ ได้ด้วย เช่น เรื่องของอาหารปลอดภัย เรื่องของส้วม และอื่นๆ ใน รร. ได้ ... ทันตฯ จึงเป็นเรื่องที่มีลักษณะพิเศษ ที่เรามีลักษณะที่เป็นทั้งเรื่องส่งเสริมด้วย ป้องกันด้วย รักษาด้วย ฟื้นฟูด้วย ทั้งระบบ ... Trend นี้จึงเป็น trend ที่จะนำงานเราไปสู่เรื่องที่คนอื่นจะเข้าใจงานของเราได้มากขึ้น

วันนี้ เป็นเรื่องของผู้สูงอายุ ซึ่งความจริงผู้สูงอายุเป็นผลพวงจากการดูแลสุขภาพตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่แม่และเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ และเรื่องผู้สูงอายุ ถ้าทำให้ดี จะสามารถเป็นตัวชักนำ หรือจุดประกายการทำงานในกลุ่มอื่นๆ ได้ เพราะว่า ในส่วนผู้สูงอายุ ไม่ว่าเรื่องของโรคเอง หรือสภาวะต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน และเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์เลยว่า ถ้าเราไม่ดูแลให้ดีตั้งแต่เด็กดีแล้ว พอเป็นผู้สูงอายุ ก็จะเป็นแบบนี้

มีตัวอย่างที่เห็นว่า ฟันไม่มี สุขภาพไม่ดีอย่างไร และถ้าทำให้ดีๆ เราสามารถที่จะหาตัวอย่างในจังหวัด ในตำบล หมู่บ้าน ให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า ถ้าดูแลตั้งแต่เล็กได้ดี ผู้สูงอายุก็จะมีฟันดีอย่างนี้ ถ้าดูแลไม่ดีจะเป็นอย่างนี้ น็เป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นตัวสื่อให้กับผู้ร่วมงานได้

ในผู้สูงอายุ เราทำอะไรมาบ้างใน 3-4 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่ทุกท่านได้ทำมาอยู่ต้องขอบคุณมาก ที่ได้มีการจัดบริการฟันเทียมพระราชทาน เพราะว่าทุกท่านคงเหนื่อยมากๆ แต่ทุกท่านก็สามารถดูแลตรงนี้ได้ น้องๆ ได้ทำงานอย่างมีความสุข ถึงแม้ว่าจะเหนื่อย ก็ทำได้ทั้งบุญ ทั้งปัจจัยไปด้วย ทางกองฯ ก็พยายามไม่ให้บกพร่องตรงนี้

เราได้ทำเรื่องบริการ เรื่องรณรงค์ จับมือกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ของ อ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา ท่านได้ช่วยเราเยอะมาก ในเรื่องของฟันเทียมพระราชทาน อาจารย์ได้อนุเคราะห์ และช่วยเหลือจนกระทั่งงานลุล่วงไปได้ ขณะนี้ก็มีภาคเอกชนเข้ามาร่วม เช่น โอสถสภา ในปี 2552 นอกจากโอสถสภา ก็จะมี บ.มีเดีย Health Plus เพิ่มขึ้น

โครงการฟันเทียมพระราชทานจะมีการติดตาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคส่วนหนึ่ง และดูในเรื่องของ evidence based คือ การสำรวจสถานการณ์ และตัวชี้วัดว่า เราทำไปแล้ว ได้ผลหรือไม่ ทำอย่างไรที่จะวัดตัวเราเองด้วย ว่า ทำงานไปแล้ว process ที่เราทำงานพึงพอใจไหม ผู้รับบริการพึงพอใจไหม และภาพรวมของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างไร

ผลที่น่าชื่นใจ ตัวเลขที่เฝ้าระวัง ก็จะมีผู้สูงอายุที่มีฟันใช้งานได้ 4 คู่สบ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ในปี 48 เป็น ร้อยละ 49 ในปี 51 ... เรื่องนี้เป็นความสามารถของทุกๆ ท่าน

เรื่องนี้เราทำต่อในอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องทำงานในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มไหนที่จะดูแลได้ดี กลุ่มนั้นก็คือ ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งหลายๆ จังหวัดได้ทำกันอยู่แล้ว จะมีวิธีการที่ linkage ไป ก็คือ ตั้งแต่ส่วนกลาง ศูนย์อนามัย จังหวัด CUP PCU ชมรม และผู้สูงอายุ ได้ดำเนินการใน 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2549 นำร่องไปในศูนย์อนามัยมีจังหวัด ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ เชียงใหม่ ลำปาง หลังจากนั้น ปี 2550 ก้เพิ่มขึ้นอีกที่ ขอนแก่น อุบล ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ซึ่งหลายๆ พื้นที่ก็ได้เริ่ม และคิดว่า เรามีเวทีที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2551 แบะในปี 2552 นี้ ก็จะมีการ ลปรร. ผู้สูงอายุที่ภาคกลาง

ชมรมผู้สูงอายุนี้ เวลาที่เราไปทำงานกับเขาแล้ว ไม่ใช่เขาได้ แต่เราได้เยอะเลย ผมมีประสบการณ์เข้าไปในหมู่บ้าน ทำงานเชิงรุกในชุมชน เวลานั่งคุยกับผู้สูงอายุ นอกจากได้งานมาแล้ว เรายังได้ภูมิปัญญา ของเขา ของชาวบ้านมาอีกเยอะแยะ บางทีได้ยาหม้อ ยาสมุนไพรมาใช้เยอะแยะ บางคนก็ได้เรื่องจิตวิญญาณมาด้วย ผู้สูงอายุที่อยู่จนถึงอายุ 80-90 เขาผ่านประสบการณ์มาเยอะแยะ เขาดูแลตัวของเขาเองมาได้อย่างไร เขามีวิธีครองตน ครองงาน ครองชีวิต จนกระทั่งอายุ 80-90 เขาผ่านความทุกข์ ความสุขอะไรมาบ้าง

ครั้งหนึ่งผมไปที่ชลบุรี และนครสวรรค์ ผมได้เคล็ดมา ไปถามคุณยาย ว่า คุณยาย เป็นยังไง เวลาทุกข์อก ทุกข์ใจ แล้ว ทำยังไง คุณยายบอก 2 ประโยคเอง ท่านก็บอกว่า ความทุกข์เหรอมีเยอะแยะเลย ท่านได้ให้คาถามา 2 ประโยค บอกว่า "ทุกข์ อยู่ที่คิด คิดให้ดี ก็ไม่มีทุกข์" ตอนนี้ เวลาที่มีความทุกข์ 2 ประโยคนี้มาเข้าหัวผมเลย ปรับระบบคิด แป๊บเดียว ความทุกข์ก็จางไป

เมื่อปี 2550 ที่เราได้ไปจัดมหกรรม "คืนรอยยิ้มที่สดใส ให้ผู้สูงวัย" แล้ว ภาคใต้ก็เข้ามาประชุมด้วย และบอกว่า ทำไมไม่มีชมรมของภาคใต้ที่มาดำเนินการ พอมาปีต่อไป เราก็ลงไปที่ ศูนย์ฯ 11 และ 12 ได้จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต สงขลา สตูล 8 จังหวัด จาก 14 จังหวัดภาคใต้ ชมรมก็จะมีกิจกรรมเยอะ

วันนี้เรามาพูดเรื่องสิทธิประโยชน์ ปี 2551 ทำอะไรบ้าง ... หลายคนบอกว่า มีจังหวัดน้องๆ ทำกันไหม ก็มีหลายจังหวัดที่เห็นความสำคัญตรงนี้ และก็น่าจะเป็นการเปิดช่องในการพัฒนาระบบบริการ ซึ่งเป็นฝั่งของ provider ปีนี้ จะมีอีก 5 จังหวัด ที่เริ่มเข้ามาร่วม

เรื่องนี้เป็นเรื่องของการคัดกรอง เรื่องของบริการป้องกัน ในลักษณะของ 3 หน่วยบริการ คือ PCU ที่มีและไม่มีทันตบุคลากร และโรงพยาบาล

เรามีการมาทบทวนเรื่องของการใช้แบบฟอร์ม ซึ่งจะเป็นเรื่องของข้อมูล ... ตรงข้อมูลนี้จะเป็นเรื่อง evidence based หรือ Information จากข้อมูลที่เราตรวจได้มานี้ ตอนแรกจะเป็น data จาก data เราทำให้เป็น Information และก็จะเกิดการสื่อสารกับชาวบ้าน กับคนไข้ กับผู้บริหาร หรือ ผอ.รพ. ว่า เราทำตรงนี้แล้วเกิดอะไรขึ้น เห็นชัดเจนว่ามีพัฒนาการดีขึ้น หรือคงที่ หรือเลวลง อย่างไร ตัวเลขพวกนี้จะเป็นตัวเลขที่เอาไว้เป็นข้อมูลสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ ได้ด้วย

จากปี 2551 ที่ทำกิจกรรมนี้มา ก็จะได้ 21 จังหวัด 167 หน่วยบริการ เป็น รพศ./รพท. 8 แห่ง รพช. 117 แห่ง PCU 42 แห่ง จากข้อมูลพบว่า เรื่องของรากฟันผุมีตั้งแต่ 14-79% range ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ต้องไปวิเคราะห์ 17 จังหวัดว่า จังหวัดไปที่เป็นตัวดึงเปอร์เซนต์ และไปดูว่าบริบทตรงนี้เป็นอย่างไรบ้าง ปริทันต์สูงถึง 7-58% จากตัวเลขนี้เราจะบอกได้เลยว่า 17 จังหวัดนี้ มีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ดี ปานกลาง ถึงค่อนข้างไม่ดี จึงสามารถจัดเป็น level ได้ ไม่ได้พัฒนาแบบเสมอภาคเท่าเทียมกันไปทั้งหมด ... ตรงนี้จังหวัดต้องตั้งเป้าหมายเอง ฟลูออไรด์วาร์นิช 17-100% การขูดหินน้ำลายทำได้ค่อนข้างสูง

ปี 2552 มีจังหวัดร่วมทำกิจกรรมเพิ่ม คือ ตราด เลย นครราชสีมา สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา เราจะมีการปรับคู่มือ และทำในเรื่องประสิทธิผลของฟลูออไรด์วาร์นิช

สถานการณ์ของประเทศในตอนนี้ วัยทำงานมีฟันใช้งาน 96% พอมาสูงอายุเหลือ 54% ... ตรงนี้เกิดอะไรขึ้น ต้องถามต่อ และตรงนี้ รองอธิบดีไปที่ไหนก็พูดตรงนี้ทุกที ว่า วัยทำงานมีฟันเกือบครบ 100% พอไปเป็นผู้สูงอายุ เหลือแค่ครึ่งเดียว ท่านพูดต่อหน้า ผอ. พูดต่อหน้าทันตแพทย์ทั้งหลาย ว่าทำกันยังไงให้ผู้สูงอายุมีฟันเหลือแค่ครึ่งเดียวของวัยทำงาน นั่นท่านท้าทายพวกเรานะครับ ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมเหลือครึ่งเดียว รวมทั้งรากฟันผุก็สูงขึ้น Perio ก็สูงขึ้นเช่นกัน มันเป็นเรื่องที่ต้องอธิบาย ... โรคในช่องปากเป็นโรคที่สะสม มาแก้ที่ผู้สูงอายุคงลำบาก เราต้องถอยไปแก้เป็นกลุ่มๆ

เรื่องของการรักษาก็ยังเป็นภาระที่หนักอึ้ง ที่เราจะต้องดำเนินการต่อไป ก็พยายามจัดระบบสักนิดหนึ่ง

ในส่วนของอนาคต เราทำเรื่องของการจัดบริการ เรื่องของชมรม เรื่องของสภาพแวดล้อม และทำอย่างไรที่จะเพิ่มเรื่องของวัยทำงานเข้ามา ซึ่งจะเป็น Pilot และทำเรื่องของ 84 พรรษา ในปี 2554 เป็นการเฉลิมพระเกียรติฯ

ในปี 2552-2553 จึงต้องร่วมกันเตรียมการให้ดี ที่จะทำเรื่องของระบบบริการอย่างไร ทำในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างไร เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี การที่เราก็มีเครือข่ายเยอะ ทั้งพื้นที่ ทั้งชุมชน ทั้งระบบบริการ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เรื่องเครือข่าย ถ้าเราไปช่วยเขา เขาก็มาช่วยเรา ถ้าเราทำงานในพื้นที่ ถ้าอยากให้คนอื่นมาช่วยเรา เราก็จะต้องไปช่วยเขาเหมือนกัน

มีประโยคหนึ่งที่ผมได้จากชุมชนอย่างหนึ่ง ก็คือ วิธีคิดอันหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ เขาบอกว่า "ถ้าเราอยากให้คนอื่นเปลี่ยน เขาบอกว่า ให้เราเปลี่ยนตัวเราเองก่อน แล้วคนอื่นก็จะเปลี่ยน" ผมเคยไปลองทำ เขาอยากให้เขาเปลี่ยน แล้วเราก็เปลี่ยนตัวเราเอง บางคนก็เปลี่ยนได้ แต่บางคนเขาไม่เปลี่ยนสักที รอตั้งหลายเดือน หลายปี ก็ยังไม่เปลี่ยน ก็เลยคิดว่า ประโยคนี้ มันคงใช้ได้แค่บางคนนะ คนกลุ่มหนึ่ง และก็คงจะต้องมีวิธีอื่นที่ให้เขาเปลี่ยนอย่างเดียว ไม่ใช่เปลี่ยนแค่ตัวเรา ... ตรงนี้ เพราะว่า เวลาที่เราไปทำเครือข่ายชุมชน เราคงต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานไปตามชุมชนนั้น ถ้าเราไปแบบเดิมๆ ชุมชน ก็คงเหมือนเดิม

การใช้ยุทธศาสตร์ Bangkok Charter มาประยุกต์ใช้ในเรื่องของผู้สูงอายุ เรื่องระบบบริการ เรื่องการมี Partnership เรื่องของการทำ Evidence based ทุกท่านก็ได้ทำกันอยู่แล้ว ... และจะมีเรื่อง ลดการสูญเสียฟันก่อนเข้าวัยสูงอายุ เราก็จะมีการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดย อสม. เพิ่มขึ้น ซึ่งกำลัง In trend เพราะว่า กระทรวงสาธารณสุขจะครบ 50 ปี จัดงานใหญ่ที่เมืองทอง วันที่ 19-22 มีค. นี้

คำพูดดีดีของพวกเรา ที่ขอฝากไว้ ก็คือ

 รวมเรื่อง 1 ปี โครงการฯ สิทธิประโยชน์ ผส.

  

หมายเลขบันทึก: 240703เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2009 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท